กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปผลโครงการกล้วยไม้คืนสู่ป่าเพื่ออนุรักษ์ต้นน้ำ
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โครงการกล้วยไม้คืนสู่ป่าเพื่ออนุรักษ์ต้นน้ำ


กลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน


“เมื่อวิถีชีวิตเปลี่ยน การดำรงชีวิตที่พึ่งพาป่าไม้และสายน้ำก็จะเปลี่ยน คนจะไม่รักษาป่า ไม่รักษาน้ำ ความสุขที่เคยมีกิน มีอยู่ มีใช้อย่างพอเพียง ด้วยความเรียบง่าย และเคารพต่อธรรมชาติ ก็จะหายไป”


แม่สามแลบดินแดนในหุบเขาล้อมรอบ

ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย ตั้งอยู่ทางทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นพื้นที่ที่อยู่ในหุบเขา มีภูเขาล้อมรอบ ชุมชนส่วนใหญ่ทำการเกษตร ทำข้าวไร ทำไร่มัน ไร่ข้าวโพด มีแหล่งทรัพยากรที่สมบูรณ์ มีป่าต้นน้ำที่พึ่งพิงในการดำรงชีวิต มีชายแดนติดกับประเทศพม่าและติดกับแม่น้ำสาละวิน เป็นชุมชนชนเผ่าปกาเกอะญอ และมีความเชื่อถือตามวิถีแต่ดั้งเดิม


ตำบลแม่สามแลบประกอบด้วย 10 หมู่บ้านได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านแม่สามแลบ บ้านห้วยกองก๊าด, หมู่ที่ 2 บ้านแม่ตอละ บ้านห้วยมะโอ, หมู่ที่ 3 บ้านซิวาเดอ บ้านแม่แคะ, หมู่ที่ 4 บ้านสบเมย บ้านพะละอึ บ้านโก๊งอคี, หมู่ที่ 5 บ้านบุญเลอ บ้านบุญเลอน้อย บ้านโตแฮ, หมู่ที่ 6 บ้านปู่ทา, หมู่ที่ 7บ้านเครอะบอ บ้านเครอะบอน้อย, หมู่ที่ 8 บ้านห้วยกระต่ายบ้านแม่ลามาน้อย, หมู่ที่ 9 บ้านกอมูเดอ บ้านกลอเซโล หมู่ที่ 10 บ้านปู่คำ บ้านห้วยแห้ง บ้านปู่คำน้อย


โดยชุมชนได้อาศัยทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนในการดำรงชีวิต มีป่าต้นน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ แต่ที่ผ่านมากป่าต้นน้ำ เกิดไฟไหม้ป่าจากการเผาทำไร่ การบุกรุกป่าต้นน้ำ การลักลอบตัดไม้สักในป่า ซึ่งส่งผลกระทบต่อป่าต้นน้ำในแต่ละชุมชน น้ำในการอุปโภคบริโภคลดน้อยลง กุ้ง หอย ปลา อาหารในธรรมชาติลดจำนวนลง น้ำขุ่นในการชะล้างหน้าดินในช่วงหน้าฝน และที่ลดจำนวนลงที่เห็นเด่นชัดคือ กล้วยไม้ในป่า เพราะมีไฟไหม้ป่าและการลักลอบตัด


สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ได้แก่ ปัญหาความยากจน ปัญหาคุณภาพชีวิต ปัญหาความมั่นคงและการอพยพของชาวพม่า ปัญหาการขาดแคลนบริการพื้นฐาน ปัญหาด้านการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ ทำให้ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของชุมชน โดยเฉพาะเด็กเยาวชนรุ่นหลัง ที่เกิดขึ้นมา ที่จะต้องเผชิญและปรับตัวกับสภาพปัญหาซึ่งความเป็นจริงแล้ว วิถีชีวิตที่ดีงามและทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ในชุมชน สามารถเป็นแหล่งพึ่งพิงของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี หากมีการเรียนรู้ที่จะใช้และการอนุรักษ์ พืชพันธุ์อาหารธรรมชาติที่มีอยู่ให้อุดมสมบูรณ์ โดยสนับสนุนให้ลูกหลานได้ตระหนักถึงวิถีชีวิตชุมชน วิถีธรรมชาติ ที่สอดคล้องและสมดุล การดำรงชีวิตก็จะมีความมั่นคงและมีความสุขมากยิ่งขึ้น


กลุ่มเยาวชนหญ้าแพรกสาละวิน

เยาวชน “ปกาเกอญอ” กลุ่มหญ้าแพรกสาละวินอยู่ในพื้นที่ ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน มีสถาบันปัญญาปีติลงไปทำงานและสนับสนุนกระบวนการทำงานในพื้นที่ โดยจัดกระบวนการเรียนรู้วิถีชีวิตภูมิปัญญาปกาเกอะญอ ลุ่มน้ำสาละวิน (อาหาร ยา ผ้า บ้าน) ในการหาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว และชุมชน


โดยมีแนวทางในการการพัฒนาคุณภาพชีวิต 4 ด้าน คือ การพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน การพัฒนาการผลิตอาหารด้วยระบบเกษตรธรรมชาติ (ข้าว ผัก เนื้อสัตว์) การดูแลรักษาพื้นที่ป่าต้นน้ำของชุมชน และการดูแลสุขภาพกายและใจ และได้ร่วมทำโครงการ “กล้วยไม้คืนสู่ป่าเพื่ออนุรักษ์ต้นน้ำ” ซึ่งจะมีผู้รู้และแกนนำชุมชนสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้ แก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ ส่งผลให้มีเยาวชนที่สนใจเรียนรู้กับกลุ่มจำนวนไม่น้อยกว่า 80 คน ซึ่งกลุ่มสามารถพัฒนาแกนนำเยาวชนในชุมชนบนพื้นที่สูงครอบคลุมพื้นที่ 7 หมู่บ้าน คือบ้านซิวาเดอ บ้านปู่คำ บ้านห้วยแห้ง บ้านเคราะบอ บ้านห้วยกระต่าย บ้านแม่ลามาน้อย และบ้านห้วยมะโอ มีแกนนำเยาวชนที่ส่วนร่วมในการคิดและดำเนินงาน เพิ่มขึ้นจาก 4 คน เป็น15 คน เกิดผลให้พบกล้วยไม่ในพื้นที่ ป่าต้นน้ำ 45 ชนิดพันธุ์ โดยชุมชนนิยมนำมาปลูกเลี้ยงไว้ 26 ชนิดพันธุ์ และสำรวจพื้นที่ป่าต้นน้ำ 17 ชุมชน ซึ่งมีกติกาในการดูแลป่าต้นน้ำร่วมกันของชุมชน


สิ่งสำคัญในการรวมกลุ่มเพื่อเรียนรู้และสร้างกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนร่วมกัน คือ ถ้าหากคนหนุ่มสาวในหมู่บ้านไม่ลุกขึ้นมาจัดการตัวเอง ...

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

โครงการกล้วยไม้คืนสู่ป่าเพื่ออนุรักษ์ต้นน้ำ


กลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน


“เมื่อวิถีชีวิตเปลี่ยน การดำรงชีวิตที่พึ่งพาป่าไม้และสายน้ำก็จะเปลี่ยน คนจะไม่รักษาป่า ไม่รักษาน้ำ ความสุขที่เคยมีกิน มีอยู่ มีใช้อย่างพอเพียง ด้วยความเรียบง่าย และเคารพต่อธรรมชาติ ก็จะหายไป”


แม่สามแลบดินแดนในหุบเขาล้อมรอบ

ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย ตั้งอยู่ทางทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นพื้นที่ที่อยู่ในหุบเขา มีภูเขาล้อมรอบ ชุมชนส่วนใหญ่ทำการเกษตร ทำข้าวไร ทำไร่มัน ไร่ข้าวโพด มีแหล่งทรัพยากรที่สมบูรณ์ มีป่าต้นน้ำที่พึ่งพิงในการดำรงชีวิต มีชายแดนติดกับประเทศพม่าและติดกับแม่น้ำสาละวิน เป็นชุมชนชนเผ่าปกาเกอะญอ และมีความเชื่อถือตามวิถีแต่ดั้งเดิม


ตำบลแม่สามแลบประกอบด้วย 10 หมู่บ้านได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านแม่สามแลบ บ้านห้วยกองก๊าด, หมู่ที่ 2 บ้านแม่ตอละ บ้านห้วยมะโอ, หมู่ที่ 3 บ้านซิวาเดอ บ้านแม่แคะ, หมู่ที่ 4 บ้านสบเมย บ้านพะละอึ บ้านโก๊งอคี, หมู่ที่ 5 บ้านบุญเลอ บ้านบุญเลอน้อย บ้านโตแฮ, หมู่ที่ 6 บ้านปู่ทา, หมู่ที่ 7บ้านเครอะบอ บ้านเครอะบอน้อย, หมู่ที่ 8 บ้านห้วยกระต่ายบ้านแม่ลามาน้อย, หมู่ที่ 9 บ้านกอมูเดอ บ้านกลอเซโล หมู่ที่ 10 บ้านปู่คำ บ้านห้วยแห้ง บ้านปู่คำน้อย


โดยชุมชนได้อาศัยทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนในการดำรงชีวิต มีป่าต้นน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ แต่ที่ผ่านมากป่าต้นน้ำ เกิดไฟไหม้ป่าจากการเผาทำไร่ การบุกรุกป่าต้นน้ำ การลักลอบตัดไม้สักในป่า ซึ่งส่งผลกระทบต่อป่าต้นน้ำในแต่ละชุมชน น้ำในการอุปโภคบริโภคลดน้อยลง กุ้ง หอย ปลา อาหารในธรรมชาติลดจำนวนลง น้ำขุ่นในการชะล้างหน้าดินในช่วงหน้าฝน และที่ลดจำนวนลงที่เห็นเด่นชัดคือ กล้วยไม้ในป่า เพราะมีไฟไหม้ป่าและการลักลอบตัด


สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ได้แก่ ปัญหาความยากจน ปัญหาคุณภาพชีวิต ปัญหาความมั่นคงและการอพยพของชาวพม่า ปัญหาการขาดแคลนบริการพื้นฐาน ปัญหาด้านการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ ทำให้ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของชุมชน โดยเฉพาะเด็กเยาวชนรุ่นหลัง ที่เกิดขึ้นมา ที่จะต้องเผชิญและปรับตัวกับสภาพปัญหาซึ่งความเป็นจริงแล้ว วิถีชีวิตที่ดีงามและทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ในชุมชน สามารถเป็นแหล่งพึ่งพิงของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี หากมีการเรียนรู้ที่จะใช้และการอนุรักษ์ พืชพันธุ์อาหารธรรมชาติที่มีอยู่ให้อุดมสมบูรณ์ โดยสนับสนุนให้ลูกหลานได้ตระหนักถึงวิถีชีวิตชุมชน วิถีธรรมชาติ ที่สอดคล้องและสมดุล การดำรงชีวิตก็จะมีความมั่นคงและมีความสุขมากยิ่งขึ้น


กลุ่มเยาวชนหญ้าแพรกสาละวิน

เยาวชน “ปกาเกอญอ” กลุ่มหญ้าแพรกสาละวินอยู่ในพื้นที่ ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน มีสถาบันปัญญาปีติลงไปทำงานและสนับสนุนกระบวนการทำงานในพื้นที่ โดยจัดกระบวนการเรียนรู้วิถีชีวิตภูมิปัญญาปกาเกอะญอ ลุ่มน้ำสาละวิน (อาหาร ยา ผ้า บ้าน) ในการหาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว และชุมชน


โดยมีแนวทางในการการพัฒนาคุณภาพชีวิต 4 ด้าน คือ การพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน การพัฒนาการผลิตอาหารด้วยระบบเกษตรธรรมชาติ (ข้าว ผัก เนื้อสัตว์) การดูแลรักษาพื้นที่ป่าต้นน้ำของชุมชน และการดูแลสุขภาพกายและใจ และได้ร่วมทำโครงการ “กล้วยไม้คืนสู่ป่าเพื่ออนุรักษ์ต้นน้ำ” ซึ่งจะมีผู้รู้และแกนนำชุมชนสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้ แก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ ส่งผลให้มีเยาวชนที่สนใจเรียนรู้กับกลุ่มจำนวนไม่น้อยกว่า 80 คน ซึ่งกลุ่มสามารถพัฒนาแกนนำเยาวชนในชุมชนบนพื้นที่สูงครอบคลุมพื้นที่ 7 หมู่บ้าน คือบ้านซิวาเดอ บ้านปู่คำ บ้านห้วยแห้ง บ้านเคราะบอ บ้านห้วยกระต่าย บ้านแม่ลามาน้อย และบ้านห้วยมะโอ มีแกนนำเยาวชนที่ส่วนร่วมในการคิดและดำเนินงาน เพิ่มขึ้นจาก 4 คน เป็น15 คน เกิดผลให้พบกล้วยไม่ในพื้นที่ ป่าต้นน้ำ 45 ชนิดพันธุ์ โดยชุมชนนิยมนำมาปลูกเลี้ยงไว้ 26 ชนิดพันธุ์ และสำรวจพื้นที่ป่าต้นน้ำ 17 ชุมชน ซึ่งมีกติกาในการดูแลป่าต้นน้ำร่วมกันของชุมชน


สิ่งสำคัญในการรวมกลุ่มเพื่อเรียนรู้และสร้างกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนร่วมกัน คือ ถ้าหากคนหนุ่มสาวในหมู่บ้านไม่ลุกขึ้นมาจัดการตัวเอง ...


“เมื่อวิถีชีวิตเปลี่ยน การดำรงชีวิตที่พึ่งพาป่าไม้และสายน้ำก็จะเปลี่ยน คนจะไม่รักษาป่า ไม่รักษาน้ำ ความสุขที่เคยมีกิน มีอยู่ มีใช้อย่างพอเพียง ด้วยความเรียบง่าย และเคารพต่อธรรมชาติ ก็จะหายไป” อยากให้เด็ก ๆ เยาวชนคนรุ่นใหม่หันมาสนใจในวิถีของตนเองให้มากขึ้น (กลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน)


เมื่อหญ้าแพรกเติบโต

จากจุดเริ่มต้นที่รวมกลุ่มกันเพียงไม่กี่คน เหมือนหญ้าแพรกต้นเล็ก ๆ ในป่าใหญ่ที่รอการเติบโต การจัดทำโครงการกล้วยไม้คืนสู่ป่า เพื่ออนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ซึ่งเกิดจากความสนใจของกลุ่มที่ต้องการศึกษากล้วยไม้ เผยแพร่ความรู้ และการจัดการความรู้แก่เด็กในชุมชน โดยชักชวนผู้รู้และแกนนำชุมชนร่วมกันถ่ายทอดเรื่องราว และคืนกล้วยไม้สู่ป่าต้นน้ำ เพื่อให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของป่าต้นน้ำ ที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของชุมชน โดยอาศัยการเรียนรู้ผ่านการอนุรักษ์กล้วยไม้ในพื้นที่ป่าต้นน้ำร่วมกัน


“ตอนแรกก็ไม่ได้สนใจเรื่องกล้วยไม้สักเท่าไร เราเองก็อยู่ในป่านะคะ เราไม่รู้เลยว่ากล้วยไม้ใช้ประโยชน์อะไรบ้าง จะดีอย่างไร แต่พอมีกิจกรรมขึ้น มีการเดินสำรวจกล้วยไม้ เราก็ถูกเพื่อนชวนไปด้วย เราก็สำรวจป่าต้นน้ำ มีเด็กและเยาวชนเข้าร่วมด้วย พอเราไปสำรวจเราก็ได้ทราบว่ากล้วยไม้เองก็ไม่ได้มีเฉพาะความสวยงาม แต่มีประโยชน์หลายๆอย่าง มันทำให้เราได้สนใจเรื่องกล้วยไม้มากขึ้น เราก็ได้รับความรู้ว่ากล้วยไม้ก็เป็นสมุนไพรได้ด้วย” (เจ๊ะ น.ส.อัมภิกา บุญทวีสุขใจ)


เมื่อเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงของกลุ่มในการทำโครงการร่วมกัน เกิดกระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ มากมาย และเกิดจิตสำนึกตระหนักว่ากล้วยไม้นั้นไม่เพียงแต่ให้ความสวยงาม แต่ยังสามารถบอกความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงอยู่ของระบบนิเวศในป่าต้นน้ำ


กระบวนการทำงานของหญ้าแพรกสาละวิน

การเรียนรู้ภายในและภายนอก เป็นกระบวนการทำงานที่สำคัญของกลุ่มเยาวชนหญ้าแพรกสาละวิน ผ่านการลงมือทำและเรียนรู้วิถีธรรมชาติและวิถีชุมชน เมื่อเรียนรู้สภาวะภายนอกในการทำงานและต้องย้อนกลับมาทบทวนสภาวะการทำงานของภายใจจิตใจตนเองด้วย ว่าเกิดการเปลี่ยนจิตใจตนเองอย่างไรบ้าง หรือว่ายิ่งทำงานสภาวะภายใจจิตใจยิ่งไม่มีความสุข ก็จะเป็นการทำงานที่สำเร็จแต่ขาดการเติบโตทางด้านจิตใจ จึงเป็นกระบวนการที่กลุ่มหญ้าแพรกสาละวินได้เรียนรู้และทำควบคู่กันมาอย่างต่อเนื่อง เช่น  กิจกรรมค่าย อาหาร ยา ผ้า บ้าน ซึ่งมีระยะเวลาจัดกิจกรรมยาวนานถึง 10 วัน ตลอดการทำกิจกรรมแต่ละคนจะได้รับบทบาทหน้าที่ของตนเอง ใช้สถานที่ในการเรียนรู้ 3 หมู่บ้าน คือ บ้านห้วยกระต่าย บ้านแม่ลามาน้อย บ้านซิวาเดอ ซึ่งในแต่ละหมู่บ้านจะมีแกนนำรับผิดชอบ และการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ประสานงาน และบริหารจัดการการทำงาน โดยผลที่เกิดขึ้นในการมีทั้งภาวะกดดัน กังวล สบสน มีความสุข ซึ่งระหว่างในการทำกิจกรรมจะมีการพูดคุยความรู้สึกที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เพื่อปรับสมดุลทางอารมณ์ สุขภาพ และงาน เพื่อให้สภาวะภายในและภายนอกเดินควบคู่กันไป ซึ่งทำให้เห็นว่ากระบวนการทำงานการเรียนรู้ภายในสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะเยาวชนคนหนุ่มสาวที่ก้าวมาทำงานเพื่อชุมชน หลายครั้งเกิดความกังวลและกดดันทำให้เกิดความท้อแท้ในการทำงาน แต่หากมีกระบวนการทำงานที่ได้ดูแลอารมณ์ความรู้สึกของคนทำงาน ก็จะทำให้เพิ่งพลังในการทำงานกับหัวใจคนหนุ่มสาวเพิ่มขึ้น

การแบ่งบทบาทหน้าที่ความสนใจในการเรียนรู้ การทำงานในแต่ละครั้งจะเป็นการหมุนเวียนการทำงาน เพื่อให้แต่คนในกลุ่มได้พัฒนาศักยภาพตนเองในการด้านนั้น ๆ เช่น การบริหารจัดการงบประมาณ การประสานงาน การนำกิจกรรมสันทนาการ การนำสรุปบทเรียนการทำงาน สุดท้ายก็จะนำไปสู่พบศักยภาพและความถนัดตนเอง และทางกลุ่มฯ ก็จะสนับสนุน ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาความรู้ความสามารถในแต่ละคน เพื่อให้สอดคล้องในวิถีชีวิตของ “ปกาเกอะญอ” และเป็นฐานที่มั่นคงในการทำงานอยู่ในชุมชน


“คือการแบ่งงานของสาละวินเนี่ย เราจะไม่แยกเท่าไร คือเราพยายามที่จะทำให้เรื่องงาน เรียน และชีวิตไปด้วยกัน อย่างของเจ๊ะเอง เมื่อเขาจบม. 6 เขาก็พยายามเรียนอะไรที่ไม่ต้องออกไปจากชุมชน อย่างเจ๊ะเรียนมหาลัยชีวิตเนี่ย อย่างเจ๊ะเองก็สามารถกำหนดประเด็นที่จะเรียนเองได้ เจ๊ะเขาก็เลือกเรียนเรื่องการบริหารจัดการกลุ่ม เขาก็สนุกและชอบที่จะสัมพันธ์กับคนคะ ส่วนนุ้ยเขาก็สนใจเรื่องสุขภาพ วางแผนว่าถ้าจบม.ปลายเนี่ย นุ้ยก็วางแผนว่าจะเรียนด้านที่นุ้ยชอบแล้วกลับมาใช้กับชุมชนด้วย ตอนนี้แต่ละคนเขาก็มีฐาน เขาก็มีแปลงสาธิตเพาะกล้วยไม้ เขาก็วางแผนว่าจะมีแปลงสมุนไพรที่ดูแลคนในชุมชน นอกจากนั้นก็มีน้องๆที่อยู่ในชุมชนเราก็จะชวนคิดว่า เอ๊ะเราจะทำอย่างไรดี หากเราเรียนแล้วเราเองก็ไม่ทิ้งการทำไร่ทำสวน เรียนอะไรแล้วไม่ต้องออกจากชุมชน แล้วก็ช่วยกันดูแลชุมชนด้วย ดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนป่วย” (เกศ นางสาวเกศสุดา โตนิติ สถาบันปัญญาปีติ/พี่เลี้ยงโครงการ)


การสรุปและถอดบทเรียนการทำงานร่วมกัน ทุกครั้งหลังการทำกิจกรรม ในกลุ่มฯจะมีการสรุปบทเรียน ถอดบทเรียนในการทำงานของตนเอง กลุ่ม และสิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เพื่อปรับปรุงงาน พัฒนาศักยภาพตนเอง และพัฒนาจิตใจให้เติบโตขึ้น เปิดโอกาสในการเรียนรู้ให้กับตนเองอย่างจริงจัง และเป็นฝึกฝนให้คิดวิเคราะห์สิ่งที่ทำอย่างสม่ำเสมอ สำคัญในการทำให้เห็นทิศทางข้างหน้าจากข้อผิดบกพร่องในการทำงานของตนเอง กลุ่มเยาวชนฯและพี่เลี้ยง ผู้ปฏิบัติงาน โครงการ จะเห็นได้จากในแต่ละวันของการทำกิจกรรมอาหาร ยา ผ้า บ้าน จะมีการประชุมสรุปว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง มีปัญหาอุปสรรคอะไร ผลของการทำกิจกรรมในแต่ละวัน กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งทำให้เห็นว่า เมื่อเกิดการสรุปและการประชุมหารือกัน จะทำให้ทุกคนในกลุ่มฯเห็นการทำงานและเรียนรู้สิ่งที่ที่เกิดขึ้นไปด้วยกัน


วางกระบวนการที่นำไปสู่การพัฒนาทักษะชีวิต เช่น การพัฒนาด้านจิตใจ พัฒนาด้านอาชีพและเศรษฐกิจ พัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์ การน้อมนำจิตใจสู่การเรียนรู้จากธรรมชาติ เป็นการวางแผนในการพัฒนาที่เกิดขึ้นจากความสนใจและการทำงานในชุมชนของกลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับวิถีชีวิต เด็กเยาวชนสามารถทำงานในชุมน เรียนในชุมน และอยู่ในชุมชนได้อย่างเป็นหนึ่งอันเดียวกัน


ปัญหาและอุปสรรค

การสื่อสารการติดต่อประสานงานกับชาวบ้าน

อุปสรรคเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นขณะดำเนินโครงการ การไม่สามารถอธิบายกระบวนการทำงานและเป้าประสงค์ในการทำโครงการให้ชาวบ้านเข้าใจได้ มีข้อจำกัดในการสื่อสารกับชาวบ้าน บางครั้งเข้าใจกันไปคนละอย่าง การสื่อสารจึงต้องอธิบายให้ชุมชนเข้าใจอย่างชัดเจน ไม่เช่นนั้นจะทำให้ชาวบ้านเข้าใจเป้าหมายของการทำงานของกลุ่มคลาดเคลื่อนไป


“แรก ๆ ชาวบ้านไม่เข้าใจว่าเราจะเพาะกล้วยไม้เพื่อคืนสู่ป่า ชาวบ้านเข้าใจว่าเราเพาะไว้เพื่อขาย กว่าจะเข้าใจต้องใช้เวลานานเหมือนกันคะ” (กลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน)


เมื่อเกิดการสื่อสารไม่เข้าใจ จึงได้มีกระบวนการในลงเข้าหาผู้นำชุมชนเพื่ออธิบาย ทำความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมในโครงการที่เธอและกลุ่มทำ พร้อมกันนั้นการพยายามเข้าถึงชาวบ้านในทุก ประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านเข้ามาร่วมกิจกรรม เพราะแต่ละหมู่บ้านห่างไกลกันมาก จำเป็นต้องเข้าถึง อธิบาย ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ และสื่อสารให้ชาวบ้านได้เข้าใจและเข้าร่วมกิจกรรมการคืนกล้วยไม้สู่ป่าให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้


“เราจึงใช้วิธีไปจัดกิจกรรมที่หมู่บ้านเขาเลย โครงการของเราก็เคลื่อนย้ายไปแทบทุกหมู่บ้านคะ เราก็พยายามทำให้ชาวบ้านเข้าใจ อธิบายให้ชาวบ้านฟังคะ ว่าเราอนุรักษ์กล้วยไม้ คืนกล้วยไม้สู่ป่า ก็เลยเข้าไปคุยกับผู้นำชุมชน ไปคุยกำนันว่าเราจะทำเกี่ยวกับอนุรักษ์ป่า ฟื้นฟูป่านะ ไม่ได้คิดจะทำลายป่า”


“เรื่องการประสานงานคะ ความคิดเห็นไม่ตรงกันกับชาวชุมชน บางครั้งการทำงานของเรามันไม่ตรงกับความเชื่อ (ปกาเกอะญอ) ที่เขาทำกันในชุมชน เราบอกจะบวชป่าที่นี่ แต่ชุมชนบอกอีกทีหนึ่งอย่างนี้คะ พื้นที่ที่เราจะจัดกิจกรรมบวชป่า ชาวบ้านปกาเกอะญอเขาบอกว่าเป็นป่าศักดิ์สิทธิ์ทำไม่ได้ เป็นที่เราสื่อสารที่ไม่ชัดเจน (เจ๊ะ ขยายความ)



แกนนำเยาวชนกลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน

การเปลี่ยนแปลงที่ดีและการเติบโตของเยาวชนหนุ่มสาว ที่รวมกลุ่มและสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก เวลาและประสบการณ์ทำให้มีจิตสำนึกรักงานที่ทำและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ วิถีประเกอะญอ ในดินแดนที่มีหุบล้อมลอบโอบกอดหัวใจที่ดีงาม



สุรดา หนุนพฤกษา (เบิ้ม) 

กำลังศึกษา สถาบันการศึกษาทางไกล ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย


“รู้จักการทำงานเพิ่มมากขึ้น เมื่อก่อนเป็นคนไม่กล้าพูดเหมือนตอนนี้ ไม่กล้าแสดงออก การได้เข้ามาทำงานกับโครงการนี้เหมือนจะได้เปลี่ยนแปลงมากกว่าที่เราไม่ได้ทำโครงการนี้ ตอนแรกมีความเชื่อมั่นตัวเองสูง เป็นเหมือนเด็กดื้อ นั่งดื่มเหล้ากับเพื่อนเป็นเหมือนนักเลงกลุ่มหนึ่ง หลังจากนั้นมามันเปลี่ยนมาก คิดเหมือนพี่แสนคิดที่เขาบอกว่า “เขาไปซื้ออาหารมีสารเคมีหรือไม่มีเขาไม่สนใจ ผมก็เช่นเดียวกัน” ไม่กล้าพูดแม้พ่อแม่ถามจะไปไหนก็ไม่กล้าตอบ แต่ตอนนี้เจอคนที่ไม่รู้จักก็ทักทายหมดเลย พฤติกรรมของเรามันก็เหมือนเดินป่าก็เป็นคนเหมือนจะไม่ค่อยชอบป่า แต่ตอนนี้กลับมาอนุรักษ์ป่าเพื่อต้นน้ำ คืนกล้วยไม้สู่ป่าทำโครงการนี้แล้วก็จะอนุรักษ์ป่าเพื่อน้องๆ ที่ยังเรียนอยู่ตอนนี้เขาบอกว่า “เด็กๆ โตมาจะไม่รู้จักกับป่า อาหารจะไปหาที่ไหน” ก็เลยอนุรักษ์ไว้ เวลาที่เด็กๆ เขาโตมา เมื่อมีอาหารนิดๆ หน่อยๆ ก็นำมาทำกินในบ้าน เมื่อทำโครงการผมเปลี่ยนจริงๆ เปลี่ยนมาก ไปโน่นไปนี้ได้ประสบการณ์เยอะขึ้น เมื่อก่อนอยู่บ้านไม่รู้อะไรสักอย่าง”


ธรรมชาติได้หล่อหลอมชายหนุ่มปกาเกอะญอ ให้อ่อนโยนและเข้าใจวิถีชีวิตของคนที่อยู่กับป่ามากยิ่งขึ้น การเปลี่ยนแปลงจากการเข้าป่าเกิดขึ้น “ด้วยความรู้สึกอากาศมันไม่เหมือนเดิม มันร้อนมาก เมื่อเข้าป่ามันเย็นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในป่าลึกๆ จะยิ่งเย็นมาก ” นั้นคือ เห็นการเปลี่ยนแปลงว่า “ถ้ามีป่า จะช่วยทำให้อากาศมันเย็นลง” เขาและเพื่อน ๆ จึงมั่นใจมากยิ่งขึ้นในสิ่งที่ทำ



อำภา ธวัชวิฑูรย์ (นุ้ย) 

กำลังศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช สาขาสาธารณสุขมูลฐาน


“ก่อนเข้ามาทำโครงการ ไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้านำเสนอ ไม่กล้ามานั่งเป็นกลุ่มพูดคุย ไม่รู้จักการวางแผน แต่พอเข้ามาทำโครงการได้รู้จักคำว่าวางแผนจริงๆ “เราจัดค่ายเราก็ได้วางแผน” รู้ว่าวางแผนเป็นอย่างไร ได้ลงมือทำจริง เราเป็นกะเหรี่ยงก็ต้องรักษาวัฒนธรรมของเรา” พอได้ฟังก็ได้คิด “ถ้าเราจัดค่าย เราจะห่อข้าวหรือว่าเอาข้าวใส่ใบไม้เดินป่า”



อัมภิกา บุญทวีสุขใจ (เจ๊ะ) 

การศึกษาระดับปริญญาตรี กับสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน (มหาวิทยาลัยชีวิต) สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาชุมชน


“รู้สึกว่าตัวเองได้ทำอะไรเพื่อสังคมมากขึ้น จากการทำกิจกรรม เช่น การบวชป่า ทำให้เราได้รู้ถึงการวางแผน อีกทั้งยังต้องเจออุปสรรคและความล้มเหลว ความทุกข์ ความสุขที่แท้จริงที่อยู่ที่นั้น นอกจากนี้จากการบวชป่า สำรวจป่าทำให้ตัวเองเริ่มคิดถึงคนอื่นมากกว่าตัวเอง สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้การวางแผน การทำงานร่วมกับคนอื่น ความคิดความเชื่อในจิตใจรู้สึกดีที่ได้ทำ มิใช่เพียงประโยชน์ส่วนตัวแต่ยังทำเพื่อคนอื่นด้วย จนกลายเป็นเรื่องการเชื่อมโยงไปสู่การทำเรื่องปัจจัย 4 (อาหาร ยา ผ้า บ้าน) ส่วนพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อทำกิจกรรม ในช่วงกิจกรรมค่ายเป็นคนชอบพูดไม่ไพเราะ การนำเกมที่อาจจะไม่เหมาะสมกับน้องๆ เพื่อน หลังจากร่วมกันถอดบทเรียนก็เปลี่ยนเป็นตัวอย่างที่ดีกับน้องๆ ที่มาร่วมกิจกรรม นั้นคือการได้เรียนรู้ระหว่างการทำงาน เรียนรู้ผลที่เกิดขึ้น เกิดการปรับเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม”


การหนุนเสริมเพิ่มพลังสู่กลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน

การหนุนเสริมกระบวนการในการทำงานในชุมชน บทบาทสำคัญคือพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาในพื้นที่พื้น โดยเน้นกระบวนการในการมีส่วนร่วม หนุนเสริมการทำงานให้สอดคล้องกับวิถีชุมชน และความสนใจทั้งกลุ่มเยาวชน ชุมชน


นอกจากหนุนเสริมตามความชอบและสนใจแล้ว ยังต้องช่วยให้เกิดการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น เรื่องทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เรื่องการหาอยู่หากิน เรื่องสภาพปัญหาในชุมชน เรื่องเด็กเยาวชนในชุมชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอก



เกศสุดา โตนิติ (เกด) 

จบปริญญาตรีครุศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม 

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 

ผู้จัดการสถาบันปัญญาปีตี


“เราพยายามที่จะทำให้เรื่องงาน เรียน และชีวิตไปด้วยกัน เมื่อเขาจบม. 6 เขาก็พยายามเรียนอะไรที่ไม่ต้องออกไปจากชุมชน อย่างเจ๊ะเรียนมหาลัยชีวิตก็สามารถกำหนดประเด็นที่จะเรียนเองได้ โดยเขาเลือกเรียนเรื่องการบริหารจัดการกลุ่ม เขาก็สนุกและชอบที่จะสัมพันธ์กับคนคะ ส่วนนุ้ยก็มีความสนใจเรื่องสุขภาพ วางแผนว่าถ้าจบมัธยมปลาย นุ้ยก็วางแผนว่าจะเรียนด้านที่นุ้ยชอบแล้วกลับมาใช้กับชุมชนด้วย ตอนนี้แต่ละคนเขาก็มีฐาน เขาก็มีแปลงสาธิตเพาะกล้วยไม้ เขาก็วางแผนว่าจะมีแปลงสมุนไพรที่ดูแลคนในชุมชน นอกจากนั้นก็มีน้องๆที่อยู่ในชุมชนเราก็จะชวนคิดว่า เราจะทำอย่างไรดี หากเราเรียนแล้วเราเองก็ไม่ทิ้งการทำไร่ทำสวน เรียนอะไรแล้วไม่ต้องออกจากชุมชน แล้วก็ช่วยกันดูแลชุมชนด้วย ดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนป่วย”


สิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานร่วมกันอย่างมีส่วนร่วม ของกลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน พี่เลี้ยงที่ปรึกษา ชุมชน ชาวบ้าน คือ การเปิดโอกาสในการเรียนรู้ร่วมกัน ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีกระบวนการเรียนรู้ภายนอกและภายในไปด้วยกัน โดยยึดถือความดีงานของวิถีชีวิตชนเผ่า “ปกาเกอะญอ” ให้เยาวชน คนหนุ่มสาวได้เรียนรู้ อยู่ได้ ด้วยความมั่นคงในวิถีอันดีงามอย่างสมดุลทั้งภายในและภายนอก ให้เติบโตอย่างเท่าทัน

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ