กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
The World Beach Day เเลเล เเลหาด ครั้งที่ 6
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

เวทีงาน“ The World Beach Day แลเล แลหาด ปีที่ ๖”

วันอาทิตย์ที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๙

ณ ห้องประชุมสกายรูม โรงแรมวีว่า และตลาด ๒ เล ถนนนครนอก ตำบลบ่อยาง

  • ๑.หลักการและเหตุผล

การกัดเซาะชายหาดสมิหลา-ชลาทัศน์ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาต่อเนื่อง และสังคมให้ความสนใจต่อประเด็นปัญหาดังกล่าว ช่วงเวลา ๑๕ ปีที่ผ่านมาชายหาดสมิหลาเกิดกากัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งเป็นผลจากการแทรกแซงระบบธรรมชาติของหาดทรายด้วยการสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำพื้นที่ชายฝั่ง ด้วยการขาดความรู้ ความเข้าใจของภาครัฐ ประชาชนในพื้นที่ และองค์ความรู้ทางวิชาการที่ผิด จนปีช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ภาคประชาสังคม สงขลาฟอรั่ม เครือข่ายนักวิชาการ ได้ร่วมตัวกันเพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเรื่องระบบธรรมชาติของหาดทรายและการพังทลายของหาดสมิหลาแก่คนสงขลา และมีการทำงานกันมาอย่างต่อเนื่อง เกิดการแตะมือส่งต่อการทำงานร่วมกับกลุ่มเยาวชนพลเมืองสงขลา ในการศึกษาติดตามสภาพหาดสมิหลาทั้งระบบ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนสงขลา และประชาชน จนเกิดองค์ความรู้ทางวิชาการในการอนุรักษ์ หาดสมิหลาอย่างยั่งยืน เช่น องค์ความด้านระบบนิเวศหาดทรายและชายฝั่ง ความรู้ในการฟื้นฟูชาย หาดสมิหลา องค์ความรู้ด้านกฎหมาย เป็นต้น

กระบวนเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องระบบธรรมชาติของหาดทราย เป็นกระบวนการที่จำเป็น ที่จะต้องผนึกกำลังกันเร่งทำให้คนไทยได้เข้าใจกระบวนการ กลไกทางธรรมชาติของหาดทราย และ การเสริมสร้างความรู้เข้าใจนี้จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง งาน The World Beach Day แลเล แลหาด ซึ่งเป็นที่ภาคประชาสังคม เยาวชนสงขลา เครือข่ายนักวิชาการ ในจังหวัดสงขลาร่วมกันจัดขึ้นมาต่อเนื่องทุกปี เป็นการนำเสนอประเด็นต่างๆที่เกิดขึ้นกับหาดสมิหลาต่อสาธารณะ และสร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องระบบธรรมชาติของหาดทรายและการพังทลายของหาดทราย งาน The World Beach Day แลเล แลหาด ครั้งที่ ๖ ในปีนี้ คณะทำงานอยากจะหยิบยกประเด็น การติดตามหาดสมิหลาทั้งระบบ โดยกลุ่มพลเมืองเยาวชนสงขลา การเติมทรายชายฝั่ง และกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับหาดทราย ด้วยความหวังที่จะให้เรื่องระบบธรรมชาติของหาดทราย และการพังทลายของหาดสมิหลาเข้าไปอยู่ในหัวใจของคนสงขลา และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้คนสงขลาได้ร่วมกันอนุรักษ์หาดสมิหลาอย่างยั่งยืน

­

  • ๒.วัตถุประสงค์
  • ๑)เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการติดตามสภาพหาดสมิหลาทั้งระบบ การเติมทรายชายฝั่ง และกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับหาดทรายแก่คนสงขลา
  • ๒)เพื่อเชื่อมโยงความรัก ความผูกพันของคนสงขลาที่มีต่อระบบนิเวศหาดสมิหลา
  • ๓)เพื่อนำเสนอผลงานของพลเมืองเยาวชนสงขลา ในการอนุรักษ์หาดสดมิหลาอย่างยั่งยืน
  • ๓.เป้าหมาย
  • ๑)เป้าหมายเชิงคุณภาพ
  • -เกิดเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการติดตามสภาพหาดสมิหลาทั้งระบบ การเติมทราย

ชายฝั่ง และกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับหาดทรายแก่คนสงขลา

  • -เกิดคนสงขลาที่เข้าใจในระบบนิเวศหาดทราย และเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นอาสาสมัคร
  • ๒)เป้าหมายเชิงปริมาณ
  • -ผู้เข้าร่วมสัมมนาวิชาการงาน The World Beach Day แลเล แลหาด ครั้งที่ ๖ จำนวน ๑๐๐ คน
  • -ผู้เข้าร่วมเสวนาและชมนิทรรศการ จำนวน ๕๐๐ คน 


ภาคีร่วมจัดงาน

กลุ่ม Beach for lifeสงขลาฟอรั่ม

มูลนิธิสยามกัมมาจล

มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
กลุ่มว่าที่นักกฎหมายอาสาภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม
เทศบาลนครสงขลาคณะนิติศาสตร์ มอ.
มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชนเครือข่ายพลเมืองเยาวชนสงขลา
สหกรณ์ประมงพื้นบ้านชุมชนเก้าเส้ง          คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ทักษิณ*
เครือข่ายเฝ้าระวังรักษาหาดทรายสถาบันวิจัยทรัพยากรน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา*

นิทรรศการออนไลน์
กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ