กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปผลโครงการเยาวชนอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

จุดเริ่มต้นของหัวใจสีเขียว


เยาวชนรุ่นใหม่หัวสีเขียว เป็นกลุ่มเยาวชนที่อยู่ในบ้านแดนเมือง ซึ่งตั้งอยู่ในเขต ตำบลบุญเรือง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย มีประชากรทั้งหมดประมาณ 200 ครัวเรือน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ การคมนาคมสะดวกอยู่ติดกับถนนสนเทิง-เชียงของ ตั้งบนที่ลาดเอียงเชิงเขาดอยยาว มีแม่น้ำอิงไหลผ่านท้ายหมู่บ้านขนานไปกับเทือกเขา มีป่าไม้ขวงเจิง น้ำตกแดนดง และห้วยแดนเมืองมีต้นน้ำอยู่บนดอยผาหมอกที่ไหลผ่านหมู่บ้าน มีพืชพรรณหลากหลายที่เป็นแหล่งอาหารให้กับคนในชุมชนได้เก็บหาบริโภค อีกทั้งยังมีพืชสมุนไพรหลายชนิดที่คนในชุมชนใช้เป็นยารักษาโรค ให้กับคนในชุมชน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ข้าวโพด และเลี้ยงสัตว์มีพื้นที่ป่าชุมชนแดงดง 3,000 ไร่ โดยคนในชุมชนใช้ประโยชน์ในการหาเห็ดหาหน่อไม้ หาฟืนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หลังจากการใช้ประโยชน์มาเป็นเวลานานทำให้ป่าต้นน้ำถูกทำลาย โดยสังเกตได้จากการเกิดไฟป่า ลำห้วยแห้งแล้งในช่วงฤดูแล้ง ป่าไม้มีสภาพเสื่อมโทรมลงจึงทำให้สัตว์ป่าไม่มีที่อยู่อาศัย หาเห็ด หาหน่อไม้ยากขึ้น ต้นไม้ใหญ่เริ่มหายไป สาเหตุที่ทำให้ป่าต้นน้ำถูกทำลาย คือ ชาวบ้านและคนนอกหมู่บ้านเข้ามาตัดไม้ ตัดเพื่อนำไปเผาถ่านขาย นำไปสร้างบ้าน ชาวบ้านไม่เคารพกฎระเบียบของชุมชน ความเห็นแก่ตัวของชาวบ้านโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

­

จากปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นในชุมชน อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่อง เด็กติดยา ติดเกม จึงเกิดเป็นแรงผลักดันให้ แจ๊ค (กาญจนา กาวิชัย ) พี่เลี้ยงประจำกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียวทำงานกับเยาวชน ซึ่งแจ๊คได้มองเห็นถึงศักยภาพของเยาวชนในชุมชนและมองเห็นถึงใจในการทำงานจิตอาสาของเยาวชน จึงได้เป็นตัวตั้งตัวตีในการชวนเยาวชนในหมู่บ้านมาเข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อชุมชนจนเกิดเป็นกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว มีสมาชิกอยู่ร่วมกันประมาณ 13 คน โดยมีแนวคิดในการทำงานว่าต้องให้โอกาสในการแสดงออกกับเยาวชนอย่างเต็มที่ในการคิดและปฏิบัติ เติมความรู้ทักษะและใส่เรื่องจิตสำนึกให้โดยไม่นำความคิดเยาวชน เพื่อเยาวชนจะโตขึ้นเป็นแกนนำชุมชนที่มีศักยภาพ มีความรักบ้านเกิดของตนเอง

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

โครงการเยาวชนอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม


กลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว จ.เชียงราย


เยาวชนรุ่นใหม่หัวสีเขียว เป็นกลุ่มเยาวชนที่อยู่ในบ้านแดนเมือง ซึ่งตั้งอยู่ในเขต ตำบลบุญเรือง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย มีประชากรทั้งหมดประมาณ 200 ครัวเรือน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ การคมนาคมสะดวกอยู่ติดกับถนนสนเทิง-เชียงของ ตั้งบนที่ลาดเอียงเชิงเขาดอยยาว มีแม่น้ำอิงไหลผ่านท้ายหมู่บ้านขนานไปกับเทือกเขา มีป่าไม้ขวงเจิง น้ำตกแดนดง และห้วยแดนเมืองมีต้นน้ำอยู่บนดอยผาหมอกที่ไหลผ่านหมู่บ้าน มีพืชพรรณหลากหลายที่เป็นแหล่งอาหารให้กับคนในชุมชนได้เก็บหาบริโภค อีกทั้งยังมีพืชสมุนไพรหลายชนิดที่คนในชุมชนใช้เป็นยารักษาโรค ให้กับคนในชุมชน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ข้าวโพด และเลี้ยงสัตว์มีพื้นที่ป่าชุมชนแดงดง 3,000 ไร่ โดยคนในชุมชนใช้ประโยชน์ในการหาเห็ดหาหน่อไม้ หาฟืนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หลังจากการใช้ประโยชน์มาเป็นเวลานานทำให้ป่าต้นน้ำถูกทำลาย โดยสังเกตได้จากการเกิดไฟป่า ลำห้วยแห้งแล้งในช่วงฤดูแล้ง ป่าไม้มีสภาพเสื่อมโทรมลงจึงทำให้สัตว์ป่าไม่มีที่อยู่อาศัย หาเห็ด หาหน่อไม้ยากขึ้น ต้นไม้ใหญ่เริ่มหายไป สาเหตุที่ทำให้ป่าต้นน้ำถูกทำลาย คือ ชาวบ้านและคนนอกหมู่บ้านเข้ามาตัดไม้ ตัดเพื่อนำไปเผาถ่านขาย นำไปสร้างบ้าน ชาวบ้านไม่เคารพกฎระเบียบของชุมชน ความเห็นแก่ตัวของชาวบ้านโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

จากปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นในชุมชน อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่อง เด็กติดยา ติดเกม จึงเกิดเป็นแรงผลักดันให้ แจ๊ค (กาญจนา กาวิชัย ) พี่เลี้ยงประจำกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียวทำงานกับเยาวชน ซึ่งแจ๊คได้มองเห็นถึงศักยภาพของเยาวชนในชุมชนและมองเห็นถึงใจในการทำงานจิตอาสาของเยาวชน จึงได้เป็นตัวตั้งตัวตีในการชวนเยาวชนในหมู่บ้านมาเข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อชุมชนจนเกิดเป็นกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว มีสมาชิกอยู่ร่วมกันประมาณ 13 คน โดยมีแนวคิดในการทำงานว่าต้องให้โอกาสในการแสดงออกกับเยาวชนอย่างเต็มที่ในการคิดและปฏิบัติ เติมความรู้ทักษะและใส่เรื่องจิตสำนึกให้โดยไม่นำความคิดเยาวชน เพื่อเยาวชนจะโตขึ้นเป็นแกนนำชุมชนที่มีศักยภาพ มีความรักบ้านเกิดของตนเอง

­

น้องๆ กลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียวเล่าให้ฟังว่า “ตอนนั้น 10 โมงเช้า มีเสียงเรียกของพี่แจ๊คมาตามไปรวมตัวกัน ก็ไปกัน 4-5 คน พี่แจ๊คก็ไถ่ถามถึงเรื่องการเรียนบ้าง ชวนคุยหลายอย่างหลายเรื่องเลย”แจ๊คเล่าเสริมว่า “เพราะไม่อยากให้น้องๆเครียด สังเกตเห็นสีหน้า แววตา ของน้องแล้วเต็มไปด้วยความสงสัยว่าพี่เรียกมาทำไม ทั้งที่ไม่ได้คุ้นเคยกันซักหน่อย ซึ่งน้องเองก็ไม่รู้ว่าพี่เองก็เครียดไม่น้อยไปกว่าน้องเลย จริงแล้วๆเครียดมากกว่าด้วยซ้ำว่าเราจะทำอะไรกับเด็กๆเหล่านี้ดี” จากนั้นคำถามแรกจากพี่แจ๊คที่เกิดขึ้นในตอนนั้นคือ “น้องๆคิดว่าบ้านเรามันมีปัญหาอะไรบ้างที่เป็นปัญหาของเยาวชน”ผลปรากฏว่าน้องงง จากนั้นเพียงไม่กี่นาที คำตอบมากมายพรั่งพรูออกมา มันทำให้เห็นว่าจุดเริ่มต้นเล็กๆกำลังจะนำพวกเราก้าวไปข้างหน้าอีกขั้นหนึ่ง

­

เมื่อน้องสะท้อนทั้งปัญหา แนวทางแก้ไข และอะไรอีกมากมาย ทำให้แจ๊คเห็นพลังและความมุ่งมั่นที่มีอยู่ในแววตาน้องๆทุกคน ณ วันนั้น จากนั้นแจ๊คและเด็กๆก็เจอกันบ่อยขึ้นมารวมตัวกันทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่ไม่มีงบประมาณกันเลยสักบาท แต่ด้วยความที่แจ๊คอยากเห็นในสิ่งที่น้องตั้งใจทำ แจ๊คและเด็กๆก็พากันไปของบจากเทศบาลมาได้ 2,000 บาท เพื่อจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ครั้งแรก มีคนมาร่วมปลูกต้นไม้ด้วยกันเกือบร้อยคน แจ๊คเล่าว่า “ ก่อนวันที่จะปลูกน้องๆมาช่วยกันเตรียมต้นไม้ แยกประเภท ขุดหลุม มีทั้งเสียงบ่น เสียงหัวเราะ เถียงกัน มีทุกอารมณ์ แต่น้องๆก็ทำด้วยความเต็มใจ สุดท้ายก็มีรอยยิ้มของทุกคน ”


จากการทำงานร่วมกันกับน้องๆทำให้เกิดเป็นแรงผลักดัน และแรงใจให้แจ๊คอยากทำงานกับน้องๆมากขึ้น ทั้งๆที่ไม่มีเงินเดือน ไม่มีค่าแรง “ ทุกคนที่มารวมกันเราเอาใจมาแลกกัน เราเริ่มกิจกรรมด้วยการปลูกต้นไม้ เก็บขยะบนน้ำตก ทำฝายกันน้ำ ซึ่งทุกกิจกรรมน้องๆได้เป็นคนคิดมันขึ้นมาเอง บางครั้งพี่ไม่มีเวลาดูแล น้องก็สามารถจัดการกิจกรรมนี้ได้เอง ”นั่นเป็นสิ่งที่แจ๊คอยากเห็นจากน้องๆทุกคน บางช่วงเวลาแจ๊คกับน้องๆก็ห่างหาย ไม่ได้เจอหน้ากันเลย ไม่ได้ติดต่อกันเลย ด้วยเหตุและผลของเวลาที่บางครั้งก็ว่างไม่ตรงกันแต่งานที่ทำไม่ได้จำกัดว่า ต้องทำ 8 โมงเช้าเลิก 5 โมงเย็น จึงทำให้แจ๊คและน้องๆ ได้กลับมาเจอกันอีกครั้ง ในการนัดหมายทุกครั้งแจ๊คจะรู้สึกดีใจที่เห็นน้องๆมารอพี่ก่อนเสมอ แจ๊คและน้องๆได้เริ่มถักทอสานสัมพันธ์กันด้วยใจ ด้วยการเชื่อมร้อยเข้าด้วยกัน จนมาถึงวันที่รู้ว่าได้รับงบประมาณในการทำโครงการเยาวชนอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม น้องๆทุกคนตื่นเต้นดีใจแต่ปัญหาที่ตามมาคือ ความไม่เข้าใจของคนรอบข้างที่คิดว่า ต้องนำงบมาแบ่งๆกัน ทำให้น้องๆหลายคนมีปากเสียงกับผู้ปกครองบ้าง แต่ก็สามารถผ่านมาได้ด้วยดี จนแจ๊คและน้องๆทำกิจกรรมแรกของโครงการด้วยกัน คือ “ค่ายสานสัมพันธ์ผูกพัน ดิน น้ำ ป่า”


“ เรามีเวลาเตรียมตัวกันน้อยมาก แต่ด้วยเหตุนี้เองก็ทำให้เห็นถึงความกระตือรือร้นของน้องๆ ที่ไม่เคยละทิ้งพี่เลยตลอดค่ายทุกคนรู้บทบาทหน้าที่และพร้อมที่จะรับฟัง ยามพี่บ่น พี่ว่า แต่ทุกคนยังมีรอยยิ้ม มีเสียงหัวเราะ ให้ได้เห็น มันเป็นสิ่งหนึ่งที่เราภูมิใจ ในงานที่ทำและพี่ก็เห็นว่า น้องทุกคนเข้ามาทำงานอนุรักษ์ในวันนี้ มันเป็นตัวแทนให้กับหลายคนที่เขามีโอกาสทำแต่ไม่ทำ บางคนอยากทำแต่ไม่มีโอกาส และสิ่งเหล่านี้เราทำเพื่อตัวเรา เพื่อบ้านเรา ”แจ๊คกล่าวด้วยความภูมิใจและนี่คือจุดกำเนิดของกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียวแห่งบ้านแดนเมือง

­

ส่งต่อแรงบันดาลใจ


จากความตั้งใจของแจ๊คได้กลายมาเป็นแรงบันดาลใจที่ส่งต่อมาถึงแกนนำเยาวชนของกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว นิค (สุนันท์ ต๊ะอ้าย) พี่ชายคนโตประธานกลุ่มของกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว นิคมีหน้าที่ประสานงานกับผู้ใหญ่บ้าน คอยดูแลการทำงานของสมาชิกในกลุ่มโดยมีแรงบันดาลใจในการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อผลักดันให้น้องๆเยาวชนเกิดความรักหวงแหนป่าไม้และธรรมชาติของน้องๆที่อาศัยอยู่ โย (โยธกา ยะอิ่นแก้ว) อีกหนึ่งในแกนนำเยาวชนที่ทำหน้าที่ประสานงาน ด้วยแรงบันดาลใจที่ว่าอยากทำให้คนในชุมชนรักธรรมชาติ และรักในการปลูกป่า ส่วนหนึ่ง (สุชาดา ทวีคูณ) ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้กับกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว ก็มีแรงบันดาลใจว่าอยากมีเพื่อนร่วมงานที่ทำโครงการเพื่อเครือข่ายและอยากจะเห็นความสามัคคีที่ได้มาอยู่ร่วมกันพี่แจ๊คเล่าให้ฟังว่า

­

“คนในชุมชนเค้าก็จะเก็บแค่พอกินเท่านั้น แต่ถ้าคนนอกเข้าไปเก็บมาขายเขาก็จะตักเตือนเรียกมาคุยกันก็จะมีกฎกติกาของชุมชนเองที่แกนนำวางไว้แต่มันก็แก้ไม่หายเพราะพื้นที่มันเชื่อมต่อกันเช่นพื้นป่าที่หายไปคือไม้สนที่จุดไฟได้ชาวเขาเค้าก็จะมาเอาไป คือทีแรกน้องๆก็จะไปปลูกป่าบนพื้นที่ป่าต้นน้ำแต่มันลาดชันไป ก็ไปส่วนที่สาธารณะเค้าก็คิดกันเองก็ขอพันธุ์ไม้ที่จังหวัดแล้วก็มีกิจกรรมเสริมคือการเก็บขยะ”


กลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียวเริ่มต้นด้วยการจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ในพื้นที่ของชุมชน โดยตั้งใจใช้ระยะเวลาห้าปีในการติดตามความเปลี่ยนแปลงหลังจากผ่านมาหนึ่งปีจากการประเมินของเด็กๆในการปลูกต้นไม้ครั้งนี้ประสบความสำเร็จประมาณ 80% อีก 20% นั้นเกิดจากการที่ไม่มีน้ำรดน้ำต้นไม้เพราะปลูกต้นไม้ในหน้าแล้ง ทำให้รอฝนตกอย่างเดียว อีกทั้งพื้นที่ที่ปลูกต้นไม้นั้นอยู่ไกลและทางขรุขระทำให้เดินทางไม่สะดวก นอกจากนี้ยังมีการปลูกต้นไม้ผิดวิธีไม่ได้มีการกลบดินให้แน่นตอนปลูก เพราะไม่ได้อธิบายการปลูกต้นไม้ให้กับทุกคนที่มาช่วยกันปลูกและพื้นที่กว้างทำให้ไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง สัตว์ที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้อยู่แถวนั้นก็มากินกล้าไม้ที่ปลูกไว้ด้วย เช่น วัว แพะ ควาย เป็นต้น กิจกรรมต่อมาของกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว คือ พัฒนาน้ำตกแดนดง เด็กๆเห็นถึงปัญหาขยะที่เกิดขึ้นในบริเวณน้ำตก เพราะไม่มีถังขยะอยู่บนน้ำตก ทำให้คนที่มาเที่ยวน้ำตกทิ้งเศษอาหารที่ซื้อไปกินลงในน้ำตก บางครั้งกินเหล้าก็ทะเลาะกันทำให้มีเศษแก้วอยู่ในน้ำตก ตามทางเดินก็จะมีถุงขนมพลาสติก แก้วน้ำ ขวดพลาสติก ทิ้งไว้ตามทาง และคนที่มาเที่ยวนั้นก็มีทั้งคนในพื้นที่และนอกพื้นที่ เด็กๆจึงมีมติขุดหลุมสำหรับใส่ขยะให้คนที่มาเที่ยวน้ำตกได้ทิ้ง 2 หลุม สำหรับใส่ขยะหลุมหนึ่ง อีกหลุมหนึ่งใส่เศษใบไม้และติดป้ายประกาศที่มีข้อความว่า “ห้ามทิ้งขยะทุกชนิดในบริเวณน้ำตก ขยะอันตราย ขวดเหล้า ขวดเบียร์ และขยะพลาสติกทุกชนิด เรามาร่วมกันรักษาความสะอาด” ที่ทางขึ้นน้ำตก 2 ป้าย สำหรับหลุมขยะขุดกว้าง 1 เมตร x ลึก 1 เมตร พื้นที่บริเวณที่ขุดนั้นมีหินมีต้นไม้ทำให้คนขุดเหนื่อยไม่สามารถขุดได้ตามที่คิดไว้ จึงขุดได้เพียงหนึ่งหลุมเลยทำให้คนที่มาเที่ยวน้ำตกทิ้งขยะปนกัน ทำให้แยกขยะยากขึ้น แต่ขยะที่เด็กแยกออกมานั้นเด็กๆ จะนำขยะที่ขายได้ไปขายเป็นค่าขนมของเด็กๆ

­

เด็กๆ ได้นำเรื่องขยะบนน้ำตกไปพูดคุยกับผู้ใหญ่ในหมู่บ้านจนเกิดเป็นกฎระเบียบของหมู่บ้านขึ้นมาว่า ห้ามทิ้งขยะ ห้ามจับสัตว์และปรับเป็นเงิน 2,000 บาท สำหรับคนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎของหมู่บ้านเป็นความสำเร็จอีกหนึ่งก้าวสำหรับกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียวในการดูแลพัฒนาสิ่งแวดล้อมของชุมชน ก้าวต่อไปที่ทางกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียวตั้งใจไว้คือ ส่งต่อแรงบันดาลใจและขยายกลุ่มแกนนำเยาวชนในการอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่ป่าชุมชนแดนดง เพิ่มกลุ่มสมาชิกมากขึ้นจากเดิมที่มีอยู่ประมาณ 13 คนเป็น 30 คน

­

ค่ายลูกเสือ-เยาวชนสัมพันธ์ ผูกพัน ดิน น้ำ ป่า


“ทีแรกที่คุยก็สนใจเพราะเค้าอยากขึ้นเขาก็เอาขนมล่อ เดิมทีแรกว่าจะไปทำฝายเค้าก็อยากเห็นจุดกำเนิดน้ำตกอยู่ตรงไหน พอคุยเรื่องไปนับต้นไม้เค้าก็บ่นว่าทำได้ยังไงก็เอาเรื่องเครื่องมือมาคุยแบ่งหน้าที่กันอย่างไม้ไผ่จะนับยากนับทุกต้นที่อยู่ในกอ ก็บอกเหตุผลให้เค้าฟังว่าถ้าเราไม่นับปีต่อไปเราก็จะไม่รู้ว่ามีหน่อไม้ให้เรากินไหม”


แจ๊คชวนเด็กๆ พูดคุยในสิ่งที่เด็กๆ อยากทำและจากความตั้งใจที่จะส่งต่อแรงบันดาลใจและขยายสมาชิกกลุ่มให้เพิ่มขึ้น กลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียวจึงได้จัดค่ายลูกเสือ-เยาวชนสัมพันธ์ ผูกพัน ดิน น้ำ ป่า เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน เพื่อให้เยาวชนเกิดความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบของการทำลายป่าและร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชุมชนแดนดง โดยเด็กๆที่มาเข้าร่วมค่ายเป็นเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบุญเรืองวิทยาคม จำนวน 46 คน มาร่วมเรียนรู้ในค่ายครั้งนี้ กลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียวได้วางแผนกิจกรรมในแต่ละวันไว้ดังนี้ วันแรกสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มผู้ที่เข้ามาร่วมค่ายและสร้างความเข้าใจในโครงการร่วมกัน ต่อจากนั้นให้วิเคราะห์พื้นที่ของตนเอง เช้าวันที่สองทุกคนจะได้ลงพื้นที่เพื่อวางแปลงสำรวจเรียนรู้ทรัพยากรจากพื้นที่จริง และมาสรุปเป็นข้อมูลเพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลทรัพยากรป่าชุมชนแดนดงในตอนบ่าย ส่วนวันสุดท้ายวันที่สามตอนเช้ามีกิจกรรมฟื้นฟูทรัพยากรด้วยการพาทุกคนไปปลูกต้นไม้ และตอนบ่ายมาสรุปร่วมกันถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่อยากทำร่วมกันต่อไป

­

นอกจากสมาชิกในกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียวจะมาช่วยดูแลน้องๆในค่ายแล้ว ยังช่วยในส่วนของการลงทะเบียน สันทนาการ ช่วยเขียนกระดาน และยังเป็นพี่เลี้ยงนำกิจกรรมเวลาเข้าฐานอีกด้วย ส่วนวิทยากรที่จะมาให้ความรู้เด็กๆ ก็ไม่ใช่ใครอื่นไกลเป็นปราชญ์ผู้ใหญ่ที่อยู่ในหมู่บ้าน นั่นคือ ลุงถนอม ประธานกลุ่มอนุรักษ์ ลุงจะมาเล่าเรื่องประวัติป่าในชุมชน และประวัติแม่น้ำอิงให้เด็กๆ ฟัง ส่วนป้านวย ก็จะมาให้ความรู้เรื่องสรรพคุณสมุนไพร และอาหาร เป็นการเตรียมความพร้อมเริ่มต้นให้เด็กๆ ในวันแรกให้ได้รู้จักพื้นที่ของหมู่บ้านของตัวเองว่ามีความสำคัญอย่างไร เพื่อที่จะปูไปสู่วันที่สองว่าพื้นที่ในหมู่บ้านเรามีพันธุ์ไม้อะไรเหลืออยู่บ้าง โดยการแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม 4 พื้นที่ คือ ถ้ำบึ่ง ตากผ้าขาว หินแร่ และมะค่ายักษ์ และให้เด็กนำเชือกไปขึงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง 10 เมตร x 10 เมตร เป็นการวางแปลงสำรวจพื้นที่ว่าในช่องสี่เหลี่ยมจัตุรัส 10 เมตร x 10 เมตร นั้น มีพันธุ์ไม้ยืนต้นชนิดใดบ้างและมีจำนวนกี่ต้น พืชอื่นที่ไม่ใช่ไม้ยืนต้นมีปริมาณมากน้อยแค่ไหน ความหนาแน่นของต้นไม้เป็นอย่างไร มีรอยเท้าสัตว์หรือมีสิ่งมีชีวิตอะไรอาศัยอยู่ในนั้นบ้าง ชนิดของดินที่อยู่ในพื้นที่เป็นอย่างไร ให้เด็กได้มองสำรวจและจดบันทึก ระหว่างที่สำรวจนั้นลุงสัก ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านก็ให้ข้อมูลเรื่องพันธุ์พืชสมุนไพร พันธุ์ไม้ที่อยู่ในป่าประกอบไปด้วยว่าชื่อต้นอะไรและมีประโยชน์ใช้สอยอย่างไร เช่น ต้นหญ้ารากเหลือง เป็นพืชล้มลุก ใช้แก้ปวดหลัง ปวดเอว เป็นต้น

­

“พอดีน้องในพื้นที่ทำเรื่องพันธุ์ไม้แกนนำทำเรื่องอนุรักษ์ป่าอยู่แล้วก็เลยง่ายต่อการรวมกันก็อาศัยเครื่องมือจากศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (รีคอฟ) ในการวางแผนโดยใช้ค่อนข้างละเอียดถือว่ายากแต่พอได้ทำจริงก็ทำได้พาน้องไปเรียนรู้จดทำแบบสอบถามอย่างละเอียดในพื้นที่ที่เป็นป่าบนเขาสูงก็เก็บข้อมูลพันธุ์เสร็จก็จะมาคำนวณจะยากกับน้อง ม.1 ม.2แต่ก็มีการแบ่งหน้าที่ใครจะวัดต้นไม้ใช้สายวัดแล้วก็มาใช้คำนวณเพื่อได้จำนวนต้นไม้ในป่าของเราทั้งหมดเป็นข้อมูลในชุมชน จากต้นไม้ที่เคยมีอยู่เช่นต้นมะค่าที่เคยมีแล้วมันลดลงก็จะมีผลต่อป่าแล้วเราก็นับลูกไม้ด้วยเราก็จะทำให้รู้ว่าปีต่อไปต้นไม้จะมีมากขึ้นหรือน้อยลงอย่างไรต้องดูเรื่องไฟป่าด้วยเพราะทางเหนือจะเจอบ่อย แปลงที่เราวางไว้ต้องสำรวจทุกปีๆ ปีนี้เป็นแค่การเริ่มต้นพื้นที่เราวางไว้ทั้งหมด 7แปลงขึ้นไป 1 วันไม่สามารถทำได้ทั้งหมดมันต้องไปค้างคืนเพื่อวางแผนซึ่งตรงนี้ยังไม่เอาน้องไปนอนเพราะอาจจะอันตรายเขาก็เสี่ยงเราไม่สามารถพาขึ้นไปเองได้ด้วยเส้นทางค่อนข้างซับซ้อน”


ช่วงบ่ายเด็กๆ ก็จะนำข้อมูลการวางแปลงสำรวจใน 4 พื้นที่มาสรุปร่วมกัน เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลทรัพยากรของชุมชน เมื่อเข้าสู่วันที่สามเด็กๆได้ช่วยกันปลูกต้นไม้ในพื้นที่ของชุมชนเป็นการทดแทนและฟื้นฟูต้นไม้ในส่วนที่หายไป หลังจากจบค่ายกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียวได้มีการสรุปผลของการทำค่ายออกมาว่าคนที่มาเข้าค่ายรู้สึกอย่างไร คำตอบที่ได้ออกมานั้นมีเรื่องสถานที่ไม่พร้อม ห้องน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการ เวลาในการเข้าฐานน้อยเกินไป ผู้เข้าร่วมบางกลุ่มไม่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในค่าย ไม่ค่อยมีคนสนใจสำรวจพันธุ์ไม้เพราะดูเป็นงานวิชาการ ขี้เกียจจดบันทึกคนมีจำนวนน้อยต้นไม้บางต้นก็ไม่รู้จัก บางคนบอกว่าถ้ามีกิจกรรมก็อยากมาอีก แต่บางคนก็บอกว่าไม่อยากมาแล้วเดินขึ้นดอยเหนื่อยมากเพราะพื้นที่มีความชัน รก ลื่น หมอกเยอะและเป็นครั้งแรกในชีวิต บางคนก็อยากอาบน้ำที่แม่น้ำอิงแต่ทางกลุ่มก็ไม่อนุญาตเพราะอาจเกิดอันตรายได้ แต่เยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียวได้จุดประกายไฟสีเขียวให้กับน้องๆ ที่มาเข้าค่ายในครั้งนี้แล้ว และเสียงสะท้อนเหล่านี้เองที่จะช่วยผลักดันให้เด็กๆ ได้เรียนรู้และปรับปรุงในการทำงานต่อไป

­

ก้าวต่อไป

จากการสรุปข้อเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่อยากทำของตนเองด้วยการปฏิบัติ จึงเกิดเป็นความภาคภูมิใจในการเรียนรู้ของกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว หนึ่งได้สะท้อนการเรียนรู้ของตัวเองว่า

­

ก่อนมาทำโครงการก็ไม่รู้จักพันธุ์ไม้ แต่พอได้มาทำทำให้รู้ว่ามีพันธุ์ไม้หลายชนิด เมื่อก่อนเป็นคนไม่ค่อยพูด ปัจจุบันกล้าพูดมากขึ้น กล้าแสดงความคิดเห็น ทักษะก่อนเข้ามาทำโครงการไม่มีทักษะอะไร ได้เรียนรู้จากผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ช่วยสอน เช่น การเพาะต้นไม้ ปลูกต้นไม้ เมื่อก่อนอาจจะไม่ชอบที่จะเข้ามาทำแบบนี้ พี่แจ็คชวนคิดและพูดจนเกิดความเข้าใจ”


 ส่วนโยก็ได้สะท้อนออกมาเช่นกันว่า

“เมื่อก่อนไม่รู้อะไรเลย เพราะพี่แจ๊คเป็นคนชวนเข้ามา เดี๋ยวนี้รู้จักพันธุ์ไม้ รู้ความโต เมื่อก่อนไม่รู้ว่ามันสูงเท่าไหร่ ตอนแรกก็ถามผู้ใหญ่เอาว่าเราจะทำอย่างไร เพื่อให้เรารู้ว่าต้นไม้เหล่านั้นสูงเท่าไหร่ โดยเราวัดจากรอบต้นไม้แล้วกลับมาคำนวณเอา กล้าที่จะถามผู้ใหญ่ ปรึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาพื้นที่โล่งไม่มีต้นไม้ กล้าที่จะถามในสิ่งที่ไม่รู้ หรือเวลาขึ้นป่าเมื่อเจอรอยเท้าสัตว์ก็กล้าที่จะถาม พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปทำให้กล้าพูดมากขึ้น เจอใครก็กล้าทัก อีกทั้งเราต้องทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้าน เมื่อทำกิจกรรมก็จะประสานให้ชาวบ้านมาเข้าร่วมด้วย” 


และในทุกวันเสาร์ของทุกอาทิตย์เด็กๆ กลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียวยังคงขึ้นไปสำรวจแปลงที่วางไว้อย่างสม่ำเสมอ และได้มีการวางแปลงเพิ่มในพื้นที่สำรวจใหม่ๆ ในชุมชน เพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลทรัพยากรในชุมชนต่อไปก้าวต่อไปของกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว คือ ร้านค้าศูนย์บาท ให้คนในชุมชนนำขยะมาแลกของจากร้านค้าร้านค้าก็จะแยกขยะและนำไปขายเพื่อนำมาซื้อสำหรับแลกในร้านโดยให้รถของเก่าเข้ามารับซื้อขยะเดือนละครั้ง และยังคงจัดค่ายพัฒนาเยาวชนและแกนนำเยาวชนต่อไปเพื่อเติมหัวใจสีเขียวให้กับทุกๆ คน

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ