โครงการเยาวชนคนรักบ้านเกิดจิตอาสาพัฒนาฟื้นฟูห้วยทรายให้ยั่งยืน
โครงการเยาวชนคนรักบ้านเกิดจิตอาสาพัฒนาฟื้นฟูห้วยทรายให้ยั่งยืน
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปผลโครงการเยาวชนคนรักบ้านเกิดจิตอาสาพัฒนาฟื้นฟูห้วยทรายให้ยั่งยืน
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

สรุปผลโครงการเยาวชนคนรักบ้านเกิดจิตอาสาพัฒนาฟื้นฟูห้วยทรายให้ยั่งยืน


กลุ่มเยาวชนคนรักบ้านเกิดจิตอาสาพัฒนาฟื้นฟูห้วยทรายให้ยั่งยืน โรงเรียนร่องคำ จ.กาฬสินธุ์



ลำห้วยทราย


ห้วยทราย ห้วยทรายเป็นสายน้ำเล็กๆที่มีต้นกำเนิดมาจากป่าดงแม่เผด อ.ดอนจาน จ.กาฬสินธุ์ ไหลผ่าน อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด, อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์ และไหลลงสู่แม่น้ำชีบริเวณ ต.สะอาด อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด มีความยาวประมาณ 42 กิโลเมตร ในอดีตลำห้วยทรายมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชนมีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ชุมชนรอบ ๆ ลำห้วย ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และได้ใช้ลำห้วยทรายในการอุปโภคบริโภค

­

สภาพปัญหาที่พบคือในฤดูน้ำหลากน้ำจะไหลเชี่ยวแรงทำให้เกิดการกัดเซาะริมตลิ่งทำให้เกิดการตื้นเขิน ส่วนในฤดูน้ำแล้งน้ำจะเหือดแห้งเพราะน้ำบางส่วนจะอยู่ใต้พื้นทราย ทำให้ไม่มีน้ำในการทำการเกษตร มีการพังทลายของหน้าดินทำให้ลำห้วยตื้นเขิน ไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้ตลอดฤดูกาลและปัจจุบันมีการปล่อยน้ำเสียลงลำห้วย เนื่องจากห้วยทรายมีชุมชนอยู่ล้อมรอบ ทำให้มีการปล่อยน้ำเสียลงลำห้วย ยังไม่มีระบบการจัดการน้ำเสียจากชุมชน

­

กลุ่มเยาวชนคนรักบ้านเกิดจิตอาสาพัฒนาฟื้นฟูห้วยทรายให้ยั่งยืน


กลุ่มเยาวชนคนรักบ้านเกิด เป็นการรวมกลุ่มของนักเรียนโรงเรียนร่องคำ “ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” มีบทบาทสำคัญในการทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ทำหน้าที่ในการดูแล รักษา และรณรงค์ให้เพื่อน ๆ ในโรงเรียนช่วยเหลือกันดูแลสภาพแวดล้อมในโรงเรียน มีการถ่ายทอดการทำงานจากรุ่นสู่รุ่น โดยทุกปีจะมีรุ่นพี่มาทำกิจกรรมให้กับรุ่นน้องอย่างต่อเนื่อง มีแกนนำจำนวน 40 คน

­

จากสภาพแวดล้อมของห้วยทรายที่ถูกทำลาย และอยากช่วยเหลือชุมชนดูแลรักษาทรัพยากร ธรรมชาติในชุมชน โดยเฉพาะ ห้วยทราย ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรที่ชุมชนใช้ประโยชน์ ให้มีความสะอาดและเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนโรงเรียนที่อยู่รอบ ๆ ห้วยทราย กลุ่มเยาวชนคนรักบ้านเกิดได้ลงไปสำรวจและศึกษาชุมชนที่อยู่รอบ ๆ ลำห้วยทราย เพื่อที่จะให้ชุมชนและหน่วยงานองค์กรต่าง ๆ เห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและเกิดความร่วมมือในการดูแลและฟื้นฟูห้วยทรายมากยิ่งขึ้น

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

สรุปผลโครงการเยาวชนคนรักบ้านเกิดจิตอาสาพัฒนาฟื้นฟูห้วยทรายให้ยั่งยืน


กลุ่มเยาวชนคนรักบ้านเกิดจิตอาสาพัฒนาฟื้นฟูห้วยทรายให้ยั่งยืน โรงเรียนร่องคำ จ.กาฬสินธุ์


แต่ก่อนห้วยทรายมีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและชาวบ้านอยู่กันเป็นชุมชนใหญ่เป็นแหล่งอาหารและผู้คนได้ใช้ประโยชน์จากน้ำและป่า ที่นี่จึงเปรียบเสมือนพื้นที่กลางน้ำ หากเราไม่ช่วยกันดูแลรักษา ก็จะส่งผลต่อผู้คน”


ลำห้วยทราย


ห้วยทราย ห้วยทรายเป็นสายน้ำเล็กๆที่มีต้นกำเนิดมาจากป่าดงแม่เผด อ.ดอนจาน จ.กาฬสินธุ์ ไหลผ่าน อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด, อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์ และไหลลงสู่แม่น้ำชีบริเวณ ต.สะอาด อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด มีความยาวประมาณ 42 กิโลเมตร ในอดีตลำห้วยทรายมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชนมีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ชุมชนรอบ ๆ ลำห้วย ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และได้ใช้ลำห้วยทรายในการอุปโภคบริโภค

­

สภาพปัญหาที่พบคือในฤดูน้ำหลากน้ำจะไหลเชี่ยวแรงทำให้เกิดการกัดเซาะริมตลิ่งทำให้เกิดการตื้นเขิน ส่วนในฤดูน้ำแล้งน้ำจะเหือดแห้งเพราะน้ำบางส่วนจะอยู่ใต้พื้นทราย ทำให้ไม่มีน้ำในการทำการเกษตร มีการพังทลายของหน้าดินทำให้ลำห้วยตื้นเขิน ไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้ตลอดฤดูกาลและปัจจุบันมีการปล่อยน้ำเสียลงลำห้วย เนื่องจากห้วยทรายมีชุมชนอยู่ล้อมรอบ ทำให้มีการปล่อยน้ำเสียลงลำห้วย ยังไม่มีระบบการจัดการน้ำเสียจากชุมชน

­

กลุ่มเยาวชนคนรักบ้านเกิดจิตอาสาพัฒนาฟื้นฟูห้วยทรายให้ยั่งยืน


กลุ่มเยาวชนคนรักบ้านเกิด เป็นการรวมกลุ่มของนักเรียนโรงเรียนร่องคำ “ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” มีบทบาทสำคัญในการทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ทำหน้าที่ในการดูแล รักษา และรณรงค์ให้เพื่อน ๆ ในโรงเรียนช่วยเหลือกันดูแลสภาพแวดล้อมในโรงเรียน มีการถ่ายทอดการทำงานจากรุ่นสู่รุ่น โดยทุกปีจะมีรุ่นพี่มาทำกิจกรรมให้กับรุ่นน้องอย่างต่อเนื่อง มีแกนนำจำนวน 40 คน

­

จากสภาพแวดล้อมของห้วยทรายที่ถูกทำลาย และอยากช่วยเหลือชุมชนดูแลรักษาทรัพยากร ธรรมชาติในชุมชน โดยเฉพาะ ห้วยทราย ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรที่ชุมชนใช้ประโยชน์ ให้มีความสะอาดและเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนโรงเรียนที่อยู่รอบ ๆ ห้วยทราย กลุ่มเยาวชนคนรักบ้านเกิดได้ลงไปสำรวจและศึกษาชุมชนที่อยู่รอบ ๆ ลำห้วยทราย เพื่อที่จะให้ชุมชนและหน่วยงานองค์กรต่าง ๆ เห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและเกิดความร่วมมือในการดูแลและฟื้นฟูห้วยทรายมากยิ่งขึ้น

­

สานหัวใจรุ่นเยาวชนคนรักบ้านเกิดพี่สู่รุ่นน้อง


“ก้าวเข้ามาทำกิจกรรมนี้เป็นครั้งแรกและเพิ่งได้รับเลือกให้เป็นประธานชมรมคนใหม่ วันนี้ทำหน้าที่เป็นช่างภาพและช่วยปลูกต้นไม้ “กิจกรรมครั้งนี้ได้เรียนรู้การทำงานพร้อมกับลงมือทำงานจริงและจะพัฒนางาน เก่าสานงานด้านการอนุรักษ์ต่อไป เพื่อพลิกฟื้นความสมบูรณ์ของห้วยทรายกลับคืนมาให้ได้” จากกิจกรรมรวมพลคนรักษ์ห้วยทราย นางสาวดารารัตน์ นาพรมมา (น้องยุ้ย) ประธานชมรมคนปัจจุบัน

­

สิ่งสำคัญในการทำงานของกลุ่มเยาวชนคนรักบ้านเกิด คือการถ่ายทอดการทำงานจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง เป็นการหล่อหลอมหัวใจของเยาวชนคนรุ่นใหม่เพื่อทำงานด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาศักยภาพตนเองในการทำงาน โดยในแต่ละปีรุ่นปีจะรวมกลุ่มกันและออกแบบกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม ความรู้เรื่องวิชาการ ทักษะความเป็นผู้นำ สิ่งเหล่านี้ได้ทำอย่างต่อเนื่องจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้องมาแล้วเป็นเวลา 8 ปี ทุกครั้งเมื่อมีกิจกรรมหรืองานที่ต้องการพลังคน พลังใจ พี่ ๆ และน้อง ๆ จะหลอมรวมใจกันทำงานอย่างแข็งขัน ถือเป็นการทำงานที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้มีการทำงานต่อเนื่องของกลุ่มเยาวชนคนรักบ้านเกิดแห่งโรงเรียนร่องคำ จ.กาฬสินธ์

­

กระบวนการทำงานกลุ่มเยาวชนคนรักบ้านเกิด


การพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนคนรักบ้านเกิดจากรุ่นสู่รุ่น เป็นกระบวนการในการสืบทอดคนทำงานจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งได้ทำกันมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาถึง 8 ปี โดยในแต่ละปีประธานและกรรมการชุมชนฯ จะเป็นทีมประสานงานและพี่เลี้ยงกิจกรรมให้กับรุ่นน้องที่จะเข้ากลุ่ม ซึ่งจะใช้ระยะเวลา 4 วัน เป็นกิจกรรมในการเตรียมความพร้อมของสมาชิกชมรมให้มีความรักใคร่ สามัคคี และปลูกฝังความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสมาชิกในชุมชน

­

“การอนุรักษ์ลำห้วยทรายรวมเป็นการต่อยอดความคิดและสานต่องานจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง โดยเรียนรู้การทำงานจากรุ่นสู่รุ่นและมีส่วนร่วมของทุกคน จะเห็นได้จากเวลาจัดกิจกรรมจะมีผู้คนมาช่วยกันเพิ่มมากขึ้น เพราะเราผ่านกิจกรรมร่วมกัน มีการคิดและวางแผนทำงานร่วมกัน เช่น กิจกรรมปลูกต้นไม้ทีมทำงานและคนเข้าร่วมงานมากกว่าปีที่ผ่านมาและพันธุ์พืชที่นำมาปลูกมีความหลากมากขึ้น” (นายนิธนันท์ นาเมืองรักษ์ (ก้อย) ศึกษาชั้น ม. 6 โรงเรียนร่องคำวิทยา)

­

“การทำงานเป็นกระบวนการของรุ่นพี่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย มีมาตรฐาน และเห็นว่าทำจริง เด็กๆที่มองรุ่นพี่แล้วเห็นว่ารุ่นพี่ทำดี เขาก็จะมาร่วมเป็นเครือข่ายพอมีโครงการทำให้เรามีเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น”(อ.กล่อมจิต ดอนภิรมย์ อาจารย์ที่ปรึกษากลุ่มฯ)

­

การศึกษาระบบนิเวศน์ลำห้วยทราย เป็นการลงไปการศึกษาจากปราชญ์ชาวบ้านผู้เฒ่าผู้แก่เกี่ยวกับเรื่องราว ประวัติศาสตร์ของชุมชน การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าบริเวณห้วยทรายในอดีต การเปลี่ยนแปลงสภาพของสายน้ำ เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และมีข้อมูลในการวางแผนในการทำงานรักษาเพื่อรักษาระบบนิเวศน์ดั้งเดิมของลำห้วยทราย ซึ่งสมาชิกในกลุ่มจะลงไปในชุมชนเพื่อสอบถามข้อมูล และนำกลับมาประมวลวิเคราะห์ และวางแผนในการทำงานเพื่อดูแลรักษาลำห้วยทรายต่อไป

­

การสื่อสารกับชุมชนเพื่อสร้างความเข้าใจ กลุ่มเยาวชนคนรักษ์บ้านเกิดใช้เดินการณรงค์และการประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย เพื่อสร้างแนวร่วมและสื่อสารทำความเข้าใจกับชุมชน ให้ช่วยกันดูแลรักษาลำห้วยทราย โดยเริ่มตั้งแต่ครัวเรือนของตนเอง คือ ไม่ทิ้งขยะลงลำห้วย ลดการใช้สารเคมี ไม่ปล่อยน้ำเสียจากครัวเรือนลงลำห้วย และนำผลจากการศึกษาลงศึกษาข้อมูลลำห้วยทรายมาบอกกต่อว่า ถึงความอุดมสมบูรณ์จากอดีตมาถึงปัจจุบัน และให้สมาชิกในกลุ่มที่มีบ้านอยู่ในชุมชนที่อยู่รอบ ๆ ลำห้วยทราบ ช่วยบอกต่อกับคนครอบครัวและคนในชุมชนอีกวิธีหนึ่ง เพื่อเป็นการตอกย้ำในการทำงานร่วมกันในชุมชน

­

ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน


ช่วงเวลาของการงานกลุ่มค่อนข้างน้อย เนื่องจากแกนนำและสมาชิกอยู่ในวัยเรียนด้วยกันทั้งหมด และบางครั้งว่างไม่ตรงกัน ทำให้จัดการงานได้ไม่ดี เป็นอุปสรรคอย่างมาก

การแบ่งเวลาเพื่อทำงานก็มีส่วนสำคัญมาก เพราะแต่ละคนจะต้องมีภาระหน้าที่ของตัวเองอยู่แล้ว เช่น เรียนหนังสือ ซ้อมกีฬา ทำงานบ้าน และอื่นๆ การทำกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งที่เด็กๆ ทุกคนออกมาใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ และได้เห็นคุณค่าในสิ่งที่ทำเพื่อประโยชน์ต่อตนเองและชุมชน

­

แกนนำเยาวชนกลุ่มเยาวชนรักบ้านเกิดจิตอาสาพัฒนาฟื้นฟูห้วยทรายให้ยั่งยืน



  นิธนันท์ นาเมืองรักษ์ (ก้อย) 

กำลังศึกษาชั้น ม. 6 โรงเรียนร่องคำวิทยา

“อยากให้ชุมชนมีสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ทุกคนร่วมมือกันดูแลสิ่งแวดล้อม ให้อยู่นาน ๆ จนชั่วลูกหลาน และอยากพัฒนาศักยภาพตนเองในเรื่องสิ่งแวดล้อม”


ความถนัด/เด่น มีทักษะความเป็นผู้นำ ผู้ประสานงาน และทักษะการนำ

­

กิจกรรมสันทนาการ ทำหน้าที่ ประธานชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (อดีต) และประสานงานกลุ่มบุคลิกมีความมั่นใจในตนเอง มีทักษะในการสื่อสารที่ดี กล้าแสดงออก กล้าพูด กล้าคิด กล้านำเสนอผลงานที่เกิดขึ้นของกลุ่มที่ได้ดำเนินงาน และมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือกิจกรรมของโรงเรียนและครูที่ปรึกษาโครงการ

­

แม้ตอนแรกไม่ได้คิดที่อยากจะทำแต่เพราะว่าเห็นพี่ๆทำแล้วรู้สึกว่างานเยอะ ก็อยากจะเข้ามาช่วยงานรุ่นพี่ ซึ่งความจริงแล้วก็กลัวว่าตนเองจะทำไปไม่ได้ กลัวว่าจะบริหารงานไม่ได้ เพราะกลัวว่าจะได้เจอกับปัญหางานต่างๆ แต่เมื่อได้ลงมือทำโครงการ ทำให้น้องก้อยพบว่า

­

“สิ่งที่รอค้นหา สิ่งที่เรารอคอยมันอยู่ข้างหน้าเราแล้ว แล้วเราตอนนี้คือเรากำลังทำ เพราะว่าจากที่เราเข้ามาทำงานในจุดนี้มันเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนความฝัน คือมันเปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่างของตัวผมไปเลยเมื่อก่อนนี้ผมเป็นคนขี้อายไม่กล้าที่จะพูด ไม่กล้าที่จะคิดพอได้ทำก็ทำให้เรารู้แล้วแหละว่า ตรงนี้คือสิ่งที่เราชอบ ก็เลยหันตนเองเข้าสู่วงการสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มตัว”


เมื่อได้ลงมือทำและรู้สึกว่าตนเองทำแล้วมันสนุกแล้ว และเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ซึ่งที่จริงแล้ว สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว เมื่อได้ทำแล้วทำให้มีพลังความคิด มีพลังใจพลังกายที่จะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมต่อไป

­

“สิ่งที่ประทับใจอีกอย่างหนึ่ง ตอนจัดกิจกรรมรวมพลคนรักษ์ห้วยทราย ตอนไปขนต้นไม้ ก็ไม่ได้บอกน้องๆ เพราะกลัวว่าน้องๆจะเหนื่อย ก็เดินมาเฉพาะแกนนำ แต่ก็เห็นน้องๆเดินตามกันมา ก็แปลกใจว่าน้องๆเดินตามกันมาทำไม แล้วน้องเขาก็มาช่วยขนๆกัน มันก็ทำให้เรารู้สึกประทับใจก็คือ ไม่มีใครบอกแต่ว่าน้องๆเขารู้สึกได้ สัมผัสได้กับสิ่งที่พี่ทำ มันเหมือนกับว่าจุดหมาย เป้าหมายที่เราตั้งไว้มันเสร็จไปแล้ว ก็เหมือนกับว่าได้ใจน้อง ๆ สามารถปลูกจิตสำนึกให้เขาได้” น้องก้อย เอ่ยอย่างภาคภูมิใจ

­

  วดารัตน์ นาพรมมา(ยุ้ย)

กำลังศึกษา ม. 5โรงเรียนร่องคำวิทยา

­

“อยากดูแลสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น อยากให้ชุมชนช่วยกันดูแลห้วยทรายร่วมกับเด็ก ๆ”


ความถนัด/เด่น มีความสามารถในการออกแบบงานทางด้านสื่อสาร เช่น ออกแบบโลโก้ ออกแบบเสื้อ ทำงานศิลปะ ซึ่งสามารรถทำไดดี การจัดระบบเรื่อง

­

เอกสารของกลุ่มทำหน้าที่ ประธานชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (คนปัจจุบัน) แม้จะยังไม่ค่อยมีความมั่นใจในตนเอง แต่สามารถทำงานในการจัดระบบเอกสารต่าง ๆ ได้ดี มีความคิดสร้างสรรค์ทั้งด้านการออกแบบและงานศิลปะ

­

“เมื่อก่อนไม่มีความรู้ ไม่เคยสนใจอะไรรอบตัวเอง และไม่คิดว่าต้องได้มาทำงานเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม ชุมชน ครู พี่ น้องไม่มีความรู้ในหลักการทำงานเลย ไม่มีบทบาทอะไร ไม่เคยคิดทำกิจกรรม แต่เมื่อได้เข้ามาทำกิจกรรมร่วมกับรุ่นพี่ ได้เรียนรู้และเริ่มมีความรู้ในการทำกิจกรรมเพื่อชุมชน ได้ความร่วมมือจากชุมชน ได้ทำงานด้านที่ตัวเองถนัด ก็ทำให้รู้สึกอยากทำและอยากสานงานต่อจากรุ่นนี้ และมีบทบาทในการทำกิจกรรม ได้เรียนรู้หลักการทำงาน ทำได้เรียนรู้ชีวิตของคนในชุมชน เห็นคุณค่าในสิ่งที่ทำ”


พี่เลี้ยงโครงการ


  กล่อมจิต ดอนภิรมย์ ครูที่ปรึกษา

แรงบันดาลใจ“อยากพัฒนาศักยภาพการทำงานของกลุ่มชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเด็กเยาวชนให้รักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเอง”


ความสามารถ/เด่น การบูรณาการโครงการและกิจกรรมในโรงเรียนและชุมชน การ

ระสานความมือกับหน่วยงานส่วนท้องถิ่นและโรงเรียนในเครือข่าย การแสวงหาแหล่งทุนในการสนับสนุนกิจกรรมนักเรียน

­

บทบาท การหนุนเสริมการทำงานของกลุ่มเยาวชน / กระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ การแสวงหาทุนและพื้นที่ให้เด็กเยาวชนเข้ามาแลกเปลี่ยนและมีบทบาทในการจัดการสิ่งแวดล้อม และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหนุนเสริมกระบวนการให้กับนักเรียนในชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ช่วยสนับสนุนกระตุ้นให้เด็กได้คิดวิเคราะห์วางแผนการทำงานร่วมกัน

­

จากครูผู้สอนเป็นครูที่ปรึกษาให้กับเด็ก ซึ่งคุณครูได้มีกระบวนการในการทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับเด็ก ทำให้ลดช่อว่างระหว่างวันของครูและนักเรียน และยังเป็นที่ปรึกษาให้กับเด็ก ๆ ได้ทุกเรื่อง ซึ่งเป็นผลเนื่องจากบทบาทในการเป็นครูพี่เลี้ยงกับกลุ่มเยาวชนในฐานะผู้ให้คำปรึกษา ผู้ให้กำลัง ใจ เป็นเพื่อนทางความคิดและประสบการณ์กับเด็ก

­

“ก่อนเข้าร่วมโครงการเป็นคนพูดน้อยแต่ทำมาก แต่พอเด็กมามีส่วนร่วม และเข้าร่วมโครงการ กลายเป็นเปลี่ยนตนเองว่าเป็นคนพูดมากแต่ทำน้อย ก็เป็นเพียงแค่การสร้างความเข้าใจให้กับเด็กเท่านั้น”


“กิจกรรมช่วยลดช่องว่างระหว่างครูกับเด็กลดน้อยลง การทำงานอย่างมีส่วนร่วมจะเป็นการลดช่องว่างได้อย่างดีมาก คือเขาก็เข้าใจเรา เราก็เขา ซึ่งถือว่าเราเป็นมิตรแท้กับเขา แต่ว่าต่างวัยเท่านั้นเอง” ซึ่งเขาก็เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานของครูด้วย ต่อมาเราก็เลยมาคิดว่า เอ๊ะ เราจะทำอะไรกับเด็กดีนะ จะได้กลมกลืนกับวิชาเรียนก็คือทำเรื่องกิจกรรมให้มีสาระ แล้วสาระวิชาก็มีกิจกรรม ก็เลยเกิดโครงการที่มีชื่อว่า “โครงงานวิทย์ฯ สู่ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ซึ่งชื่อก็เป็นวิชาการหน่อย ก็คือเอาโครงงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมนำมาเป็นส่วนหนึ่งของวิชาเรียนเลย การเรียนการสอนก็เปลี่ยนไป แต่เดิมครูจะเป็นคนสอนอย่างเดียว เราก็เรียนรู้จากเด็กและนำไปสอนในสาระวิชาการที่เราสอนได้ด้วย การเรียนเก่งเราก็มองว่าไม่ใช่เฉพาะในห้องเรียน แต่ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นจะเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก....โครงการนี้ที่มันแตกต่างจากโครงการอื่น โครงการอื่นทำเสร็จแล้วจบ แต่โครงการนี้สอนในเรื่องความยั่งยืน ตรงนี้มีคุณค่ามากกว่ารางวัลที่เราได้รับ สิ่งที่เด็กและครูได้มันคือความยั่งยืนในการเรียนรู้” ครูกล่อมจิต ดอนภิรมณ์ กล่าวทิ้งท้ายเอาไว้

­

สิ่งที่เห็นและสัมผัสได้จากกิจกรรมในวันนี้ คือความตั้งใจ และ เอาใจใส่ดูแลร่วมกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นการเริ่มต้นในการทำกิจกรรมเล็ก ๆ ในชุมชน หากช่วยกันทำอย่างต่อเนื่องก็จะเกิดความยั่งยืน แค่เพิ่มเติมรายละเอียดใส่ความรู้ความเข้าใจให้ทุกคนร่วมคิดร่วมสร้างวิธี จัดการเพื่อให้ต้นไม้ได้เติบใหญ่กลายเป็นป่า ให้คนในชุมชนได้ร่วมกันใช้และร่วมกันดูแลรักษานี่แหละคือความงดงามของชุมชน เล็กๆ ที่ อ.ร่องคำ ที่ช่วยกันสร้างความยั่งยืนให้ชุมชน พลิกฟื้นฟูห้วยทรายให้กลับคืนมา“มีน้ำ มีป่า มีความสมบูรณ์ทางอาหาร” ดั่งที่ทุกคนคาดหวังคงอีกไม่ไกล”



โครงการเยาวชนคนรักบ้านเกิดจิตอาสาพัฒนาฟื้นฟูห้วยทรายให้ยั่งยืน

กลุ่มเยาวชนคนรักบ้านเกิดจิตอาสาพัฒนาฟื้นฟูห้วยทรายให้ยั่งยืน โรงเรียนร่องคำ จ.กาฬสินธุ์

ผู้ประสานงาน นิธนันท์ นาเมืองรักษ์ (ก้อย) โทรศัพท์ 08-5467-8270 อีเมล์ koy-avon-851@hotmail.co.th

กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินการ นักเรียนโรงเรียนร่องคำ / ลำน้ำห้วยทราย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์ 

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ