โครงการปลูกใจ รักษ์โลก กองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาเยาวชน
โครงการปลูกใจ รักษ์โลก กองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาเยาวชน
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
เวทีการเรียนรู้ "สรุปบทเรียนการทำโครงการ เสริมเทคนิคการระดมทรัพยากรในชุมชน"
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

การฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพเยาวชนและพัฒนาเครือข่ายเยาวชน

เวทีการเรียนรู้ “สรุปบทเรียนการทำโครงการ เรียนรู้เทคนิคการระดมทรัพยากรในชุมชน”

ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2556 ณ สายธารรีสอร์ท จ. ชลบุรี

...............................................................................



เป้าหมาย

1) แกนนำเยาวชนและพี่เลี้ยงได้สรุปบทเรียนการทำโครงการ (ความสำเร็จ /ปัญหาอุปสรรค/กระบวนการทำงานและปัจจัยเงื่อนไขสู่ความสำเร็จ) เห็นทิศทางการขับเคลื่อนงานต่อ หรือสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ประสบการณ์กลับไปขับเคลื่อนงานต่อ

2) เกิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการทำงานหรือกลยุทธ์ที่นำไปสู่ความสำเร็จระหว่างโครงการ นำมาพัฒนางานหรือเกิดการเชื่อมการเรียนรู้ การทำงานร่วมกัน

3) ได้เรียนรู้เทคนิคการระดมทรัพยากร

ระยะเวลา   4 วัน 3 คืน ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม 2556

สถานที่ สายธารรีสอร์ท บางแสน จ.ชลบุรี

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเยาวชนที่ได้รับการสนับสนุนทุน 18 โครงการ ๆ ละ 4 คน ประกอบด้วย ตัวแทนเยาวชน 3 คน พี่เลี้ยง 1คน รวมเป็นจำนวน 72 คน

กรอบเนื้อหา แบ่งเป็น 4 ส่วน ดังนี้

1.เตรียมคิด เตรียมคุย (ครึ่งวัน)

-ระดมความความคาดหวัง/ ความกังวลใจ/ ความเข้าใจต่อโครงการ “ปลูกใจรักษ์โลก...หนึ่งปีที่ผ่านมาอยากบอกอะไร

- กิจกรรมเสริมกระบวนการทำงานเป็นทีม การทำงานข้ามกลุ่ม

-ชี้แจงทิศทางโครงการและแนะนำกระบวนการ

2.สรุปบทเรียนการทำโครงการ ( 1 วัน)

-สำรวจการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ได้เรียนรู้

-ประเมินผลสำเร็จของโครงการ(กิจกรรมหลักๆ ที่ทำ ภาพรวมความสำเร็จต่อ สิ่งแวดล้อม ชุมชน กลุ่ม)

-การเดินทางสู่เป้าหมาย (เป้าหมาย /ทำอะไร /อะไรทำได้ ทำไมถึงทำได้/อะไรทำไม่ได้ ทำไมถึงทำไม่ได้ค้นหาอุปสรรค /การจัดการปัญหาหรือแนวทางแก้ไข/ผู้เกี่ยวข้อง)

3.เวที “แบ่งปัน เรียนรู้” ( 1 วัน)

-เสวนากลุ่มย่อยเรียนรู้แบบเจาะลึก กระบวนการทำงานสู่ความสำเร็จ จากจุดเด่นของแต่ละโครงการ (คละประเด็น) กลับมาวิเคราะห์ มองงานตัวเอง นำเสนอสิ่งที่อยากทำต่อ

4.เรียนรู้เทคนนิคการระดมทรัพยากรในชุมชน (ครึ่งวัน)

-หลักการ แนวคิด ความหมาย ความสำคัญของการระดมทุน การระดมทรัพยากร

-การสืบค้นทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน

-แนวทางการระดมทรัพยากรในชุมชนเพื่อขับเคลื่อนงาน

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

      สรุปผลกิจกรรม การฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพเยาวชนและพัฒนาเครือข่ายเยาวชน

      เวทีการเรียนรู้ “สรุปบทเรียนการทำโครงการ เรียนรู้เทคนิคการระดมทรัพยากรในชุมชน”

      ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2556 ณ สายธารรีสอร์ท จ. ชลบุรี

      ...............................................................................



      วันที่ 28 มิถุนายน 2556


      ภาคเช้า 08.30 – 12.00 น.

      นัดหมายลงทะเบียน ที่มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์สำนักงานใหญ่ และ09.00 น. เดินทางจากรุงเทพฯ สู่ สายธารรีสอร์ท จ.ชลบุรี

      ภาคบ่าย 14.00 -18.00 น.


      เวทีสรุปบทเรียนโครงการในครั้งนี้เป็นการนำเสนอภาพรวมของการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มเยาวชน 17 โครงการ รวมถึงการสะท้อนให้เห็นบทเรียนที่เกิดขึ้นภายหลังการทำกิจกรรมในกระบวนการฝึกอบรม 

      กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ / ละลายพฤติกรรม  30 นาที


      วัตถุประสงค์

      • เพื่อให้เยาวชนที่มาจากหลากหลายพื้นที่ได้แนะนำตัว ทำความรู้จัก สร้างคุ้นเคยระหว่างเพื่อนเยาวชนและทีมพี่เลี้ยง
      • เพื่อให้เยาวชนได้ทบทวนความคาดหวังที่มีต่อการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้

      วิทยากร

      1.คุณพงศกร เถาทอง กลุ่มหุ่นไล่กา

      2.คุณเกษณี ซื่นรัมย์ สมาคมป่าชุมชนอีสาน

      กระบวนการดำเนินกิจกรรม 

      กิจกรรมเบื้องต้นนั้นทีมพี่เลี้ยงได้มีการแบ่งกลุ่มเยาวชน ในการเล่นเกม และสันทนาการ เพื่อผ่อนคลายความกังวล สร้างความสนุกสนานกับเยาวชนที่เข้าร่วมอบรมครั้งนี้ พร้อมกับแนะนำตนเองและกลุ่ม ซึ่งนำเสนอตัวอย่างกิจกรรมสันทนาการ เช่น

      1.กิจกรรมจับกลุ่มตั้งชื่อร่วมกัน  โดยสลับกันเปล่งเสียงอย่างพร้อมเพรียงกัน กิจกรรมเป็นการฝึกความสามัคคีแม้ว่าแต่ละคนจะมาจากต่างถิ่นต่างที่ แต่ก็สามารถเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้

      2.กิจกรรมการใบ้คำ โดยรวมกลุ่มคละกัน   ให้คนที่อยู่ข้างหลังสุดเขียนข้อความหรือตัวเลขจากข้างหลังไล่มายังหัวแถวข้างหน้า กิจกรรมนี้ฝึกในเรื่องการสื่อสาร (Communication) โดยต้องทำความเข้าใจกันโดยไม่ใช้คำพูดระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ผู้รับสารสัมผัสความรู้สึกจากผู้ส่งสาร กิจกรรมนี้ให้แง่คิดที่ว่า การทำงานใดๆจำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารกันอย่างชัดเจน เข้าใจความรู้สึกซึ่งกันและกัน หากผู้รับสารตีความและวิเคราะห์สารที่ผู้ส่งนำมาให้ไม่ชัดเจน อาจก่อให้เกิด

        

      กิจกรรมความคาดหวัง 30 นาที

      วัตถุประสงค์

      • เพื่อให้เยาวชนได้บันทึกความคาดหวังที่มีต่อการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรม

      วิทยากร

      คุณลัดดา วิไลศรี มูลนิธิกองทุนไทย

      อุปกรณ์

      กระดาษ, ปากกา

      กระบวนการดำเนินกิจกรรม

      ทีมพี่เลี้ยงได้แจกกระดาษให้เยาวชนและครูพี่เลี้ยงที่เข้าร่วมโครงการอบรมได้บันทึกความคาดหวังลงในกระดาษ โดยให้อิสระในการเขียนบันทึก ภายหลังที่เยาวชนได้บันทึกความคาดหวังของตนต่อการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมในครั้งนี้ ทีมพี่เลี้ยงจึงได้ร่วมกันประมวลและสรุปความคาดหวังของเยาวชนลงบนกระดาษ Flip chart ซึ่งสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้ซึ่งสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้


        

      ประการแรกเรียนรู้เทคนิค-วิธีการทำงานของแต่ละกลุ่มโครงการในแต่ละพื้นที่ การเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้เป็นโอกาสที่เยาวชน พี่เลี้ยงจะได้เรียนรู้เทคนิค และวิธีการทำงานของแต่ละกลุ่มโครงการในแต่ละพื้นที่ว่ามีวิธีการและกระบวนการทำงานอย่างไร

      ประการที่สอง เป็นโอกาสของการสร้างการเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายสิ่งแวดล้อม การอบรมครั้งนี้เป็นการรวมกลุ่มตัวกันของเยาวชนและพี่เลี้ยงที่เข้ามามีบทบาทหรือมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมภายใต้โครงการ “ปลูกใจรักษ์โลก” เป็นโอกาสในการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายสิ่งแวดล้อมซึ่งกระจายอยู่ทุกพื้นที่ของประเทศไทย ทั้งยังมีประเด็นร่วมกันในการทำงาน เช่น การฟื้นฟูป่า การอนุรักษ์ดิน การตรวจสอบคุณภาพน้ำ เป็นต้น

      ประการที่สาม การนำองค์ความรู้ไปใช้ในพื้นที่ เวทีอบรมที่เอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และทัศนคติช่วยให้บุคคลเกิดการตกผลึกทางความคิด เฉกเช่นเดียวกับเยาวชนและพี่เลี้ยงในแต่ละพื้นที่การทำงาน การได้เรียนรู้เทคนิค กระบวนการทำงาน และองค์ความรู้เรื่องการระดมทุนสามารถนำประสบการณ์และองค์ความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่ตนเองภายใต้บริบทที่เหมาะสม

      ประการที่สี่ การรณรงค์และเผยแพร่ การดำเนินโครงการในแต่ละพื้นที่กว่า 1 ปีภายใต้โครงการ “ปลูกใจรักษ์โลก” ทำให้เกิดการสั่งสมองค์ความรู้และประสบการณ์ของผู้ที่ได้ทำงาน ตั้งแต่เยาวชน ครู พี่เลี้ยง จนกระทั่งเจ้าหน้าที่โครงการ เพื่อความยั่งยืนในเป้าหมายการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจำเป็นต้องมีการรณรงค์เผยแพร่องค์ความรู้และประสบการณ์สู่สังคมเพื่อให้สังคมได้เกิดการเรียนรู้และตระหนักถึงการธำรงไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

      ประการสุดท้าย การค้นหาแรงบันดาลใจ (Inspiration) แรงบันดาลใจเป็นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติงานใดๆ การอบรมครั้งนี้เปรียบเสมือนขุมทรัพย์แห่งแรงบันดาลใจ เพราะเป็นเวทีรวมผู้ทำงานด้านสิ่งแวดล้อม การเข้าร่วมในครั้งนี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับทั้งครู พี่เลี้ยง และเยาวชน เมื่อกลับไปพื้นที่จะได้บอกกล่าวกับผู้คนในชุมชน โรงเรียน เพื่อนบ้านให้เห็นความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อมอันเป็นการปลุกจิตสำนึกต่อสังคมในวิถีทางหนึ่ง

      กิจกรรม “ประกอบร่าง”  1 ชั่วโมง

      วัตถุประสงค์

      • เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การทำงานข้ามกลุ่ม รวมทั้งการเสริมการทำงานเป็นทีม และการเรียนรู้ความสำเร็จในการทำงานร่วมกัน

      วิทยากร

      คุณนันท์นภัส วชิระสัมบูรณ์กลุ่มทำดีมะ

      อุปกรณ์

      กระดาษเอ 4, ปากกา, กระดาษ Flip chart

      กระบวนการดำเนินกิจกรรม

      1.แบ่งเป็น 5 กลุ่ม คละกลุ่มโครงการ

      2.แจกกระดาษให้แต่ละคนวาดภาพอวัยวะตามลำดับหมายเลขของตนเอง โดยให้สะท้อนถึงอารมณ์ของความรู้สึกที่เกิดขึ้น เช่น หมายเลข 1 ให้วาดตาซ้าย/ ตาขวา หมายเลข 2 ให้วาดจมูก หมายเลข 3 ให้วาดแขนขวา หมายเลข 4 ให้วาด หูซ้าย เป็นต้น ภาพวาดอวัยวะที่แสดงออกมาจะสื่อให้เห็นอารมณ์ความรู้สึกที่เป็นอยู่

      3.เมื่อแต่ละคนวาดภาพอวัยวะของตนเองสำเร็จ จึงนำมาประกอบร่าง ปรากฏเป็นรูปร่างของมนุษย์ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันของแต่ละกลุ่มและเป็นรูปร่างของมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์และสวยงามมากนัก เนื่องจากภาพวาดอวัยวะที่สมาชิกในกลุ่มนำมาประกอบร่างมีลักษณะศีรษะไม่เหมือนกัน ลำตัวยาวสั้นแตกต่างกัน อีกทั้งแขนขาแต่ละคนก็สั้นยาวไม่เท่ากัน เป็นต้น

      4.ผลงานที่ได้ประกอบร่างร่วมกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน โดยสามารถสรุปผลการอภิปรายและความคิดเห็นได้ดังต่อไปนี้

      -คนที่เห็นว่าพึงพอใจ มีทัศนคติที่ยอมรับความแตกต่างของแต่ละคนในกลุ่ม และมองว่าแม้แต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน แต่ก็สามารถทำงานร่วมกันจนประสบผลสำเร็จได้

      -คนที่เห็นว่าไม่พึงพอใจ มองว่ารูปภาพที่ผ่านการประกอบสร้างน่าจะมีความสมบูรณ์มากกว่านี้หากแต่ละคนมาช่วยกันวาด ช่วยกันทำ ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ

      กล่าวโดยสรุปกิจกรรม “ประกอบร่าง” สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดการทำงานกลุ่ม และกระบวนการทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยในองค์ประกอบความเป็นกลุ่ม ย่อมประกอบด้วยคนที่มีความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ และความถนัดที่แตกต่างกัน เมื่อเข้ามาทำงานร่วมกัน กระบวนการทำงานก่อให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มองเห็นข้อดี-ข้อเสียของแต่ละคน แม้การทำงานแต่ละขั้นตอนจะไม่ประสบผลสำเร็จ ทว่าอย่างน้อยที่สุดก็สามารถประคับประคองให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ได้ และแม้ความสำเร็จที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้เริดหรูสวยงานอย่างที่คาดหวังไว้ 100% แต่สำคัญคือสิ่งที่เกิดขึ้นสามารถส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับคนทำงานเอง หรือทำให้ปัญหาเริ่มที่คลี่คลายลงจากการที่ทุกคนในกลุ่มได้ช่วยกันทำงาน

        

      กิจกรรม “เราคือใคร ทำอะไร กับใคร”  2 ชั่วโมง

      วัตถุประสงค์

      • เพื่อบอกเล่าถึงการดำเนินโครงการของแต่ละโครงการกลุ่มที่ได้ทำในพื้นที่ของตน ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของการปั้นดินน้ำมัน

      วิทยากร

      คุณศรัทธา ปลื้มสูงเนิน กลุ่มไม้ขีดไฟ

      อุปกรณ์

      จานพลาสติก, ดินน้ำมันคละสี 

      กระบวนการในการดำเนินกิจกรรม

      1.แบ่งกลุ่มตามโครงการ โดยให้ปั้นดินน้ำเพื่อสื่อให้เห็นว่าเราเป็นใคร เราทำอะไร และเกิดอะไรขึ้นจากการดำเนินโครงการ

      2.เมื่อแต่ละกลุ่มโครงการปั้นดินน้ำมันเสร็จ ทีมพี่เลี้ยงได้จัดให้มีการแบ่งกลุ่มเพื่อนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มโครงการ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 4-5 โครงการ

      ก่อนลงมือปั้นดินน้ำมันเยาวชนแต่ละกลุ่มจะพูดคุยแลกกันภายในกลุ่มก่อนลงมือปั้น จากการแลกเปลี่ยนกลุ่มย่อยทำให้แกนนำเยาวชนแต่ละคนเริ่มมองเห็นความเชื่อมโยงระบบสิ่งแวดล้อมใน 4 ประเด็นงานที่ตนเองทำคือ ดิน น้ำ ป่า ขยะ มลภาวะทางอากาศ และเกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ทำงานร่วมกัน ยิ่งไปกว่านั้นยังได้สร้างแรงบันดาลใจให้แต่ละคนได้กลับไปคิด ต่อยอด เรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองทำอยู่ ทั้งนี้เพื่อให้เห็นเนื้อหาที่แต่ละโครงการได้นำเสนอและแลกเปลี่ยนภายในกลุ่ม จึงได้มีการบันทึกและสรุปเนื้อได้ดังต่อไปนี้

      1.กลุ่มเยาวชนพงลีแป สุไหงปาดี  

       เป็นกลุ่มแกนนำเยาวชนดูแลน้ำตกฉัตรวาริน อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส โดยได้รับความร่วมมือจาก 4 โรงเรียน ในเขตพื้นที่มีการจัดค่ายเพื่ออบรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กิจกรรมนี้เกิดเนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาที่เหตุการณ์ความรุนแรง 3 จังหวัดชายแดนใต้ เมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวที่บริเวณน้ำตกก็จะมีการทิ้งขยะ ทั้งนี้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติก็ไม่สามารถเข้ามาดำเนินการจัดการขยะได้ กลุ่มเยาวชนซึ่งอยู่ในพื้นที่จึงจัดกิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับการจัดการขยะบริเวณน้ำตกฉัตรวาริน และบริเวณอุทยานแห่งชาติ กระบวนการทำงานมีหลายวิธีการ อาทิ การจัดรายการวิทยุเพื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์ การจัดเวทีประชาคมระหว่างเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ และชาวบ้านในชุมชน เป็นต้น

      2.กลุ่มเยาวชนรักษ์ส้มรังสิต

      เดิมทีประวัติศาสตร์ทุ่งรังสิตมีการปลูกส้มมาช้านาน จนกลายเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงที่เรียกว่า “ส้มรังสิต” อันทำให้ผู้เป็นเจ้าของสวนส้มมีรายได้มหาศาล ต่อมาด้วยการเปลี่ยนแปลงทางการเกษตรและการผลิต ชาวบ้านใช้สารเคมี ยากำจัดวัชพืชและยาฆ่าแมลงมากขึ้น ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ ใบส้มเป็นสีเหลือง ผลผลิตไม่ได้อย่างที่ควรเป็น จึงเกิดโครงการ “รักษ์ส้มรังสิตคิดพัฒนาดินเสื่อมโทรม” ขึ้นเพื่อเป็นโครงการนำร่อง (Pilot project) โดยมีการดำเนินงานเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพดิน การปรับปรุงดิน การให้ความรู้กับเกษตรกรเกี่ยวกับการบำรุงดินเพื่อให้เหมาะแก่การปลูกส้ม รวมทั้งเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องการพัฒนาดินสู่ชุมชนท้องถิ่นใกล้เคียง ทั้งนี้เป้าหมายของโครงการก็เพื่อรื้อฟื้นวัฒนธรรมการปลูกส้มรังสิตให้กับคืนมาแก่ชาวชุมชนท้องถิ่นรังสิต

      3.กลุ่มเยาวชนรักษ์นกจอมทอง 

      ดำเนินการที่ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมีลำน้ำน่านและลำน้ำแควน้อยไหลมาบรรจบกัน เนื่องจากสถานการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 กอปรกับการกว้านซื้อที่ดินของบุคคลภายนอกเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยในบริเวณตำบลจอมทอง ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือทำให้พืชพันธุ์ท้องถิ่นเริ่มหายไปจากชุมชน เช่น มะม่วงไอ้ทุง ต้นไข่เน่า ผักกาดคอกควาย เป็นต้น จึงเกิดโครงการ “เยาวชนอาสาอนุรักษ์พันธุกรรมท้องถิ่นลำน้ำน่าน-แควน้อย” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพันธุ์ไม้ท้องถิ่นที่เป็นแหล่งอาหารที่มั่นคงของชุมชน โดยมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กและเยาวชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการสำรวจ อนุรักษ์ ตระหนักถึงความสำคัญของพันธุ์ไม้อันเป็นแหล่งอาหารของผู้คน จนทำให้เกิดความหวงแหนเป็นเจ้าของ (Sense of belonging) ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้กับเด็กและเยาวชนภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิคนเพียงไพร เนื่องจากเล็งเห็นว่าปัญหาเด็กและเยาวชน ทั้งยาเสพติดและการติดเกมส์เป็นปัญหาสำคัญ กลุ่มเยาวชนผู้มีใจอนุรักษ์จึงร่วมกับมูลนิธิคนเพียงไพรนำพาเด็กและเยาวชนเหล่านี้มามีส่วนร่วมในกิจกรรม

      4.กลุ่มเยาวชนรักษ์ท่าชนะ

      เป็นการรวมกลุ่มกันของเยาวชนในพื้นที่ตำบลคันธุลี อำเภอท่าชนะ จังหวัด สุราษฎร์ธานี ร่วมกับผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านดำเนินการเกี่ยวกับการอนุรักษ์พื้นที่ป่าพรุคันธุลีและอ่าวท่าชนะอันเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามของคนในชุมชน เพราะเล็งเห็นว่าปัจจุบันมีผู้บุกรุกจากภายนอกแสวงผลประโยชน์จากป่าพรุและอ่าวท่าชนะจำนวนมาก จึงเกิดการรวมกลุ่มกันเพื่อปกป้องรักษาพื้นที่อันเป็นแหล่งอาหารและแหล่งพื้นที่ชุมน้ำที่สำคัญของประเทศ พร้อมกันนั้นมีการจัดค่ายสำรวจพันธุ์ไม้ มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงความเป็นมา ตลอดจนประวัติศาสตร์ของชาวชุมชนเพื่อให้เยาวชนและคนในชุมชนเกิดความหวงแหนทรัพยากรของท้องถิ่น

      5.กลุ่มเยาวชนรักษ์ห้วยทราย 

       เป็นการรวมกลุ่มกันของนักเรียนโรงเรียนร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัด กาฬสินธุ์ เพื่อพิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมบริเวณห้วยทรายซึ่งเป็นสายน้ำเล็กๆ ที่พาดผ่านอำเภอร่องคำ จากแต่เดิมนั้นบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ชาวบ้านสามารถได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลจากป่า ภายหลังเกิดเป็นพื้นที่เกษตรกรรมมากขึ้น ป่าลดลง ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้กลุ่ม Conservation Club ภายในโรงเรียนร่องคำร่วมมือกันผ่านการสานต่อทางความคิดและประสบการณ์จากรุ่นพี่ในโรงเรียนร่วมกับการสนับสนุนจากเทศบาลตำบลร่องคำและอุทยานแห่งชาติภูพานในการสนับสนุนต้นไม้เพื่อปลูกบริเวณลุ่มน้ำห้วยทราย นอกจากนี้กลุ่มเยาวชนรักษ์ห้วยทรายยังมีกิจกรรมอีกมากมาย เช่น การใช้วัฒนธรรมผญาของชาวอีสานในการรักษาสิ่งแวดล้อม การจัดค่ายผู้นำ รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการใช้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับป่าบริเวณลุ่มน้ำห้วยทรายอันก่อให้เกิดการปลุกจิตสำนึกกับเยาวชนและผู้คนในชุมชน

      6.กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก 

      ทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำ โดยทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำจากแม่น้ำป่าสักจากลพบุรี ถึง สระบุรีเป็นระยะทาง 102 กม.โดยทำการตรวจสอบ 3 ด้าน 1.ด้านกายภาพ 2.ด้านเคมี 3.ด้านชีวภาพ โดยนำข้อมูลไปวิเคราะห์ตามค่ามาตรฐานสากลโดยจะทำให้ทราบได้ว่าคุณภาพน้ำเป็นอย่างไร เมื่อทำการตรวจสอบข้อมูลแล้วจึงส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสำนักงานสิ่งแวดล้อมได้นำไปใช้ในการดูแลรักษาแม่น้ำและยังจัดทำแหล่งเรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ โดยแหล่งเรียนรู้จะมีฐานต่างๆ ที่เน้นให้มีการพึ่งพาตนเองเพื่อให้แหล่งชุมชนและเครือข่ายรวมถึงรุ่นน้องในโรงเรียนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและจัดทำค่ายบูรณาการ รวมถึงจัดทำหลักสูตรทางวิทยาศาสตร์ให้ศึกษาเพิ่มเติมสำหรับรุ่นน้อง

      7.กลุ่มยุวฑูตคุณภาพแม่น้ำประแสแห่งเทศบาลตำบลเมืองแกลง จังหวัดระยอง  

      ทำการตรวจสอบคุณภาพและบำบัดน้ำแม่น้ำประแสร์โดยทำการตรวจทุก 3 เดือน โดยมีจุดสำรวจ 4 จุด โดยใน 4 จุดนี้เป็นจุดที่มีการปล่อยน้ำเสียและแหล่งชุมชน โดยกลุ่มจะมีเครือข่ายร่วมเฝ้าระวังตั้งแต่ต้นน้ำมาจนถึงปลายน้ำจะมีการเฝ้าระวังทั้งหมด 3 ด้าน 1.กายภาพ 2.ชีวภาพ 3.ชุมชน และนำคุณภาพน้ำที่มีการเฝ้าระวังทั้ง 4 จุด มาประมวลผลว่าเป็นอย่างไรและนำคุณภาพน้ำที่ตรวจได้ไปประชาสัมพันธ์ด้วยเสียงตามสายภายในชุมชนและส่งข้อมูลให้กับเครือข่ายและกลุ่มอุตสาหกรรมในพื้นที่ได้ทราบคุณภาพน้ำในแต่ละช่วงเวลาว่าเป็นอย่างไร ควรปรับปรุงอย่างไรบ้าง เชื่อมโยงกับการปั้นดินน้ำมันโดยสิ่งที่ปั้นแสดงให้เห็นถึงแกนนำโครงที่มีมากมายโดยมีแกนนำหลัก 3 คน ภายในโรงเรียนและภายนอกก็คือเครือข่ายของโครงการและภาพที่ปั้นยังสื่อให้เห็นถึงการดำเนินโครงการ เช่น การเก็บขยะในแม่น้ำและป่าชายเลนบริเวณรอบๆ การทำถังบำบัดจุลินทรีย์ และอีกส่วนแสดงให้เห็นถึงสภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่

      8.สภาเด็กและเยาวชนตำบลบ้านดู่ จังหวัดเชียงราย

      ทำการรณรงค์ลดการเผาขยะในครัวเรือนลงพื้นที่คุยกับชุมชน จัดเวทีชาวบ้านเพื่อพูดคุยกับชุมชนเกี่ยวปัญหาเรื่องหมอกควัน ว่ามีผลกระทบต่อชุมชนอย่างไร สิ่งที่ทำคือ 1.รณรงค์ในการให้เลิกเผาเศษขยะใบไม้ในชุมชน 2.จัดทำปุ๋ยชีวภาพ โดยจะแนะนำให้เก็บใบไม้มาทำปุ๋ยหมักโดยมีตัวแทนผลัดเปลี่ยนไปเก็บใบไม้ในชุมชน ภาพที่ทางกลุ่มปั้นดินน้ำมันเปรียบเหมือนพวกเรากลุ่มเยาวชนที่ทำโครงการขึ้นมาและกองนี้ก็คือใบไม้ที่ชาวบ้านเผาทำลายทำให้เกิดควันและในส่วนนี้คือสื่อถึงว่าพอชาวบ้านรับรู้การณรงค์ให้ความรู้แล้วไม่ได้เผาใบไม้แล้วก็ทำให้สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติในชุมชนดีขึ้น

      9.กลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน

      กิจกรรมหลักๆ คือ การสำรวจพันธุ์กล้วยไม้ และการสำรวจป่า วัตถุประสงค์ในการทำกิจกรรมต้องการคืนกล้วยไม้สู่ป่า โดยทำการปรึกษา อ.รพี ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นคนดูแลกล้วยไม้คนแรกของเมืองไทยเพื่อเป็นการสร้างกำลังใจให้กับกลุ่ม หลังจากที่การทำงานไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากผู้ใหญ่ในชุมชน ภาพที่ปั้นดินน้ำมันนี้คือเทียนไขเปรียบเป็นดั่งแสงสว่างในชุมชนที่มีเยาวชนมาเข้าโครงการเพิ่มมากขึ้นทำให้การทำงานมีพลังมากขึ้นโดยทำการรวบรวมข้อมูลที่ไปสำรวจนอกจากเรื่องกล้วยไม้แล้วก็มีทั้งเรื่องอาหารและสมุนไพรในหมู่บ้านอีกด้วย

      10.กลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว จังหวัดเชียงราย  

      เน้นการสร้างเครือข่ายกลุ่มเยาวชน การสร้างเด็กในค่ายให้มาร่วมกันคิดริเริ่มทำโครงการโดยก็จะมีการทำค่ายทำการสำรวจป่าโดยใช้ความรู้ที่มีการศึกษามา มีการวางแปลงสำรวจอย่างละเอียดเพื่อที่จะทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกของจำนวนต้นไม้ในป่า เพื่อทำการวางแผนอนุรักษ์พื้นที่ป่าได้อย่างยั่งยืนในอนาคต นอกจากนี้ยังทำกิจกรรมเก็บขยะในผืนป่าเป็นประจำซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเยาวชนได้เรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

      11.กลุ่มคนอาสา จังหวัดสิงห์บุรี 

      ได้ทำโครงการศึกษาสิ่งมีชีวิตในดินและสภาพดิน โดยจากภาพที่ปั้นดินน้ำมัน คือมีกลุ่มนักศึกษาที่มีการชักชวนกันมาเข้าโครงการทำการศึกษาและเยาวชนได้ทำการสังเกตกิจกรรมเพื่อให้ได้มีให้มีรายละเอียดมากขึ้นในการทำโครงการ กลุ่มเยาวชนมีการไปดูงานเกษตรอินทรีย์ที่ประสบความสำเร็จจากผู้มีประสบการณ์โดยผลที่เปลี่ยนแปลงชัดเจนคือนักศึกษาที่มาเข้าโครงการมีความรักและอยากทำอาชีพเกษตรกรมากขึ้น โดยในภาพนั้นเปรียบเหมือนคนที่เรียนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวจะทำให้ให้ไม่เห็นมุมมองอะไรใหม่ๆติดอยู่กับกรอบเดิมและในภาพนี้คือคนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงหลังจากเข้าโครงการเหมือนได้รับมุมองที่กว้างและประสบการณ์มากขึ้นที่ทำให้มีใจรักในการเกษตรมากยิ่งขึ้น

      กล่าวโดยสรุปกิจกรรมการอบรมในวันนี้อันได้แก่กิจกรรมประกอบร่างและกิจกรรมปั้นดินน้ำมันทำให้เยาวชนได้เรียนรู้หลายประการดังนี้

      -เรียนรู้ความเข้มแข็งของชุมชน

      -เรียนรู้ความต่อเนื่องในการทำงาน

      -เรียนรู้การทำงานด้วยจิตอาสา

      -เรียนรู้การสำรวจทรัพยากรโดยเยาวชนจนเกิดเป็นเจ้าของ

      -เรียนรู้ความเชื่อมโยงของระบบนิเวศดินน้ำป่า

      -เรียนรู้การทำงานร่วมกับชุมชน

      -เรียนรู้การแลกเปลี่ยนจากผู้ปฏิบัติงานหลายฝ่าย

      -เรียนรู้กระบวนการทำงานที่แตกต่างกัน ข้อดี-ข้อเสีย จุดเด่น-จุดอ่อน

      วันที่ 29 มิถุนายน 2556


      กิจกรรม Check in 30 นาที

      ภาคเช้า 08.30 – 12.00 น.

      วัตถุประสงค์

      • สมาธิภาวนา สำรวจความรู้สึก เพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้

      วิทยากร

      คุณลัดดา วิไลศรี มูลนิธิกองทุนไทย

      กระบวนการในการดำเนินกิจกรรม

      แบ่งกลุ่มย่อยกลุ่มละ 5-6 คน นั่งล้อมวง จากนั้นให้น้องๆ นั่งหลับตาทำสมาธิประมาณ 5 นาที สำรวจความรู้สึกของตัวเองว่า “เช้านี้รู้สึกอย่างไร?” จากนั้นบอกเล่าความรู้สึกให้เพื่อนๆ ในกลุ่มฟัง กระบวนการนี้จะทำให้ผู้เข้าร่วมต่างรับรู้ของภาวะอารมณ์ทั้งของตนเองและของเพื่อน เป็นการผ่อนคลายและพร้อมต่อการเรียนรู้ต่อไป

      กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ / ละลายพฤติกรรม 30 นาที

      วัตถุประสงค์

      • เพื่อให้เยาวชนที่มาจากหลากหลายพื้นที่ได้แนะนำตัว ทำความรู้จัก สร้างคุ้นเคยระหว่างเพื่อนเยาวชนและทีมพี่เลี้ยง
      • เพื่อให้เยาวชนได้ทบทวนความคาดหวังที่มีต่อการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้

      วิทยากร

      1.คุณพงศกร เถาทอง กลุ่มหุ่นไล่กา

      2.คุณเกษณี ซื่นรัมย์ สมาคมป่าชุมชนอีสาน

      กิจกรรม สำรวจการเปลี่ยนแปลง (Before / After) ระดับบุคคล  1 ชั่วโมง


      วัตถุประสงค์

      • เพื่อร่วมพูดคุยทบทวนตนเองของผู้เข้าร่วมกิจกรรมแต่ละโครงการตั้งแต่ก่อนที่จะเข้ามาร่วมโครงการปลูกใจรักโลก จนมาถึงในปัจจุบันที่ใกล้จะจบโครงการ
      • เพื่อร่วมแบ่งปันถึงความเปลี่ยนแปลงและสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดเวลาที่ผ่านมา

      วิทยากร

      คุณศรัทธา ปลื้มสูงเนิน กลุ่มไม้ขีดไฟ

      อุปกรณ์

      กระดาษ เอ4, ปากกา 

      กระบวนการในการดำเนินกิจกรรม

      กิจกรรมในครั้งนี้เป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ความเปลี่ยนแปลงในแต่ละด้านของตนเองโดยที่ทำการวาดภาพและเขียนบรรยายถึงตนเองตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าว่ามีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร ตั้งแต่ก่อน ระหว่าง และเมื่อโครงการสิ้นสุดลง จากนั้นแบ่งออกเป็นเยาวชน 5 กลุ่มย่อย และพี่เลี้ยง 2 กลุ่มย่อยเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน  


      กิจกรรมในครั้งนี้เป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ให้แต่ละคนที่แบ่งกลุ่มเข้ามาได้มีโอกาสเล่าถึงความเปลี่ยนแปลงในแต่ละด้านของตนเองโดยที่ทำการวาดภาพและเขียนบรรยายถึงตนเองตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าว่ามีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร โดยมีพี่เลี้ยงจากกองทุนไทยนำคุยให้กับเหล่าเยาวชนมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

      นิว กลุ่มยาวชนรักษ์โลก โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา  : เมื่อก่อนมีความรู้การทำกิจกรรมแต่ไม่ลึก เมื่อเริ่มกิจกรรมกับทางโครงการปลูกใจรักโลกทำให้มีความรู้เรื่องการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี มีแนวทางที่จะแก้ปัญหา แล้วพอเข้าโครงการก็เกิดไอเดีย เกิดแรงบันดาลใจที่จะแก้ปัญหาที่เกิดในชุมชนของเราครับ “ตา” เห็นถึงปัญหาที่เกิดในชุมชนว่าเกิดอะไรขึ้นเราจะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไร “ปาก” เมื่อก่อนไม่กล้าพูดนะครับ ขี้อายแต่พอทำแล้วก็มีทักษะการพูดที่ดีขึ้นและกล้าพูดอย่างที่คิด “มือ” การทำงานเมื่อก่อนก็ไม่มีระบบเช่นทำอะไรกับทางราชการต้องมีหนังสือครับเมื่อก่อนก็ไปขอความช่วยเหลือด้วยการพูดปากเปล่า ทำงานแบบมีเป้าหมาย มีความอดทน กล้าตัดสินใจเอง กล้าเรียนรู้และสู้กับอุปสรรคต่างๆ จนสำเร็จ “ขา” เมื่อก่อนไม่กล้าที่จะเดินไปคุยกับคนในชุมชนไม่รู้จักเราก็ไม่ทักแต่เดี๋ยวนี้ก็รู้จักคนในชุมชนมากขึ้นได้สร้างสัมพันธ์กับโรงเรียนชุมชนมากขึ้น


      เอ็ม กลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืน โรงเรียนเชียงยืนพิทยา  : แต่ก่อนเรียนอย่างเดียว ไม่มีความรู้นอกจากเรื่องเรียน หลังจากที่เข้าโครงการเราก็ได้ความรู้เรื่องสารเคมี กระบวนการผลิต รู้ความเป็นมาของชุมชน เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ปัญหา จากแต่ก่อนไม่ค่อยกล้าพูด กล้าแสดงความเห็น เพราะกลัวผิด พอเข้าโครงการไประยะหนึ่งก็กล้าพูด กล้าแสดงความเห็นมากยิ่งขึ้น ตอนนี้เมื่อมีอบรมอะไรก็มักรับหน้าที่เป็นพิธีกร แต่ก่อนไม่ได้นึกถึงสิ่งแวดล้อมคิดว่ามีคนเขาทำอยู่แล้วก็เรียนไปธรรมดา แต่ตอนนี้เราจะรักสิ่งแวดล้อมเข้ามาทำกิจกรรมมากขึ้น มีกำลังใจในการทำงานมากขึ้น รู้สึกรักเพื่อนๆ มีมิตรภาพ เวลามีปัญหาก็จะคุยกันมากยิ่งขึ้น แต่ก่อนไม่กล้าลงมือทำอะไรด้วยตนเองทำอะไรก็จะมีอาจารย์ดูแล แต่ตอนนี้ไม่ว่าโครงการหรืองานโรงเรียนเราก็จะลงมือทำเองท

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ