โครงการเสริมสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบพิบัติภัยสึนามิ
โครงการเสริมสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบพิบัติภัยสึนามิ
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
การอบรมพัฒนาศักยภาพหลักสูตร "การคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking) เพื่อการตัดสินใจ
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาศักยภาพของทีมพี่เลี้ยงและทีมชุมชน ทั้ง 3 จังหวัด

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

·  ระบบคืออะไร?

-  กลุ่มขององค์ประกอบที่มีปฏิสัมพันธ์กัน (interrelated) ปฏิบัติเชื่อมกัน (interacting) หรือขึ้นต่อกัน (interdependent) ไม่สามารถอยู่ลอยๆ ได้ ต้องเชื่อมเป็นเหตุเป็นผลกัน และรวมกันเป็นความซับซ้อนในหนึ่งเดียว (complex and unified whole) ที่มีเป้าหมายเฉพาะและคงอยู่ได้ก็เพราะการทำงานขององค์ประกอบย่อย

-  ตัวอย่างระบบ

§  ระบบร่างกาย: ประกอบด้วยระบบย่อย เช่น ระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบหายใจ ระบบเลือด ระบบลม ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ฯลฯ ที่ทำงานร่วมกัน ฉะนั้น ร่างกายจึงเป็นระบบใหญ่ที่มีระบบย่อยสัมพันธ์กันอยู่ โดยถ้าระบบย่อยอันใดอันหนึ่งเสีย ระบบใหญ่ก็จะค่อยๆ หมดแรงไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายก็อยู่ไม่ได้ เช่น ไตเสีย ต้องฟอกไต เลือดเสีย ต้องถ่ายเลือด เป็นต้น ฉะนั้น ระบบจึงเป็นสิ่งที่รวม แล้วมีวงจรย่อยเต็มไปหมด โดยวงจรย่อยเหล่านี้ ถูกออกแบบเพื่อให้ระบบใหญ่ทำงานตามหน้าที่ของระบบย่อย

§  ระบบรถยนต์ เป็นระบบใหญ่ที่ทำหน้าที่เป็นยานพาหนะพาคนเดินทาง โดยในรถยนต์มีระบบเชื้อเพลิง ระบบไฟ ระบบหล่อเย็น ระบบพัดลม หม้อน้ำ ท่อ ระบบเครื่อง ระบบไฟ ระบบอากาศ ระบบเชื้อเพลิงที่ทำงานร่วมกัน ซึ่งแต่ละระบบย่อยก็มีระบบของตัวเองในการทำงานตามหน้าที่ของระบบนั้นๆ รวมเป็นระบบใหญ่อีกที ฉะนั้น แต่ละระบบจะมีระบบย่อยทำงานร่วมกันเพื่อให้ระบบรวมของร่างกาย หรือ รถยนต์ทำงานเป็นปกติ

-  ระบบที่เราออกแบบเป็นระบบสมดุล (ส) เราออกแบบเพื่อให้เราคุมมันได้

-  ระบบยั้งไม่อยู่ เป็นระบบที่เราคุมมันไม่ได้

-  มนุษย์เราออกแบบระบบมาเพื่อให้เราคุมมันได้

-  สรุป: ระบบคือความเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งมีระบบย่อยเต็มไปหมด แต่ละระบบมีหน้าที่ของมันเอง แต่ทุกอย่างทำหน้าที่รวมกันเพื่อให้ระบบใหญ่ทำหน้าที่

·  ความคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) คืออะไร?

-  วิธีการคิดแบบหนึ่งที่ทำให้เข้าใจความจริงว่าสรรพสิ่งไม่ได้อยู่เดี่ยวๆ แต่มีความสัมพันธ์ต่อกัน ไม่มีอะไรที่อยู่เดี่ยวๆ โดยไม่ส่งผลไปที่อื่น และไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุ ต้องมีเหตุมาจากที่ไหนสักแห่งหนึ่ง ฉะนั้น ระบบจะไม่อยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่เป็นผลของเหตุ ขณะเดียวกันก็เป็นเหตุของผล และส่งผลไปยังตัวอื่น หรือ เป็นผลของตัวอื่นด้วย

-  ต้องมีความเข้าใจใหม่ที่ “เห็นทั้งหมด” และเห็น “สภาพที่สัมพันธ์กัน” ตามกติกา (ส หรือ ย) เรียกว่าเข้าใจแบบบูรณาการณ์

-  Systems Thinking  ต่างจาก Mind map อย่างไร?

§  System Thinking  เป็นวงจร แต่ Mind map ไม่เป็นวงจร

§  System Thinking  สิ้นสุด แต่ Mind map ไม่สิ้นสุด

§  System Thinking  เป็นความสัมพันธ์เชิงเหตุผล เส้นแต่ละเส้นสัมพันธ์กัน แต่Mind map เป็นความสัมพันธ์เชิงการจัดกลุ่ม แต่ละเส้นไม่ได้สัมพันธ์กัน

System Thinking  ให้ความสัมพันธ์เชิงเหตุผล-วนกลับ-อธิบายพฤติกรรมได้ และทำให้เห็นพฤติกรรมใหญ่ทั้งระบบ (วงจร ส/ ย-/ ย+) ทำให้จัดการระบบได้โดยเราเข้าใจเงื่อนไขที่ทำให้เหตุกับผลมาต่อกัน นำไปสู่การจัดการ ทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมของระบบทั้งหมด และเราเห็นระบบย่อยๆ ในระบบใหญ่ ฉะนั้น System Thinking  จึงมีพลัง ถ้าเราเข้าใจจะทำให้เห็นปรากฏการณ์ต่างๆ ในชุมชน พื้นที่ที่มีพลังขึ้น และนำไปสู่การจัดการที่มีพลังขึ้นได้


วิทยากรได้โยงเรื่อง Systems thinking กับแนวคิด Force Field Analysis  ซึ่งจากภาพข้างต้นอธิบายได้ว่าสภาพปัจจุบันถูกยันด้วยแรง 2 แรง คือ เส้นทึบ และเส้นประ

-  เส้นทึบทำให้ผลกับเหตุไปด้วยกัน/เส้นประทำให้ผลกับเหตุสวนทางกัน

-  สภาพปัจจุบัน คือ ส เนื่องจากเกิดความสมดุลระหว่างแรงเส้นทึบกับเส้นประที่ยันกันอยู่

-  สมมติเราจะเคลื่อนสภาพปัจจุบันไปเป็นสภาพ ย+  (วงจรที่พัฒนาขึ้นจาก ส เป็น ย+)  แรงที่พา ส ไปสู่ ย+ คือ แรงเส้นทึบ  ส่วน ย- ก็มีเหตุบางอย่างให้เคลื่อนไป

-  สภาพเช่นนี้เทียบกับสปริง โดยเส้นประคือ น้ำหนักที่กดทับสปริง  เส้นทึบ คือ แรงขับ หรือ แรงดันของสปริงที่จะทำให้ไปถึงสภาพที่ต้องการ

-  การมองภาพรวมไม่สามารถทำให้เข้าใจถึงแรงที่จะพาไปได้ ในขณะที่การมองแยกโดยนำแรงที่กดทับแรงต้านออกไป จะทำให้เข้าใจทันทีว่ามีแรงบางแรง หรือสปริงบางตัวที่สามารถพาสถานการณ์จากสภาพปัจจุบันให้ถึงเป้าหมายที่ต้องการได้ (เส้นสีเขียว) ทำให้มีวิธีวิเคราะห์สนามของแรง 

-  กระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นใช้เทคนิคระดมสมองซึ่งมีหลายเครื่องมือมาก โดยจำกัดกรอบวิธีการทำงานว่า คิดเฉพาะแรงที่ผลักไปยังเป้าหมายข้างหน้า

-  เมื่อได้แรง Force Field แล้ว สิ่งที่ต้องทำคือ เอาเหตุต้านออกก่อน (เช่นเดียวกับเรื่องเรือ) ซึ่งจะรู้ได้จากการจัดลำดับความสำคัญโดยตารางเทียบคู่

-  หากเอาแรงต้านออกหมดแล้ว ยังไม่สามารถไปถึงเป้าหมายได้ สิ่งที่ต้องทำต่อ คือ การเพิ่มแรงขับ ซึ่งคือ เส้นทึบ ซึ่งคือการเพิ่ม ย+

-  หลักการ: การเอาแรงต้านออกจะทำให้ ส ปัจจุบันเปลี่ยนไป แล้วขยับสู่เป้าหมายที่ต้องการ


"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ