โครงการเสริมสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบพิบัติภัยสึนามิ
โครงการเสริมสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบพิบัติภัยสึนามิ
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พี่เลี้ยงสึนามิ (25-26 พ.ย.58)
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของพี่เลี้ยงโครงการชุมชนบริหารจัดการตนเองในพื้นที่ประสบภัยสึนามิระยะ 2 มีวัตถุประสงค์ คือ 

          1) เพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนสถานการณ์การดำเนินงานระดับพื้นที่ของโครงการ “ชุมชนบริหารจัดการตนเอง ระยะที่ 2” จังหวัดระนอง, ตรัง, สตูล

          2) เพื่อร่วมวางแผนการหนุนเสริมพี่เลี้ยงที่เหมาะสม และสอดคล้องตามสถานการณ์

      โดยมีผู้เข้าร่วม คือ พี่เลี้ยงพื้นที่จังหวัดสตูล (2 คน) จังหวัดตรัง (3 คน) จังหวัดระนอง (2 คน) ทีมกลไก (2 คน) และทีมสนับสนุน (3 คน) 

เนื้อหาสำคัญมี 3 ส่วน ได้แก่ 

 ส่วนที่ 1 ติดตามการนำความรู้เรื่องการอบรมวิทยากรกระบวนการไปปรับใช้

 ส่วนที่ 2 นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานของทุกพื้นที่

ส่วนที่ 3 นำเสนอแผนงานระยะ 2 (ธันวาคม 2558– มีนาคม2559)

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการประชุมครั้งนี้ คือ การได้รับสถานการณ์ความก้าวหน้าการทำงานในแต่ละพื้นที่ ได้แผนงานระยะต่อไปของทุกพื้นที่รวมทั้งของทีมกลไกด้วย ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และได้เติมกำลังใจให้กัน

ระยะเวลา: เมื่อวันที่ 25-26 ตุลาคม 2558 

สถานที่: โรงแรมดิโอวาเลย์ ม.4 ต.ท่าโรงช้าง อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

สรุปเนื้อหาสำคัญจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของพี่เลี้ยงลึนามิ ทั้ง 3 จังหวัด มีประเด็นดังนี้ 

เริ่มจากวันแรก 1) Check in ภายใต้โจทย์: ความคาดหวังต่อเวทีครั้งนี้ และความเคลื่อนไหวของงานในพื้นที่เป็นอย่างไร 2) ทบทวนการนำความรู้เรื่องการอบรมวิทยากรกระบวนการไปปรับใช้ ซึ่งนักวิจัยมีความตื่นตัวและนำความรู้จากการอบรมไปใช้ในการออกแบบการจัดประชุม มีการวางแผนงานและแบ่งบทบาทกันในทีม 3) เกมส์ภาพมหาสนุก ชวนมองภาพสัตว์หลากหลายชนิดตามโจทย์ที่แต่ละคู่ได้รับ สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ เรามักมองเพียงเป้าหมายของเราซึ่งเป็นภารกิจที่มีคนมอบให้ จนละเลยรายละเอียดรอบข้าง และเราอาจจะสับสนว่าสิ่งใดเป็นโจทย์ที่แท้จริงของการทำงาน 4) การนำเสนอความก้าวหน้าของพื้นที่ 3 จังหวัด โดยทีมสนับสนุนได้ช่วยสรุปว่างานนี้เราใช้กระบวนการ R D M คือ รูปแบบข้อมูลแบบชาวบ้าน (R) การพัฒนาที่เกิดขึ้นจากข้อมูล (D) และ การเคลื่อนไหวที่เชื่อมร้อยหรือไปต่อทั้งภายใน-นอก (M)
วันที่สอง 1) การนำเสนอ Time Line แผนงานระยะที่ 2 นอกจากนี้ มีการแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมจากทีมสนับสนุน คุณชีวัน ขันธรรม ชวนมอง 2 ประเด็น ได้แก่ 1) ตัวชี้วัดในแต่ละไตรมาส ภายใต้กิจกรรมที่ออกแบบ ตอบเป้าหมายปลายทางอะไรบ้าง ชวนมองผลการเปลี่ยนแปลงในแต่ละไตรมาส และ 2) การจัดทำรายงาน เสนอให้มีการทำสรุปรายงานประจำเดือนนำส่งให้ทีมสนับสนุนมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่นและทีมกลไก เป็นประจำทุกเดือน และ3) ทุกคนได้สะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้
การพูดคุยตลอดสองวัน ทำให้คนทำงานได้รับทราบความก้าวหน้าในการทำงานของแต่ละพื้นที่ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ได้รับการกระตุ้นให้กลับมามองเป้าหมายและตัวชี้วัดของงาน ในบรรยากาศการพูดคุยที่เป็นกันเองแบบพี่น้อง แบบกัลยาณมิตร

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ