โครงการฟื้นฟูพืชท้องถิ่นเพื่อเพิ่มศักยภาพของป่าไม้ในระบบนิเวศ
โครงการฟื้นฟูพืชท้องถิ่นเพื่อเพิ่มศักยภาพของป่าไม้ในระบบนิเวศ
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปผลโครงการฟื้นฟูท้องถิ่นเพื่อเพิ่มศักยภาพของป่าไม้ในระบบนิเวศ
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โครงการฟื้นฟูท้องถิ่นเพื่อเพิ่มศักยภาพของป่าไม้ในระบบนิเวศ

กลุ่มเยาวชนเมล็ดพันธุ์ใหม่ สานใจฟื้นฟูป่า จ.เพชรบูรณ์


หมู่บ้านในเขตทับซ้อนในกรรมสิทธิ์ที่ดิน


จากการประกาศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดง ซึ่งมีเขตพื้นที่ติดต่อกับอุทยานแห่งชาติน้ำหนาวเมื่อปี 2542 ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชาวบ้านที่ตั้งรกรากหากินอยู่กับป่าาน เนื่องจากพื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดงทับที่ทำกิน/ที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน ความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อมีการประกาศให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่และมีการจับกุมชาวบ้านห้วยระหงส์ และบ้านห้วยกลทาในข้อหาบุกรุกและถูกดำเนินคดี ในปี 2548 กลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจึงได้รวมตัวกัน “เครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าภูผาแดง”


เมล็ดเล็ก ๆ ก่อเกิดเป็นพันธุ์ใหม่


กลุ่มเยาวชนเมล็ดพันธุ์ใหม่ สานใจฟื้นฟูป่า เกิดมาจากการรวมตัวของเด็กและเยาวชนจำนวน 8 คน ที่ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานกลุ่มเด็กรักษ์ป่า จ.สุรินทร์ เมื่อปี 2549 การไปศึกษาดูงานครั้งนั้นนับว่าเป็นการจุดประกายให้เด็กๆอยากมี “กลุ่มเยาวชน” ในหมู่บ้านเพื่อทำกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ดูแลทรัพยากรธรรมชาติภายในชุมชนบ้าง อีกทั้งยังช่วยหนุนเสริมงานของกลุ่มผู้ใหญ่ด้วย จนกระทั้งปี 2550 จึงได้จัดตั้งกลุ่มเยาวชนขึ้นมา โดยเริ่มแรกมีสมาชิกร่วมก่อตั้ง 15 คน


จากประสบการณ์จริงของกลุ่มเด็กเยาวชน “กลุ่มเยาวชนเมล็ดพันธุ์ใหม่ สานใจฟื้นฟูป่า ” ที่ได้อยู่ในพื้นที่และสถานการณ์ของหมู่บ้าน ชุมชนของตนเอง ที่ถูกผลกระทบในที่ดินทำกิน และที่อยู่อาศัย ทำให้เด็ก ๆ เยาวชนเรียนรู้กระบวนการในการทำงานและการต่อสู้ของพ่อแม่ เกิดการรวมกลุ่มและเล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบกับทั้งคนในชุมชน เด็กเยาวชนในชุมชน จึงต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยรักษาฟื้นฟูการผลิตแบบดั้งเดิมแบบไม่ใช้สารเคมี และการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ท้องถิ่นไว้ในชุมชน และต้องการขยายผลให้กับเยาวชนและนักเรียนได้มาศึกษาเรียนรู้และร่วมกันรักษาต่อไป


กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินการ บ้านห้วยระหงส์ และบ้านห้วยกลทา ตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ 

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

โครงการฟื้นฟูท้องถิ่นเพื่อเพิ่มศักยภาพของป่าไม้ในระบบนิเวศ

กลุ่มเยาวชนเมล็ดพันธุ์ใหม่ สานใจฟื้นฟูป่า จ.เพชรบูรณ์

­

“เมื่อก่อนต้องรอรถเข้ามาขายผัก ขายกับข้าว ต้องไปซื้อจากรถพุ่มพวง(รถขายกับข้าว) เวลารถพุ่มพวงไม่มาขายก็จะไม่มีกับข้าวกิน วันนั้นเหลือวุ้นเส้นถุงเดียวในตู้เย็น เลยนึกได้ว่าเรารอไม่ได้แล้ว” เลย์ (น.ส.สุกัญญา คำพิมพ์ )


หมู่บ้านในเขตทับซ้อนในกรรมสิทธิ์ที่ดิน  จากการประกาศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดง ซึ่งมีเขตพื้นที่ติดต่อกับอุทยานแห่งชาติน้ำหนาวเมื่อปี 2542 ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชาวบ้านที่ตั้งรกรากหากินอยู่กับป่าาน เนื่องจากพื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดงทับที่ทำกิน/ที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน ความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อมีการประกาศให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่และมีการจับกุมชาวบ้านห้วยระหงส์ และบ้านห้วยกลทาในข้อหาบุกรุกและถูกดำเนินคดี ในปี 2548 กลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจึงได้รวมตัวกัน “เครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าภูผาแดง”


เครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าภูผาแดง” เป็นการรวม เพื่อแก้ไขปัญหาการทับซ้อนที่ทำกิน รวมถึงการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน การแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่จะตามมา และต้องการที่จะรักษาที่ดินไว้เป็นมรดกให้กับลูกหลาน จึงได้มีการจัดการที่ดินในรูปแบบโฉนดชุมชน เพื่อรักษาที่ดินไว้ไม่ให้หลุดมือไปสู่นายทุนและการปรับเปลี่ยนการผลิตเป็นเกษตรผสมผสานมากขึ้นภายใต้การทำบันทึกความร่วมมือกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดง (ภูผาแดงโมเดล) เพื่อลดต้นทุนในการผลิตและการใช้สารเคมีที่เป็นต้นเหตุของปัญหาหนี้สินและการหลุดมือไปของที่ดินทำกิน

­

เมล็ดเล็ก ๆ ก่อเกิดเป็นพันธุ์ใหม่


กลุ่มเยาวชนเมล็ดพันธุ์ใหม่ สานใจฟื้นฟูป่า เกิดมาจากการรวมตัวของเด็กและเยาวชนจำนวน 8 คน ที่ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานกลุ่มเด็กรักษ์ป่า จ.สุรินทร์ เมื่อปี 2549 การไปศึกษาดูงานครั้งนั้นนับว่าเป็นการจุดประกายให้เด็กๆอยากมี “กลุ่มเยาวชน” ในหมู่บ้านเพื่อทำกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ดูแลทรัพยากรธรรมชาติภายในชุมชนบ้าง อีกทั้งยังช่วยหนุนเสริมงานของกลุ่มผู้ใหญ่ด้วย จนกระทั้งปี 2550 จึงได้จัดตั้งกลุ่มเยาวชนขึ้นมา โดยเริ่มแรกมีสมาชิกร่วมก่อตั้ง 15 คน

­

จากประสบการณ์จริงของกลุ่มเด็กเยาวชน “กลุ่มเยาวชนเมล็ดพันธุ์ใหม่ สานใจฟื้นฟูป่า ” ที่ได้อยู่ในพื้นที่และสถานการณ์ของหมู่บ้าน ชุมชนของตนเอง ที่ถูกผลกระทบในที่ดินทำกิน และที่อยู่อาศัย ทำให้เด็ก ๆ เยาวชนเรียนรู้กระบวนการในการทำงานและการต่อสู้ของพ่อแม่ เกิดการรวมกลุ่มและเล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบกับทั้งคนในชุมชน เด็กเยาวชนในชุมชน จึงต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยรักษาฟื้นฟูการผลิตแบบดั้งเดิมแบบไม่ใช้สารเคมี และการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ท้องถิ่นไว้ในชุมชน และต้องการขยายผลให้กับเยาวชนและนักเรียนได้มาศึกษาเรียนรู้และร่วมกันรักษาต่อไป

­

การจัดทำโครงการฟื้นฟูพืชท้องถิ่นเพื่อเพิ่มศักยภาพของป่าไม้ในระบบนิเวศ

เป็นการทำให้เด็กเยาวชนในชุมชน หันกลับฟื้นฟูและอนุรักษ์พืชท้องถิ่นที่เป็นแหล่งพึ่งพาอาศัยของคนในชุมชนให้กลับมามีคุณค่าและมูลค่าไม่ให้สูญหายไปจากชุมชน พัฒนาศักยภาพ ในการเรียนรู้การอนุรักษ์และฟื้นฟูพืชท้องถิ่น สร้างความเข้าใจและจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุ์พืชท้องถิ่นให้กับเด็กและเยาวชน คนในชุมชน จากโครงการเล็ก ๆ ที่รวมกลุ่มกัน ในการต่อยอดการทำงานของพ่อแม่และยืนยันในการพึ่งพาตนเอง โดยมีพื้นที่ให้เด็กได้เรียนรู้และลงมือทำผ่านการปฏิบัติการจริง

­

กระบวนการเพาะเมล็ดพันธุ์ใหม่


เมื่อพ่อแม่ลูกขึ้นต่อสู้เพื่อปกป้องที่ดินทำกันของตนเองและชุมชน ลูกหลานในชุมชนก็ได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของพ่อแม่ หลายครั้งการต่อสู้ของพ่อแม่ก็เหน็ดเหนื่อย การหันกลับมาวิเคราะห์สถานการณ์ ที่เกิดขึ้น ทำให้พบว่าหลายสิ่งหลายอย่างในชุมชนกำลังหายไป การพึ่งพาตนเอง จากภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีของชุมชน คงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้เด็กเยาวชน ๆ ได้อยู่กับสถานการณ์ที่เป็นจริง ดูแลตนเอง ดูแลสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ชุมชน

­

กระบวนการเรียนรู้ผ่านปัญหาผ่านประสบการณ์พ่อแม่และชุมชน การเรียนรู้ที่ดีผ่านประสบการณ์ตรงของพ่อแม่ ยิ่งจะตอกย้ำให้เห็นการรวมกลุ่มและปัญหาที่เกิดขึ้นจริง กลุ่มเมล็ดพันธ์ใหม่ฯ ได้เรียนรู้ กระบวนการทำงานและการต่อสู้ของพ่อแม่ ทำให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อเป็นการทำงานไปพร้อม ๆ กันกับพ่อแม่ ซึ่งอาจจะเป็นกุศโลบายในการให้เด็ก ๆ เยาวชนลุกขึ้นมาตระหนักต่อสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งการจัดการที่ดิน ปัญหาเรื่องป่าและทรัพยากรธรรมชาติ และวิถีชีวิตท้องถิ่นที่กำลังจะสูญหายไป หากคนรุ่นใหม่ หรือไม่เพาะเมล็ดพันธุ์ใหม่ในท้องถิ่นให้เกิดขึ้นและเติบโต เหมือนกันรักษาเมล็ดพันธุ์การต่อสู้ดีงามและเพราะเมล็ดพันธุ์ใหม่ให้เติบโตอย่างเท่าทันเหตุการณ์ สถานการณ์ตนเองและชุมชน สังคม

­

กระบวนการเรียนรู้สิ่งเล็ก ๆ เมล็ดพันธุ์ท้องถิ่น การสำรวจ การค้นหา คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การขยายพันธุ์พืชท้องถิ่น ก็เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการที่จะให้เด็กได้เรียนรู้จักรากเหง้า โดยเฉพาะการกินอยู่ของชุมชน เป็นสิ่งเล็ก ๆ ที่ในอนาคตอาจจะเป็นเรื่องใหญ่ในความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยเฉพาะพืชท้องถิ่นที่นับวันจะหายไป เมื่อเด็กเยาวชนได้เรียนรู้ นอกจากจะรู้จักพันธุ์พืชท้องถิ่นชนิดต่าง ๆ แล้ว ยังมีความตระหนักและหวงแหนพันธุ์ไม้ท้องถิ่น ก็จะเป็นการยืนยันว่า ชุมชนสามารถอยู่กับป่าและทรัพยากรธรรมชาติได้ หากมีความเข้าใจและไม่เบียดเบียน โดยเฉพาะการกินอยู่ที่พึ่งพิงกับธรรมชาติ

­

“ชุมชนที่อยู่ทับซ้อนกับเขตอุทยานเขตอนุรักษ์ จากความคิดของคนส่วนใหญ่ในสังคมมองว่าคนที่อยู่ในป่าจะทำลาย พวกเราเลยคิดจะอนุรักษ์พันธุ์ไม้ป่า ลองทำให้เห็นว่าเราก็อยู่ร่วมกับป่า” (กลุ่มเมล็ดพันธุ์ใหม่)


กระบวนการเรียนรู้กับภาคีเครือข่ายสร้างแรงบันดาลใจ การเรียนรู้กับเครือข่ายในประเด็นที่ใกล้เคียงกันก็สร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน โดยเฉพาะกับวัยใกล้เคียงกัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนมุมมองในการทำงาน ปัญหาอุปสรรค์ของแต่ละกลุ่ม เช่น เครือข่ายภาคี “ต้นกล้าในป่าใหญ่” เครือข่ายโลกเย็นที่เป็นธรรม เครือข่ายปลูกใจรักษ์โลก ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดมุมมองในการทำงาน และกระบวนการในการทำงานของกลุ่ม อย่างน้อย การได้เห็นคนวัยเดียวการทำงานเรื่องเดียวกัน ก็สามารถเป็นแรงผลักดันให้ไม่ท้อกับการทำงานของเด็กเยาวชน

­

ปัญหา/อุปสรรคของการเติบโตของเมล็ดพันธุ์


เวลาในการเข้าร่วมและทำกิจกรรมไม่ตรงกัน สมาชิกกลุ่มเมล็ดพันธุ์ใหม่ฯ มีเวลาในการทำกิจกรรมไม่ตรงกัน เนื่องจากในวันจันทร์ถึงศุกร์ ต้องไปเรียนหนังสือ และในวันเสาร์-อาทิตย์ เยาวชนรุ่นใหญ่ก็ต้องไปช่วยพ่อแม่ทำไร่ บางครั้งต้องประชุม วางแผนงานกันช่วงเย็น เพื่อไม่ให้ไปรบกวนเวลาการเรียน และการช่วยเหลืองานทางบ้าน เพราะบางครั้งพ่อแม่ก็คาดหวังให้ลูก ๆ ไปช่วยเหลือการทำงานของครอบครัว

­

การประสานงานในชุมชน แรก ๆ ยังไม่กล้าที่จะเข้าไปหาผู้ใหญ่และขอความร่วมมือ เมื่อเราต้องไปประสานงานหรือมีการพูดคุยกับผู้ใหญ่ในชุมชน ต้องพาเยาวชนไปด้วยเพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้วิธีการพูดคุย จะทำให้เยาวชนมีความกล้าที่จะพูดกับผู้ใหญ่มากขึ้น เนื่องจากเริ่มรู้ว่าต้องการของตนเองว่าต้องการความช่วยเหลือในเรื่องใดบ้าง เช่น การให้ความรู้เรื่องพืชท้องถิ่น การขยายพันธุ์

­

เมล็ดพันธุ์ใหม่เริ่มเติบโตขึ้น


บางครั้งแม้ว่าจะได้เห็น ได้เรียนรู้ จากประสบการณ์ของพ่อแม่ในการลุกขึ้นมาดูแลป่า ดูแลที่ดิน ดูแลชุมชน หากยังไม่ได้เข้าใจทั้งหมดกับสิ่งที่เกิดขึ้น หลายครั้งมีคำถามว่าทำไมต้องทำ แต่เมื่อได้เรียนรู้อย่างจริงจัง ก็ทำให้เห็นความสำคัญในการการเรียนรู้สิ่งเล็ก ๆ จากการฟื้นฟูพืชท้องถิ่นในชุมชน พร้อมทั้งได้พัฒนาศักยภาพในการทำงานร่วมกันในด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษาสำรวจพืชท้องถิ่น สำรวจทรัพยากร การประสานงาน การนำกิจกรรม เป็นงานที่กลุ่มเมล็ดพันธุ์ใหม่ฯ เกิดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพเพิ่มมากขึ้น

­

แกนนำกลุ่มเยาวชนเมล็ดพันธุ์ใหม่ สานใจฟื้นฟูป่า


  เสาวลักษณ์ รูปขาว (ปอย) กำลังศึกษา ม.6 โรงเรียนบ้านห้วยระหงส์ จ.เพชรบูรณ์

เรื่องพันธุ์ไม้ท้องถิ่น เมื่อก่อนเห็นต้นไม้ก็แค่ต้นไม้ แต่พอได้เข้าไปสำรวจก็ได้รู้ว่ามันชื่ออะไร สำหรับความเชื่อยังคงเหมือนเดิม เชื่อว่าคนกับป่าอยู่ด้วยกันได้”


ปอย เล่าถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับตัวเองให้ฟังว่า “มีทักษะ กล้าพูดมากขึ้น กล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้น เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นกล้าตัดสินใจ พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป คือ กล้าพูดคุยกับเพื่อนใหม่ๆ เมื่อก่อนไปกัน 4-5 คน ก็คุยกันแค่นั้น หากมีการจัดค่ายก็กล้าเล่น กล้าคุยกับน้องมากขึ้น”


จากความไม่สนใจกับการกิจกรรมในชุมชน เพราะคิดว่าไม่มีความสำคัญจนวันหนึ่งเกิดเหตุการณ์กับตนเอง ทำให้เปลี่ยนและหันมาเรียนรู้กิจกรรมในชุมชน

­

  สุกัญญา คำพิมพ์ (เลย์) กำลังศึกษา ม.6 โรงเรียนบ้านห้วยระหงส์ จ.เพชรบูรณ์

“เมื่อก่อนต้องรอรถขายผัก อาหารกับข้าวมาขาย แล้วก็ไปซื้อจากรถพุ่มพวง(รถขายกับข้าว) เวลารถพุ่มพวงไม่มาขายกับข้าวก็จะไม่มีกับข้าวกิน วันนั้นเหลือวุ้นเส้นถุงเดียวในตู้เย็น เลยนึกได้ว่าเรารอไม่ได้แล้ว”


เลย์ ได้บอกเล่าถึงการเข้ามาทำโครงการ “เพื่อนชวนให้เข้ากลุ่มก็เข้าไปไม่ได้สนใจกิจกรรมมากนัก ด้วยคิดว่ามันไม่ได้สำคัญอะไรกับเรามากนัก “เข้าไปเฉยๆ เขาชวนไปไหนก็ไป” ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมในชุมชนว่าจะมีมากแค่ไหนเหลือน้อยแค่ไหน พันธุ์พืชอะไรจะสูญพันธุ์ พันธุ์พืชอะไรที่เหลือน้อย เมื่อก่อนเราไม่สนใจสิ่งแวดล้อมแต่ทำไมเดี่ยวนี้เราสนใจ ที่ชุมชนทำเรื่องศูนย์พันธุกรรมพืชพื้นบ้าน การปลูกพืชสวนครัวไว้กินเอง เป็นพืชในท้องถิ่นที่กำลังใกล้สูญพันธุ์ เช่น ชะอมป่า


แรงสนับสนุนที่สำคัญของการทำงานของเด็กเยาวชน คือ การที่พี่เลี้ยงโครงการเป็นคนในพื้นที่ อยู่ใกล้ชิดกับพื้นที่และสถานการณ์ ทำให้สามารถปรับและประยุกต์การทำงานในพื้นที่ได้หลากหลาย และบูรณาการการทำงานให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วมได้ในทุกกิจกรรมในชุมชนไม่ให้แยกส่วน ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่เมื่อเด็กเยาวชนได้เข้ามาอยู่ในวงกิจกรรมของผู้ใหญ่ก็จะทำให้เข้าใจมากขึ้น นอกจากเด็กเยาวชนจะได้เรียนรู้แล้ว ชาวบ้านและพี่เลี้ยงก็ได้เรียนรู้การทำงานกับเด็กเยาวชนด้วยเช่นกัน 

­

พี่เลี้ยงโครงการ


  กุสุมา คำพิมพ์ (เมย์) 

จบการศึกษาปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ สาขาพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

“ภูมิใจที่เห็นกลุ่มเยาวชนกลุ่มนี้มีความเสียสละตัวเองเพื่อช่วยเหลือชุมชน และให้ความสำคัญกับการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยที่พวกเขาพยายามทำทุกอย่างที่จะสื่อสารให้กับคนภายนอกและคนรุ่นใหม่ได้รู้ว่าชุมชนของเขาสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้”


เมย์ ในฐานะพี่เลี้ยงกลุ่มเมล็กพันธุ์ใหม่ สานใจฟื้นฟูป่าสะท้อนให้เห็นการทำงานของกลุ่มน้องๆ “เด็กเยาวชนที่ต้องช่วยพ่อแม่ทำงานเพราะเนื่องจากในชุมชนมีอาชีพทำไร่ข้าวโพด แล้วในทุกเสาร์อาทิตย์เด็กจะไปช่วยพ่อแม่ทำงาน จึงทำให้การมาร่วมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกันเกิดความล่าช้าแต่ก็หาวิธีการแก้ไขร่วมกันโดยใช้เวลาในตอนเย็นในการประชุมพูดคุยกัน เพราะเราคิดว่าไม่ว่าปัญหาอุปสรรคมันจะใหญ่สักแค่ไหนขอเพียงแค่เรามีใจรักที่จะทำมันก็สามารถฝ่าฟันอุปสรรคนั้นไปได้” 

­

โครงการฟื้นฟูท้องถิ่นเพื่อเพิ่มศักยภาพของป่าไม้ในระบบนิเวศ

กลุ่มเยาวชนเมล็ดพันธุ์ใหม่ สานใจฟื้นฟูป่า จ.เพชรบูรณ์

ผู้ประสานงาน สุกัญญา คำพิมพ์ (เลย์) โทรศัพท์ 089-708-392-5 อีเมล์ mayray315@gmail.com

Facebook เมล็ดพันธ์ใหม่สานใจฟื้นฟูป่า

กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินการ บ้านห้วยระหงส์ และบ้านห้วยกลทา ตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ 

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ