กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโครงการเยาวชนแกนนำ รอบที่ 3
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

       การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาโครงการของเยาวชนแกนนำ รอบที่ 3 วันที่ 23-24 พฤศจิกายน พ.ศ.2555 จัดขึ้นเพื่อพัฒนาระบบคิดของเยาวชนแกนนำให้สามารถคิดอย่างมีเหตุมีผลและพัฒนาโครงการที่ผ่านการพิจารณาของกลุ่มเยาวชนแกนนำทั้ง 9 โครงการให้สามารถนำไปดำเนินการได้จริง

­

วัตถุประสงค์

­

๑.เพื่อพัฒนาทักษธชีวิตด้านการคิด

๒.เพื่อพัฒนาโครงการของเยาวชนแกนนำรอบที่ ๓ รวม ๙ โครงการ

๓.เพื่อประเมิณทักษะชีวิตเยาวชนและจิตสำนึกพลเมือง (Pre - test)

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

      การจัดกิจกรรมในภาพรวมพบว่า เยาวชนส่วนใหญ่สามารถมาเข้าร่วมกิจกรรมได้ตามกำหนดการ กิจกรรมนันทนาการทำให้เยาวชนรู้สึกผ่อนคลายขึ้นและเยาวชนสามารถบริหารจัดการเวลาภายในกลุ่มได้ค่อนข้างดีจึงทำให้ทุกกลุ่มมีเวลาเหลือสำหรับกรอกรายละเอียดโครงการลงแบบฟอร์ม การพัฒนาโครงการทำให้เยาวชนได้รับประโยชน์ในด้านกระบวนการคิด วิเคราะห์ ซึ่งสามารถทำให้เยาวชนมีมุมมองใหม่ๆ ในการพัฒนาโครงการของตนเอง และสามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งในชีวิตประจำวันและการดำเนินกิจกรรมของโครงการ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ดังความคิดเห็น ดังนี้

      นางสาวจุรีรัตน์ ประหลาดมานิตกลุ่ม CD…POWER “ทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาเฉพาะหน้า การทำงานเป็นทีม”

 
       นายจิตพงศ์ วรรณเพชรกลุ่ม ว่าที่ครู...สร้างสรรค์สิ่งดีๆสู่สังคม“ได้พัฒนามุมมองของตนเองในการเขียนโครงการได้ปรับแก้โครงการให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น” 

      นางสาวจันทิรา รสเกิดกลุ่ม ศูนย์ภูมิปัญญาท้องถิ่นฯ“ได้รับองค์ความรู้ใหม่เป็นแนวทางในการนำไปพัฒนาโครงการของตนเองให้ดียิ่งขึ้น เกิดความรัก ความสามัคคี กับน้องๆต่างโรงเรียน/พี่ๆวิทยากร” 

       นางสาวศุภรดา เพ็งรัตน์กลุ่มสังคมศึกษา พัฒนาเยาวชน “ได้รับข้อเสนอแนะ รวมถึงความคิดใหม่ๆและมุมมองใหม่ๆ ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับการนำไปปรับใช้ สำหรับการทำโครงการ รวมถึงการดำเนินชีวิต”

­

­

     

      กระบวนการเรียนรู้ต่างๆที่คณะทำงานได้พยายามสอดแทรกให้เยาวชนแกนนำระหว่าง การเข้าร่วมกิจกรรมทำให้เยาวชนส่วนใหญ่ค่อนข้างเข้าใจถึงกระบวนการของการ พัฒนาโครงการว่าจะต้องเริ่มต้นจากตัวของแกนนำก่อน โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนที่มาจากมหาวิทยาลัยพวกเขาจะมองเห็นว่ากระบวนการดังกล่าวมีส่วนช่วยในการพัฒนาระบบคิดและพัฒนาโครงการให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มเยาวชนที่มาจากโรงเรียนมัธยมศึกษา เพราะเยาวชนกลุ่มนี้ยังมองเฉพาะความสนุกสนานที่พวกเขาได้รับระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรม แต่ทั้งนี้เยาวชนเกือบทุกกลุ่มค่อนข้างเข้าใจในประเด็นปัญหาของโครงการที่ตนเองเลือกทำว่าเกิดขึ้นจากปัญหาอะไรและพวกเขาจะมีส่วนเข้าไปแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างไร ประกอบกับการบริหารจัดการงบประมาณ จำนวน 20,000 บาท ให้เพียงพอกับการดำเนินงานโครงการ การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย จัดเก็บหลักฐานทางการเงิน และมีการตรวจสอบการใช้เงินอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการพัฒนาโครงการครั้งนี้เยาวชนแต่ละกลุ่มมีระยะเวลาทำกิจกรรมทั้งสิ้น 4 เดือน ดังนั้นการพัฒนาโครงการเยาวชนจึงวางแผนการดำเนินงานอย่างละเอียดทั้งเรื่อง การบริหารจัดการเวลาและงบประมาณของโครงการ

      รวมถึงเยาวชนยังได้สะท้อนความรู้สึกของตนเองที่มีต่อโครงการพลังพลเมือง เยาวชนสงขลาไว้อย่างหลากหลายดังความคิดเห็นของ
นายรุสลาน มาราสากลุ่มว่าที่ครู...สร้างสรรค์สิ่งดีๆสู่สังคม“การจัดกิจกรรมอย่างนี้ถือเป็นสิ่งที่ดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะได้สร้างความสัมพันธ์ต่อกันแล้วยังเป็นการรวมตัวขึ้นเพื่อปกป้องและพัฒนาสังคม”


       นางสาวอรญา มณีโชติกลุ่มโรงเรียนระโนด“การอบรมครั้งนี้เป็นการอบรมที่สนุกมากและได้ความรู้มากมายจากการอบรมครั้งนี้และดีใจที่ได้รู้จักพี่ๆทุกคน” 

      นางสาวนวพร บริสุทธิ์กลุ่มสังคมศึกษา พัฒนาเยาวชน“ขอบคุณสงขลาฟอรั่มที่ทำให้เกิดประสบการณ์ดีๆ ขอบคุณคำคอมเม้นต์ของพี่ๆวิทยากรทุกคน และจะนำไปปรับปรุงใช้ทั้งในการดำเนินชีวิตและนำไปพัฒนาโครงการให้มีสืบเนื่องต่อไป” 

      เด็กชายวรวิทย์ มะลิวัลย์กลุ่มรักษ์โลกสีเขียว“ขอบคุณพี่ๆมากๆที่ให้ผมได้รู้สึกรักในโครงการและขอบคุณพี่ๆทุกคนมากครับ”ความรู้สึกเหล่านี้คือความรู้สึกลึกๆในใจของเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพวกเขารู้สึกภูมิใจที่ได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคม รู้สึกสนุก ได้รับความรู้และรักโครงการที่พวกเขาทำมากขึ้น เพราะเป็นโครงการที่พวกเขาริเริ่มด้วยตนเองและมีความตั้งใจจะทำโครงการดังกล่าวให้สำเร็จ

ข้อเสนอแนะจากคณะทำงานสงขลาฟอรั่มและวิทยากรประจำกลุ่มย่อย

   หลังการเสร็จสิ้นกิจกรรมคณะทำงานและวิทยากรประจำกลุ่มย่อยมีการประชุมสรุปผลการจัดกิจกรรม ซึ่งมีข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป ดังนี้

  1. ก่อนการจัดกิจกรรมครั้งต่อไปควรมีการประชุมวิทยากรประจำกลุ่มย่อยเพื่อทำความเข้าใจเป้าหมายของการพัฒนาโครงการเยาวชนให้ชัดเจน หรือจะใช้วิธีการประชุมผ่านสังคมออนไลน์ก็ได้
  2. ช่วงจุดประกายความคิด หลังจากให้เยาวชนรับชมคลิป VDO แล้วน่าจะเพิ่มการจุดประกายความคิดด้านการสร้างพลังให้มากขึ้น และอัพเดตภาพตัวอย่างกิจกรรมโครงการเยาวชนที่มีพลัง รวมถึงเพิ่มตัวอย่างเยาวชนที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ ในกรณีที่เป็นคนไทยบ้างจะทำให้เยาวชนแกนนำเห็นภาพชัดเจนขึ้น
  3. หัวข้อการทำงานเป็นทีม ควรเพิ่มรายละเอียดบทบาทภายในกลุ่มของเยาวชนแต่ละคนว่ามีบทบาทใดบ้างและบทบาทนั้นมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดพลังการทำงานของกลุ่มอย่างไร
  4. หากเยาวชนโครงการใดมีปัญหาในการดำเนินงานหรือโครงการยังไม่มีความชัดเจนต้องเรียกกลุ่มเยาวชนแกนนำกลับมาคุยใหม่ให้ภาพโครงการของเยาวชนมีชัดเจนขึ้น
  5. การประชุมสรุปผลการจัดกิจกรรมครั้งต่อไปควรนำ Feedback ของเยาวชนมาประกอบการสรุปงานด้วย
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ