กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
งานอนุรักษ์หัตถกรรมพื้นบ้านเสื่อจันทบูร
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

  


ความเป็นมา

การทอเสื่อเป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านของจังหวัดจันทบุรี เป็นอาชีพดั้งเดิมที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดจันทบุรี ทำให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในนามของเสื่อ “จันทบูร” การทอเสื่อจันทบูรได้รับการถ่ายทอดมาจากกลุ่มชาวญวน ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ภายในเมืองจันทบุรี ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายเป็นต้นมา โดยได้รับการส่งเสริมจากคณะนักบวชหญิงที่เรียกว่า “คณะภคินีรักไม้กางเขน” ซึ่งคณะนักบวชหญิงนี้ ปัจจุบันคือ “ภคินีคณะรักกางเขน แห่ง จันทบุรี” ซึ่งเป็นผู้บริหารด้านการศึกษาของโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ คณะซิสเตอร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นผู้ชำนาญ เป็นผู้มีความสามารถ

­

เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ทรงคุณค่าของโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ที่มีต่องานอาชีพของชุมชนซึ่งนับวันกำลังจะหมดไป โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ได้เริ่มอนุรักษ์งานท้องถิ่นให้คงอยู่คู่กับจังหวัดจันทบุรี โดยเริ่มดำเนินงานอนุรักษ์หัตถกรรมพื้นบ้านเสื่อจันทบูรมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2536 เพื่อสืบทอดงานของท้องถิ่นและงานที่คณะซิสเตอร์ได้เคยทำมาในอดีต และเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 4 มาตรา 23 ข้อ 3 ที่เน้นการจัดการศึกษาโดยบูรณาการความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทย พร้อมทั้งสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ บนพื้นฐานของงานท้องถิ่นเดิม เพื่อสืบสานงานพื้นบ้านและภูมิปัญญา สืบทอดวิธีการ กระบวนการ ในการทำงานท้องถิ่น ให้คงอยู่กับจังหวัดจันทบุรี สมดังคำขวัญของจังหวัด ที่กล่าวไว้ว่า “น้ำตกลือเลื่อง เมืองผลไม้ พริกไทยพันธุ์ดี อัญมณีมากเหลือ เสื่อจันทบูร สมบูรณ์ธรรมชาติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รวมญาติกู้ชาติที่จันทบุรี”

­

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสืบทอดงานหัตถกรรมพื้นบ้านเสื่อจันทบูร

2. เพื่อรักษาเอกลักษณ์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดจันทบุรี

3. เพื่อเป็นฐานการเรียนรู้ที่สร้างนิสัยพอเพียงให้นักเรียน

­

เป้าหมาย

เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ได้อนุรักษ์และสืบสานงานหัตถกรรมพื้นบ้านเสื่อจันทบูร 

­

 

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ