กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปผลโครงการเยาวชนรักษ์คลองบางลำพู
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โครงการเยาวชนรักษ์คลองบางลำพู 

ชมรมเกสรลำพู 


ชุมชนย่านบางลำพูเป็นชุมชนเมืองมีตึกแถวบ้านเรือนมากมาย มีครัวเรือนอาศัยอยู่มากกว่า 300 ครัวเรือน เป็นแหล่งประวัติศาสตร์เก่าแก่มากมาย มีวัดเก่าแก่ตั้งแต่ ร.3 คือ วัดสังเวช วัดสามพระยา วัดใหม่อมตรส เป็นย่านการค้า มีป้อมพระสุเมรุและสวนสาธารณะ เรียกว่า สวนสันติชัยปราการ มีคลองบางลำพูไหลตัดผ่านชุมชน เป็นคลองที่ใช้สัญจร ใช้ในการเกษตร อุปโภค บริโภค ในสมัยก่อนมีต้นลำพูขึ้นอยู่มากมาย จึงเป็นที่มาของ “บางลำพู ”


ในอดีตเส้นทางคลองบางลำพูถือได้ว่าเป็นเส้นทางสายสำคัญสายหนึ่งที่ชาวบ้านใช้ในการคมนาคม เป็นเส้นทางนํ้าที่สามารถตัดผ่านออกสู่เส้นทางนํ้าสายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นคลองหลอด คลองผดุงกรุงเกษม รวมไปถึงตัดออกสู่แม่นํ้าเจ้าพระยาได้อีกด้วย นอกจากนั้นคลองสายนี้ยังเป็นเส้นที่ตัดผ่านหัวเมืองชั้นนอก เพื่อเข้าสู่เมืองหลวงหรือกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยก่อนบริเวณนี้จึงถือได้ว่าเป็นตลาดใหญ่ของการค้าขาย โดยเฉพาะผลไม้ ที่พ่อค้าจะนำมาขึ้นที่ท่านี้ และมีชาวบ้านแจวเรือมารับซื้อไปอีกทอดหนึ่ง ต่อมาเมื่อกาลเวลาเปลี่ยนผ่าน ถนนได้หันหน้าบ้านเข้าสู่คลอง ก็ปรับเปลี่ยนย้ายทิศเป็นหันหน้าบ้านเข้าสู่ถนนที่การคมนาคมสะดวกมากกว่า และหันหลังเข้าสู่คลอง เพราะฉะนั้นคลองจึงถูกทิ้งร้าง ขาดการดูแล คลองบางเริ่มเน่าเสียอย่างหนัก “ต้องอุดจมูก น้ำเน่าเสียดำมาก แต่หลังจากที่เราซึ่งเป็นคนท้องที่เห็นสภาพบ้านเกิด ถ้าเราไม่สนใจ ไม่ใส่ใจมัน คลองมันก็ตายลงไปเรื่อยๆ” จากคำบอกเล่าของพี่สิทธิชัย ผลหิตตานนท์ แกนนำชุมชนย่านบางลำพู


ชมรมเกสรลำพูเป็นการรวมกลุ่มของเด็กและเยาวชนในย่านบางลำพู ที่มีความคิดอยากทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน โดยเริ่มต้นมาจากแกนนำ 4 คน ในปี 2544 ที่รวมกลุ่มเด็กและเยาวชนให้เรียนรู้ประวั­ติศาสตร์ในชุมชนบางลำพู และพัฒนามาเป็นการจัดกิจกรรมในงานเทศกาลต่­างๆ ทั้งสื่อต่างๆ การแสดงศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย เกิดคุณค่าทางจิตใจ มีความหวงแหน สร้างจิตสำนึกรักและภาคภูมิใจท้องถิ่นให้กับเยาวชน จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของเด็กเยาวชนเพียงไม่กี่คน สู่พลังอันยิ่งใหญ่ให้คนทั้งชุมชนรวมตัวกั­นพัฒนาให้สังคมดีขึ้น


กลุ่มเป้าหมาย เด็กและเยาวชนในชุมชนบางลำพู


พื้นที่เป้าหมาย คลองบางลำพูช่วงวัดสังเวช ถึง ศาลพระเจ้าตาก ประมาณ 500 เมตร

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

โครงการเยาวชนรักษ์คลองบางลำพู

ชมรมเกสรลำพู 


ชุมชนย่านบางลำพูเป็นชุมชนเมืองมีตึกแถวบ้านเรือนมากมาย มีครัวเรือนอาศัยอยู่มากกว่า 300 ครัวเรือน เป็นแหล่งประวัติศาสตร์เก่าแก่มากมาย มีวัดเก่าแก่ตั้งแต่ ร.3 คือ วัดสังเวช วัดสามพระยา วัดใหม่อมตรส เป็นย่านการค้า มีป้อมพระสุเมรุและสวนสาธารณะ เรียกว่า สวนสันติชัยปราการ มีคลองบางลำพูไหลตัดผ่านชุมชน เป็นคลองที่ใช้สัญจร ใช้ในการเกษตร อุปโภค บริโภค ในสมัยก่อนมีต้นลำพูขึ้นอยู่มากมาย จึงเป็นที่มาของ “บางลำพู ”


ในอดีตเส้นทางคลองบางลำพูถือได้ว่าเป็นเส้นทางสายสำคัญสายหนึ่งที่ชาวบ้านใช้ในการคมนาคม เป็นเส้นทางนํ้าที่สามารถตัดผ่านออกสู่เส้นทางนํ้าสายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นคลองหลอด คลองผดุงกรุงเกษม รวมไปถึงตัดออกสู่แม่นํ้าเจ้าพระยาได้อีกด้วย นอกจากนั้นคลองสายนี้ยังเป็นเส้นที่ตัดผ่านหัวเมืองชั้นนอก เพื่อเข้าสู่เมืองหลวงหรือกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยก่อนบริเวณนี้จึงถือได้ว่าเป็นตลาดใหญ่ของการค้าขาย โดยเฉพาะผลไม้ ที่พ่อค้าจะนำมาขึ้นที่ท่านี้ และมีชาวบ้านแจวเรือมารับซื้อไปอีกทอดหนึ่ง ต่อมาเมื่อกาลเวลาเปลี่ยนผ่าน ถนนได้หันหน้าบ้านเข้าสู่คลอง ก็ปรับเปลี่ยนย้ายทิศเป็นหันหน้าบ้านเข้าสู่ถนนที่การคมนาคมสะดวกมากกว่า และหันหลังเข้าสู่คลอง เพราะฉะนั้นคลองจึงถูกทิ้งร้าง ขาดการดูแล คลองบางเริ่มเน่าเสียอย่างหนัก “ต้องอุดจมูก น้ำเน่าเสียดำมาก แต่หลังจากที่เราซึ่งเป็นคนท้องที่เห็นสภาพบ้านเกิด ถ้าเราไม่สนใจ ไม่ใส่ใจมัน คลองมันก็ตายลงไปเรื่อยๆ” จากคำบอกเล่าของพี่สิทธิชัย ผลหิตตานนท์ แกนนำชุมชนย่านบางลำพู


ชมรมเกสรลำพูเป็นการรวมกลุ่มของเด็กและเยาวชนในย่านบางลำพู ที่มีความคิดอยากทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน โดยเริ่มต้นมาจากแกนนำ 4 คน ได้แก่ นายยุทธนา การนา (เหน่ง) ในฐานะประธานชมรมฯ, นางสาวปานทิพย์ ลิกขะไชย (ต้า) ตำแหน่งรองประธาน, นางสาววิมลสิริ เหมทานนท์ (จุ๋ม) ตำแหน่งเลขฯ และนายธวัชชัย พรหมมะนะ ในปี 2544 ที่รวมกลุ่มเด็กและเยาวชนให้เรียนรู้ประวั­ติศาสตร์ในชุมชนบางลำพู และพัฒนามาเป็นการจัดกิจกรรมในงานเทศกาลต่­างๆ ทั้งสื่อต่างๆ การแสดงศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย เกิดคุณค่าทางจิตใจ มีความหวงแหน สร้างจิตสำนึกรักและภาคภูมิใจท้องถิ่นให้กับเยาวชน จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของเด็กเยาวชนเพียงไม่กี่คน สู่พลังอันยิ่งใหญ่ให้คนทั้งชุมชนรวมตัวกั­นพัฒนาให้สังคมดีขึ้น


ตลอด 11 ปี ที่ทำกิจกรรมสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนบางลำพูได้อย่างชัดเจน ทว่า การทำกิจกรรมต่างในชุมชน ทำให้กลุ่มเยาวชนเหล่านี้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในมิติต่างๆ ทั้งด้านการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อม รวมถึงสภาพสังคม วัฒนธรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป กลุ่มเยาวชนชมรมเกสรลำพูจึงอยากรวมตัวทำกิจกรรมการอนุรักษ์ ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะการฟื้นฟูคลองบางลำพูในบริเวณที่ยังคงเน่าเสีย แม้ว่าผู้ใหญ่ในชุมชนและเยาวชนจะช่วยกันปรับปรุงคุณภาพของน้ำอย่างต่อเนื่อง


“ทำเพราะอยากทำ แต่ยังไม่มีความรู้ในการทำงานกับสิ่งแวดล้อมมากนัก ถ้าขาดประสบการณ์ก็ควรจะทำอะไรบ้าง”


ทุกวันนี้ คลองบางลำพู ยังคงมีสภาพสกปรก จากขยะในชุมชนที่มีการทิ้งขยะลงในคลอง การปล่อยน้ำเสียจากครัวเรือนโดยไม่บำบัด ด้วยคนในชุมชนขาดจิตสำนึกและไม่เห็นคุณค่าของแหล่งน้ำ อีกทั้งการขาดการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ความรู้ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องไม่เข้ามาดูแลแก้ไข ทำให้ทัศนียภาพไม่น่ามอง และน้ำเน่าเสีย สิ่งมีชีวิตลอยตาย และค่อยๆ ลดจำนวนลง ผู้คนไม่ใช้คลองในการสัญจร น้ำไม่สามารถนำมาใช้


กลุ่มเยาวชนเกสรลำพู ซึ่งเป็นเด็กในชุมชนอาศัยอยู่ในละแวกดังกล่าว เห็นถึงปัญหา และอยากจะเห็นคลองบางลำพูใสสะอาด กลับมาเป็นที่สัญจรของคนในชุมชน เป็นที่อยู่ของสัตว์น้ำ ให้มีคุณค่าทางจิตใจเกิดความหวงแหนของคนในชุมชน จึงคิดว่ากลุ่มเยาวชนจะสามารถช่วยแก้ไขสาเหตุของสายน้ำสายนี้เน่าเสียได้ ทั้งการทำให้คนในชุมชนมีจิตสำนึก ลดการปล่อยน้ำเสียจากครัวเรือนหรือการบำบัดน้ำก่อนทิ้ง ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ชาวบ้านรู้คุณค่าของแหล่งน้ำแม้วันนี้มันจะไม่มีประโยชน์ต่อชุมชนมากนักก็ตาม


กลุ่มเยาวชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและเป็นแนวร่วมในการดูแลรักษาคลองบางลำพู และคนในชุมชนเองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคลองบางลำพูและหันมาดูแลรักษาคลองมีความหวงแหน มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ให้คลองมีความสะอาด เป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์น้ำ คนในชุมชนสามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์ได้


“กลุ่มเริ่มทำจากการลงพื้นที่สำรวจปัญหาของคลอง สอบถามคนที่อยู่อาศัยในละแวกนั้นๆ บางครั้งได้ความรู้จากคนในชุมชนและผู้ใหญ่ การเข้าไปทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ ในชุมชน เพื่อที่จะสร้างกลุ่มแกนนำดูแลรักษาคลอง ปัญหาแรกที่เจอคือ ปัญหาเรื่องของการจัดการกระบวนการวิธีการทำงาน ไม่รู้ว่าบางครั้งการทำงานใหม่ๆ ก็น่าจะมีปัญหา แต่ก็ไม่ได้มีอะไร ที่มันหนักหนา ด้วยทำไปลองผิดลองถูก คิดแปลนกิจกรรมแล้วลงมือทำ แล้วก็ปรับกันไป”


กิจกรรมจัดกระบวนการเรียนรู้ “สำรวจคลองบางลำพู” ให้กับเด็กและเยาวชนในชุมชนจำนวน 10 คน (ป.4 – ม.1) เพื่อสำรวจที่มา สาเหตุความเสื่อมโทรม สถานภาพปัจจุบันของคลองบางลำพู และให้เยาวชนได้เข้ามาเป็นแนวร่วมในการดูและรักษาคลองบางลำพู “พี่ๆ ในเกสรลำพูลงไปสำรวจและมาทำความเข้าใจในกลุ่มเราก่อน จากนั้นก็ทำกิจกรรมกับเด็กๆโดยให้เด็กสำรวจเองว่าเจออะไรบ้าง คลองบางลำพูเป็นอย่างไร ให้อิสระเลยแล้วพอเด็กๆเจอ “ขยะ” ก็ตั้งคำถามต่อว่า “ขยะมาจากไหน”


กิจกรรมสร้างความเข้าใจกับคนในชุมชน ถึงสถานการณ์ปัญหา สาเหตุความเสื่อมโทรมของคลองบางลำพู โดยมีกิจกรรมย่อย 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมจัดทำสื่อรณรงค์ โดยมีเด็กและเยาวชนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม 24 คน เพื่อผลิตชิ้นงานสื่อรณรงค์ ณ โรงเรียนวัดตรีทศเทพศาลพระเจ้าตาก การจัดเวทีพูดคุยเพื่อหาแนวทางและความร่วมมือในการฟื้นฟูคลองบางลำพูจากชุมชน โดยมีหลายหน่วยงานให้ความสนใจเข้าร่วมประกอบด้วย ประชาคมฟื้นฟูวัฒนธรรมย่านบางลำพู ชมรมเกสรลำพู กลุ่มผึ้งน้อยพอเพียง ประธานชุมชนต่างๆ เจ้าหน้าที่ภาครัฐและเอกชน


กิจกรรมฟื้นฟูคลองบางลำพู ทำความสะอาดคลองบางลำพู หนิง “ตอนแรกๆ ตั้งใจทำแค่เรื่องเก็บข้อมูลภูมิทัศน์ ทำกิจกรรมเก็บขยะ ส่วนเรื่องการตรวจวัดคุณภาพน้ำมาได้ความคิดจากเพื่อนๆในเครือข่ายตอนอบรมครั้งที่ 2 ว่ามันจำเป็น อันนี้ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนเลยคะ คือหนูเข้าใจว่าแค่เทน้ำ EM ลงไปเดี๋ยวน้ำมันก็ใสเหมือนเดิม พอมาฟังเพื่อนๆก็งงว่าต้องทำขนาดนั้นเลยเหรอ ต้องตรวจวัดคุณภาพน้ำ ต้องทำถังดักไขมัน ซึ่งมันไม่ใช่แค่การเก็บขยะ เทน้ำ EM แล้ว” เทน้ำหมักชีวภาพลงคลอในชุมชนมีกลุ่มที่ทำน้ำ EM อยู่แล้ว


ปัญหาอุปสรรคและการหาทางออก เวลาว่างที่ไม่ตรงกันเวลานัดก็จะดูวันเวลาว่างที่น่าจะเป็นไปได้เยอะที่สุดหรือเลื่อนวันให้เหมาะที่สุด


ผลต่อชุมชนเป้าหมาย/ชุมชนใกล้เคียง มีการร่วมมือกันหลายฝ่ายมากขึ้น มีความตื่นตัวมากขึ้น ชุมชนใกล้คลองบางลำพู คนในชุมชนเห็นความสำคัญของคลองบางลำพูมากขึ้น


ผลต่อทรัพยากรธรรมชาติ แม้วันนี้การทำกิจกรรมภายใต้โครงการจะยังไม่สามารถทำให้น้ำในคลองบางลำพูใสสะอาด แต่เยาวชนชมรมเกสรลำพู ก็ได้ช่วยกันทำให้คลองบางลำพูมีขยะน้อยลง ลดปัญหากลิ่นเน่าเหม็นของน้ำ และกำลังจะดีขึ้นด้วยความร่วมมือของคนหลายๆ ฝ่ายร่วมด้วยช่วยกัน


ผลต่อการขยายเครือข่ายการทำงาน มีคนรู้จักเรามากขึ้น ทุกๆ ฝ่ายร่วมมือร่วมใจกันเป็นอย่างดี


ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จ


ส่วนหนึ่งมาจากแกนนำเยาวชนเป็นคนในชุมชนและทำงานร่วมกับแกนนำชุมชนอยู่แล้ว การเข้าถึงผู้ใหญ่จึงไม่ยากอีกอย่างก็เป็นญาติกันด้วย และการเข้าร่วมประชุมกับชุมชนทุกครั้ง


การใช้กิจกรรมที่กลุ่มถนัด เช่น ดนตรี ศิลปะ มาปรับใช้ในกระบวนการดึงความสนใจและสร้างการเรียนรู้เรื่องปัญหาคลองให้กับเด็กๆ ในชุมชน


การใช้วิชาความรู้ที่ได้เล่าเรียน (สายอาชีพครูปฐมวัย) มาจัดกระบวนการกับน้องๆ ในวัยปฐมศึกษา ดึงความสนใจให้เด็กๆ เข้ามาเรียนรู้และร่วมกิจกรรม


ปัญหา/อุปสรรค


ความรู้ความเข้าใจต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม และทักษะการทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมยังมีน้อย ต้องอาศัยการเรียนรู้จากการลงมือทำไปพร้อมๆ กับน้องๆ ในชุมชน และการแลกเปลี่ยนจากเพื่อนเครือข่าย


ทักษะการบริหารจัดการงานและเวลาที่ยังไม่ดีนัก เมื่อแกนนำเยาวชนยังคงต้องเป็นตัวหลักในการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน ทำให้การทำกิจกรรมให้เกิดขึ้นและสำเร็จตามเป้าหมายค่อนข้างยาก


การไม่นิ่งดูดายต่อความเสื่อมโทรมของคลองที่เหลือประโยชน์ให้ชุมชมเพียงน้อยนิด การเล็งเห็นคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ความห่วงใยต่อสัตว์น้ำ สำนึกที่มีต่อชุมชน แม้ยังไม่มีความรู้ ไม่มีประสบการณ์ในการทำงานสิ่งแวดล้อม ชมรมเกสรลำพูเริ่มเรียนรู้ใหม่ ค้นหาต้นต่อปัญหา เกิดกระบวนการเรียนรู้ยังรู้น้อยก็ต้องศึกษาเพิ่ม สื่อสารรณรงค์ให้คนเห็นคุณค่าของแหล่งน้ำ และสะท้อนเรื่องราวให้ชุมชนร่วมหาทางออก


จากการเริ่มคิดที่จะลุกขึ้นมาดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชน ซึ่งเป็นการทำงานที่ต่างจากเดิม ไม่มีทักษะ ประสบการณ์ ไม่มีความรู้มากนัก เพียงแค่คิดอยากดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชนบ้าง มันช่วยตอกย้ำให้กับเยาวชนได้เห็นว่าสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยเฉพาะคลองบางลำพู ซึ่งเป็นสายน้ำที่เคยมีความสำคัญในอดีต ถึงแม้ปัจจุบันผู้คนแถบจะไม่ได้ใช้ประโยชน์ แต่คงเป็นสิ่งสำคัญที่พวกเขาต้องให้ความใส่ใจ แม้ในช่วง 7 เดือน ของการทำโครงการเยาวชนในชุมชนจะทำได้เพียงการเรียนรู้ที่ทำให้รู้จักสิ่งแวดล้อม “แหล่งน้ำ” ของชุมชนเท่านั้น แต่พวกเขาก็อยากลุกขึ้นมามีส่วนร่วมดูแลมากกว่านี้ และอยากปลูกฝังจิตสำนึกรักชุมชน รักสิ่งแวดล้อมให้กับน้องๆ ในชุมชน แม้ว่าวันนี้น้องๆ ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กๆ ชั้นประถมศึกษา และหวังว่าเด็กๆ เหล่านี้จะไม่ทิ้งขยะลงในคลองอีกต่อไป หรือหากมีกิจกรรมฟื้นฟูดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชนเยาวชนเหล่านี้จะลุกขึ้นมาเป็นแกนนำหลัก


“พวกเราต้องการเห็นคลองที่ดีขึ้น เห็นการทำงานร่วมกันของคนในชุมชนและเด็กเยาวชนแกนนำได้แสดงศักยภาพในการทำงาน และสร้างแกนนำรุ่นใหม่ๆ มาทำงานอย่างบูรณาการของตนเอง เพื่อให้เด็กและคนในชุมชนเกิดความหวงแหน เห็นความสำคัญในคลองของตนเอง”


แกนนำเยาวชนชมรมเกสรลำพู


 ธัญลักษณ์ สมแก้ว (หนิง ) ปัจจุบันกำลังศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร


“ได้ทำสิ่งต่างๆมากมาย ได้มีประสบการณ์ ทำสิ่งดีดๆ เพื่อตอบแทนสังคม”


บทบาทหน้าที่ นันทนาการ /เล่นเกม/ เตรียมอุปกรณ์


ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการกล้าแสดงความคิดเห็น สนใจแม่น้ำลำคลองมากขึ้น โดยจะหาข้อมูลเรื่องน้ำ การตรวจวัดคุณภาพน้ำ เนื่องจากไม่เคยรู้เรื่องการตรวจวัดคุณภาพน้ำเลย ไม่เคยทำ


“จากการที่ได้มาทำกิจกรรมที่ค่ายครั้งนี้ รู้สึกว่าตัวเองโตขึ้น มีความรู้ใหม่ๆ มากขึ้น ได้แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์กับกลุ่มคนที่ทำงานด้านเดียวกับเรา รู้สึกมีกำลังใจมากขึ้น สนุกสนานดีใจที่ได้เจอเพื่อนใหม่ๆ กระบวนการอบรมต่างๆ ก็จะเอาไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมของตนเอง และจะตั้งใจทำโครงการให้ดีที่สุด”



 สุพิน หนองบัว (หมู) ปัจจุบันกำลังศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร 


“ กิจกรรมที่ทำในค่ายสนุกมาก ประสบการณ์จากการแลกเปลี่ยนกันจากกลุ่มต่างๆ บางคนแค่คำพูดไม่กี่คำของเขาก็สามารถทำให้เราเปลี่ยนแปลงแง่คิดในการมองโลกได้เยอะเลย”



  เกวลิน งามวิไล (มิกเกว) ปัจจุบันกำลังศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร


ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ มิตรภาพ “การรู้จัก การร่วมกิจกรรมด้วยกัน การพูดคุยกัน การใช้ชีวิตในค่ายด้วยกัน ได้ร่วมสนุกสนานด้วยกัน”ความรู้“การแชร์ประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความรู้ การแนะนำซึ่งกันและกัน การเพิ่มเติมความรู้ให้กัน (จากพี่ๆ น้องๆ และวิทยากร) เกม การบริหารจัดการ กระบวนการคิด การนำเสนอด้วยผ่านสื่อ” ทักษะ “การแสดงออก เกม การบริหารจัดการ กระบวนการคิด การนำเสนอ การเป็นผู้นำ” พลัง “กำลังใจ การผลักดัน การสนับสนุน การร่วมมือ”



พี่เลี้ยงโครงการ


  พีระพงศ์ ดวงดี (พี) จบการศึกษาปริญญาตรีวิทยาการการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา


“อยากทำแต่ยังไม่มีความรู้ในการทำงานกับสิ่งแวดล้อมมากนัก ถ้าขาดประสบการณ์ก็ควรจะทำอะไรบ้าง แต่ที่อยากทำเพราะอยากเห็นคลองบางลำพูกลับมาดีขึ้น เพราะเราเห็นปัญหาต่างๆ เราเป็นคนอาศัยอยู่ในละแวกนั้น


บทบาทการหนุนเสริมการทำงานของกลุ่มเยาวชน คือ ถ่ายทอดกระบวนการและความรู้ผ่านกิจกรรม ร่วมคิดและวางแผนการทำโครงการร่วมกับแกนนำเยาวชน ช่วยประสานงานกับหน่วยงานและแกนนำชุมชน


สิ่งที่นำไปใช้ / ทักษะที่พัฒนาขึ้น / สิ่งที่เกิดขึ้น การคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหา หรือโจทย์การทำงานที่ทำให้เข้าใจปัญหาได้มากขึ้น, เกิดมุมมองใหม่ๆ ในการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม, การวิเคราะห์และวางเป้าหมายการทำงาน ทำให้ตัวเองมีเป้าหมายการทำงานชัดเจนขึ้น ได้เรียนรู้กระบวนการทำงานจากเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการ เช่น การตรวจวัดคุณภาพน้ำ ทำให้เห็นแนวทางการมีส่วนร่วมและการสร้างความเข้าใจต่อสถานการณ์ปัญหาในชุมชน, มีความสัมพันธ์กับกลุ่มเครือข่ายได้แลกเปลี่ยนความรู้ กระบวนการทำงาน และสนับสนุนเงินกัน


โครงการเยาวชนรักษ์คลองบางลำพู

ชมรมเกสรลำพู จ.กรุงเทพมหานคร

ผู้ประสานงาน ธัญลักษณ์ สมแก้ว (หนิง) โทรศัพท์ 08-0304-5298 อีเมล์ Ning2707@gmail.com

กลุ่มเป้าหมาย เด็กและเยาวชนในชุมชนบางลำพู

พื้นที่เป้าหมาย คลองบางลำพูช่วงวัดสังเวช ถึง ศาลพระเจ้าตาก ประมาณ 500 เมตร

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ