กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปผลโครงการปลูกใจ…เมล็ดพันธุ์รักษ์น้ำตกฉัตรวาริน
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

สรุปผลโครงการปลูกใจ…เมล็ดพันธุ์รักษ์น้ำตกฉัตรวาริน


กลุ่มเยาวชนพงลีแป สุไหงปาดี จ.นราธิวาส



น้ำตกฉัตรวารินแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงนักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซียที่จะมาท่องเที่ยวในเทศกาลสำคัญต่างๆ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ บูโด-สุไหงปาดี เป็นแหล่งต้นน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภค รวมถึงเป็นแหล่งน้ำหลักที่ใช้ในการผลิตน้ำประปา ให้คนทั้งอำเภอสุไหงปาดีได้ใช้อีกด้วย

­

เนื่องจากน้ำตกฉัตรวารินมีนักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่นิยมเดินทางมาเที่ยวเป็นจำนวนมาก ประกอบกับจากปัญหาความไม่สงบในสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ทำให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลน้ำตกฉัตรวารินถอนตัวจากพื้นที่เพื่อความปลอดภัย ทำให้ไม่มีการจัดการดูแลสถานที่และขาดระบบการจัดการขยะ รวมถึงการบังคับใช้กฎระเบียบที่ไม่ได้ผล จึงทำให้มีการทิ้งขยะจำนวนมากบริเวณน้ำตก เกิดปัญหาขยะส่งกลิ่นเหม็น ไม่น่าดู มีขยะปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ไม่เหมาะสำหรับเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีสาเหตุมาจาก ความขาดจิตสำนึกของนักท่องเที่ยวและคนในชุมชนที่ไม่เห็นคุณค่าในเรื่องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังขาดความรู้เรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาขยะบนแหล่งต้นน้ำที่จะส่งผลต่อกลางน้ำและปลายน้ำอีกด้วย

­

พลังของเยาวชนที่คิดเปลี่ยนแปลงโลก


เยาวชนกลุ่มหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่เรียนการศึกษานอกโรงเรียน รวมตัวกันไปเที่ยวน้ำตกฉัตรวาริน พบกับสภาพ น้ำตกที่เต็มไปด้วยขยะจึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า “ทำไมขยะที่นี่เยอะจัง” ด้วยความรู้สึกอยากแก้ปัญหาเหล่านี้เยาวชนกลุ่มนี้จึงรวมกลุ่มกันขึ้นมา เพื่อให้เยาวชนรวมถึงคนในชุมชนมีความรู้เรื่องการจัดการขยะ การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ หันมาช่วยกันแก้ไขปัญหาและดูแลรักษาน้ำตกฉัตรวารินให้มีความสะอาดมากขึ้น และสร้างแกนนำเยาวชนแนวร่วมที่มีความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถดูแลน้ำตกฉัตรวารินได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนสืบสานวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านเพื่อให้เยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และห่างไกลยาเสพติด โดยรวมตัวตั้งเป็นกลุ่มเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2554 ใช้ชื่อว่า “กลุ่มเยาวชนพงลีแป สุไหงปาดี” ซึ่งมาจากชื่อพืชที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งมีถิ่นกำเนิดใน อ.สุไหงปาดี คือ “ต้นปาล์มบังสูรย์” หรือ ในชื่อภาษามลายู ว่า “พงลีแป” นั่นเอง 

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

สรุปผลโครงการปลูกใจ…เมล็ดพันธุ์รักษ์น้ำตกฉัตรวาริน


กลุ่มเยาวชนพงลีแป สุไหงปาดี จ.นราธิวาส


 หลังเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ เจ้าหน้าที่อุทยานฯ ต้องออกจากพื้นที่เพื่อความปลอดภัย น้ำตกฉัตรวารินจากน้ำตกที่งดงามกลับกลายเป็นสายน้ำที่ขยะกลาดเกลื่อน ไม่มีใครดูแล กลุ่มเยาวชนพงลีแป สุไหงปาดี จึงลุกขึ้นปกป้องสายน้ำของบ้านตัวเอง ด้วยการปลุกสำนึกของทุกคนให้หันกลับมาสนใจดูแล


น้ำตกฉัตรวาริน สายน้ำที่งดงามหรือสายธารแห่งขยะ


น้ำตกฉัตรวารินแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงนักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซียที่จะมาท่องเที่ยวในเทศกาลสำคัญต่างๆ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ บูโด-สุไหงปาดี เป็นแหล่งต้นน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภค รวมถึงเป็นแหล่งน้ำหลักที่ใช้ในการผลิตน้ำประปา ให้คนทั้งอำเภอสุไหงปาดีได้ใช้อีกด้วย

­

เนื่องจากน้ำตกฉัตรวารินมีนักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่นิยมเดินทางมาเที่ยวเป็นจำนวนมาก ประกอบกับจากปัญหาความไม่สงบในสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ทำให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลน้ำตกฉัตรวารินถอนตัวจากพื้นที่เพื่อความปลอดภัย ทำให้ไม่มีการจัดการดูแลสถานที่และขาดระบบการจัดการขยะ รวมถึงการบังคับใช้กฎระเบียบที่ไม่ได้ผล จึงทำให้มีการทิ้งขยะจำนวนมากบริเวณน้ำตก เกิดปัญหาขยะส่งกลิ่นเหม็น ไม่น่าดู มีขยะปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ไม่เหมาะสำหรับเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีสาเหตุมาจาก ความขาดจิตสำนึกของนักท่องเที่ยวและคนในชุมชนที่ไม่เห็นคุณค่าในเรื่องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังขาดความรู้เรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาขยะบนแหล่งต้นน้ำที่จะส่งผลต่อกลางน้ำและปลายน้ำอีกด้วย

­

พลังของเยาวชนที่คิดเปลี่ยนแปลงโลก


เยาวชนกลุ่มหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่เรียนการศึกษานอกโรงเรียน รวมตัวกันไปเที่ยวน้ำตกฉัตรวาริน พบกับสภาพ น้ำตกที่เต็มไปด้วยขยะจึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า “ทำไมขยะที่นี่เยอะจัง” ด้วยความรู้สึกอยากแก้ปัญหาเหล่านี้เยาวชนกลุ่มนี้จึงรวมกลุ่มกันขึ้นมา เพื่อให้เยาวชนรวมถึงคนในชุมชนมีความรู้เรื่องการจัดการขยะ การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ หันมาช่วยกันแก้ไขปัญหาและดูแลรักษาน้ำตกฉัตรวารินให้มีความสะอาดมากขึ้น และสร้างแกนนำเยาวชนแนวร่วมที่มีความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถดูแลน้ำตกฉัตรวารินได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนสืบสานวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านเพื่อให้เยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และห่างไกลยาเสพติด โดยรวมตัวตั้งเป็นกลุ่มเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2554 ใช้ชื่อว่า “กลุ่มเยาวชนพงลีแป สุไหงปาดี” ซึ่งมาจากชื่อพืชที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งมีถิ่นกำเนิดใน อ.สุไหงปาดี คือ “ต้นปาล์มบังสูรย์” หรือ ในชื่อภาษามลายู ว่า “พงลีแป” นั่นเอง

­

โดยวางเป้าหมายในการทำกิจกรรมของกลุ่ม เพื่อให้เยาวชนรวมถึงคนในชุมชนจะช่วยกันอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ หันมาช่วยกันแก้ไขปัญหาและดูแลรักษาน้ำตกฉัตรวารินได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้านเพื่อให้เยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และห่างไกลยาเสพติด ปัจจุบันกลุ่มเยาวชนมีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 50 คน โดยมี ดี (อานันต์ ดือราแม) เป็นประธานกลุ่ม และมี ครูอาวี (โมฮัมมัดซัฟฟรีย์ นารอเอ็ง) เป็นที่ปรึกษากลุ่ม

­

ปลูกใจ...เมล็ดพันธุ์รักษ์น้ำตกฉัตรวาริน


จากความคิดที่ว่าการแก้ไขปัญหาขยะบนน้ำตกฉัตรวารินซึ่งเป็นสมบัติของทุกคน จึงไม่ใช่หน้าที่ของคนใดคนหนึ่งในการช่วยดูแลรักษา หากแต่เป็นหน้าที่ของทุกคน ในปี 2555 กลุ่มเยาวชนพงลีแป สุไหงปาดี จึงได้จัดทำ“โครงการปลูกใจ...เมล็ดพันธุ์รักษ์น้ำตกฉัตรวาริน” ขึ้น เพื่อดึงการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนอันนำไปสู่การจัดการขยะบนน้ำตกฉัตรวาริน และเกิดเป็นพลังเยาวชนที่จะลุกขึ้นมาดูแลทรัพยากรบ้านเกิดของตนเองต่อๆ ไป

­

เริ่มต้นกิจกรรมด้วยการจัดเวทีประชาคมเพื่อดึงให้ชุมชนและหน่วยงานราชการเข้ามาช่วยในการจัดการดูแลขยะ โดยมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนหาแนวทางในการจัดการปัญหาขยะบนน้ำตกฉัตรวาริน เพื่อนำไปสู่การจัดการขยะที่ยั่งยืน นั่นคือ การมีโรงคัดแยกขยะซึ่งเป็นจุดพักและจัดการขยะ ทางกลุ่มพงลีแปจึงได้ประสานงานไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่เนื่องด้วยภารกิจของแต่ละหน่วยงานค่อนข้างมาก จึงมีเวลาว่างไม่ตรงกันทำให้ต้องจัดเวทีขึ้นถึงสองครั้ง โดยมีทั้ง ผู้ใหญ่บ้าน อบต. ชาวบ้าน ตัวแทนอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี มาเข้าร่วม มี ดี, ครูอาวี และผู้ใหญ่ในพื้นที่เป็นผู้ดำเนินการหลัก ลา (อารีซา เจ๊ะสือแม)คอยช่วยบันทึกการประชุม หลังจากการประชุมหารือ ผู้เข้าร่วมประชุมมีแนวความคิดเห็นไม่ตรงกัน มีการเลี่ยงความรับผิดชอบบ้าง ด้วยมองว่ามีคนที่รับผิดชอบดำเนินงานในส่วนนี้อยู่แล้ว บางส่วนมองว่าเป็นการเพิ่มภาระจากงานที่รับผิดชอบอยู่เดิม แต่สุดท้ายก็ได้ข้อตกลงและแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างเยาวชน คนในชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. และอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี จัดแบ่งหน้าที่การทำงาน คือ การเก็บและคัดแยกขยะ เป็นหน้าที่ของเยาวชน ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) และชาวบ้านช่วยกันดูแล, การกำจัดขยะมี อบต. เป็นผู้จัดการ และการนำขยะที่สามารถขายได้มาขายชาวบ้านและ ชรบ. เป็นผู้จัดการ

­

หลังจากทำความเข้าใจกับชุมชนและแบ่งบทบาทหน้าที่เรียบร้อยแล้ว กลุ่มเยาวชนพงลีแปสุไหงปาดีก็ดำเนินการปรับปรุงโรงเรือนคัดแยกขยะบนน้ำตกฉัตรวาริน โดยได้รับอนุญาตให้ใช้อาคารของอุทยานแห่งชาติบูโดสุไหงปาดี โดยทางกลุ่มแบ่งหน้าที่ออกเป็น 3 ส่วน โดยดี, ครูอาวีและสมาชิกกลุ่มอีกบางส่วนช่วยดูแลในส่วนของการก่อสร้าง ลาและเพื่อนๆ ช่วยในส่วนการตกแต่ง ส่วนทีมงานคนอื่นๆ ทำหน้าที่ฝ่ายจัดหาอุปกรณ์ การจัดเตรียมงานพิธีเปิด จัดทำป้ายศูนย์ จัดหาถังขยะ จัดเตรียมนิทรรศการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องขยะ และเตรียมการแสดงปันจักสีลัตเพื่อเป็นการแสดงในพิธีเปิดอีกด้วย ดีเล่าว่าในส่วนนี้ “ดีได้เรียนรู้การคิด การออกแบบโรงเรือนและการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ มาทำ”


ในขณะที่โรงเรือนคัดแยกขยะกำลังเป็นรูปเป็นร่างปัญหาใหญ่ก็เกิดขึ้นเมื่อมีการปรับเปลี่ยนผู้ใหญ่บ้าน ทั้งๆ ที่ผู้ใหญ่บ้านคนเก่าเข้าใจแนวคิดและให้ความร่วมมือกับกิจกรรม แต่ผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ยังไม่เข้าใจแนวคิดการทำงานของกลุ่มจึงไม่ให้ความร่วมมือ และไม่อนุญาตให้ใช้อาคารทั้งที่ได้ขออนุญาตทางอุทยานฯ ไว้แล้ว โดยให้เหตุผลว่าอาคารอยู่ด้านหน้าจะไม่สวยงามและต้องการให้ใช้พื้นที่นี้เป็นที่จอดรถ ครูอาวีเล่าว่า “ในส่วนนี้เป็นการฝึกความอดทน การดูแลบริหารจัดการ และการแก้ปัญหาสูงมาก” จากปัญหาอุปสรรคนี้ทำให้การทำงานในส่วนของโรงคัดแยกขยะยังดำเนินการไม่สำเร็จ ซึ่งทางกลุ่มก็ต้องกลับมาปรึกษากันว่าจะหาทางดำเนินการต่อไปอย่างไร

­

เผยแพร่แนวคิด ให้ความรู้ และปลูกฝังจิตสำนึก เพื่อดูแลรักษาน้ำตกฉัตรวาริน ให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง

­

ทุกๆ วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 4-5 โมงเย็นกลุ่มเยาวชนได้รับโอกาสจากสวท.สุไหงโกลก 106.5Mz เพื่อเผยแพร่กิจกรรมของกลุ่ม การให้ความรู้เรื่องขยะและสิ่งแวดล้อม ผ่านทางวิทยุชุมชนในรายการ “เยาวชนพงลีแปฯ หัวใจอนุรักษ์”โดยครูอาวี, ดีเป็นผู้ดำเนินรายการ และมีน้องๆ จากกลุ่มเยาวชนพงลีแปผลัดเปลี่ยนกันมาเป็นผู้ร่วมรายการ ในการทำงานส่วนนี้มีการแบ่งหน้าที่ว่าสัปดาห์ไหนใครต้องมาร่วมรายการก็จะต้องเตรียมเนื้อหาที่จะมาพูด และมีฝ่ายดูแลของรางวัล ในกรณีมีการร่วมสนุกหน้าไมค์ ซึ่งเป็นช่วงที่ได้รับความสนใจจากแฟนรายการเป็นอย่างดี โดยการดำเนินรายการก็จะแบ่งเป็นช่วงต่างๆ เช่น ช่วงร้อยวิธีดูแลสิ่งแวดล้อม ช่วงหน้าไมค์ และช่วงเรารักษ์น้ำตกฉัตรวาริน ซึ่งเป็นช่วงที่เพิ่มเข้ามาในช่วงการทำโครงการ ซึ่งผลจากการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ทำให้ผู้ฟังได้รับความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม ขยะควบคู่ไปกับความบันเทิง และเยาวชนจากกลุ่มพงลีแปก็ได้ประสบการณ์ ได้ความรู้จากสิ่งที่ค้นคว้ามาพูดในรายการ และเป็นการฝึกการพูดไปในตัว โดยครูอาวีก็จะช่วยเสริมทักษะในเรื่องการใช้เสียง การเล่าเรื่องราวให้กับเด็กๆ อีกด้วย

­

ในส่วนของกิจกรรมเดินรณรงค์กับนักท่องเที่ยวบนน้ำตกฉัตรวาริน ซึ่งมีการจัดขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง โดยแต่ละครั้งก็จะมีการพูดผ่านเครื่องกระจายเสียงให้ความรู้ เดินถือป้ายรณรงค์ แจกใบปลิวความรู้ และเดินเก็บขยะ งานนี้ดี รับหน้าที่ทั้งประสานงาน พิธีกรให้ความรู้พูดผ่านเครื่องกระจายเสียงและออกแบบป้ายรณรงค์ โดยมีครูอาวี ,ลาและเพื่อนสมาชิกบางคนมาคอยสับเปลี่ยนช่วยเป็นพิธีกรบ้าง นอกจากนี้ ลายังคอยช่วยดูแลสวัสดิการด้วยอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งจากกิจกรรมนี้สามารถให้ความรู้กับนักท่องเที่ยวและได้ช่วยกันเก็บขยะให้น้ำตกสะอาดขึ้นด้วย แต่ก็มีนักท่องเที่ยวบางส่วนยังไม่ให้ความร่วมมือ บางส่วนก็มองทางกลุ่มเป็นคนเก็บขยะโดยนำขยะมาให้กับกลุ่ม

­

แต่ถึงอย่างนั้นดีก็ยังได้เรียนรู้ประสบการณ์ดีๆ จากการร่วมกิจกรรม “ผมได้ฝึกการพูดกระจายเสียง ได้ออกแบบป้ายรณรงค์ ได้พูดให้นักท่องเที่ยวเข้าใจ ผมรู้สึกดีใจที่เห็นนักท่องเที่ยวบางคนมาช่วยเก็บด้วย”ในขณะที่ ลาเสริมว่า “ได้เห็นถึงความร่วมมือของหลายฝ่าย การร่วมมือของเยาวชนและได้เห็นเยาวชนมีความรู้ในการจัดการขยะ แต่ก็รู้สึกว่าการณรงค์นี้ได้ผลเป็นช่วงสั้นๆ เมื่อรณรงค์ทีก็จะเลิกทิ้งพอผ่านไปก็จะกลับมาทิ้งอีก” ซึ่งครูอาวีเสริมว่า “เราต้องกลับมาทบทวนถึงการหากลยุทธ์ใหม่ๆ ในการโน้มน้าวให้นักท่องเที่ยว สนใจและร่วมปฏิบัติตามด้วย โดยส่วนตัวรู้สึกประทับใจความร่วมมือของสมาชิกในกลุ่มซึ่งกิจกรรมมักจัดในวันหยุด ก็ยังให้ความร่วมมือมาช่วยกัน”


นอกจากนั้นกลุ่มเยาวชนพงลีแปยังมีกิจกรรมสร้างแกนนำเยาวชน โดยมีการลงพื้นที่อบรมให้ความรู้ถึงเรื่องปัญหาของขยะบนน้ำตกฉัตรวาริน ตามโรงเรียนระดับประถมศึกษาที่อยู่บริเวณโดยรอบน้ำตก 4 โรงเรียน มีนักเรียนเข้าร่วมทั้งสิ้น 257 คน ภายในกิจกรรมมีใบงานเรื่องขยะให้เด็กๆ ได้ระดมสมองเพื่อฝึกวิธีคิดและนำเสนอ โดยกิจกรรมที่ทำก็จะมีการสอดแทรกเล่นเกมสันทนาการให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน ในกิจกรรมนี้ ดี ทำหน้าที่กระบวนกรดำเนินกิจกรรม ทั้งนำเกมให้ความรู้ต่างๆ สลับกับเพื่อนๆ ที่ขึ้นมาช่วยกันให้ความรู้น้องๆ ครูอาวีคอยสนับสนุนในส่วนของสื่อให้ความรู้ต่างๆ และ ลาคอยช่วยดูแลสวัสดิการร่วมกับเพื่อนๆ สมาชิกในกลุ่ม และยังช่วยกันในอีกหลายหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นพี่เลี้ยง ดูแลสถานที่ บันทึกกิจกรรม เป็นต้น กระบวนการต่อจากนั้นจะรับสมัครนักเรียนที่สนใจอยากเป็นแกนนำเยาวชนเพื่อเข้าร่วม “ค่ายปลูกใจ...เมล็ดพันธุ์รักษ์น้ำตกฉัตรวาริน” เพื่อร่วมเรียนรู้ พัฒนาทักษะ และร่วมรณรงค์เรื่องขยะต่อไป

­

แต่ปัญหาอุปสรรคย่อมมีเมื่อบางโรงเรียน บางห้องเรียน ครูไม่ยอมปล่อยเด็กมาร่วมกิจกรรม ด้วยเกรงว่าจะสอนไม่ทันทำให้เด็กๆ บางห้องไม่สามารถมาร่วมกิจกรรมได้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาในเรื่องการประสานงานของโรงเรียนที่ดำเนินการแจ้งเรื่องไว้แต่เรื่องไม่ถูกส่งต่อ ปัญหาในเรื่องเครื่องเสียงที่ไม่พร้อม โดยทางกลุ่มต้องมานั่งจัดแจงติดตั้งเองซึ่งส่งผลต่อเวลาในการทำกิจกรรม ดี เล่าว่า “ผมได้เรียนรู้หลายอย่างจากกิจกรรมนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกล้าพูดกล้าแสดงออก ที่ได้ฝึกการนำเกมส์ การเป็นกระบวนกรบอกเล่าเนื้อหาต่างๆ ซึ่งต้องใช้ความอดทน การเสียสละ ความรับผิดชอบ และความเข้าใจกันของทีมงาน” ครูอาวีเสริมว่า “ผมก็ได้ฝึกการทำงานร่วมกันกับเครือข่าย นอกจากนี้ยังได้สังเกตเด็กๆ และเยาวชน ว่ามีความสามารถด้านไหน มีข้อดีอย่างไร เพื่อนำมาปรับใช้ในทำงานร่วมกันต่อไป”

เมื่อได้เยาวชนที่สนใจเข้าร่วมเป็นแกนนำก็ถึงเวลาจัด ค่ายปลูกใจ...เมล็ดพันธุ์รักษ์น้ำตกฉัตรวาริน เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน ในวันเริ่มค่ายมีเหตุระเบิดเกิดขึ้นบริเวณใกล้กับสถานที่จัดค่าย ครูอาวีจึงปรึกษากับเด็กๆ ว่า “จะเอาอย่างไรกันดี” ก็ได้รับคำตอบจากน้องๆ ว่า “เตรียมงานกันมาขนาดนี้แล้วก็จัดเถอะ” เมื่อได้ยินอย่างนั้นค่ายจึงเริ่มขึ้นโดยมีเด็กๆ บางคนที่ผู้ปกครองห่วงเรื่องความปลอดภัยจึงต้องถอนตัวไป แต่หลังจากวันนั้นก็ไม่ได้มีเหตุความรุนแรงใดๆ เกิดขึ้นอีก กิจกรรมในค่ายเด็กๆ ได้ฝึกระดมความคิดเกี่ยวกับการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ได้ลงสำรวจสภาพของลำน้ำด้วยกระบวนการนักสืบสายน้ำเชื่อมโยงกับระบบนิเวศน์ป่า เมื่อเห็นความสำคัญของลำน้ำ เห็นศักยภาพที่ตนเองมีจึงรวมพลังกันทำป้ายรณรงค์ ได้ลงมือช่วยกันเก็บขยะบนน้ำตกฉัตรวาริน โดยกิจกรรมครั้งนี้ ดี , ครูอาวีและเพื่อนๆ สมาชิกในกลุ่มช่วยกันเป็นดำเนินกิจกรรมพร้อมกับช่วยกันเป็นพี่เลี้ยงดูแลน้องๆ ลาช่วยดูแลเรื่องเอกสาร ประสานงานและสวัสดิการ ร่วมกับเพื่อนสมาชิกคนอื่นๆ ของกลุ่ม

­

ในการจัดกิจกรรมแม้จะมีอุปสรรคอยู่บ้างในเรื่องของที่พัก วิทยากรที่ไม่สะดวกมาร่วมกิจกรรม และเวลาที่ไม่สัมพันธ์กับกระบวนการ ทำให้ไม่สามารถสอดแทรกเนื้อหาได้ครบถ้วนอย่างที่ตั้งใจ แต่กิจกรรมก็ผ่านไปได้ด้วยดี ลาเล่าให้ฟังว่า “ในการจัดค่ายครั้งนี้รู้สึกรักและผูกพันกับน้องๆ ที่มาร่วมกิจกรรมมาก ได้เรียนรู้เรื่องของความรับผิดชอบกับตนเองและส่วนรวม เรียนรู้ที่จะแบ่งการทำงานอย่างเป็นระบบ” ส่วนครูอาวีเสริมว่า “ตนเองได้เรียนรู้ที่จะปล่อยวาง ให้น้องๆ ได้รู้จักแบ่งงานตามที่ได้รับมอบหมาย และในการจัดค่ายต้องเลือกธีมของค่ายอย่างใดอย่างหนึ่งให้ชัดเจน”


ปัจจัยแห่งความสำเร็จและล้มเหลว


กว่า 2 ปี ที่กลุ่มเยาวชนพงลีแป สุไหงปาดี ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเดินขบวนรณรงค์ให้ความรู้ที่อำเภอสุไหงปาดี เชิญชวนเยาวชนและประชาชนที่สนใจมาร่วมกันเป็นจิตอาสาช่วยกันเก็บขยะบนน้ำตกฉัตรวาริน ในช่วงหลังเทศกาลซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ จากความตั้งใจจริงในการดำเนินกิจกรรม ทำให้ได้รับโอกาสและการสนับสนุนเรื่องของเวลาจาก สวท.สุไหงโกลกและสถานีวิทยุทักษิณสัมพันธ์ 403ให้ใช้จัดรายการวิทยุ เพื่อเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์แนวความคิดเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม ทำให้เด็กๆ ได้ฝึกการจัดรายการวิทยุ ฝึกทักษะการพูด การหาข้อมูลความรู้ต่างๆ นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายในพื้นที่ในเรื่ององค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา สนับสนุนด้านพื้นที่จัดกิจกรรมจากอุทยานแห่งชาติ บูโด - สุไหงปาดี อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นเรื่องรถ วิทยากร กำลังคน สิ่งของ หรือการให้คำปรึกษา ซึ่งเป็นความร่วมมือจากหน่วยงานท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็น เทศบาลตำบลปะลุรู, อำเภอสุไหงปาดี, ชุดสันติสุข 404, ร.ร.มัธยมสุไหงปาดี, โรงเรียนบ้านโผลง, ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสุไหงปาดี

­

กิจกรรมต่างๆ ที่ทางกลุ่มเยาวชนพงลีแปสุไหงปาดีจัดขึ้น ล้วนต้องใช้ความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งจากสมาชิกในกลุ่มที่ต้องเสียสละ ทุ่มเท แบ่งเวลา หากเพียงแค่แกนนำของโครงการคงไม่สามารถดำเนินกิจกรรมให้สำเร็จลุล่วงไปได้ อีกทั้งแรงสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ผู้ใหญ่ใจดี หรือผู้ที่เห็นความสำคัญของการดูแลอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ยังเป็นเครื่องหนุนเสริมให้กลุ่มเยาวชนพงลีแปสุไหงปาดีมีกำลังในการทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อมได้ต่อไป

­

นอกจากนั้นการที่จะทำให้เยาวชนสามารถอยู่กับกลุ่มหรือสนใจมาร่วมกิจกรรมได้อย่างสม่ำเสมอ จำเป็นต้องมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบางช่วงเวลาก็ไม่สามารถขึ้นไปจัดกิจกรรมบนน้ำตกฉัตรวารินได้ ด้วยปัญหาความไม่ปลอดภัย ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่ดูแลความปลอดภัยจะคอยเตือนเสมอหากช่วงนั้น ไม่เหมาะก็จะไม่ให้เยาวชนขึ้นไปจัดกิจกรรม ทำให้ต้องมีกิจกรรมอื่นๆ มารองรับ ครูอาวีเล่าว่า “อยากให้น้องๆ กลุ่มเยาวชนพงลีแปสุไหงปาดี มีกิจกรรมที่สามารถไปร่วมแสดงความสามารถเวลาไปร่วมกิจกรรมต่างๆ กับกลุ่มอื่นๆ ได้ เช่น บางกลุ่มก็จะมีการแสดงละครบ้าง เต้นบีบอยบ้าง ผมจึงใช้ทักษะที่ตนเองมีในการเล่นปันจักศิลัต ซึ่งเป็นทั้งกีฬาและศิลปวัฒนธรรมของชาวมุสลิมมาฝึกสอนให้กับสมาชิกกลุ่ม โดยจะมีการฝึกซ้อมกันในช่วงเย็นหลังเลิกเรียน ทำให้เด็กๆ สมาชิกในกลุ่มมีกิจกรรมได้ร่วมอย่างต่อเนื่อง เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เกิดสุขภาพที่แข็งแรง ห่างไกลยาเสพติดอีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอีกด้วย” และยังเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้เลือกทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจอีกด้วย อย่างล่าสุดเด็กๆ สนใจการเต้นบีบอย ก็มีเริ่มมีการรวมตัวเพื่อฝึกเต้นกันบ้างแล้ว ครูอาวียังมีทักษะหรือกระบวนการที่นำมาสอดแทรกในกิจกรรม หรือพร้อมถ่ายทอดให้สมาชิกในกลุ่มอีกหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการสันติวิธี กิจกรรมพึ่งตนเองอย่างลูกเสือ ยุวกาชาด กระบวนการอบรมเยาวชนต้านยาเสพติด เป็นต้น

­

การจะดึงเยาวชนมามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ควรเริ่มจากกิจกรรมที่เยาวชนสนใจและมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งครูอาวีใช้การเล่น ปันจักสีลัต เป็นเครื่องมือในการดึงเยาวชนมารวมกัน แล้วค่อยเติมหรือสอดแทรกเรื่องของกิจกรรมให้อย่างเป็นธรรมชาติและไม่ยัดเยียด อย่างการดึงเยาวชนไปช่วยกันเก็บขยะบนน้ำตกฉัตรวาริน ก็ใช้การชวนไปเล่นน้ำตกเป็นเครื่องกระตุ้นความสนใจ ซึ่งเด็กๆ ก็จะเห็นว่าน้ำตกมีขยะไม่น่าเล่น จึงต้องช่วยกันเก็บขยะก่อนแล้วค่อยเล่นน้ำกัน หรืออย่างการจัดรายการวิทยุเด็กๆ ก็จะรู้สึกว่าเท่ที่ได้จัด แต่การจะจัดรายการได้ก็ต้องฝึกฝนทั้งการพูด การหาข้อมูล เด็กๆ จะซึมซับความรู้เหล่านั้นโดยอัตโนมัติ ซึ่งสิ่งที่เอื้อให้ครูอาวีสามารถดำเนินกิจกรรมเหล่านี้ได้เป็นอย่างดีก็จากความร่วมมือของภาคี เครือข่ายต่างๆ ที่ช่วยสนับสนุนในทุกๆ ด้าน

­

แต่ถึงอย่างนั้นทุกสิ่งย่อมมีอุปสรรค เนื่องจากทีมงานเป็นกลุ่มนักเรียนนอกระบบทำให้ต้องรับผิดชอบตัวเอง

และทำงานหาเลี้ยงครอบครัวไปด้วย จึงต้องมีการจัดการแบ่งเวลาทำให้สมาชิกบางคนที่จัดการเวลาไม่ได้ก็ต้องถอยออกจากกิจกรรมไป อีกทั้งปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ที่ทำให้ไม่มีหน่วยงานภาครัฐในการดูแลรับผิดชอบปัญหาบนน้ำตกฉัตรวาริน ตลอดจนการเมืองท้องถิ่นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเช่นผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ทำให้ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ในการเข้าไปสร้างความเข้าใจและดึงให้มาเป็นแนวร่วมอีกครั้ง

ตัวเราเปลี่ยน....โลกเปลี่ยน

ทุกๆ การเปลี่ยนแปลงเริ่มจากจุดเล็กๆ เสมอ การจะเปลี่ยนแปลงคนอื่นนั้นยาก ให้เริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงตนเอง”


กลุ่มเยาวชนพงลีแปฯ เริ่มต้นจุดประกายและเผยแพร่แนวความคิด ความรู้อย่างต่อเนื่อง จากคนกลุ่มเล็กๆ ที่ต้องแบ่งเวลาทั้งการเรียน การทำงานหาเลี้ยงดูแลครอบครัว มาทำกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม และจากการเริ่มทำโครงการปลูกใจ...เมล็ดพันธุ์รักษ์น้ำตกฉัตรวาริน ก็นำพาไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งต่อตนเอง สิ่งแวดล้อม และสังคม

­

ตัวเราเปลี่ยน...เปลี่ยนตัวเรา จากการทำกิจกรรมในโครงการซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกันของสมาชิกในกลุ่ม ต้องแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำกิจกรรม แต่ละคนต้องเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกัน จากเดิมที่ไม่กล้าก็ได้ฝึกความกล้าแสดงออก ได้พัฒนาการพูด การคิด การสื่อสาร การนำเสนอเนื้อหา และสามารถทำงานร่วมกับชุมชนและเครือข่ายต่างๆ ได้ อีกทั้งยังได้เพิ่มพูนทักษะในการจัดรายการวิทยุ ในการที่จะพูดเนื้อหาใดๆ ให้คนเชื่อได้นั้น เราเองต้องเชื่อเช่นนั้นและมีข้อมูลเพียงพอที่จะพูดได้ ยิ่งหาข้อมูลมากขึ้นก็มีความรู้ความเข้าใจเรื่องขยะและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับธรรมชาติมากขึ้น นำไปสู่ความหวงแหนรักบ้านเกิด ทำให้อยากร่วมกันดูแลปกป้องทรัพยากรธรรมชาติอย่างน้ำตกฉัตรวารินให้คงอยู่นานเท่านาน

­

ตัวเราเปลี่ยน...ชุมชนเปลี่ยน จากการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลทางรายการวิทยุ ช่วยรณรงค์กับผู้ฟังในการร่วมดูแล รักษาความสะอาดบนน้ำตกฉัตรวาริน มีผู้ฟังรายการให้ความสนใจซึ่งเห็นได้จากการที่มีการตอบคำถามชิงรางวัล ก็มีผู้ฟังโทรมาร่วมสนุกมากมาย อีกทั้งคนในชุมชนและเยาวชนที่ผ่านการอบรมได้รับความรู้เรื่องการจัดการขยะ รู้คุณค่าของขยะ จึงสนใจร่วมเป็นแกนนำเยาวชนดูแลน้ำตกฉัตรวาริน ช่วยกันรณรงค์กับนักท่องเที่ยวเรื่องการทิ้งขยะบนน้ำตก และช่วยกันบำเพ็ญประโยชน์เพื่อให้น้ำตกสะอาดขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ในอำเภอสุไหงปาดีและอำเภอใกล้เคียงในการมีส่วนร่วม เห็นคุณค่า ช่วยเหลือสนับสนุนการทำงานของเยาวชนอย่างเต็มที่ ทั้งในส่วนของกำลังคน ความคิด สิ่งของ พาหนะ และกำลังใจ ทำให้เยาวชนกลุ่มพงลีแปสุไหงปาดีมีกำลังขับเคลื่อนในการดำเนินกิจกรรมได้เป็นอย่างดี ถึงแม้จากการทำเวทีประชาคม เพื่อดึงการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ ผู้ใหญ่บางส่วนอาจมองว่าเป็นการเพิ่มภาระให้ ไม่ใช่หน้าที่ มองว่าเป็นหน้าที่ของอุทยานอยู่แล้ว ทำไมเราต้องเข้าไปจัดการด้วย ก็ไม่ได้ทำให้เยาวชนกลุ่มพงลีแปท้อแท้แต่อย่างใด

­

ตัวเราเปลี่ยน....สิ่งแวดล้อมเปลี่ยน ขยะบนน้ำตกฉัตรวารินมีน้อยลง ทำให้สะอาดขึ้น น่าเที่ยว น้ำไม่เน่าเสีย

­

เป็นน้ำที่สามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคในอำเภอสุไหงปาดีได้อย่างปลอดภัย ซึ่งกิจกรรมยังต้องจัดต่อเนื่องอย่างสม่ำ เสมอเพราะยังมีคนที่ขาดจิตสำนึกอีกมาก

­

การจะทำให้สิ่งแวดล้อมยังคงสภาพ ความงดงามและความสมบูรณ์อยู่นั้นต้องเกิดจากจิตสำนึกร่วมกันของทั้งสังคม ซึ่งต้องปลูกฝังและช่วยกันอย่างต่อเนื่อง กลุ่มพงลีแปจึงยังคงต้องดำเนินกิจกรรมในพื้นที่อย่างต่อเนื่องต่อไป ทั้งหมดนี้เพื่อฟื้นฟูน้ำตกฉัตรวาริน น้ำตกที่ทรงคุณค่าให้อยู่ในสภาพใสสะอาด น่าเที่ยว เป็นแหล่งต้นน้ำที่คนทั้งอำเภอสุไหงปาดีใช้อุปโภคบริโภค เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดนราธิวาสสืบไป โดยความหวังนี้จะดำรงค์อยู่ได้ด้วยจิตสำนึกของทุกคนที่ช่วยกันดูแล ไม่ทิ้งขยะบนน้ำตก หรือทิ้งในถังขยะที่รองรับไว้ เพื่อรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรในพื้นที่ให้สืบต่อเนื่อง คงอยู่ถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน

­

แกนนำกลุ่มเยาวชนพงหลีแป สุไหงปาดี

 อานันต์ ดือราแม (ดี) อายุ 18 ปี ปัจจุบันศึกษาอยู่การศึกษานอกโรงเรียนสุไหงปาดี เป็นประธานกลุ่มพงลีแป ทำหน้าที่คอยอำนวยการด้านต่างๆ ในกลุ่ม มีความถนัดด้านกีฬาปันจักสีลัต (เป็นการต่อสู้ป้องกันตัว)และการจัดรายการวิทยุ ดี เล่าให้ฟังถึงแรงบันดาลใจและเหตุผลที่เข้าร่วมกิจกรรมว่า “ผมได้ไปเที่ยวน้ำตกแล้วเห็นขยะเยอะ เลยชวนเพื่อนมาตั้งกลุ่ม เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในด้านการทิ้งขยะ การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม”


นอกจากนั้นยังเล่าถึงสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากทำโครงการอย่างในเรื่อง ความรู้จากเดิมเราไม่เคยมีความรู้เรื่องขยะและสิ่งแวดล้อม แต่พอมาทำกิจกรรมก็ทำให้ได้รู้ ได้ทำ และเห็นว่า เราเองสามารถดูแลบ้านเกิดของเราได้จากเรื่องขยะ เริ่มจากเราก่อนเช่นเมื่อก่อนเห็นขยะแล้วเฉยๆ ขยะมันก็อยู่แบบนี้เราจะไปดูแลอะไรได้ แต่ตอนนี้เราเชื่อว่าพวกเราช่วยกันดูแลได้ โดยไม่ทิ้งขยะนอกถัง ลงมือเก็บขยะ คัดแยกขยะ ไม่เอาถุงพลาสติกจากร้านค้าถ้าไม่จำเป็น ใช้ถุงผ้าแทน ใช้ผ้าแทนกระดาษทิชชู อีกทั้งทักษะต่างๆ ก็เพิ่มขึ้นด้วย อย่างในเรื่องความกล้าแสดงออก เมื่อก่อนเราไม่ค่อยกล้าแสดงออกหลังจากทำกิจกรรมกับน้องๆ ทำให้กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกมากขึ้น จากการที่เราได้ไปทำกิจกรรมต่างๆ ตอนนี้กล้าออกมานำสันทนาการเอง สามารถบรรยายเรื่องของน้ำตก เรื่องของขยะได้ รวมถึงเรื่องการเขียนโครงการ เดิมเราไม่มีความรู้เรื่องการเขียนโครงการเลย แต่เมื่อได้ทำโครงการนี้ ได้เข้าอบรม ก็มีความรู้เรื่องการเขียนโครงการมากขึ้น”


จากวันเริ่มทำโครงการ ดี จากเด็กที่ดูกล้าๆ กลัวๆ กลัวผิด กลัวทำไม่ถูก จนถึงวันเสร็จสิ้นโครงการ ดีเปลี่ยนไปมาก กลายเป็นเด็กที่มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น กล้าคิด กล้าพูด กล้าแสดงออกในที่สาธารณะมากขึ้น และจากพื้นฐานที่เป็นคนใฝ่รู้ ใฝ่ใจในการแก้ปัญหา ประสบการณ์ที่สั่งสมจากการทำโครงการครั้งนี้ยิ่งช่วยพัฒนาความคิด ความเชื่อมั่น ให้ดีกลายเป็นแกนนำ และประธานกลุ่มที่เข้มแข็งขึ้น เป็นกำลังสำคัญในการดูแลรักษาทรัพยากรของบ้านเกิดตนเองให้คงอยู่ได้อีกนาน

­

  อารีซา เจ๊ะสือแม (ลา)ปัจจุบันศึกษาอยู่โรงเรียนมัธยมสุไหงปาดี ทำหน้าที่เรื่องการประสานงาน และดูแลการเงินของกลุ่ม มีความถนัดด้านกีฬาปันจักสีลัต (เป็นการต่อสู้ป้องกันตัว)และ การจัดรายการวิทยุ ลาเล่าให้ฟังถึงแรงบันดาลใจและเหตุผลที่เข้าร่วมกิจกรรมว่า

“เพราะพี่อาวีคะ เห็นพี่อาวีทำงานทำกิจกรรมต่างๆดูมีความมุ่งมั่นและทุ่มเทมากค่ะ พี่เค้าทำเพื่อส่วนรวม เพื่อชุมชน เพื่อกลุ่มพงลีแปค่ะ เมื่อลา เห็นแล้วทำให้อยากเข้ามาช่วยในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรบนน้ำตกค่ะ เพื่อให้น้ำตกของเราสะอาดมากขึ้น นอกจากนั้นการได้เห็นนักท่องเที่ยว และ คนในชุมชนเค้ามีจิตสำนึกและให้ความร่วมมือดีก็เป็นกำลังใจให้เราอยากทำต่อไปเรื่อยๆ ค่ะ

­

ครูอาวีเล่าเสริมเรื่องลาให้ฟังว่า ช่วงแรกไม่อยากให้น้องลาเข้ามาทำกิจกรรม กลัวรบกวนเวลาน้องเขาครับ กลุ่มพงลีแปส่วนใหญ่เป็นเด็ก กศ

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ