กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปผลโครงการเยาวชนรักษ์ป่าสัก
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โครงการเยาวชนรักษ์ป่าสัก


กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก


เมื่อกลางปี 2547 เกิดเหตุการณ์ปลาตายในแม่น้ำป่าสัก นักเรียน 2 คนที่อาศัยอยู่ริมน้ำเกิดความสงสัยจึงมาถามครูอารมณ์ เบสูงเนิน ว่า “ทำไมปลาถึงตาย” ครูอารมณ์จึงแนะนำให้เด็กๆไปค้นหาข้อมูลว่า “น้ำเสียเพราะอะไร” จึงเกิดเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์เล็กๆขึ้นมาเพื่อรวบรวมข้อมูลจนกระทั้งได้คำตอบว่า “สาเหตุที่ปลาตายเกิดมาจากน้ำเสียจากชุมชนเป็นหลัก” จากนั้นจึงขยายผลออกไปมีนักเรียนสนใจจาก 2 เป็น 3 เป็น 4 มาเข้าร่วมกิจกรรม จึงได้จัดตั้งเป็น “กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก” ขึ้น เพื่อทำกิจกรรมเฝ้าระวังคุณภาพแม่น้ำป่าสัก โดยมีการตรวจวัดคุณภาพน้ำ 3 ด้าน คือ ชีวภาพ เคมี และกายภาพ


แม่น้ำป่าสักถือว่าเป็นแม่น้ำสายสำคัญของภาคกลางและเป็นสายน้ำที่สำคัญเพียงสายเดียวที่หล่อเลี้ยงชีวิตของชาวจังหวัดสระบุรี โดยได้อาศัยน้ำในการเกษตร การอุปโภค บริโภค การอุตสาหกรรม และอื่นๆ ไหลผ่าน


พื้นที่ดำเนินการของกลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) ระยะทาง 102 กม. จากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี – ท่าน้ำวัดพะเยาว์ อ.เมือง จ.สระบุรี โดยทำกิจกรรมตรวจวัดคุณภาพน้ำ แบ่งออกเป็น 4 สถานี


1.ต้นน้ำ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

2.พื้นที่ทำการเกษตร อบต.ท่าคล้อ (จากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ – อบต.ท่าคล้อ อ.แก้งคอย)

3.พื้นที่อุตสาหกรรมวัดท่าพง (จาก อ.แก่งคอย – อ.เมือง)

4.พื้นที่ชุมชนเมืองวัดพระเยาว์ (จาก อ.เมือง – อ.เสาไห้)


และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี “จัดทำแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ”

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

โครงการเยาวชนรักษ์ป่าสัก


กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก


เมื่อกลางปี 2547 เกิดเหตุการณ์ปลาตายในแม่น้ำป่าสัก นักเรียน 2 คนที่อาศัยอยู่ริมน้ำเกิดความสงสัยจึงมาถามครูอารมณ์ เบสูงเนิน ว่า “ทำไมปลาถึงตาย” ครูอารมณ์จึงแนะนำให้เด็กๆไปค้นหาข้อมูลว่า “น้ำเสียเพราะอะไร” จึงเกิดเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์เล็กๆขึ้นมาเพื่อรวบรวมข้อมูลจนกระทั้งได้คำตอบว่า “สาเหตุที่ปลาตายเกิดมาจากน้ำเสียจากชุมชนเป็นหลัก” จากนั้นจึงขยายผลออกไปมีนักเรียนสนใจจาก 2 เป็น 3 เป็น 4 มาเข้าร่วมกิจกรรม จึงได้จัดตั้งเป็น “กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก” ขึ้น เพื่อทำกิจกรรมเฝ้าระวังคุณภาพแม่น้ำป่าสัก โดยมีการตรวจวัดคุณภาพน้ำ 3 ด้าน คือ ชีวภาพ เคมี และกายภาพ


แม่น้ำป่าสักถือว่าเป็นแม่น้ำสายสำคัญของภาคกลางและเป็นสายน้ำที่สำคัญเพียงสายเดียวที่หล่อเลี้ยงชีวิตของชาวจังหวัดสระบุรี โดยได้อาศัยน้ำในการเกษตร การอุปโภค บริโภค การอุตสาหกรรม และอื่นๆ ไหลผ่าน


พื้นที่ดำเนินการของกลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) ระยะทาง 102 กม. จากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี – ท่าน้ำวัดพะเยาว์ อ.เมือง จ.สระบุรี โดยทำกิจกรรมตรวจวัดคุณภาพน้ำ แบ่งออกเป็น 4 สถานี


1.ต้นน้ำ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

2.พื้นที่ทำการเกษตร อบต.ท่าคล้อ (จากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ – อบต.ท่าคล้อ อ.แก้งคอย)

3.พื้นที่อุตสาหกรรมวัดท่าพง (จาก อ.แก่งคอย – อ.เมือง)

4.พื้นที่ชุมชนเมืองวัดพระเยาว์ (จาก อ.เมือง – อ.เสาไห้)


และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี “จัดทำแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ”


กระบวนการทำงาน

งานเฝ้าระวังคุณภาพน้ำแม่น้ำป่าสักในพื้นที่จังหวัดสระบุรี และการติดตามอย่างเป็นระบบ โดยกลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสักจะลงพื้นที่ตรวจวัดคุณภาพทุกๆ 15 วัน ระยะทางรวม 102 กม. ( 4 จุด) ทำการตรวจวัด 3 ด้าน คือ


•ด้านเคมี : ไนเตรต, ฟอสเฟส, ค่าออกซิเจนละลายในน้ำ (DO : Disolved Oxygen), pH

•ด้านชีวภาพ : สิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ

•ด้านกายภาพ : สี อุณหภูมิ ตะกอน


เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วเยาวชนจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานน้ำทิ้ง ผลการวิเคราะห์ที่ได้จะนำไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลคุณภาพน้ำต่อไป อาทิ สิ่งแวดล้อมจังหวัด, อบต.ท่าช้างใต้, อบต.ดาวเรือง และยังได้มีโอกาสได้จัดแสดงนิทรรศการในงานสิ่งแวดล้อมของจังหวัด นอกจากนี้ยังได้มีการสื่อสารข้อมูลคุณภาพน้ำต่อสาธารณะชนผ่าน สระบุรีเคเบิล หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วิทยุ เป็นต้น


กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสักได้ทำกิจกรรมวิเคราะห์คุณภาพน้ำทุกๆ 15 วัน และทำอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 9 ปีแล้ว (2547-2556) ทำให้สามารถวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งผลการวิเคราะห์สามารถพยากรณ์ได้ว่าช่วงเวลาไหนจะเกิดน้ำเสีย อาจารย์อารมณ์เล่าให้ฟังว่า “ในช่วงเดือนมิถุนายนมักจะเกิดน้ำเสียเนื่องจากเป็นหน้าฝน น้ำจะชะสารเคมี (ไนเตรต ฟอสเฟส) จากการทำเกษตรลงสู่แหล่งน้ำทำให้เกิดปลาตาย ซึ่งเคยบอกเตือนไปกับชาวบ้านที่เลี้ยงปลากระชังให้เก็บปลาขึ้นในช่วงเดือนนี้นะ แต่บ้างคนก็ไม่เชื่อเมื่อถึงเวลาก็เกิดปลาตายจริงๆ”


ซึ่งสอดคล้องที่น้องโมเมย์เล่าให้ฟังถึงว่าทำไมต้องตรวจวัดคุณภาพน้ำ 3 ด้านและละเอียด “ที่น้องตรวจละเอียดเพราะข้อมูลที่ได้จะทำให้รู้ว่าน้ำเสียเพราะอะไร มีสาเหตุมาจากอะไร จะแก้ไขอย่างไร ซึ่งหน่วยงานที่รับเกี่ยวข้องสามารถทำข้อมูลไปคิดวางแผนต่อไปได้”


งานจัดทำศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง : เพราะความเชื่อที่ว่าการแก้ไขคุณภาพน้ำได้ต้องเริ่มจากตัวเราก่อน โรงเรียนจึงได้ทำ “ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการติดตามและการบำบัดน้ำในโรงเรียน และชุมชนได้เรียนรู้กระบวนการมีส่วนร่วมเฝ้าระวังและตรวจวัดคุณภาพน้ำ และการบำบัดแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย เช่น ฐานพึ่งพาตนเอง ฐานระเบิดจุลินทรีย์ ฐานน้ำหมักธรรมชาติ (น้ำมาทำเป็นน้ำยาเอนกประสงค์ สบู่ เพื่อแก้ปัญหา ฟอสเฟส ไนเตรต ตามบ้านเรือน) ฐานความรู้ด้านคุณภาพน้ำ ฐานความหลากหลายทางชีวภาพ


งานขยายผลองค์ความรู้ ทักษะ กระบวนการติดตามคุณภาพน้ำ และสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ แม่น้ำป่าสักสู่เยาวชนในโรงเรียน โรงเรียนเครือข่าย และครัวเรือนรักษ์น้ำ โดยมีกิจกรรมย่อยดังนี้


•กิจกรรมอบรมให้ความรู้การตรวจวัดคุณภาพน้ำและวิธีการบำบัดน้ำกับนักเรียน ม. 2 ม.3 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จำนวน 120 คน

•กิจกรรมครัวเรือนรักษ์น้ำ ทำกิจกรรม 2 ครั้ง (ตค. 55, กพ. 56) กระบวนการ............กลุ่มเป้าหมายเป็นเครือข่ายนักเรียน ชั้น ม.3 เครือข่ายชุมชนวัดท่าช้างใต้ เครือข่ายชุมชนวัดท่าวัว (มีครัวเรือนให้การตอบรับเข้าร่วมกิจกรรมน้อย)

•จัดอบรมให้ความรู้การเฝ้าระวังคุณภาพน้ำป่าสักสู่โรงเรียนเครือข่าย ตค. 55 กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนแกนนำในโรงเรียนเครือข่าย 5 โรงเรียน ได้แก่ ร.ร.เสาไห้ (วิทลวิทยานุกูล) , ร.ร.สุธีร์วิทยา, ร.ร.ห้วยบง, ร.ร.วัดโนนสภาราม, ร.ร.วัดท่าวัว


กระบวนการทำงานมีการทดลองแก้ปัญหาน้ำเสียในพื้นที่โรงเรียน เพื่อเป็นต้นแบบในการแก้ปัญหาน้ำ และใช้เป็นฐานการเรียนรู้ของเยาวชนในโรงเรียนและชุมชน


ในส่วนของกิจกรรมเฝ้าระวังมีการส่งต่อให้รุ่นน้องๆทำรุ่นต่อรุ่น ในปีแรกๆ (2547) สำรวจคุณภาพน้ำบริเวณพื้นที่ชุมชน แล้วค่อยๆขายไปพื้นที่เกษตร พื้นที่อุตสาหกรรมก่อน โดยมีรุ่นพี่ๆเป็นคนวางแผนมาก่อน


วิธีการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ ถูกบรรจุเป็นหลักสูตรการเรียนการสอน นั้นคือ ม.1 เรียนรู้ทฤษฏี ม.2 เรียนรู้ทฤษฎี + ปฏิบัติ ม.3 ให้คิดทำโครงงานเสนอ โดยเรียนรู้ผ่านศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน รูปแบบการเรียนรู้ดังนี้ ม.1 เป็นน้องเข้าค่าย ให้ ม.2 ฝึกการสื่อสารโดยให้เป็นวิทยากรฐานเรียนรู้ เป็นพี่เลี้ยงน้อง ม.1 และ ม.3 เป็นคนประสานงานจัดค่ายเองทั้งหมด


การแบ่งหน้าที่จะใช้วิธีแบ่งตามความถนัดของแต่ละคน เนื่องจากเป็นเพื่อนที่ทำงานร่วมกันและสนิทกันเลยรู้ว่าใครถนัดอะไร


หากสังเกตคุณภาพน้ำแม่น้ำป่าสักรวมทั้ง 4 สถานีแล้วถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง – ดี กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก ยังทำหน้าที่เฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหาน้ำเสมอ โดยการจัดทำจุลินทรีย์ชีวภาพชนิดน้ำ และชนิดก้อน เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาน้ำเบื้องต้นก่อน


จากที่ศึกษาเพียงพื้นที่เล็ก ๆ เฉพาะในเขต อ.เมือง จ.สระบุรี จนปัจจุบันขยายพื้นที่มาเป็น พื้นที่ต้นน้ำป่าสัก(เขื่อนป่าสัก) พื้นที่เกษตรกรรม(ท่าคล้อ) ย่านอุตสาหกรรม (วัดท่าพง) และพื้นที่ชุมชนเมือง (วัดพะเยาว์) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ถึง 5 อำเภอ รวบรวมข้อมูลเรื่อยมา ส่งข้อมูลไปยังสำนักงานสิ่งแวดล้อมจังหวัด และยังนำเสนอผ่านสื่อมวลชนท้องถิ่น ผ่านการประชุมภาคีเครือข่ายสิ่งแวดล้อม ประกอบไปด้วย 5 ภาคีเครือข่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม ภาคประชาชนและภาคเอกชน ปัจจุบันโครงการของเราดำเนินมาถึงขั้นเผยแพร่โดยการจัดกิจกรรมค่ายบูรณาการให้กับน้อง ๆ ในจังหวัดสระบุรี โดยมี 5 โรงเรียนที่มาเข้าร่วมและจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับน้อง ๆ ในโรงเรียนและให้กับชาวบ้านในชุมชนหรือบุคคลที่สนใจจะศึกษามาเรียนรู้


จากการที่กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก ได้ทำการศึกษามาระยะหนึ่ง และสามารถสรุปได้ว่า น้ำที่มีคุณภาพต่ำสุดตามพารามิเตอร์ที่ตรวจสอบในสถานีที่ตรวจสอบพบว่า ภาคชุมชนมีส่วนทำให้คุณภาพน้ำลดต่ำลงมากที่สุด รองลงมาคือ ภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ตามลำดับ จึงเกิดคำถามย้อนกลับมาว่า เมื่อนำเสียแล้วแก้ไขอย่างไร กลุ่มเยาชนรักษ์ป่าสักจึงเกิดการระดมความคิดอีกครั้งเพื่อช่วยกันหาแนวทางในการแก้ปัญหาน้ำที่เกิดขึ้น โดยการศึกษาวิธีการแก้ปัญหาน้ำเสียจากแหล่งวิทยาการ ทั้งหลาย ไม่เว้นแม้กระทั่งปราชญ์ชาวบ้าน สุดท้ายได้แนวความคิดร่วมกันว่า ต้องทำแหล่งเรียนรู้เพื่อให้ชุมชน ได้ศึกษาวิธีการแก้ปัญหาน้ำเสีย โดยใช้ชื่อว่า “แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ” โดยใช้พื้นที่ที่เกิดปัญหาน้ำเสียในโรงเรียนเป็นแหล่งทดลอง ฟื้นฟู จนกระทั่งสามารถพัฒนาให้เป็น แหล่งเรียนรู้ได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ผ่านกิจกรรมฐานความรู้เพื่อพึ่งตนเอง เช่น ฐานน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพชนิดน้ำ และชนิดก้อน ฐานคนมีน้ำยา ซึ่งเป็นฐานการเรียนรู้ที่นำเอาน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพมาเป็นส่วนผสมหลัก จึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฐานคนรักษ์แผ่นดิน เป็นฐานการเรียนรู้ที่นำน้ำหมักจุลินทรีย์ชนิดน้ำไปใช้ในการฟื้นฟูดินร่วมกับการห่มฟาง และฐานการการทำสบู่สมุนไพร ซึ่งนำน้ำสมุนไพรที่มีในแหล่งเรียนรู้มาจัดทำ


จากการที่กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสักทำหน้าที่ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำแม่น้ำป่าสัก ถือเป็นกิจกรรมเฝ้าระวังได้เป็นอย่างดี เมื่อใดที่พบว่าน้ำในแม่น้ำป่าสักประสบปัญหา ยังสามารถเสนอแนวทางแก้ไขได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังสามารถดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้น้ำ เช่น การซัก การล้าง การทำความสะอาดร่างกาย โดยที่น้ำทิ้งจากกิจกรรมดังกล่าว ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้กลุ่มเยาวชนดังกล่าวได้รับการยอมรับ สนับสนุนจากโรงเรียน ชุมชน และสังคมอย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าคุณภาพของแม่น้ำป่าสักจะค่อย ๆ ดีขึ้นเป็นลำดับ


ปัญหาอุปสรรคและการหาทางออก

จากที่เคยมีเวลาว่างได้อ่านการ์ตูน เล่นเกม ดูทีวี แต่เมื่อมาทำกิจกรรมทำให้เยาวชนต้องทำหน้าที่ 2 อย่างพร้อมกันทั้งเรียนและทำกิจกรรม เด็กจึงต้องรู้จักแบ่งเวลา เรียน ทำการบ้าน อ่านหนังสือ เรียนพิเศษ ทำกิจกรรม “จริงๆก็อยากอ่านนิยายบ้าง อยากเล่นเกม แต่ก็กลัวผลที่ตามมาคือสอบตก ทำให้เราต้องจัดสรรเวลา ในชั่วโมงเรียนก็ตั้งใจเรียนมากขึ้น ก่อนงานค่ายจะรีบทำการบ้านให้เสร็จภายในคืนนั้น บางทีทำการบ้านถึงตี 2 กลับจากค่ายก็ต้องมาอ่านหนังสือทบทวนบนเรียน” นอกจากนี้ยังหาทางออกเพราะตนเองต้องขาดเรียนพิเศษบ่อยๆโดยเรียนผ่านวีดีโอแทน ครอบครัวรักษ์น้ำ เข้ารวมโครงการน้อย กลุ่มเยาวชน ได้รับมอบหมายจากคุณครูสาระอื่น ๆ จนกระทั่งเกิดภาระงานมาก แก้ปัญหาโดยแบ่งกลุ่มกิจกรรมออกเป็นฐานการเรียนรู้ กำหนดผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน ซึ่งอาจจะช่วยลดภาระงานได้ ระดับหนึ่ง


ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

ผลต่อกลุ่มเยาวชน กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสักกลายเป็นหน่วยเฝ้าระวังคุณภาพแม่น้ำป่าสักให้กับชุมชน เป็นเสมือนหน่วยตรวจวัดน้ำฉุกเฉินเมื่อเกิดปัญหาในพื้นที่


ด้านความร่วมมือ กลุ่มเยาวชนได้รับความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเป็นอย่างดี ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินการ ทั้งภาครัฐ ภาคชุมชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และภาคสื่อมวลชน เช่น สำนักงานสิ่งแวดล้อมจังหวัดสระบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 ศูนย์อำนวยการประชาสัมพันธ์จังหวัดสระบุรี ชุมชนปากข้าวสาร ชุมชนยุคลธร ชุมชนท่าช้างใต้ ชุมชนวัดท่าวัว ชมรมสิ่งแวดล้อมจังหวัดสระบุรี ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและระบบนิเวศเกษตร มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมูลนิธิกองทุนไทย นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนในการประชาสัมพันธ์จากหนังสือพิมพ์ สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น และสถานีวิทยุท้องถิ่นในการประชาสัมพันธ์ข้องมูลด้านการตรวจสอบคุณภาพน้ำ และวิธีการจัดการน้ำระดับชุมชน


กลุ่มเยาวชนมีเครือข่ายที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สามารถสร้างเครือข่ายเพื่อเผยแพร่ความรู้กับเพื่อนผ่านกิจกรรมสนใจ ในโรงเรียน ในรูปแบบกิจกรรมชุมนุมวิทยาศาสตร์ กิจกรรมจิตอาสา


ผลต่อชุมชน ชุมชนมีหน่วยรับเรื่องร้องเรียน หน่วยตรวจวัดคุณภาพน้ำ และชุมชนเริ่มให้ความสนใจต่อการตรวจวัด เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ เกิดเครือข่ายโรงเรียน 5 โรงเรียนในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริเวณแม่น้ำป่าสักที่ไหลผ่าน จ.สระบุรี มีจุดสำรวจติดตามเฝ้าระวังคุณภาพน้ำเพิ่มอีก 2 สถานี (ในรายงานไม่ระบุว่าที่ไหน)


กลุ่มเยาวชนได้ส่งผ่านข้อมูลในหลาย ๆ มิติ เช่น การส่งข้อมูลให้กับชุมชนโดยตรง การส่งผ่านข้อมูลให้กับภาคีภาครัฐ การส่งผ่านข้อมูลผ่านสื่อมวลชน และการส่งผ่านข้อมูลผ่านกลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก ทำให้มีชุมชนสนใจในการร่วมเป็นเครือข่ายรักษ์น้ำมากขึ้น เช่น ชุมชนยุคลธร อำเภอเมือง ชุมชนวัดท่าวัว อ.เฉลิมพระเกียรติ ชุมชนท่าช้างใต้ อ.เสาไห้ จังหวัดสระบุรี และเครือข่ายครอบครัวกลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ


ผลต่อสิ่งแวดล้อม จากการตรวจวัดคุณภาพแม่น้ำป่าสักพบว่าคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ แต่จะมีบ้างจุดที่มีค่าไนเตรตสูง ทำให้พืชน้ำเจริญเติบโตได้ดี ส่งผลให้ค่า DO ต่ำ (Dissolved Oxygen : ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ) เนื่องจากพืชน้ำเหล่านี้จะไปแย่งออกซิเจนในน้ำที่สัตว์น้ำใช้ในการหายใจ และอีกประการคือส่งผลต่อคุณภาพน้ำเพราะทำให้น้ำเน่าเสียได้


ปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดความสำเร็จ / ล้มเหลว

•ความเป็นเพื่อนที่ทำกิจกรรมร่วมกันมานานทำให้สนิทกัน รู้ว่าใครทำอะไรได้ ไม่ได้ เมื่อมีปัญหาจะปรึกษากัน เปิดใจกัน

•มีวิธีการสอนงานที่เป็นระบบจากรุ่นพี่ สู่ รุ่นน้อง

•เยาวชนมีความรู้ในสิ่งที่จะทำ มีความตั้งใจ

•มีการหนุนเสริม สร้างกระบวนการเรียนรู้ของครู ผ่านหลักสูตรการเรียนการสอน


“จากพลังเยาวชนเล็ก ๆ ของเด็กเพียง 2 คน ในปี 2547 ที่ได้แรงบันดาลใจจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พยายามเก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำ แม่น้ำป่าสัก ส่งผ่านข้อมูลให้กับคุณครู และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แม้ถูกตัดพ้อต่อว่า “ไม่น่าเชื่อถือ” เพราะเป็นงานที่เด็ก ๆ ทำ พยายามส่งต่อความรู้จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง รุ่นแล้วรุ่นเล่า สั่งสมประสบการณ์ ความรู้ มานะ อดทน ในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ทำให้ขณะนี้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี มีเยาวชน และผู้ปกครอง ที่มีจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม ลงมือปฏิบัติพัฒนาตนเอง เพื่อร่วมกันพัฒนาแม่น้ำป่าสัก ให้เป็นแม่น้ำสวย น้ำใส ปลาชุกชุม ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชุมชนผู้ใช้น้ำได้อย่างปราศจากมลพิษ”


แกนนำเยาวชนกลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก



กานต์ธิดา ศีติสาร (โมเม) ปัจจุบันเรียนอยู่มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จ.สระบุรี


“เห็นอาจารย์ที่ทำงาน แล้วก็รุ่นพี่ที่ทำโครงการนี้มีความมุ่งมั่นไม่ย้อท้อเห็นแล้วอยากเป็นบ้าง เลยมาร่วมโครงการ”


หลังที่โมเมเข้าร่วมทำโครงการ โมเมสามารถการบริหารจัดการงาน-คนแทนครูอารมณ์ได้ดี มีความเป็นผู้นำ กล้าแสดงออก สามารถเป็นวิทยากรให้ความรู้การทำผลิตภัณฑ์ชีวภาพได้ การวิเคราะห์คุณภาพน้ำได้ รู้จักแบ่งเวลา มีความรับผิดชอบมากขึ้น ในส่วนของประเด็นงาน : สามารถการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ รู้วิธีการแก้ปัญหา



กันภิรมย์ เบญจรัตนานนท์ (เปา) ปัจจุบันเรียนอยู่มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จ.สระบุรี


“อาจารย์ที่ทำงานแล้วก็รุ่นพี่ที่ทำโครงการนี้มีความมุ่งมั่นไม่ย้อท้อต่อหน้าที่ให้กำลังใจ”


เปา จะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล เผยแพร่ข้อมูล ประสานงาน และเป็นวิทยากรสอนน้องๆเรื่องการตรวจวัดคุณภาพน้ำได้ ผลที่เกิดขึ้นเมื่อเปาได้เข้าร่วมโครงการคือ “มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ได้ทักษะต่างๆ เช่น กระบวนการทำงาน ในเรื่องการจัดค่ายอบรมด้านสิ่งแวดล้อม, การคิด-วิเคราะห์ สามารถเป็นวิทยากรให้ความรู้การทำผลิตภัณฑ์ชีวภาพได้ การวิเคราะห์คุณภาพน้ำได้”




ธัญชนก โสภาคดิษฐ์ (ใบตอง) ปัจจุบันเรียนอยู่มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จ.สระบุรี


“มีอาจารย์เป็นแรงบันดาลใจในการทำงานเพื่อส่วนร่วม เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสังคม และมีความชอบในเรื่องนี้อยู่แล้ว”


จากการลงพื้นที่ได้ทักษะประสานงานชุมชน สื่อสารรู้เรื่อง สามารถเป็นวิทยากรให้ความรู้การทำผลิตภัณฑ์ชีวภาพได้ การวิเคราะห์คุณภาพน้ำได้


พี่เลี้ยงโครงการ



อารมณ์ เบสูงเนิน (ครูเบ)


“พระเจ้าอยู่หัวทรงงานหนักเพื่อให้ประชาชนชาวไทยสามารถอยู่ได้อย่างพอเพียง ภาพจากสื่อยิ่งทำให้ประทับใจ “แม้ว่าจะเป็นเจ้าฟ้าพระมหากษัตริย์ยังทรงงานหนังเพื่อประชาชนมีความสุข” หากมีโอกาสได้แบ่งเบาภาระพระองค์ท่านแม้จะเป็นครูคนหนึ่งซึ่งแบ่งเบาภาระพระองค์ท่านได้เพียงน้อยนิด ก็ตั้งใจจะทำตามแนวพระราชดำริ”


บทบาทการหนุนเสริมการทำงานของกลุ่มเยาวชน ให้อิสระการคิด การวางแผนทำงาน ของเด็กๆ มีบทบาทในการชวนวิเคราะห์สรุปผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำบนฐานเหตุและผล ให้คำปรึกษา พาเยาวชนไปเรียนรู้กับหน่วยงานต่างๆ และอำนวยความสะดวกในการเดินทางของเยาวชน


"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ