โครงการนักเกษตรกับการฟื้นฟูดินสู่ความยั่งยืนทางเกษตรและสิ่งแวดล้อม
โครงการนักเกษตรกับการฟื้นฟูดินสู่ความยั่งยืนทางเกษตรและสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปผลโครงการนักเกษตรกับการฟื้นฟูดินสู่ความยั่งยืนทางเกษตรและสิ่งแวดล้อม
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โครงการนักเกษตรกับการฟื้นฟูดินสู่ความยั่งยืนทางเกษตรและสิ่งแวดล้อม

กลุ่มคนอาสา


“ดิน” ต้นกำเนิดแห่งชีวิตที่มาของปัจจัยสี่เพราะเราต้องอาศัยดินในการปลูกพืชที่เป็นทั้งอาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และเครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ “ดิน” ยังก่อให้เกิดอาชีพและสร้างรายได้ให้กับมนุษย์อีกด้วย ฉะนั้น “ดิน” จึงถือว่ามีบทบาทสำคัญในการดำรงชีพและผูกพันกับวิถีชีวิตของมนุษย์มายาวนาน


พื้นที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทยได้ชื่อว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” เป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะปลูกข้าว ดังนั้นการเกษตรกรรมจึงเป็นอาชีพหลักของคนแถบนี้ เช่นเดียวกับ ต.พรหมบุรี อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรีเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้กับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสิงห์บุรี มีแม่น้ำลพบุรีไหลผ่าน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 6,865 ไร่ มีจำนวนประชากรจำนวน 938 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรบนพื้นที่การเกษตรประมาณ 33.72% ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอาหารและรายได้หลักให้กับชุมชน


สมัยก่อนวิถีการผลิตจะพึ่งพิงธรรมชาติ อาศัยแรงคน แต่ 30 ปีมานี้วิถีผลิตเปลี่ยนเป็นเชิงอุตสาหกรรม พึ่งเทคโนโลยีมากขึ้น ใช้แรงงานคนน้อยลง ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในการเกษตร ใช้พื้นที่ทำเกษตรทั้งปี เพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนมากๆ เนื่องจากประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารและส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของโลกประเทศหนึ่ง การกระทำเหล่านี้ทำให้ดินถูกทำลายอย่างต่อเนื่องและได้ก่อให้เกิดปัญหาทางการเกษตรตามมา เช่น ดินมีสภาพเสื่อมโทรมขาดความสมบูรณ์ ขาดธาตุอาหารจึงต้องใช้ปุ๋ยเคมีมากขึ้นๆทุกปี ดินแข็งกระด้างไม่มีสิ่งมีชีวิตในดิน นอกจากนี้ยังส่งผลต่อระบบนิเวศโดยรวมด้วย


เพราะ “ดิน” คือต้นกำเนิดแห่งชีวิต ทำให้น้องๆ กลุ่มฅนอาสา เป็นนักศึกษาที่เรียนอยู่ในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสิงห์บุรี ซึ่งเกี่ยวข้องกับอาชีพเกษตรโดยตรงสนใจถึงสภาพปัญหาดินเสื่อมโทรม ประกอบกับ“การเกษตรกรรม” ถือเป็นว่ารากฐานของความมั่นคงทางอาหารและยังถือว่าภาคเกษตรกรรมเป็นที่มาของรายได้หลักของประเทศไทย แต่ในทางกลับกันอาชีพเกษตรถือเป็นอาชีพที่มีจำนวนประชากรลดลงอย่างต่อเนื่อง “เป็นอาชีพที่หลายคนมองข้าม”

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

โครงการนักเกษตรกับการฟื้นฟูดินสู่ความยั่งยืนทางเกษตรและสิ่งแวดล้อม

กลุ่มคนอาสา


“อาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพที่ใครๆก็ว่าเหนื่อย เป็นอาชีพที่หลายคนมองข้าม แต่ยังมีนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่สนใจและพยายามสร้างทัศนคติที่ดีให้กับรุ่นน้องในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสิงห์บุรีเห็นถึงคุณค่าของการทำอาชีพเกษตร พร้อมทั้งเรียนรู้ปัญหาดินเสื่อมโทรมและการฟื้นฟูดินควบคู่ไปด้วย”


“ดิน” ต้นกำเนิดแห่งชีวิตที่มาของปัจจัยสี่เพราะเราต้องอาศัยดินในการปลูกพืชที่เป็นทั้งอาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และเครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ “ดิน” ยังก่อให้เกิดอาชีพและสร้างรายได้ให้กับมนุษย์อีกด้วย ฉะนั้น “ดิน” จึงถือว่ามีบทบาทสำคัญในการดำรงชีพและผูกพันกับวิถีชีวิตของมนุษย์มายาวนาน


พื้นที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทยได้ชื่อว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” เป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะปลูกข้าว ดังนั้นการเกษตรกรรมจึงเป็นอาชีพหลักของคนแถบนี้ เช่นเดียวกับ ต.พรหมบุรี อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรีเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้กับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสิงห์บุรี มีแม่น้ำลพบุรีไหลผ่าน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 6,865 ไร่ มีจำนวนประชากรจำนวน 938 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรบนพื้นที่การเกษตรประมาณ 33.72% ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอาหารและรายได้หลักให้กับชุมชน


สมัยก่อนวิถีการผลิตจะพึ่งพิงธรรมชาติ อาศัยแรงคน แต่ 30 ปีมานี้วิถีผลิตเปลี่ยนเป็นเชิงอุตสาหกรรม พึ่งเทคโนโลยีมากขึ้น ใช้แรงงานคนน้อยลง ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในการเกษตร ใช้พื้นที่ทำเกษตรทั้งปี เพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนมากๆ เนื่องจากประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารและส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของโลกประเทศหนึ่ง การกระทำเหล่านี้ทำให้ดินถูกทำลายอย่างต่อเนื่องและได้ก่อให้เกิดปัญหาทางการเกษตรตามมา เช่น ดินมีสภาพเสื่อมโทรมขาดความสมบูรณ์ ขาดธาตุอาหารจึงต้องใช้ปุ๋ยเคมีมากขึ้นๆทุกปี ดินแข็งกระด้างไม่มีสิ่งมีชีวิตในดิน นอกจากนี้ยังส่งผลต่อระบบนิเวศโดยรวมด้วย


เพราะ “ดิน” คือต้นกำเนิดแห่งชีวิต ทำให้น้องๆ กลุ่มฅนอาสา เป็นนักศึกษาที่เรียนอยู่ในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสิงห์บุรี ซึ่งเกี่ยวข้องกับอาชีพเกษตรโดยตรงสนใจถึงสภาพปัญหาดินเสื่อมโทรม ประกอบกับ“การเกษตรกรรม” ถือเป็นว่ารากฐานของความมั่นคงทางอาหารและยังถือว่าภาคเกษตรกรรมเป็นที่มาของรายได้หลักของประเทศไทย แต่ในทางกลับกันอาชีพเกษตรถือเป็นอาชีพที่มีจำนวนประชากรลดลงอย่างต่อเนื่อง “เป็นอาชีพที่หลายคนมองข้าม”


ที่ผ่านมาน้องๆกลุ่มฅนอาสามักใช้เวลาว่างรวมตัวกันทำกิจกรรมในช่วงเสาร์-อาทิตย์ เช่น ปลูกป่า, เรียนรู้การทำเกษตรยั่งยืน และค่ายสร้างเยาวชนจิตอาสา เป็นต้น โดยมีเป้าหมายการจัดกิจกรรม 3 ด้าน คือ 1) กิจกรรมด้านการเกษตร 2) กิจกรรมจิตอาสา 3) กิจกรรมสิ่งแวดล้อม จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำเกษตรของ ต.พรหมบุรี พบว่าขณะนี้ปัญหาดินเสื่อมโทรมรุนแรงมาก ลิต (ชลิต ตรีนิตย์) แกนนำหลักเล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของโครงการว่า “วิทยาลัยเราอยู่ใกล้กับชุมชนและพื้นที่ทำเกษตร ก่อนหน้านี้ได้พาน้องๆลงพื้นที่ชุมชนตำบลพรหมบุรีเพื่อเก็บข้อมูลทำให้ทราบว่าขณะนี้พื้นที่ทำการเกษตรโดยเฉพาะนาข้าว เกิดปัญหาดินเสื่อมโทรมอย่างรุนแรง เนื่องจากระบบการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อหน้าดินและคุณภาพดิน อีกประเด็นปัญหาที่พบคือเด็กที่เรียนจบจากวิทยาลัยฯ ส่วนใหญ่จะไปทำงานโรงงาน จึงอยากสร้างทัศนคติที่ดีให้รุ่นน้องเห็นคุณค่าการทำอาชีพเกษตร ควบคู่ไปกับการเรียนรู้การฟื้นฟูดินซึ่งเป็นโจทย์ปัญหาของพื้นที่ โดยกระบวนการเรียนรู้จะเป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักศึกษากับชาวบ้าน”


โครงการนักเกษตรกับการฟื้นฟูดินสู่ความยั่งยืนทางเกษตรและสิ่งแวดล้อม จึงเกิดขึ้นเพื่อทำกิจกรรมสร้างความเข้าใจและทัศนคติที่ดีต่ออาชีพเกษตรให้กับนักศึกษา 12 คน พร้อมทั้งส่งเสริมให้ชาวบ้านในชุมชนตำบลพรหมบุรี จำนวน 5 คน หันมาเริ่มลงมือปฏิบัติฟื้นฟูดินและเริ่มใช้ปุ๋ยชีวภาพและสารชีวภาพร่วมกับการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรเพื่อลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีต่อไปในอนาคต ลิต บอกถึงเหตุผลว่า “เราเริ่มจากกลุ่มเล็กๆก่อน แล้วค่อยขยายไป เพราะเรากำลังทำเรื่องการปรับทัศนคติและความเชื่อ สำหรับเหตุผลที่ให้ชาวบ้านเริ่มหันมาใช้วิธีชีวภาพร่วมกับการใช้สารเคมีนั้นเพราะว่าเราไม่อาจจะให้เกษตรกรหยุดใช้สารเคมีได้ทั้งหมด เราต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป”


หาแนวร่วม ปรับทัศนคติ


กิจกรรมเริ่มด้วยการชักชวนนักศึกษาเข้าร่วมโครงการโดยใช้วิธีบอกปากต่อปาก มีนักศึกษาสนใจเข้าร่วมโครงการ 15 คน บุญ (สมบุญ เว้ยยือกู่) กำลังศึกษา ปวช. ปี 2 สาขาเกษตรศาสตร์ หนึ่งในสมาชิกเล่าให้ฟังถึงเหตุผลที่เข้าร่วมโครงการว่า “อยากรู้ อยากลอง ในสิ่งที่ตนเองกำลังเรียนอยู่ อีกอย่างทางบ้านมีอาชีพการเกษตร แต่เป็นการใช้สารเคมี จึงอยากศึกษาเพื่อนำไปปรับปรุงการทำเกษตรที่บ้านของตนเอง”


เมื่อได้สมาชิกเข้าร่วมโครงการ 15 คน จากนั้นก็พากันลงพื้นที่ กิน นอน เรียนรู้ และลงมือปฏิบัติการทำเกษตรในพื้นที่จริงของชาวบ้านที่ ต.หนองมะโมง อ.หนองมะโมง จ.ชัยนาท ในช่วงเวลา 3 วัน 2 คืน ระหว่างการทำกิจกรรมมีวงพูดคุยเกี่ยวกับทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อการทำอาชีพเกษตร หลายคนสะท้อนให้ฟังว่า “อาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพที่ต้องใช้แรงงาน เหนื่อย” บางคนไม่เห็นคุณค่าของการทำเกษตร การลงพื้นที่ครั้งนี้นอกจากจะได้เรียนรู้การทำเกษตรแล้ว ยังถือได้ว่าเป็นการปรับจูนทัศนคติและแลกเปลี่ยนมุมมองร่วมกันของนักศึกษาและเกษตรกรอีกด้วย


หลังจากที่กลับมาวิทยาลัยแล้วแนวร่วมที่สนใจต่างก็ไปชักชวนเพื่อนๆให้เข้าร่วมโครงการ ในขณะที่คนที่ไม่สนใจก็หายไป ชลิตจึงต้องจัดวงพูดคุยแลกเปลี่ยนเป็นระยะๆสลับกับเปิดสารคดีเกี่ยวกับการทำการเกษตร สารคดีสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเข้าใจให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเห็นผลกระทบของการทำเกษตรโดยใช้สารเคมี ซึ่งผลกระทบไม่ได้เกิดกับดินอย่างเดียวแต่มันยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมอีกด้วย “ฉะนั้นการทำเกษตรที่ดีเราควรคำนึกถึงสุขภาพและสิ่งแวดล้อมด้วย”


เรียนรู้ชีวิต เรียนรู้การทำเกษตรยั่งยืน


หลังจากปรับทัศนคติ สร้างความเข้าใจแล้วก็มาถึงการเรียนรู้สิ่งมีชีวิตในดิน หากถามว่า “สิ่งมีชีวิตในดินสำคัญอย่างไร ทำไมต้องศึกษา” คำตอบคือ ความสมบูรณ์ของดินสามารถสังเกตได้จากความหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวิตในดิน ซึ่งสิ่งมีชีวิตในดินมีบทบาทสำคัญในการเกษตรกรรม เนื่องจากสิ่งมีชีวิต เช่น จุลินทรีย์ ไส้เดือน แมลงปีกแข็ง ที่อาศัยอยู่ในดินจะช่วยให้โครงสร้างของดินดีขึ้น เมื่อโครงสร้างของดินดี ทำให้ น้ำ อากาศ เคลื่อนย้ายในดินได้ดี พืชสามารถนำไปใช้ได้ดี นอกจากนี้สิ่งมีชีวิตในดินยังช่วยควบคุมโรคพืชอีกด้วย เมื่อก่อนการทำเกษตรจะใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด เหล่านี้จะเป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน ซึ่งอินทรีย์วัตถุมีประโยชน์และมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตในดิน แต่ปัจจุบันการทำเกษตรใช้สารเคมีจำนวนมากจึงมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในดิน ดินแข็งกระด้าง เสื่อมโทรม ขาดธาตุอาหาร


“ การศึกษาสิ่งมีชีวิตในดินเป็นเรื่องที่ผมถนัดและเคยเรียนรู้มาบ้าง จึงอยากถ่ายทอดเรื่องนี้ให้กับน้องๆเพราะเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่น้องๆควรรู้” ลิต เล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของกิจกรรมจึงได้พาน้องๆศึกษาสิ่งมีชีวิตในดินบริเวณวิทยาลัยฯก่อน จากนั้นจึงพาไปศึกษาเปรียบเทียบกับสวนพฤกษศาสตร์ภาคกลาง (พุแค) จ.สระบุรี


ต่อจากนั้นก็พาน้องๆไปหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำเกษตรอย่างยั่งยืน ณ ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านทฤษฎีใหม่ ของคุณธนพล ศรีใส ซึ่งเป็นบุคคลต้นแบบและเคยได้รับเลือกให้เป็นปราชญ์เกษตรของแผ่นดินในสาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง จ.สิงห์บุรี เมื่อก่อนคุณธนพลก็เคยประสบปัญหาหนี้สิน ล้มเหลวจากการประกอบอาชีพเกษตร สุขภาพไม่ดี จึงได้ปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรทฤษฎีใหม่โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่อย่างพอเพียง พอกิน พอใช้ แบ่งปัน เหลือขาย” การทำเกษตรของคุณธนพลจะพึ่งธรรมชาติ ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ผลิตปุ๋ยพืชสดและฮอร์โมนเอง


บุญ เล่าให้ฟังถึงสิ่งที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมว่า “ตนเองมีความคิดต่ออาชีพเกษตรที่ดีขึ้น รู้สึกมีความมั่นใจที่จะทำอาชีพนี้ เพราะได้เห็นคนที่ประสบความสำเร็จ ได้มาพบปะพูดคุยกับเพื่อน สิ่งหนึ่งที่รู้สึกประทับใจมากๆคือได้เรียนรู้ว่าธรรมชาติช่วยธรรมชาติ เช่น แมลงที่มีประโยชน์กำจัดแมลงที่เป็นศัตรูได้ สิ่งมีชีวิตในดินสำคัญอย่างไร และ การใช้ จุลินทรีฟื้นฟูดิน”


ระหว่างการดำเนินกิจกรรม ลิต ได้พาน้องๆลงพื้นที่เก็บข้อมูลคุณภาพดิน พร้อมกับพูดคุยกับเกษตรกรเพื่อชักชวนให้เกษตรกรมาเข้าร่วมโครงการ โดยหวังว่าเกษตรกรจะได้มาร่วมเรียนรู้กับนักศึกษา และมีการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรแบบเคมีหันมาใช้วิธีผสมผสานมากขึ้น แต่ก็เกิดปัญหาเพราะไม่มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการเลย เนื่องจากเกษตรกรไม่มีเวลา “จากการลงพื้นที่ผมรู้ตนเองเลยว่ายังขาดทักษะการพูดให้เข้าใจ ข้อมูลก็สำคัญเมื่อเราไม่มีข้อมูล ไม่รู้พื้นที่ก็มีปัญหาในการสื่อสาร”


ถึงแม้โครงการจะไม่บรรลุเป้าหมายในประเด็นของชาวบ้านเพราะไม่มีชาวบ้าเข้าร่วมโครงการ แต่การทำโครงการนี้ส่งผลต่อเนื่องในทางที่ดีต่อคนรุ่นใหม่ นั้นคือ เป็นโครงการที่ทำให้นักศึกษาเกิดทักษะการลงพื้นที่ชุมชนว่าต้องทำอย่างไร ทำให้นักศึกษามีโอกาสลงพื้นที่เรียนรู้ สร้างความสัมพันธ์กับชุมชนมากขึ้น เพื่อที่จะได้ทำกิจกรรมพัฒนาชุมชนในโอกาสต่อไป เช่น การส่งเสริมการใช้เชื้อราบิวเวอเรียเพื่อกำจัดแมลงให้กับเกษตรกร เป็นต้น


ปัญหาที่พบอีกประการคือขาดทีมเยาวชนแกนนำที่มาช่วยขับเคลื่อนหลัก ที่ผ่านมามี ลิต ที่เป็นแกนหลักในการดำเนินงานเพียงคนเดียว ตั้งแต่คิด ประสาน ลงมือทำ “เด็กที่มาเข้าร่วมกิจกรรมไม่ใช่แกนนำ สิ่งที่โครงการทำเน้นให้นักศึกษาสนใจมาทำอาชีพเกษตรกรมากขึ้น เรียนรู้เรื่องดิน สิ่งมีชีวิตในดิน ซึ่งเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่ในกระบวนการทำงานก็พยายามพัฒนาให้น้องๆขึ้นมาทำงานเหมือนกัน”


จุดเด่นของโครงการคือแกนนำหลัก อย่าง ลิต นำความรู้และทักษะที่เรียนมา เช่น การทำเกษตร การตรวจวัดคุณภาพดิน การปรับปรุงดิน มาชวนน้องๆทำกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ มีขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน โดยเริ่มต้นด้วยกระบวนการทำความเข้าใจกับน้องๆก่อน จากนั้นพาลงพื้นที่เรียนรู้ปัญหาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเกษตรเพื่อปรับจูนทัศนคติ พร้อมทั้งใช้โอกาสนี้ในเก็บข้อมูลการทำเกษตรเป็นการ “เปิดโลกการเรียนรู้นอกห้องเรียน



ผลการดำเนินงานโครงการอาจไม่สามารถปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตได้แต่อย่างน้อยก็เป็นการสร้างการรับรู้กับชาวบ้าน ในส่วนของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเองหลายคนเริ่มมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพเกษตรกรรม สนใจการทำเกษตรยั่งยืน ป๋อ หนึ่งในสมาชิกเล่าให้ฟังถึงสิ่งที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการว่า “ เมื่อก่อนเป็นคนไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรเลย ทั้งเรื่องการทำเกษตร สิ่งแวดล้อม แต่เมื่อได้เข้ามาร่วมกิจกรรมกับพี่ชลิตทำให้เราได้ความรู้จากการที่ทดลองทำ คิดว่าจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปทดลองในแปลงนาของตนเอง และอยากขยายผลให้คนอื่นต่อ”


แกนนำเยาวชนกลุ่มฅนอาสา 


  ชลิต ตรีนิตย์ (ลิต)

ปัจจุบัน (2556) กำลังศึกษา ปวส. 2 สาขาเกษตรศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสิงห์บุรี 


เป็นแกนนำเยาวชนที่มีใจและมีบทบาทมากในการทำกิจกรรมโครงการ ตั้งแต่คิดวางแผน ประสานงานกิจกรรม มีความสนใจการทำเกษตรอินทรีย์และมีความตั้งใจว่าเมื่อเรียนจบแล้วจะประกอบอาชีพเกษตร มีความสามารถตรวจวัดคุณภาพดินเบื้องต้นได้ เช่น ความเป็นกรด-เบส, ธาตุอาหาร (NPK) / มีภาวะผู้นำ / นำสันทนาการ / วิทยากรกระบวนการ / วางแผน / สามารถคิดวิเคราะห์ได้


ผมทำโครงการเรื่องดิน พอได้ทำโครงการนี้ทำให้มีความรู้เรื่องการตรวจดินมากขึ้น จากเมื่อก่อนที่เราเรียนอยู่ในวิทยาลัยพอรู้บ้างนิดหน่อย แต่พอได้มาเรียนรู้ในค่ายระหว่างกลุ่มพบว่าเราสามารถตรวจเรื่องสารเคมีได้แต่เราต้องมีข้อมูลที่มากหน่อย ทำให้ผมมีความรู้มากขึ้นในเรื่องของดินและการตรวจดิน อีกทั้งการทำโครงการยังทำให้ผมได้เรียนรู้เทคนิคการทำเกษตรบางอย่างที่ปราชญ์ชาวบ้านเข้าทำกัน ในขณะที่เราเรียนเกษตรแล้วเราไม่รู้ อีกประเด็นคือ ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมพอได้มาแลกเปลี่ยนทำให้ได้เรียนรู้เรื่องต้นไม้ จากที่ได้นั่งคุย “ควายที่ย้ำดินบ่อยๆ พื้นที่เลี้ยงควายบ่อยๆ กลายเป็นทะเลทรายได้ก็เพิ่งจะรู้ เกิดการค้นหาข้อมูลต่อทำให้มีความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมหลายอย่างมากขึ้น สำหรับในเรื่องของความเชื่อยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการทำโครงการ ความเชื่อของผมคือ “งานพัฒนาต้องใช้เวลา และใช้พลังใจที่สูงสำหรับคนทำงาน”


ทักษะที่เกิดขึ้น ผมได้ทักษะที่พัฒนามากขึ้นวิธีการพูดที่สร้างความน่าสนใจที่จะใช้กับเด็ก ทักษะนี้ผมพัฒนามากขึ้น แม้วงพูดคุยจะไม่ได้พูดเพียงเรื่องสิ่งแวดล้อมพวกเราเอาเรื่องอื่นๆ มาพูดคุยกันด้วย เช่น หนังสือ ทักษะที่เปลี่ยนแปลงอีกอย่างคือ เทคนิคการลงชุมชน เมื่อก่อนผมคิดว่า คนที่เป็นแกนนำชุมชนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรเราลงไปทำงานในพื้นที่มันก็น่าจะง่าย พอเอาเข้าจริงๆ มันไม่ใช่อย่างที่คิดไว้ มันต้องใช้เทคนิคบางอย่างที่ต้องพัฒนาต่อไป


พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง เช่น ใช้ถุงพลาสติกเท่าที่จำเป็น ถ้าเห็นอะไรที่มันสิ้นเปลือง เช่น การใช้แอร์ ใช้ไฟฟ้า เวลาขับรถในช่วงเย็นก็จะไม่ค่อยเปิดเปลี่ยนเป็นเปิดกระจกแทน สำหรับเรื่องการทำการเกษตรผมจะทำการเกษตรที่สร้างความสมดุลย์ต่อธรรมชาติมากยิ่งขึ้น จากปกติที่เราใช้สารเคมีเราใช้แต่ปุ๋ยเคมี แต่ตอนนี้เราไม่ใช้แล้ว อีกอันที่ภูมิใจ คือ ผมทำไดอารี่ใช้เอง โดยทำสมุดตามที่พี่ๆ แจกในค่าย เป็นสมุดทำมือจากกระดาษใช้แล้วหน้าเดียว ปกติไดอารี่ทุกเล่มของผมๆ จะซื้อ แต่ตอนนี้ไม่แล้ว


จากการเรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้านและการเรียนในห้องเรียน ความรู้สึกที่เกิดขึ้น คือ ผมเชื่อว่าต้องไปคู่กัน เราจะทิ้งทางนี้ไม่ได้เพราะให้ความรู้ในเรื่องวิชาการแต่ว่าจะทำอย่างไรให้เด็กที่เรียนอยู่ในวิทยาลัยจะได้ไปเห็นโลกภายนอกที่กว้างกว่าที่อาจารย์มอง


“จากการเรียนรู้ในระบบ ออกไปเรียนรู้นอกระบบมากขึ้น”



  สมบุญ เว้ยยือกู่ (บุญ)

กำลังศึกษา ปวช. ปี 2 สาขาเกษตรศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสิงห์บุรี


แรงบันดาลใจในการทำโครงการ “อยากรู้ อยากลอง ในสิ่งที่ตนเองกำลังทำอยู่ และทางบ้านมีอาชีพการเกษตร แต่เป็นการใช้สารเคมี จึงอยากศึกษาเพื่อนำไปปรับปรุง


การเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทำให้บุญได้เรียนรู้ เพิ่มทักษะ ซึ่งเป็นสิ่งที่หายากในห้องเรียน “ไม่ค่อยกล้าทำอะไรต่อหน้าคนเยอะๆ ขาสั่น พูดไม่เก่งเพราะเรียบเรียงหัวข้อพูดไม่ถูกไม่รู้จะเริ่มตรงไหน เรียนทางด้านเกษตรก็จริงแต่ก็ไม่คิดที่จะทำอาชีพเกษตร แต่พอมาได้ร่วมโครงการ ก็เริ่มสนใจอยากทำเกษตร ได้เรียนรู้ว่าธรรมชาติช่วยธรรมชาติได้ เช่น แมลงที่มีประโยชน์กำจัดแมลงที่เป็นศัตรูได้ สิ่งมีชีวิตในดินสามารถบอกได้ว่าคุณภาพดินดีหรือไม่ การฟื้นฟูดินแบบวิธีชีวภาพคือใช้จุลินทรีย์ฟื้นฟูดิน มีความมั่นใจมากขึ้นและกล้าพูดต่อหน้าคนเยอะๆ”


โครงการนักเกษตรกับการฟื้นฟูดินสู่ความยั่งยืนทางเกษตรและสิ่งแวดล้อม

กลุ่มฅนอาสา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสิงห์บุรี จ.สิงห์บุรี

ผู้ประสานงาน นายชลิต ตรีนิตย์ (ลิต) โทรศัพท์ 08-9809-9569 อีเมล์ Goolit4@gmail.com

กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินการ นักศึกษาในวิทยาลัยฯ 12 คน และเกษตรกร 5 คน ใน ต.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ