โครงการการจัดการขยะในโรงเรียนและชุมชนเพื่อลดภาวะโลกร้อน
โครงการการจัดการขยะในโรงเรียนและชุมชนเพื่อลดภาวะโลกร้อน
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปผลโครงการการจัดการขยะในโรงเรียนและชุมชนเพื่อลดภาวะโลกร้อน
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

สรุปผลโครงการการจัดการขยะในโรงเรียนและชุมชนเพื่อลดภาวะโลกร้อน


กลุ่มเยาวชนรักษ์โลก โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา จ.ลำปาง



“ขยะ” กลายเป็นปัญหาโลกแตกที่ต้องจัดการ หลายๆชุมชนต้องประสบปัญหาเรื่องที่ทิ้งขยะไม่เพียงพอ ไม่มีหน่วยงานมาจัดการดูแล และนี้เป็นปัญหาของชุมชนที่เยาวชนกลุ่มหนึ่งไม่อาจนิ่งเฉยจึงลุกขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาของชุมชน

­

ชุมชนบ้านแม่ฮาว ตำบลห้างฉัตร อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เป็นอีกชุมชนที่ต้องประสบปัญหาขยะที่เพิ่มปริมาณขึ้น พื้นที่ทิ้งขยะไม่เพียงพอ ขยะมากมายเหล่านี้มาจากครัวเรือนซึ่งชาวบ้านไม่มีการแยกขยะก่อนทิ้ง ทำให้มีขยะหลายประเภทรวมอยู่ในถุงเดียวกัน ขยะเกิดการหมักหมุมเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็น เมื่อฝนตกลงมาทำให้น้ำฝนไหลผ่านกองขยะลงสู่ลำคลอง กลุ่มเยาวชนรักษ์โลก โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา เห็นว่าถ้าหากชุมชนมีความรู้เรื่องการแยกขยะก่อนทิ้งก็จะสามารถแก้ปัญหาขยะเน่าเสียและสามารถลดปริมาณขยะได้

­

เพื่อสร้างความรู้เความเข้าใจให้กับนักเรียนและคนในชุมชนในเรื่องของปัญหาและผลกระทบของการกำจัดขยะที่ไม่ถูกวิธีและให้ความรู้ในเรื่องการจัดการขยะที่ถูกวิธี เริ่มกิจกรรมด้วยการศึกษาเรียนรู้เรื่องการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี

­

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

สรุปผลโครงการการจัดการขยะในโรงเรียนและชุมชนเพื่อลดภาวะโลกร้อน


กลุ่มเยาวชนรักษ์โลก โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา จ.ลำปาง


“ขยะ” กลายเป็นปัญหาโลกแตกที่ต้องจัดการ หลายๆชุมชนต้องประสบปัญหาเรื่องที่ทิ้งขยะไม่เพียงพอ ไม่มีหน่วยงานมาจัดการดูแล และนี้เป็นปัญหาของชุมชนที่เยาวชนกลุ่มหนึ่งไม่อาจนิ่งเฉยจึงลุกขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาของชุมชน

­

“หมู่บ้านผมไม่มีที่ทิ้งขยะ เขาก็ไปทิ้งเชิงดอยจึงเป็นคดีความขึ้นมา แล้วเขาก็มาประชุมที่หมู่บ้านผมเป็นเลขาของผู้ใหญ่บ้านจึงเข้าประชุม นายกเทศบาลมาคุยกับชาวบ้านมาขอทิ้งโดยจ่ายค่าเสียหายให้ปีละหนึ่งแสนบาทและตกลงกันได้ แล้วเทศบาลเองรับผิดชอบ 9 หมู่บ้าน เขารับผิดชอบเยอะ ผมเลยคิดว่าทำไมไม่คิดแยกขยะอีกอย่างหมู่บ้านผมอยู่เชิงดอยขุนตาลก็เลยเป็นห่วง” เหตุการณ์นี้ทำให้ นิว (นวฤทธิ์ เขียววงศ์ตัน)ชวนเพื่อนๆลุกขึ้นมาทำเรื่องนี้ เพราะเห็นว่าชุมชนมีปัญหาขยะจึงคิดว่าน่าจะใช้ต้นทุนเดิมที่ตนเองมีอยู่นั้นก็คือการทำธนาคารขยะที่ทำในโรงเรียนมาขยายต่อทำกับชุมชนโดยทำเป็นชุมชนต้นแบบ

­

ชุมชนบ้านแม่ฮาว ตำบลห้างฉัตร อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เป็นอีกชุมชนที่ต้องประสบปัญหาขยะที่เพิ่มปริมาณขึ้น พื้นที่ทิ้งขยะไม่เพียงพอ ขยะมากมายเหล่านี้มาจากครัวเรือนซึ่งชาวบ้านไม่มีการแยกขยะก่อนทิ้ง ทำให้มีขยะหลายประเภทรวมอยู่ในถุงเดียวกัน ขยะเกิดการหมักหมุมเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็น เมื่อฝนตกลงมาทำให้น้ำฝนไหลผ่านกองขยะลงสู่ลำคลอง กลุ่มเยาวชนรักษ์โลก โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา เห็นว่าถ้าหากชุมชนมีความรู้เรื่องการแยกขยะก่อนทิ้งก็จะสามารถแก้ปัญหาขยะเน่าเสียและสามารถลดปริมาณขยะได้ครูอ้อย (ศรีวาริน สารศรี)ครูที่ปรึกษาโครงการเล่าให้ฟังว่า “เด็กกลุ่มนี้เป็นกลุ่มจิตอาสาช่วยงานต่างๆในโรงเรียน รวมถึงช่วยจัดการดูแลธนาคารขยะของโรงเรียนด้วย จึงได้ชวนกันมาทำโครงการดีๆเพื่อชุมชนเรา และที่เลือกหมู่บ้านแม่ฮาวเพราะเยาวชนเคยทำงานวิจัยเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบ้านแม่ฮาวอีกทั้งมีแกนนำเยาวชนบางคนอยู่ในหมู่บ้านนี้ด้วย”


เพื่อสร้างความรู้เความเข้าใจให้กับนักเรียนและคนในชุมชนในเรื่องของปัญหาและผลกระทบของการกำจัดขยะที่ไม่ถูกวิธีและให้ความรู้ในเรื่องการจัดการขยะที่ถูกวิธี เริ่มกิจกรรมด้วยการศึกษาเรียนรู้เรื่องการกำจัดขยะอย่างถูกวิธีเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 55 กลุ่มเยาวชนได้จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ โดยมีผู้เข้าร่วม 20 คน ประกอบด้วย แกนนำเยาวชน 8 คน และสมาชิก 12 คน ที่โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา โดยได้เชิญเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 2 จังหวัดลำปาง มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ครั้งนี้

­

จากนั้นจึงจัดค่ายนักเรียนแกนนำรักษ์โลก โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา กิจกรรททำเป็นลักษณะค่าย 1 วัน มีผู้เข้าร่วม 45 คน ประกอบด้วย นักเรียนโรงเรียนห้างฉัตรวิทยาที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านแม่ฮาว 32 คน, กลุ่มเยาวชนรักษ์โลก 12 คน, ครูและวิทยากร 3 คน โดยจัดเป็นลักษณะค่ายเรียนรู้ผ่านกิจกรรมดังนี้ แสดงละครสะท้อนปัญหา, ฉายวิดีทัศน์ เรื่องการจัดการขยะอย่างถูกวิธี, ฐานวิเคราะห์พฤติกรรมการทิ้งขยะ, ลงพื้นที่สำรวจปริมาณขยะและผลกระทบ จากนั้นผู้เข้าร่วมจะนำข้อมูลและปัญหาจากการสำรวจมาวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางแก้ไข สรุปข้อมูลเพื่อจัดเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชนต่อไป นอกจากนี้ยังพาไปเรียนรู้การทำปุ๋ยชีวภาพ การผสมดินปลูกจากขยะมูลฝอย และแปลงผักต้นแบบของคนในชุมชน

­

ผลการจัดกิจกรรมครั้งนี้ทำให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจถึงพฤติกรรมการทิ้งขยะของคนในชุมชน ได้ฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ถึงปัญหา สาเหตุ ผลกระทบ และการนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาโดยการมีส่วนร่วมของนักเรียนในชุมชนทุกคน

­

เพื่อให้นักเรียนและคนในชุมชนมีพฤติกรรมในการจัดการขยะที่ถูกวิธี แกนนำกลุ่มเยาวชนรักษ์โลกจึงได้หาเครือข่ายโดยวิธีนักเรียนแกนนำ 1 คน หาเพื่อนมาเข้ากลุ่ม 2 คนและเชิญชวนให้แยกขยะรีไซเคิลมาจากบ้านนำมาฝากกับธนาคารขยะในโรงเรียน นอกจากนี้กลุ่มเยาวชนยังได้มีการรณรงค์ให้นักเรียนในโรงเรียนแยกขยะในแต่ละห้องและนำขยะรีไซเคิลมาฝากกับธนาคารขยะในโรงเรียนอีกด้วย

เริ่มที่โรงเรียน สู่ชุมชนของพวกเรา ให้บ้านเราหน้าอยู่เหมือนที่โรงเรียน


หลังจากที่ทำรณรงค์ให้โรงเรียนแล้ว กลุ่มเยาวชนก็เริ่มขยายสู่ชุมชนบ้านแม่ฮาวซึ่งอยู่ใกล้กับโรงเรียนโดยได้ประสานความร่วมมือไปยังเทศบาลตำบลห้างฉัตรเพื่อขอความร่วมมือในการเก็บข้อมูลขยะก่อนและหลังดำเนินการ

­

กิจกรรมที่สร้างความท้าทายให้เยาวชน การไปสำรวจ...ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน หมูแฮม และนิว ประสานงานกับทางเทศบาลเพื่อขออนุญาตไปกับรถขนขยะ และนำรถขยะไปชั่งน้ำหนักที่โรงสี ซึ่งปกติไม่มีการชั่งน้ำหนักขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน การไปในครั้งนี้ก็ทำให้ นิวและหมูแฮม นำประสบการณ์ที่ตนเองไปเจอมาเล่าให้เพื่อนในกลุ่มแกนนำฟัง และร่วมกันวิเคราะห์หาแนวทาง..ลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นของชุมชน..การคัดแยกขยะเป็นสิ่งง่ายที่สุดที่จะลดปริมาณขยะที่ไปทิ้งที่ภูเขาขยะได้ หลังจากที่ นิวและหมูแฮมไปที่กองขยะแล้วก็กลับมาพาเพื่อนๆ เข้าไปดูภูเขาขยะด้วยกัน และกลับมาเป็นกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาร่วมกันของนักเรียน ซึ่งจัดภายในชั่วโมงชมรม “นิว” ได้นำปัญหานี้มาแบ่งปันร่วมให้สมาชิกในชมรมร่วมคิด จึงมีแนวทางการเริ่มจากตัวนักเรียนในโรงเรียนซึ่ง นักเรียนส่วนใหญ่มีบ้านอยู่ในชุมชนแม่ฮาวกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด จึงนำวิธีการที่ทำในโรงเรียน คือ ธนาคารขยะ โดยนำสิ่งที่รีไซเคิลได้ แยกออกจากขยะทั่วไป ซึ่งแต่เดิมลักษณะการทิ้งของชาวบ้าน คือ ทิ้งรวมกันถุงเดียว ไม่มีการแยกขยะ นิวและจาเล่าให้เล่าฟัง จากการคิดวิธีแล้ว ได้มีกิจกรรมคืนข้อมูลครั้งแรก เป็นการบอกกล่าวเล่าปัญหาที่เกิดขึ้นของชุมชน เชิญชวนให้แต่ละบ้านแยกขยะที่ขายได้ออกจากขยะที่ทิ้งไปในถังรวม ในครั้งนี้การประชาสัมพันธ์ด้วยจดหมายเชิญผู้ปกครองให้มาร่วมงาน แต่ผลจากการจัดในครั้งนี้ อัญเล่าว่า คนมาร่วมไม่มากค่ะ เพราะฝนตก บางส่วนก็ไม่ได้รับจดหมายเชิญ จึงทำให้งานครั้งนั้นมีคนมาร่วมไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจ

­

ได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการกิจกรรมครั้งที่แรกทีไม่เป็นไปตามเป้าหมาย


ครูอ้อย ก็บอกเด็กว่า “ให้วิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเกิดจากจุดไหน และครั้งหน้าเราจะแก้ปัญหาอย่างไร” เป็นสิ่งที่ครูอ้อยจะแนะนำให้เด็กๆ ได้ทบทวนหลังจากจบกิจกรรมเสมอ และนำสิ่งที่ผิดพลาดหรือไม่เป็นไปตามตั้งใจแก้ไขในครั้งต่อไป

­

หลังจากกิจกรรมคืนข้อมูลครั้งที่ 1 ผ่านไป เด็กๆ ก็ยังรณรงค์ให้แยกขยะกับนักเรียนภายในโรงเรียน เริ่มขยะสู่ชุมชนด้วยการประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายของชุมชน ด้วยการที่เป็นเด็กในชุมชน และก็มีงานอะไรก็ช่วยตลอด อาร์มเล่าต่อว่า เวลาที่มีงานอะไร บอกงานผมก็จะเป็นคนพูดประชาสัมพันธ์เสมอ และก็ถือว่าเรื่องที่ทำร่วมกับเพื่อนเป็นสิ่งที่ทำให้ชุมชนของเราน่าอยู่ ก็สบายมากครับที่จะนำมาประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องทราบ

­

เกิดการประชุมกลุ่มในครั้งนี้มีเพื่อนใหม่มาเพิ่มอีกหลายคน ทำให้กลุ่มขยายใหญ่ขึ้น มีแผนที่จะคืนข้อมูลครั้งที่ 2 แต่ก่อนเกิดงานครั้งที่ 2 เด็กใช้วิธีการเชิงรุกมากขึ้นต่อการเข้าถึงชุมชนมากขึ้น ด้วยการประชาสัมพันธ์ กลุ่มเยาวชนจะเข้าไปรับซื้อขยะรีไซเคิลที่บ้าน เริ่มจากบ้านแกนนำ ระหว่างที่รถขับผ่านบ้านหลังอื่นๆ ก็บอกนัดหมายวันที่จะมารับซื้อในครั้งต่อไป เชิญชวนให้แยกไว้แล้วเราจะมารับซื้อในวันอาทิตย์ปลายเดือน กลยุทธ์ที่น่าสนใจของเยาวชนกลุ่มนี้ การเข้าถึงพื้นที่แก้ปัญหา และใกล้ชิดกลุ่มเป้าหมาย การลงไปรับซื้อหน้าบ้านโดยเริ่มจากบ้านแกนนำก็ทำให้ผู้ปกครองรับรู้ว่าเด็กกำลังทำอะไร มีการเล่ากันปากต่อปากชวนกัน

­

กิจกรรมคืนข้อมูลครั้งที่ 2 กำลังเริ่มขึ้น ก่อนวันกิจกรรม กลุ่มเยาวชนมีการประชุมแบ่งหน้าที่กันชัดเจน ต่อหน้าที่รับผิดชอบของตนเอง ครูอ้อยและครูทัยเป็นกำลังสนับสนุน คอยให้คำปรึกษา คำแนะนำ เยาวชนได้มีโอกาสได้เรียนรู้ขั้นตอนการจัดงานที่ต้องเชิญผู้นำท้องถิ่น ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้ปกครอง และเยาวชนในหมู่บ้านมาร่วมงาน แต่งานในครั้งนี้ ไม่เหมือนทุกครั้ง เพราะเสียงที่เยาวชนต้องการแก้ไขจะดังถึงหูผู้นำท้องถิ่นระดับอำเภอต่อมาตรการแก้ไขปัญหาขยะล้นแม่ฮาว

­

ผลต่อชุมชน ชุมชนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี ผู้นำชุมชนเป็นผู้ทีมีวิสัยทัศน์กว้างไกลให้การสนับสนุนเปิดโอกาสให้กลุ่มเยาวชนรักษ์โลกได้ดำเนินกิจกรรมจนสำเร็จลุล่วงด้วยดี เกิดกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องของการจัดการขยะในชุมชนและได้รับมอบโครงการที่จะสานต่อกิจกรรมให้เกิดขึ้นในชุมชนอย่างยั่งยืนและจะขยายไปยังครัวเรือนอื่นๆ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับชุมชนและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน

­

ผลต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการดำเนินกิจกรรมโครงการเป็นการชักชวนให้คนในชุมชนใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า เป็นการนำทรัพยากรหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ด้วยวิธีการรีไซเคิล ซึ่งช่วยประหยัดต้นทุนในการผลิตและเป็นการประหยัดพลังงาน ส่งผลต่อคุณภาพของสิ่งแวดล้อม คือ ทำให้ปริมานขยะลดลงลดการเผาและการฝังกลบทำให้ปริมาณแก๊ส Co2 ในชั้นบรรยากาศลดลง เป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ระดับหนึ่งและส่งผลให้สิ่งแวดล้อมในชุมชนดีขึ้นกว่าเดิมนั่นคือปริมาณขยะในชุมชนลดลง ควันพิษในชั้นบรรยากาศลดลง

­

ผลต่อการขยายเครือข่ายการทำงาน ทำให้เกิดแนวร่วมในการจัดการขยะที่ถูกต้องมากขึ้นส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ

­

แกนนำกลุ่มเยาวชนรักษ์โลก



 นวฤทธิ์ เขียววงศ์ต้น (นิว)

เด็กหนุ่มที่ฝันจะกลับมาพัฒนาชุมชนของตนเอง ให้เป็นชุมชนที่ฝันไว้ ได้เรียนรู้ ขึ้นตอนการทำงานทุกๆ ขั้นตอนตั้งแต่ประสานงานกับผู้ใหญ่ ข้อมูล การแบ่งหน้าที่ให้เพื่อนสมาชิก สิ่งสำคัญ...คือการไว้ใจและเชื่อมั่นในเพื่อนครับ...

­

“อยากปรับปรุงสภาพชุมชนของตนเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม และมาเอาความรู้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เยาวชนรุ่นต่อๆ ไป”



จุรีรัตน์ ติวรรณะ (อัน)

ได้รู้จักการทำงานร่วมกับเพื่อนๆ แต่ก็ต้องรับผิดชอบหน้าที่ของเราให้สมบูรณ์ก่อน และต้องคอยดูว่าเพื่อนต้องการให้เราช่วยอะไรหรือเปล่า เราก็ต้องพร้อมทั้งหน้าที่เรา และช่วยสนับสนุนเพื่อนร่วมงานค่ะ...

­

“อยากมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเอง และอยากมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดหรือแนวทางแก้ปัญหาให้กับชุมชนอื่นๆ ที่ร่วมโครงการ”



  วัตร

ผมมีหน้าที่ทำข้อมูลนำเสนอ และเตรียมฉาก เวที และอื่นๆ ที่เพื่อนจะให้ทำครับ เพราะงานผมต้องเรียบร้อยก่อนที่จะเริ่ม ผมก็ต้องปรับเนื้อหาให้เหมาะสม และถูกต้องแต่ข้อมูลผมก็จะได้มาจากเพื่อนๆ ที่แบ่งกันไปทำและผมก็เป็นผู้รวบรวม...ทำหน้าที่ของเราให้พร้อม แล้วจึงไปช่วยเพื่อน

­

  ครูศรีวาริน สารศรีกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา จังหวัดลำปาง ที่ปรึกษากลุ่มเยาวชนโครงการการจัดการขยะในโรงเรียนและชุมชมได้ชักชวนให้เด็กนักเรียนที่มีจิตอาสาช่วยกันทำงานในโรงเรียนมาร่วมโครงการช่วยเหลือนักเรียน เป็นผู้ให้คำปรึกษาเป็นผู้สร้างแรงจูงใจให้นักเรียนมาร่วมกันทำกิจกรรม และช่วยกันคิดวางแผนการทำกิจกรรมให้โครงการนี้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

ครูศรีวาริเล่าว่า “สำหรับสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้คือ รู้สึกภาคภูมิใจในผลงาน และการที่ชุมชนให้ความสนใจ โดยเฉพาะกิจกรรมสุดท้าย“เวทีคืนข้อมูล” ที่มีกิจกรรมย่อยอยู่ในวันที่มารับฟังข้อมูล โดยให้ชาวบ้านเอาขยะมาจากบ้านด้วยเพื่อนำมาแลกไข่ แม้โครงการนี้จะมีครัวเรือนต้นแบบ เด็กใช้วิธีประชาสัมพันธ์แจกแผนพับ มีหนังสือไปถึงครัวเรือนต้นแบบ และใช้เสียงตามสายในชุมชน ปรากฏว่าคนที่มาไม่ได้มาแต่ครัวเรือนต้นแบบเท่านั้น แต่ยังมีครัวเรือนอื่นๆ มาร่วมด้วย แต่ละครัวเรือนำขยะใส่รถมาด้วยเพื่อมาแลกไข่แลกและของใช้ เช่น น้ำมันพืช ผงซัก เด็กเล็กๆ ก็ขนขยะมากัน ทำให้เด็กๆ รู้สึกว่าเขาทำงานนี้สำเร็จ”


ก่อนมาทำโครงการนี้ เวลาทำกิจกรรมเด็กๆ จะวางแผนไม่เป็น จัดสรรงานไม่เป็น แต่งานสุดท้ายครูให้เขาทำกิจกรรมเอง ถ้ามีปัญหาค่อยมาปรึกษาครู ผลคือเด็กๆ สามารถจัดการแบ่งหน้าที่กันเรียบร้อย มีทั้งฝ่ายลงทะเทียบ ฝ่ายวัสดุ ฝ่ายการเงิน และเตรียมรายงาน ให้เขาวางแผนและให้ประเมินตนเอง จัดการตัวเองว่าตัวเองมีความเชื่อมั่นขนาดไหน เราประเมินตนเองได้ไหมว่าเราทำงาน ประเมินโครงการได้โดยไม่ต้องปรึกษาครู หลักการคือเราต้องไปถึงเป้าหมายที่เราวางไว้ให้ได้ เราต้องการอะไร ดูเป้าหมายที่เราวางไว้ และพยายามขับเคลื่อนให้เราไปถึงเป้าหมายให้ได้ ถ้ามีปัญหาก็ลองมาช่วยกันวิเคราะห์ว่าปัญหาเกิดจากอะไร แล้วเราจะแก้อย่างไร และทำอย่างไรให้เราไปถึงเป้าหมาย ให้ชุมชนยอมรับว่าสิ่งที่เราให้กับเขา เขาสามารถทำกิจกรรมต่อเนื่องได้เมื่อไม่มีเรา รู้สึกภูมิใจที่เด็กๆ สามารถทำโครงการนี้ได้ดี ส่วนกลุ่มเพื่อนๆ ที่ไม่ได้ทำโครงการนี้ก็มาสมัครเข้าร่วมโครงการต่อไป

­

สำหรับความคาดหวัง เราจะไม่หวังสูงเกินไป เพราะกลัวว่าทำไม่ได้ เด็กก็ยังหวั่นๆ อยู่ว่าเราจะทำไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ไหม เพราะเป้าหมายเราคือชุมชนเขารับที่จะสานต่อโครงการนี้ เขาจะยอมรับไหม ซึ่งคนในชุมชนก็รับสานต่อโครงการนี้แล้ว

­

โครงการการจัดการขยะในโรงเรียนและชุมชนเพื่อลดภาวะโลกร้อน

กลุ่มเยาวชนรักษ์โลก โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา จ.ลำปาง

ผู้ประสานงาน นวฤทธิ์ เขียงวงศ์ตัน (นิว) โทรศัพท์ 08-7542-4286 อีเมล์ Nawaritk401@windowslive.com

กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินการ นักเรียนโรงเรียนห้างฉัตรวิทยา / บ้านแม่ฮาว อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง

­

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ