กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
เวทีพัฒนาโครงการพื้นที่่ประสบพิบัติภัยสึนามิ บ้านเจ้าไหม ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ครั้งที่ 2
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

บ้านเจ้าไหมมีปลาที่ไม่ใช่ปลาเศรษฐกิจมากมายที่ติดมากับเรืออวน ไม่จำเป็นต้องไปหาวัตถุดิบที่ไหน คนในชุมชนต้องรู้จักเอาภูมิปัญญามาใช้ให้เป็นประโยชน์ คนก็อยู่กันได้โดยไม่ต้องพึ่งพาภายนอกมากนัก


เวทีพัฒนาโครงการสึนามิพื้นที่บ้านเจ้าไหม  ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ครั้งที่ 2

27 สิงหาคม 2555  ณ ห้องประชุมหาดเจ้าไหม อ.กันตัง จ.ตรัง

ผู้ร่วมประชุม

   กลุ่มแกนนำ สกว. รวม 18 คน

วัตถุประสงค์

เพื่อหารือการทำงานร่วมกัน

เพื่อให้ได้ข้อสรุปประเด็นที่ต้องการทำงาน

สรุปเวที

  การพูดคุยในครั้งนี้  ยังคงมุ่งไปที่ 2 ประเด็นคือ  ประเด็นการท่องเที่ยว และประเด็นการแปรรูป  ทีมส่วนหนึ่งเห็นว่า การท่องเที่ยวบ้านหาดยาวสำคัญและต้องปรับปรุง ต้องเตรียมความพร้อมเพราะท่าเรือหาดยาวเป็นที่รองรับเรือทัวร์ที่ผ่านมาจากจังหวัดภูเก็ต  กระบี่ พังงา  ก่อนจะไปสู่ทะเลอันดามัน  นักท่องเที่ยวแต่ละปีมีเยอะ แต่ส่วนใหญ่มาเพื่อผ่านไป และทิ้งขยะเอาไว้ คนในชุมชนก็ยังไม่พร้อมที่จะทำการท่องเที่ยว  บางส่วนของชุมชนพยายามดำเนินการมานานแต่ก็ยังไม่สำเร็จ  จึงอยากทำท่องเที่ยว  แต่ส่วนใหญ่โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงให้ความสำคัญกับการแปรรูปปลาทะเลมากกว่า เพราะเมื่อสามีออกเรือไปหาปลา ผู้หญิงไม่มีงานทำ ส่วนใหญ่อยู่กับบ้าน ไม่มีรายได้  ปลาที่ได้มาก็ส่งคนอื่น  ไม่มีมูลค่าเพิ่ม จึงต้องการทำเรื่องการแปรรูป แต่ก็ยังไม่มีความรู้มากนัก คนในหาดยาวแม้จะมีการแปรรูปแต่เป็นการทำกินภายในครัวเรือน  ต้องการเห็นที่อื่นที่แปรรูปสำเร็จ และมีรูปแบบที่หลากหลายบ้าง  ผู้ใหญ่บ้านบอกว่า เห็นด้วยอย่างมากกับการแปรรูปเพราะผู้ใหญ่มีเรือ มีแพ  และเห็นว่า โอกาสของคนหาดยาวน่าจะได้ลงมือทำการแปรรูปเองเพื่อสร้างรายได้ แต่ปัญหาคือไม่มีที่ทำการ  และเรื่องน้ำเสีย กลิ่นเหม็น 

  อย่างไรก็ตาม  ในครั้งนี้ ได้ข้อสรุปว่า ควรจะหยิบเรื่องการแปรรูปปลามาสร้างการเรียนรู้ให้กับทีมงาน ทั้งเรื่องแนวคิด การบริหารจัดการ การรวมกลุ่ม เสียก่อน  เป็นการพิสูจน์ความมุ่งมั่น ตั้งใจ  หลังจากนั้นเฟสที่ 2 ค่อยมาคุยกันอีกครั้งว่า จะทำอย่างไร เพราะขณะนี้แม้จะเป็นเรื่องการแปรรูปก็ยังไม่มีข้อมูลข้อเท็จจริงเรื่องที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด  ดังนั้นหากจะทำเรื่องการแปรรูป จะต้องค้นหาหรือสำรวจเพื่อให้ได้ข้อมูลเหล่านี้เสียก่อน

-  สำรวจคนที่ออกเรือหาปลา ได้ปลาอะไรบ้าง เอาไปไหน  ที่เหลือทำอย่างไร ทำแล้วเอาไปไหน เอาไปอย่างไร  เอาไปแล้วได้อะไรบ้าง คุ้มค่าหรือไม่  ใครเป็นคนเอาไป เอาไปไหน  เอาไปอย่างไร  ปริมาณปลาที่ได้เท่าไหร่ มีการจัดการอย่างไร  คนในชุมชนได้หรือเสียอะไรอย่างไร

-  สำรวจพันธุ์ชนิดของปลา

-  สำรวจปลาเศรษฐกิจ

-  สำรวจปลาเหลือ ชนิด  ขนาด  ปริมาณ

-  สำรวจการเอาไปใช้ประโยชน์ ขาด? เหลือ? ทำอย่างไร

-  สำรวจแม่บ้านที่ยังไม่มีงานทำ

-  สำรวจคนแปรรูปปลาหลายๆ แบบ

-  สำรวจข้อมูล  “คนเมื่อก่อนเขาเอาปลาพวกนี้ไปทำไหรกันมั่ง”

-  แล้วเราจะเอาอะไร มาทำอะไร ทำอย่างไร  ต้นทุนเท่าใด  ใครจะช่วย ทำแล้วเอาไปไหน  จะขายได้หรือไม่  ขายได้เท่าใด คุ้มหรือไม่  แล้วใครจะทำ

- จะทำงานเป็นกลุ่มได้หรือไม่ ใครจะเป็นคนทำ สถานที่  การจัดการ ทำแล้วจะได้อะไรกับใครบ้าง ใครจะเสียบ้าง

สรุป  คนในชุมชนต้องไปใช้เวลาในการปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อมูลข้อเท็จจริงเบื้องต้น


กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

การนำปลาที่ติดมากับอวนที่ไม่ใช่ปลาเศรษฐกิจมาแปรรูปเป็นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด และยังเป็นการลดปัญหาการเล่นหวย เล่นหุ้น ในกลุ่มแม่บ้าน

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ