โครงการปลูกใจ รักษ์โลก กองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาเยาวชน
โครงการปลูกใจ รักษ์โลก กองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาเยาวชน
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
ชวนคิด ชวนคุย ออกแบบกิจกรรม กลุ่มเยาวชนรักษ์คลองบางสน
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

การลงพื้นที่ติดตามโครงการปลูกกล้า พัฒนาป่าชายเลน ของกลุ่มเยาวชนรักษ์คลองบางสน ในครั้งนี้เพื่อให้น้องๆได้ทบทวนโครงการ และเน้นไปที่การชวนคิด ชวนคุย และทำความเข้าใจในการออกแบบกิจกรรม และวางแผนการทำกิจกรรมให้ชัดเจน

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

สรุปติดตามโครงการปลูกกล้า พัฒนาป่าชายเลน กลุ่มเยาวชนรักษ์คลองบางสน

วันที่ 23-24 มกราคม 2557 ณ ศูนย์วิสาหกิจชุมชน อ.ปะทิว จ.ชุมพร


วันที่ 23 มกราคม 2557

กิจกรรมช่วงเช้าจะเป็นการทำความรู้จัก สร้างความคุ้นเคยระหว่างเจ้าหน้าที่ กับ น้องๆก่อน จากนั้นน้องๆจึงพาพวกเราเดินลัดเลาะชมป่าชายเลนคลองบางสนซึ่งเป็นพื้นที่ที่น้องๆจะทำกิจกรรม โดยมีพี่สมโชค พันธุรัตน์ (แกนนำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านบางสน) ซึ่งเป็นชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่มาร่วมกับเราด้วย 

"ป่าชายเลนนี้เคยถูกทำลายจากพายุใต้ฝุ่นเกย์เมื่อปี 2532 แต่ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชุมชนทำให้ป่าชายเลนผืนนี้ฟื้นคืนกลับมาเป็นที่พึ่งของชุมชนอีกครั้ง"

หลังจากนั้นนั่งล้อมวง เล่าสู่กันฟัง “แรงบันดาลใจที่เข้ามาร่วมกิจกรรม / ทำไมถึงเข้ามา” และ “เข้ามาร่วมกิจกรรมกับชุมนุมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โรงเรียนปะทิวเมื่อไร  บางคนเข้ามาร่วมกิจกรรมเพราะไม่รู้จะอยู่ชุมนุมอะไรดี บ้างเข้ามาเพราะเพื่อนชวน เพราะอยากทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม จากวันนั้นจนถึงวันนี้น้องๆกลุ่มนี้ก็ยังคงช่วยอาจารย์นงคราญ (ครูที่ปรึกษา) ทำกิจกรรมสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนอยู่เสม "ที่หนูยังคงทำกิจกรรมสิ่งแวดล้อมอยู่เพราะมีครูนงคราญ" น้องหลายคนสะท้อนให้ฟัง วงพูดคุยนี้ทำให้เราได้เห็นถึงสายใยบางๆที่ผูกพันระหว่างเด็กกับครู "ครูหน้าที่หนุนให้เด็กทำ เด็กมีครูเป็นแรงบันดาลใจ"     

ช่างบ่ายพี่สมโชคได้มาร่วมแลกเปลี่ยน และให้ข้อมูลถึงสถานการณ์ป่าชายเลนให้เด็กๆฟัง นอกจากนี้ยังได้พูดถึงความฝันที่อยากเห็นคืออยากให้มีเยาวชนเข้ามาช่วยดูแลป่าชายเลน และอยากพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนในพื้นที่ ส่วนกิจกรรมที่ชุมชนมีแผนจะทำคือ สำรวจข้อมูลป่าชาย อบรมแกนนำเยาวชน ทำสื่อให้ความรู้และรณรงค์ และการดูแล ฟื้นฟูป่าชายเลนผ่านกิจกรรมเชิงวัฒนธรรม

จากนั้นจึงชวนน้องๆคุยต่อ "เราอยากเห็นป่าชายบ้านเราเป็นอย่างไร"  ซึ่งสรุปได้ดังนี้

  1. มีฐานข้อมูล และมีการถ่ายทอดองค์ความรู้
  2. มีเยาวชนเข้ามาสานต่อดูแล ฟื้นฟูป่าชายเลน 
  3. มีกระบวนการดูแลป่าชายเลนอย่างยั่งยืนและเป็นระบบ
  4. อยากให้ป่าชายเลนสมบูรณ์ขึ้น มีสัตว์มากขึ้น
  5. เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้


พาน้องๆออกแบบกิจกรรมโดยนำสิ่งที่ชุมชนอยากทำ กับ สิ่งที่น้องๆอยากทำมาพูดคุยกัน จากนั้นเลือกกิจกรรมที่น้องๆทำได้ ในระยะเวลา 5-6 เดือน และเป็นสิ่งที่ชุมชนจะทำ โดยใช้บัตรคำเขียนกิจกรรมของชุมชน กิจกรรมของน้อง แล้วแลกเปลี่ยนกัน (เชื่อมกิจกรรมกับชุมชน) และนำมาสู่การวางแผนกิจกรรม

สุดท้ายสรุปการเรียนรู้ น้องๆหลายคนสะท้อนให้ฟังว่า

  • ได้เรียนรู้ถึงกระบวนการที่พี่ๆพาพวกเราคุย ดูมันง่าย และพวกเราเข้าใจ เพราะมีลำดับขั้นตอนการชวนคิด ชวนคุย
  • สิ่งหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ได้คือ เปิดโอกาสให้ทุกคนได้พูด โดยอาจให้เขียนความคิดของตนเองลงในกระดาษก่อน 
  • พอพี่บอกว่า พูดตามที่เราเข้าใจ ไม่ต้องเป็นคำวิชาการ ผิด ถูก ไม่เป็นไร ทำให้เรากล้าที่จะพูดและถาม  


วันที่ 24 มกราคม 2557 

วันนี้พาน้องๆเรียนรู้และลงพื้นที่สำรวจป่าชายเลน ซึ่งเป็นกระบวนการที่น้องอยากเรียนรู้เพิ่มเติม เราใช้พื้นที่ป่าที่อยู่ใกล้ๆ โดยแบ่งน้องออกเป็น 2 กลุ่ม เก็บข้อมูลป่าชายเลน 2 แปลง จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สรุปผล  




 


"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ