กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปผลโครงการลดมลพิษฟื้นชีวิตดิน
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โครงการลดมลพิษฟื้นชีวิตดิน


กลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืน


การใช้สารเคมีในการปลูกแคนตาลูปของชาวบ้านตั้งแต่การเพาะเมล็ด การฉีดพ่นเร่งผลรักษาโรค การกำจัดแมลงศัตรูพืช จนถึงช่วงการเก็บที่ต้องนำผลผลิตที่ได้มาล้างเปลือกด้วยสารเคมี ตามตารางที่บริษัทกำหนดให้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของผู้ปลูกแคนตาลูป สิ่งมีชีวิตในพื้นที่ และเกิดการตกค้างของสารเคมีในดิน


จากการสำรวจพบมีการใช้แรงงานเด็กๆ ในวัย 11-12 ปี และพบว่าเด็กๆ มีการสัมผัสกับสารโดยตรง ไม่ใช้อุปกรณ์ในการป้องกันสารเคมี และยังพบว่าเยาวชนที่เป็นบุตรหลานคนในชุมชนต้องช่วยครอบครัวในการดูแลการปลูกทุกขั้นตอน โดยเฉพาะช่วงการผสมพันธุ์แตงแคนตาลูป ซึ่งจะทำในช่วงแรกของการปลูกในเวลากลางวัน และเมื่อทราบว่าช่วงกลางคืนได้ผดดี จึงเพิ่มเวลากลางคืน ผู้รับจ้างบางราย ทำทั้งกลางวันและกลางคืนเฉลี่ยแล้ววันละ 500 บาท เป็นค่าแรงที่สูง เป็นแรงจูงใจ ส่งผลให้นักเรียนนั่งหลับเวลาเรียนหนังสือ บางคนถึงกับขาดเรียน เพื่อไปรับจ้างทำงานในช่วงนี้ อีกทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชาวบ้าน คือ การเจ็บป่วยเรื้อรัง การแพ้สารเคมี การวิงเวียนศีรษะจากการสูดดมสารเคมีขณะฉีดพ่น ในช่วงฝนตกหากเดินตามพื้นที่เพาะปลูกก็จะเกิดอาการคันเท้า เป็นผื่น เท้าเปื่อย ทำให้ชาวบ้านบางรายไม่กล้าเดินผ่านบริเวณที่ปลูก และที่สำคัญคือเมื่อลงสำรวจแปลงที่ปลูกสลับกับนาข้าวพบว่าไม่พบเห็นสัตว์ ได้แก่ จิ้งหรีด มดแดง เขียด งู อาศัยอยู่ในบริเวณนี้เลย และบริเวณที่นำเนื้อแตงไปทิ้งหญ้าบริเวณนั้นก็จะไหม้ตาย จากการสอบถามพบว่าเคยมีบุคคลเสียชีวิต ด้วยการใช้สารเคมีทุกขั้นตอนในการเพราะปลูกติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 ปี จนมีสารเคมีตกค้างในร่างกายจนถึงแก่ชีวิต


เป้าหมาย

การสร้างแนวร่วมในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน กลุ่มเครือข่ายเยาวชนในชุมชนให้ทราบ รู้เข้าใจ จนเกิดความตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้สารเคมี สารปนเปื้อน ที่ใช้ในการเกษตร ซึ่งสารเหล่านี้ล้วนเป็นผลที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนทั้งนั้น และที่สำคัญคือต้องการพลิกฟื้นคืนชีพ คืนสิ่งมีชีวิตให้กับดิน ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของคนในหมู่บ้านต่อไป

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

โครงการลดมลพิษฟื้นชีวิตดิน


กลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืน


การใช้สารเคมีในการปลูกแคนตาลูปของชาวบ้านตั้งแต่การเพาะเมล็ด การฉีดพ่นเร่งผลรักษาโรค การกำจัดแมลงศัตรูพืช จนถึงช่วงการเก็บที่ต้องนำผลผลิตที่ได้มาล้างเปลือกด้วยสารเคมี ตามตารางที่บริษัทกำหนดให้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของผู้ปลูกแคนตาลูป สิ่งมีชีวิตในพื้นที่ และเกิดการตกค้างของสารเคมีในดิน


จากการสำรวจพบมีการใช้แรงงานเด็กๆ ในวัย 11-12 ปี และพบว่าเด็กๆ มีการสัมผัสกับสารโดยตรง ไม่ใช้อุปกรณ์ในการป้องกันสารเคมี และยังพบว่าเยาวชนที่เป็นบุตรหลานคนในชุมชนต้องช่วยครอบครัวในการดูแลการปลูกทุกขั้นตอน โดยเฉพาะช่วงการผสมพันธุ์แตงแคนตาลูป ซึ่งจะทำในช่วงแรกของการปลูกในเวลากลางวัน และเมื่อทราบว่าช่วงกลางคืนได้ผดดี จึงเพิ่มเวลากลางคืน ผู้รับจ้างบางราย ทำทั้งกลางวันและกลางคืนเฉลี่ยแล้ววันละ 500 บาท เป็นค่าแรงที่สูง เป็นแรงจูงใจ ส่งผลให้นักเรียนนั่งหลับเวลาเรียนหนังสือ บางคนถึงกับขาดเรียน เพื่อไปรับจ้างทำงานในช่วงนี้ อีกทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชาวบ้าน คือ การเจ็บป่วยเรื้อรัง การแพ้สารเคมี การวิงเวียนศีรษะจากการสูดดมสารเคมีขณะฉีดพ่น ในช่วงฝนตกหากเดินตามพื้นที่เพาะปลูกก็จะเกิดอาการคันเท้า เป็นผื่น เท้าเปื่อย ทำให้ชาวบ้านบางรายไม่กล้าเดินผ่านบริเวณที่ปลูก และที่สำคัญคือเมื่อลงสำรวจแปลงที่ปลูกสลับกับนาข้าวพบว่าไม่พบเห็นสัตว์ ได้แก่ จิ้งหรีด มดแดง เขียด งู อาศัยอยู่ในบริเวณนี้เลย และบริเวณที่นำเนื้อแตงไปทิ้งหญ้าบริเวณนั้นก็จะไหม้ตาย จากการสอบถามพบว่าเคยมีบุคคลเสียชีวิต ด้วยการใช้สารเคมีทุกขั้นตอนในการเพราะปลูกติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 ปี จนมีสารเคมีตกค้างในร่างกายจนถึงแก่ชีวิต


เป้าหมาย

การสร้างแนวร่วมในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน กลุ่มเครือข่ายเยาวชนในชุมชนให้ทราบ รู้เข้าใจ จนเกิดความตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้สารเคมี สารปนเปื้อน ที่ใช้ในการเกษตร ซึ่งสารเหล่านี้ล้วนเป็นผลที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนทั้งนั้น และที่สำคัญคือต้องการพลิกฟื้นคืนชีพ คืนสิ่งมีชีวิตให้กับดิน ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของคนในหมู่บ้านต่อไป


เมื่อกลุ่มเยาวชนได้รู้ถึงสถานการณ์ปัญหาเคร่าวๆ ในชุมชน พวกเขาคิดที่จะดำเนินการเข้าไปมีส่วนร่วมในการคลี่คลายปัญหาด้วยกิจกรรมต่างๆ สรุปได้ดังนี้

1.ศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก และสารตกค้างในดินจากการใช้สารเคมี

•ลงพื้นที่เก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูก (ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ประเภทสาเคมี ระยะเวลาในการใช้สารเคมี)

•ศึกษาผลการตรวจเลือดของชุมชน

•ศึกษาข้อมูลการเจ็บป่วยจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและผู้ปกครองนักเรียนเครือข่าย

•เรียนรู้โครงสร้างของดิน กระบวนการตรวจวัดสารตกค้างในดินและผลกระทบของสารตกค้างในดิน

•ตรวจวัดสารตกค้างในดิน

2.สร้างเครือข่ายเยาวชนแนวร่วมถึงผลการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก

•จัดค่ายเพื่อนบอกเพื่อน บอกเล่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจากผลการตรวจเลือดและการเจ็บป่วย ให้ความรู้เรื่องมลพิษในดิน และการเก็บตัวอย่างดิน

•จัดค่ายรักบ้านเกิด เรียนรู้ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก และเรียนรู้การเก็บตัวอย่างดินในพื้นที่


3.สร้างความตระหนักให้กับคนในชุมชนได้รู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก

•จัดเวทีเสวนา คืนข้อมูลจากการศึกษาสู่ชุมชนผ่านละคร ร่วมพูดคุยหาทางออกร่วมกับคนในชุมชน


ด้วยความอยากบอก อยากเล่า นี้คือ จุดเริ่มต้นสำคัญของการสื่อสารผ่านละคร ความสำคัญของผู้สื่อสารที่ต้องตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ถึงจะทำให้ผู้รับสารได้คิดตาม มิ้น เรียนรู้ปัญหาจากการทำงาน และหาแนวทางการแก้ปัญหา การปรับแผนงานที่จะทำให้เราไปสู่เป้าหมาย “ถ้าเราทำตรงนิ้ไม่บรรลุเป้า แต่สามารถเดินไปอีกทางได้ เพื่อให้ไปสู่เป้าหมาย”


บทบาทพี่เลี้ยง

การหนุนเสริมหรือการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับเยาวชนจากการทำโครงการ ด้วยกระบวนการตั้งคำถามให้เยาวชนได้คิดก่อนปล่อยให้พวกเขาได้ตัดสินใจเลือกแนวทางการทำงานและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นกระบวนการที่สำคัญที่ ครูเพ็ญศรี ใจกล้า ใช้กับกลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืน เพื่อให้ลูกศิษย์ของตนเองได้เติบโต เรียนรู้การแก้ปัญหาและร่วมรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่าน Project baste Leaning ที่ครูเพ็ญศรี ได้เรียนรู้มาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้กับนักเรียนในโรงเรียนก็ถูกนำมาใช้กับการจัดกระบวนการเรียนรู้กับกลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืน นั้นคือ

1. เรียนรู้จากโจทย์ปัญหาในพื้นที่

2. ลงมือปฏิบัติให้รู้จริง

3. สรุปบทเรียนร่วมกัน


ทำให้เยาวชนได้เห็นมุมมองหลายๆ ด้าน เกิดการถกเถียงบนเหตุและผล เพื่อหาข้อสรุปร่วมกันในการดำเนินงาน ซึ่งช่วยให้เยาวชนได้เกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ก่อนที่จะลงมือทำกิจกรรม ถึงแม้บางครั้งอาจมีกระบวนการชี้นำแนวทางบ้าง เพื่อลดความขัดแย้งที่กำลังจะเกิดขึ้นจากการถกเถียงให้เหตุผลกันของสมาชิกในกลุ่ม


นอกจากนี้ในยามที่กลุ่มเยาวชนต้องใช้เวลาเรียนบางช่วงออกไปทำกิจกรรม หรือเรียนรู้ ครูเพ็ญศรี ก็จะทำหน้าที่ช่วยประสานขออนุญาตจากผู้อำนวยการโรงเรียน ครูประจำวิชา ครูประจำชั้น หลังจากให้เยาวชนได้เข้าไปขออนุญาตด้วยตนเองก่อน หรือแม้การขออนุญาตใช้สถานที่ในการจัดกิจกรรมที่เกิดอำนาจของเยาวชนจะทำได้ หรือบางครั้งอาจเพียงช่วยร่างหนังสือเพื่อขออนุญาตก่อนส่งต่อให้เยาวชนนำไปเดินเรื่องของอนุญาตกันเอง เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้วิธีการประสานงานกับหน่วยงานหรือบุคคลอื่นๆ


ดังนั้น บทบาทที่สำคัญของ ครูเพ็ญศรี ใจกล้า พี่เลี้ยงกลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืน สรุปได้ดังนี้

1.การตั้งคำถามให้เยาวชนได้คิดวิเคราะห์มากขึ้น และได้เปรียบเทียบผลได้ผลเสียที่เกิดขึ้นก่อนลงมือทำงาน

2.การรับฟังความคิดเห็นของเยาวชน เปิดโอกาสให้เยาวชนได้พูด มากกว่าฟัง

3.การช่วยประสานอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้นอกห้องเรียนของกลุ่มเยาวชน เช่น การขออนุญาติจากผู้อำนวยการโรงเรียน หรือคุณครูประจำชั้น ประจำวิชา

4.การสนับสนุนอาหาร เครื่องดื่ม และช่วยงบประมาณบางส่วนที่อาจจะขาดเหลือในระหว่างทำกิจกรรมของกลุ่มเยาวชน

5.การเรียนรู้และทำความรู้จักกับเยาวชนแต่ละคนอย่างละเอียด เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อความคิดและการกระทำของเยาวชนแต่ละคน และสร้างช่วยพัฒนาเติมเต็มทักษะที่เยาวชนแต่ละคนยังขาดอยู่ รวมทั้งเป็นการดูแลให้เยาวชนพฤติตัวอยู่บนความถูกต้องและในทางที่ดี

6.การให้กำลังใจเมื่อยามที่เยาวชนเกิดปัญหาทั้งเรื่องครอบครัวและการทำโครงการ

7.การเรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหาไปพร้อมกับเยาวชน


ด้วยความหวัง ความห่วงใย ที่อยากจะส่งเยาวชนกลุ่มนี้ให้ถึงฝั่ง “เป็นดินแดนแห่งความหวัง หวังว่าทักษะที่เรามีมาใช้ อยากให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ และมีทักษะการอยู่รอด ถ้าเติบโตไปอยู่ในสังคม ไปทำงาน จึงต้องฝึกทักษะที่จะทำให้พวกเขาอยู่รอดได้ แม้บางครั้ง ครูเพ็ญศรี เองก็เกิดความน้อยใจ กังวลว่าทักษะที่ฝึกฝนให้กับเยาวชนพวกเขาจะได้เรียนรู้หรือไม่ อยากเห็นพัฒนาการของพวกเขาจะพัฒนาไปถึงไหน สิ่งที่ทำน่าจะส่งเสริมศักยภาพเยาวชนได้” ความรู้สึกจากใจของครูเพ็ญศรีที่มุ่งมั่นจะเป็นพี่เลี้ยงคอยประคับประคองเยาวชนสู่การเรียนรู้และเติบโตอย่างมีคุณภาพ



แกนนำเยาวชนกลุ่มฮักนะเชียงยืน

ธีระวุฒิ ศรีมังคละ (แสน)


การเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆ ไม่จำกัดความคิดของเพื่อนด้วยความคิดของตัวเอง เพราะจะทำให้เพื่อนไม่กล้าที่จะพูดแสดงความคิดเห็น


การทบทวนการทำงานระหว่างการดำเนินโครงการทำให้แสนได้มองเห็นปัญหาที่ชัดเจน “การที่เรามาจัดระบบระเบียบ เราจะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น รู้ว่าสิ่งไหนที่เราสามารถทำได้ และอะไรที่เราทำไม่ได้ต้องอาศัยภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือ และรู้ว่ากำลังเรามีแค่ไหน”



ศิรินญา บุญอาจ (เนส)


การกำหนดเป้าหมายในการทำโครงการให้ชัด ทั้งเป้าหมายใหญ่ และเป้าหมายรองระหว่างทาง สิ่งสำคัญของการขับเคลื่อนงาน คือ การเริ่มต้นที่ตัวเอง ต้องรู้ก่อนในเรื่องต่างๆ ได้แก่ เศรษฐกิจ (รายได้หลัก-เสริม การทำการเกษตรภายใต้พันธะสัญญา) กระบวนการผลิตแคนตาลูป ผลกระทบ (สุขภาพ สิ่แวดล้อม น้ำ) แมลงศัตรูพืช วิถีชีวิตการทำเกษตรดั้งเดิมของชุมชน การตรวจสารตกค้างในดิน เป็นต้น ก่อนที่จะสื่อสารหรือไปบอกให้คนอื่นต่อไป “เรารู้และบอกต่อให้เครือข่ายได้รู้ เพราะเราไม่ใช่คนที่อยู่ในพื้นที่ที่มีปัญหา เราบอกเพื่อนแล้วให้เพื่อนไปบอกต่อ” การสร้างการรับรู้ให้กับคนในชุมชนเป็นเรื่องยากและต้องใช้เวลานานพอสมควร



ศิริลักษณ์ สงคราม (เปรี้ยว)


เมื่อเปรี้ยวได้เริ่มขับเคลื่อนกิจกรรมกับเพื่อนๆ ในกลุ่ม เปรี้ยวได้เรียนรู้และเข้าใจเพื่อนๆ ในทีม เรียนรู้การทำงานร่วมกันเป็นทีมที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญซึ่งกันและกัน มีความห่วงใยกัน รวมถึงการเข้าใจถึงการแสดงออกของเพื่อนๆ ที่มีต่อเปรี้ยวที่แสดงถึงความห่วงใยมากกว่าการแข็งขันที่จะเป็นคนเด่นหรือคนเก่งในกลุ่ม และจากการได้ร่วมทำกิจกรรมกันบ่อยขึ้น เจอกันบ่อย ได้พูดคุยกันมากขึ้นระหว่างการสรุปงานทำให้เปรี้ยวได้รู้จักชีวิตของเพื่อนๆ ในกลุ่มมากขึ้น สนิทกัน และไว้วางใจกันมากขึ้น


การเรียนรู้การจัดระบบเบียบการทำงานของตนเอง อันไหนควรทำก่อนและอย่างไหนควรทำทีหลัง “บางทีทำไปแล้ว ทำข้ามขั้น เรารู้ข้อมูลพื้นฐานก็จริง แต่เรายังรู้ไม่แน่นพอก่อนที่จะบอกคนอื่น มันก็เหมือนการข้ามไป มันเป็นเหมือนข้อบกพร่องของตัวเอง” สิ่งที่เปรี้ยวได้เรียนรู้จากการสรุปงานในช่วง 4-5 เดือน และการหาความรู้ในสิ่งที่ทำให้ตนเองเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนที่จะนำไปบอกเล่าให้คนอื่นๆ รับรู้ เข้าใจในสิ่งที่เราสื่อสารจนเกิดความตระหนักถึงพิษภัยจากการใช้สารเคมีถือเป็นสิ่งสำคัญ “ก่อนที่เราจะให้คนอื่นได้รับรู้เรื่องโทษของการใช้สารเคมีคืออะไร เราต้องมีความรู้ก่อน โดยก่อนอื่นเราต้องมาแยกว่าเรื่องที่เราควรมีอะไรบ้าง ทำให้รู้ว่าเรามีความรู้ระดับไหน แล้วค่อยไปเรียนรู้เพิ่ม เช่น ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง” จากคำบอกเล่าของเปรี้ยว


จากการลงพื้นที่เพื่อการสร้างความเข้าใจกับคนในชุมชน ทำให้เปรี้ยวรู้ว่าชุมชนยังไม่เข้าใจในสิ่งที่กลุ่มเยาวชนต้องการให้ชาวบ้านปรับเปลี่ยนหรือลดการใช้สารเคมีลง “ชาวบ้านบอกว่า ถ้าให้คนบ้านแบกเลิกนะเขาเลิกไม่ได้หรอก เขามีรายได้จากตรงนี้ ชาวบ้านเข้าใจว่าเราจะให้เขาเลิกทำเลย”


นอกจากนี้เปรี้ยวยังได้เรียนรู้เครื่องมือในการคิด (ภูเขา 3 ลูก) การวางเป้าหมายในแต่ละระยะของการทำงาน ทำให้เปรี้ยวได้เห็นภาพการก้าวเดินไปสู่ความสำเร็จในการทำโครงการได้ชัดขึ้น “การแบ่งภูเขาออกเป็น 3 ลูก ซึ่งเหมือนกับงานที่แบ่งเป็น 3 ส่วน โดยเริ่มจากระดับง่าย ระดับกลาง และระดับยาก ทำให้เกิดความเข้าใจและเห็นภาพได้ชัดกว่า” คำบอกเล่าของเปรี้ยวต่อการเรียนรู้จากเครื่องมือในการคิดและวางเป้าหมาย 


"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ