กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
การประชุมคณะที่ปรึกษาโครงการพลังพลเมือง เยาวชนสงขลา
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

      เมื่อวันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2555 ที่ผ่านมา โครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลาจัดประชุมคณะที่ปรึกษาเพื่อให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะกับการดำเนินงานของกลุ่มเยาวชน

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

      การประชุมคณะที่ปรึกษาโครงการในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อพบปะพูดคุยทำความรู้จักกับคณะผู้สนับสนุนโครงการ  จากมูลนิธิสยามกัมมาจล คณะที่ปรึกษาโครงการ รวมถึงคณะทำงานของสงขลาฟอรั่ม และเป็นการนำเสนอความเคลื่อนไหวจากการดำเนินงานของไตรมาสที่ 2  ด้านความเคลื่อนไหวของโครงการพลังพลเมือง เยาวชนสงขลา และความเคลื่อนไหวของกิจกรรมเยาวชนในโครงการ ดังนี้


       ด้านผลการดำเนินงานและความก้าวหน้าของโครงการ ในรอบที่ 1 ซึ่งได้ยกตัวอย่างความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการแกนนำเยาวชน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการโรงเรียนท้องนา กลุ่มศิลามณี ตำบลท่าข้าม โครงการธรรมชาติแห่งชีวิต กลุ่ม Line the Nature โรงเรียนวชิรานุกูล  และโครงการรู้ค่าและตระหนักถึงปัญหาชายหาดสงขลาของคนในท้องถิ่น กลุ่ม Beach  for Life โรงเรียนมหาวชิราวุธ


       ซึ่งผลการประชุมเพื่อปรึกษาหารือร่วมกัน ดังกล่าว คณะที่ปรึกษาโครงการได้ให้ทั้งข้อคิดและเสนอข้อคิดเห็นเพื่อหาแนวทางในการ ร่วมแก้ไขและปรับทิศทางการดำเนินงานให้ดีขึ้น ทั้งในด้าน การติดตามดูแล กลุ่มเยาวชนอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะช่วงเริ่มต้น เป็นการวางรากฐานในการดำเนินกิจกรรมที่จะเกิดต่อไปได้อย่างชัดเจนและสามารถ สอดรับความวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างสมบูรณ์ การพัฒนาศักยภาพของคณะทำงานอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา ดังนี้


        - ควรจัดโปรแกรมให้คณะที่ปรึกษา ที่มีไอเดียการทำงานเชิงสร้างสรรค์และมีตัวอย่างดีๆที่ได้พบเห็นมาแบ่งปัน กับน้องๆ โดยการลงพื้นที่เพื่อพบปะพูดคุยถึงรูปแบบของกิจกรรม กระบวนการทำงานหรือปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น  เพื่อแนวทางร่วมกัน
        - การเคลื่อนไหวในกิจกรรมต่างๆของกลุ่มเยาวชนควรส่งข่าวอย่างต่อเนื่องโดยผ่าน ช่องทางการสื่อสารออนไลน์ทั้งในหน้าเว็บไซต์ของมูลนิธิสยามกัมมาจล อย่างต่อเนื่อง (ถึงแม้จะมีการสื่อสารผ่านทางโซเชี่ยวมีเดียในกลุ่มของตัวเองอยู่แล้ว)
       - คณะทำงานต้องมีการสื่อสารกับน้องในการทบทวนแผนงานที่กลุ่มแกนนำเยาวชนจะทำ ว่ามีเป้าหมายที่จะทำคืออะไร เขียนวัตถุประสงค์ และคุณค่าของงานให้ชัดเจน โดยเน้นให้เยาวชนเห็นถึงประเด็นปัญหาจริงที่เกิดขึ้นและเขาเกิดความคิดที่จะ พัฒนา


      โดยการประชุมครั้งนี้คณะที่ปรึกษายังได้ให้ข้อคิดและเสนอแนะแนวทางในการทำ งานแก่คณะทำงานสงขลาฟอรั่มที่เป็นประโยชน์และสามารถนำไปพัฒนาศักยภาพในการทำ งานได้เป็นอย่างดี



      คุณปิยาภรณ์  มัณฑะจิตร  ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล สะท้อนว่า “เป้า หมายของโครงการคืออะไร ไม่ได้เครียดว่าเด็กจะสำเร็จมากน้องแค่ไหนแต่อยากให้เด็กเกิดการเรียนรู้ พี่เลี้ยงต้องยกระดับความสามารถของตัวเองในการโค้ชน้อง  โดยเราต้องรู้เป้าหมายของโครงการคืออะไร แล้วจะสร้างความต่อเนื่อง และสร้างผู้นำในพื้นที่พัฒนาต่อยอดในพื้นที่ให้พัฒนาต่อยอดได้หรือไม่ ถ้าโครงการสามารถต่อยอดได้เราต้องกลับมาดูว่าเป้าหมายของโครงการไม่ใช่แค่ เพียงการอบรมเรื่อยๆแล้วจบ ให้มองถึงตัวกิจกรรมและบทบาทของน้องๆแกนนำว่าสามารถสร้างตัวแกนนำจากกลไก อะไร”




       ดร.จเร สุวรรณชาต ที่ปรึกษาโครงการพลังพลเมือง เยาวชนสงขลา สะท้อนว่า “เรื่อง Creative ในการทำงานเป็นเรื่องสำคัญ อย่า in love หรือโรแมนติกกันอยู่นาน เราต้องนำเขาไปสู่การทำงานแนวลึก ด้วยความคิดสร้างสรรค์ ต้องช่วยเขาดูว่าจะสร้างเสน่ห์ของงานได้ตรงไหน เติมgimmickเท่ห์ๆ เรื่องราวเล็กๆที่ดึงดูดใจได้ตรงไหน พี่ๆเวลาลงไปเยี่ยมน้องต้องรู้จักสังเกตและจดบันทึกสิ่งเหล่านี้ไว้ หรือบอกให้น้องเขาบันทึกเรื่องราวที่น่ารักที่มีเสน่ห์ของเขาไว้เสมอ...."




      อ.ชัยวุฒิ บุญวิวัฒนการ ที่ปรึกษาโครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา "การ ทำงานของเยาวชนต้องมีเสน่ห์และดึงดูดความสนใจจากผู้คน เช่น การจะหาหนังสือหรืออุปกรณ์ใดๆเข้าห้องสมุดเราต้องมีวิธีการที่เอาจริงเอา จริง  เช่น  การเขียนจดมายถึงผู้บริหารในท้องถิ่น เขียนบ่อยๆทุกเดือนก็เราเป็นโรงเรียนขยายโอกาส แม้จะอยู่ในพื้นที่ยากจน แต่เราต้องได้รับการสนับสนุนซิ ! นี่เป็นตัวอย่างที่เยาวชนต้องสร้างสรรค์การทำงาน ไม่ใช่คิดแค่เข้าค่าย เข้าค่าย..เหมือนกันหมดทั่วประเทศ "






      อ.อารีเฟน อับดุลกาเดร์ อดีตผู้อำนวยการกศน.ภาคใต้ และปัจจุบันท่านเป็นที่ปรึกษาโครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา ได้ให้ข้อคิดว่าถึงคนทำงานว่า "ผม รู้สึกยินดีมากที่เข้ามามีส่วนเรียนรู้ในงานนี้เป็นงานส่งเสริมการเรียนรู้ ให้เยาวชน เชื่อมโยงให้เยาวชนรวมกลุ่มกันทำงานจากสิ่งที่เขาสนใจ แล้วต่อยอดไปสู่ประเด็นใหญ่ในสังคม เจ้าหน้าที่ของสงขลาฟอรั่มต้องลงไปทำหน้าที่เป็นโค้ชให้กลุ่มเยาวชนอย่าง ใกล้ชิด ต้องมีคนในชุมชน หน่วยงานในชุมชนและโรงเรียนในชุมชนดึงเข้ามารับรู้และหนุนเสริมด้วย."




      คุณณัฑฐวรรณ  อิสระทะ ที่ปรึกษาโครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา ส่งถึงกลุ่มศิลามณี โรงเรียนท้องนาท่าข้าม "สำหรับ โรงเรียนท้องนา ที่ท่าข้ามอยากเสนอให้กลุ่มเยาวชนช่วยกันสืบค้นเรื่องราวของข้าวพันธุ์พื้น เมืองของที่นั่น เพราะเรื่องนี้สำคัญมากเราจะได้มีเรื่องราวหรือประวัติศาสตร์การทำนาของท่า ข้าม และเราจะสืบทอดกันอย่างไร"







      อาจารย์มณีรัตน์  มิตรประสาท  ที่ปรึกษาโครงการพลังพลเมือง เยาวชนสงขลา สะท้อนว่า“พื้นที่ ในการเรียนรู้ซึ่งเป็นที่เป็นพื้นส่วนกลางที่สำนักงานมีพื้นที่ว่างให้น้อง มากแค่ไหน ที่จะให้เขามาเรียนรู้หรือให้เขาเข้ามารวมตัวกันเพื่อใช้พื้นที่ในการสุ่ม หัว เพราะพื้นที่ในการสุ่มหัวนั้นจำเป็น”

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ