โครงการเสริมสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบพิบัติภัยสึนามิ
โครงการเสริมสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบพิบัติภัยสึนามิ
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
เวทีสัญจรโครงการสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ : พื้นที่จังหวัดตรัง
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

        โครงการ สร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบพิบัติภัยสีนามิ ได้จัดเวทีสัญจรครั้งที่ 3 ขึ้นระหว่างวันที่ 6-7 พ.ย. 2555 ณ จ.ตรัง โดยมีกลุ่มผู้เข้าร่วมประกอบด้วยทีมพี่เลี้ยง และตัวแทนพื้นที่ 3 จังหวัด

­วัตถุประสงค์ 
1. เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่โครงการ จ.ตรัง 
2. เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิจากการทดลองนำเสนอร่างโครงการวิจัยของแต่ละพื้นที่


   

             เวทีสัญจรได้จัดมาแล้ว 2 ครั้ง คือที่ จ.ระนอง และ จ.สตูล ครั้งนี้ได้สัญจรมาที่เกาะสุกร จ.ตรัง จากเวทีสัญจรได้การแลกเปลี่ยนกันถึงมิติเรื่องคุณค่าและความหมายของการทำนา ซึ่งวิธีคิดของคนรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่มีความแตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่คนรุ่นใหม่มักคิดถึงเรื่องต้นทุน-กำไร ในขณะที่คนรุ่นก่อนมองเรื่องความมั่นคงในชีวิตว่า หากมีข้าวอยู่ในยุ้งฉางไปอีกหนึ่งปีถือเป็นความสบายใจในชีวิตของเขา จึงมีข้อเสนอถึงการเก็บข้อมูลแล้วตีความออกมาในเชิงตัวเลขเพื่อกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่ได้คิดถึงประโยชน์ของการทำนาในแง่การลดค่าใช้จ่ายในชีวิต ในบางครั้งข้อมูลเชิงตัวเลขก็ไม่สามารถอธิบายมิติต่างๆ ที่ยังคงดำรงอยู่ในวิถีของชาวนาอย่างละเอียดอ่อนโดยเฉพาะมิติในการพึ่งพิง ช่วยเหลือกันดั่งญาติมิตรได้ในการอธิบายเชิงตัวเลขจึงต้องคำนึงถึงมิติดังกล่าวด้วย ซึ่งปัจจุบันทีมวิจัยก็พยายามเก็บข้อมูลในมิติดังกล่าวเพื่อนำมาอธิบายหรือแก้ปัญหาเรื่องการทำนาที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบันโดยคาดหวังให้เกิดแนวทางที่เหมาะสมในการฟื้นวิถีการทำนารวมไปถึงการทำการเกษตรอย่างอื่น เช่น การปลูกแตงโม ผัก  เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ เพื่อสร้างความเข้มแข็งหรือการพึ่งตัวเองของชุมชนในอนาคต ในกระบวนการทำงานจึงเป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างทีมพี่เลี้ยง และกลุ่มที่ยังทำนา ตลอดจนดึงเยาวชนเข้ามาเรียนรู้ในเชิงปฏิบัติการพร้อมกับการแก้ไขปัญหาที่ เกิดจากการทำนาไปด้วย

­

การนำเสนอร่างโครงการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยโครงการวิจัยทั้งหมด 7 โครงการใน 3 จังหวัด ได้แก่
1. จังหวัดสตูล นำเสนอ 2 โครงการ ได้แก่ 
     1.1 โครงการ “แนวทางการจัดการพื้นที่ทางทะเลสู่ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ต. ขอนคลาน อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล”
     1.2  โครงการ “การจัดการบริเวณพื้นที่อ่าวทุ่งนุ้ยสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงนิเวศน์บ้านหลอมปืน ม.14 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล”
2. จังหวัดระนอง นำเสนอ 2 โครงการ ได้แก่
     2.1  โครงการ “แนวทางการพัฒนาสวัสดิการชุมชน “กองทุนวันละบาท”
     2.2  โครงการ “ผลิตน้ำปลาเพื่อนำไปสู่ชุมชนจัดการตนเองอย่างยั่งยืนของชุมชนบ้านบางกล้วยนอก”
3. จังหวัดตรัง นำเสนอ 3 โครงการ ได้แก่
     3.1  โครงการ “ชุมชนจัดการตนเองเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง”
     3.2  โครงการ “การสร้างความเข้มแข็งโดยการพัฒนาอาชีพเลี้ยงปลาในกระชัง และศาลาลอยน้ำเพื่อสร้างการเรียนรู้บ้านในทอน หมู่ 11 ต.สุโสะ อ.ปะเหลียน จ.ตรัง”
     3.3 โครงการ “รวมพลังชุมชนฟื้นฟูหมู่บ้านเจ้าไหมด้วยภูมิปัญญาและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

เวทีสัญจรครั้งที่ 3 ของโครงการ “เสริมสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบภัยพิบัติสึนามิ” จัดขึ้น ณ จังหวัดตรังในวันที่ 6-7 พ.ย. 2555 ซึ่งเวทีครั้งนี้มีความแตกต่างจากทั้ง 2 เวทีที่ผ่านมา คือ ในวันที่สองของการจัดเวทีถูกกำหนดให้เป็นการทดลองนำเสนอร่างโครงการวิจัยของแต่ละพื้นที่ที่ได้พัฒนาโจทย์มาแล้วระดับหนึ่งเพื่อเตรียมนำเสนอในเวทีพิจารณาโครงการระดับจังหวัดซึ่งจะจัดขึ้นในเดือน ธันวาคม 2555 ทางมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่นจึงได้เชิญ คุณรัตนา กิตติกร จากมูลนิธิสยามกัมมาจล และ ศ.ดร.ปิยะวัติ บุญ-หลง ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น มาร่วมให้ข้อเสนอแนะต่อร่างโครงการที่จะนำเสนอเพื่อการปรับปรุงให้สมบูรณ์ที่สุดต่อไป...

­

ทั้งนี้ก่อนมีการนำเสนอร่างโครงการวิจัยในวันที่ 7 พ.ย. 2555 นั้น ในวันแรกของการจัดเวทีสัญจร คือ วันที่ 6 พ.ย. 2555 ทีมศูนย์ประสานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดตรัง เจ้าภาพในการจัดเวทีครั้งนี้ได้ออกแบบกิจกรรมให้ทางเครือข่ายลงไปศึกษาเรียนรู้ในพื้นที่ตำบลเกาะสุกร ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่พื้นที่โครงการวิจัยของจังหวัดตรัง โดยได้มีการนัดหมายกันเพื่อเดินทางจากตัวเมืองจังหวัดตรังในช่วงเช้าด้วยรถก่อนที่จะไปลงเรือเพื่อเดินทางเข้าสู่เกาะสุกร ซึ่งทุกคนไปถึงโดยพร้อมเพรียงกัน ณ สถานที่นัดหมายในช่วงเวลากลางวัน หลังจากพักผ่อน รับประทานอาหารกลางวันร่วมกันแล้ว ในช่วงบ่ายได้มีการกล่าวต้อนรับและแนะนำสภาพพื้นที่ทั่วไป ตลอดจนบอกเล่าความเป็นมาเกี่ยวกับประเด็นงานวิจัยในพื้นที่จากแกนนำหลายท่าน พบว่า สภาพพื้นที่ของเกาะสุกรนั้นมีทั้งทะเล เนินเขา และที่ราบ คนบนเกาะส่วนใหญ่ทำการประมง มีบางส่วนที่ทำนา เลี้ยงสัตว์ และส่วนน้อยที่รับจ้างทั่วไป โดยประเด็นที่กำลังมีการขับเคลื่อนงานวิจัยในพื้นที่จะเป็นเรื่องของการฟื้นฟูอาชีพการทำนาให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป (ฝนไม่ตกตามฤดูกาล) พันธุ์ข้าวให้ผลผลิตน้อย ที่นาร้าง คนรุ่นใหม่ทำนาไม่เป็น อันเนื่องมาจากขาดการสืบทอดจากรุ่นก่อนโดยหลายคนออกไปเรียนนอกชุมชน หรือ รับราชการ ทำให้ไม่สนใจเรื่องการทำนา..

หลังจากการบอกเล่าของแกนนำในพื้นที่ได้มีการแลกเปลี่ยนกันถึงมิติเรื่องคุณค่าและความหมายของการทำนาซึ่งวิธีคิดของคนรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่มีความแตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่คนรุ่นใหม่มักคิดถึงเรื่องต้นทุน-กำไร ในขณะที่คนรุ่นก่อนมองเรื่องความมั่นคงในชีวิตว่าหากมีข้าวอยู่ในยุ้งฉางไปอีกหนึ่งปีถือเป็นความสบายใจในชีวิตของเขา จึงมีข้อเสนอถึงการเก็บข้อมูลแล้วตีความออกมาในเชิงตัวเลขเพื่อกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่ได้คิดถึงประโยชน์ของการทำนาในแง่การลดค่าใช้จ่ายในชีวิต อย่างไรก็ตามมีการแลกเปลี่ยนกันถึงเรื่องดังกล่าวว่า ในบางครั้งข้อมูลเชิงตัวเลขก็ไม่สามารถอธิบายมิติต่างๆ ที่ยังคงดำรงอยู่ในวิถีของชาวนาอย่างละเอียดอ่อนโดยเฉพาะมิติในการพึ่งพึงช่วยเหลือกันดั่งญาติมิตรได้ ในการอธิบายเชิงตัวเลขจึงต้องคำนึงถึงมิติดังกล่าวด้วย ซึ่งปัจจุบันทีมวิจัยก็พยายามเก็บข้อมูลในมิติดังกล่าวเพื่อนำมาอธิบายหรือแก้ปัญหาเรื่องการทำนาที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน โดยคาดหวังให้เกิดแนวทางที่เหมาะสมในการฟื้นวิถีการทำนารวมไปถึงการทำการเกษตรอย่างอื่น เช่น การปลูกแตงโม ผัก เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ เพื่อสร้างความเข้มแข็งหรือการพึ่งตัวเองของชุมชนในอนาคต ในกระบวนการทำงานจึงเป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างทีมพี่เลี้ยง และกลุ่มที่ยังทำนา ตลอดจนดึงเยาวชนเข้ามาเรียนรู้ในเชิงปฏิบัติการพร้อมกับการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการทำนาไปด้วย ซึ่งที่ผ่านมาเริ่มมีหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ อาทิ อบต. และ พด. เข้ามาสนับสนุนการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนพันธุ์ข้าว และแก้ปัญหาศัตรูข้าวต่างๆ ที่ชาวนาในพื้นที่เผชิญอยู่ เช่น หนู และหอยเชอรี่ เป็นต้น หลังจากการแลกเปลี่ยนกันในช่วงบ่ายแล้ว ในช่วงเย็น ทีมพื้นที่ได้ออกแบบให้ผู้เข้าร่วมเวทีสัญจรลงไปศึกษาเรียนรู้ในพื้นที่ตามอัธยาศัย จึงมีการแยกย้ายกันไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกับชาวบ้านในพื้นที่ตามประเด็นที่แต่ละคนสนใจ ก่อนที่จะกลับมาเจอกันยังสถานที่นัดหมายในช่วงค่ำเพื่อรับประทานอาหารเย็นร่วมกัน แล้วจึงแยกย้ายกันพักผ่อนในบ้านพักที่ทีมพื้นที่เตรียมไว้ให้..

วันที่ 7 พ.ย. 2555 หลังจากรับประทานอาหารเช้าบนเกาะแล้ว ทางเครือข่ายได้เดินทางออกจากเกาะสุกรไปยังสถานที่นัดหมาย คือ หอประชุมแห่งชาติ เพื่อร่วมเวทีนำเสนอร่างโครงการวิจัยระดับจังหวัด โดยในการนำเสนอครั้งนี้ประกอบด้วยโครงการวิจัยทั้งหมด 7 โครงการใน 3 จังหวัด ได้แก่

1. จังหวัดสตูล นำเสนอ 2 โครงการ ได้แก่

1.1 โครงการ “แนวทางการจัดการพื้นที่ทางทะเลสู่ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ต. ขอนคลาน อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล”

1.2 โครงการ “การจัดการบริเวณพื้นที่อ่าวทุ่งนุ้ยสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงนิเวศน์บ้านหลอมปืน ม.14 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล”

2. จังหวัดระนอง นำเสนอ 2 โครงการ ได้แก่

2.1 โครงการ “แนวทางการพัฒนาสวัสดิการชุมชน “กองทุนวันละบาท” ”

2.2 โครงการ “ผลิตน้ำปลาเพื่อนำไปสู่ชุมชนจัดการตนเองอย่างยั่งยืนของชุมชนบ้านบางกล้วยนอก”

3. จังหวัดตรัง นำเสนอ 3 โครงการ ได้แก่

3.1 โครงการ “ชุมชนจัดการตนเองเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง”

3.2 โครงการ “การสร้างความเข้มแข็งโดยการพัฒนาอาชีพเลี้ยงปลาในกระชัง และศาลาลอยน้ำเพื่อสร้างการเรียนรู้บ้านในทอน หมู่ 11 ต.สุโสะ อ.ปะเหลียน จ.ตรัง”

3.3 โครงการ “รวมพลังชุมชนฟื้นฟูหมู่บ้านเจ้าไหมด้วยภูมิปัญญาและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

ในการนำเสนอได้ออกแบบให้พี่เลี้ยงระดับจังหวัดเกริ่นนำ หรือเล่าความเป็นมาในการพัฒนาโครงการวิจัยระดับพื้นที่ก่อนที่จะให้ตัวแทนจากทีมพื้นที่เป็นผู้นำเสนอ โดยระหว่างการนำเสนอในแต่ละจังหวัด จะเปิดโอกาสให้ที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนและให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับแก้โครงการระดับพื้นที่ให้มีความสมบูรณ์มากขึ้นอยู่เป็นระยะ ซึ่งในการแลกเปลี่ยนดังกล่าวยังทำให้เกิดการเรียนรู้ประสบการณ์ข้ามพื้นที่ ถือเป็นมิติที่ดีในการเรียนรู้ร่วมกันในอนาคต โดยหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการนำเสนอร่างโครงการแล้ว มีประเด็นที่ผู้ทรงคุณวุฒิฝากไว้คือ แต่ละโครงการมีเป้าหมายใหญ่ที่เหนือกว่ากิจกรรมที่ออกแบบไว้ในโครงการ แต่ในการสื่อสารยังไม่ชัดเจนตรงจุดมากนัก ดังนั้น อาจลองกลับไปช่วยกันตั้งคำถามต่อโจทย์วิจัยให้ตรงจุดมากขึ้น โดยพยายามมองหาโจทย์ระยะยาวที่จะขับเคลื่อนงานในชุมชนให้เจอ เพราะหากมีเป้าหมายใหญ่ที่ชัดเจนอยู่แล้ว เป้าหมายเล็กหรือกิจกรรมบางส่วนก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ภายใต้หลักการใหญ่ที่ใช้กำกับทิศทางในการทำงาน

หลังจากปิดเวทีนำเสนอร่างโครงการวิจัยแล้ว ทีมพี่เลี้ยงระดับจังหวัดได้นัดหมายเวทีพิจารณาโครงการระดับจังหวัดที่จะจัดขึ้นในเดือน ธันวาคม 2555 ได้แก่ จังหวัดตรัง นัดหมายได้ในวันที่ 7 ธ.ค. 2555 จังหวัดระนองนัดหมายได้ในวันที่ 24 ธ.ค. 2555 และจังหวัดสตูลนัดหมายได้ในวันที่ 26 ธ.ค. 2555

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ