กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

จัดทำโดย

เด็กหญิงโสรยา ไชยารัตน์

เด็กหญิงศศิธร ฝอยทอง

เด็กหญิงวรัชยา พรหมสวรรค์

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์รำภา เพชรหงษ์

โรงเรียนเทศบาลจามเทวี เลขที่ 125 ถนนจามเทวี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพูน รหัสไปรษณีย์ 51000 โทรศัพท์ 053-511744

บทคัดย่อ

จากการที่ได้ศึกษา เรียนรู้ในอุทยานการศึกษาพืชผักรักษ์ไทย ของโรงเรียนเทศบาลจามเทวีได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้กับกิจกรรมการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และรายวิชาเพิ่มเติมวิชาเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง จากการสังเกตวิธีการปลูกพืชผักแต่ละชนิด พบว่ามีพืชผักแต่ละชนิดที่นำมาปลูกในอุทยานการศึกษาได้ในฤดูกาลที่เหมาะสมแตกต่างกัน ทำให้เข้าใจและสามารถบริหารการจัดการทรัพยากรในการผลิต และการบริโภคโดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ

โครงงาน เรื่อง การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับหน่วยพืชผักรักษ์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการปลูกพืชผักในท้องถิ่นตามฤดูกาล และนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เราจะเริ่มดำเนินการโครงการนี้ โดยศึกษาเมนูพืชผักในท้องถิ่นของเราที่ได้รับความรู้ และประสบการณ์จากปราชญ์ชาวบ้าน รวบรวมข้อมูลเก็บบันทึกพืชผักแต่ละชนิด แล้วลงมือปฏิบัติ

ผลการศึกษาทำให้เรารู้ว่าพืชผักที่นำมาปลูกจะต้องเหมาะสมกับสภาพของดินสภาพภูมิอากาศ และตามฤดูกาลที่เหมาะสม โดยรู้จักขั้นตอนการปลูกที่ถูกวิธี การดูแลรักษา และ การเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งนำไปแปรรูปเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ รับประทานและจำหน่ายได้

นอกจากนี้ ยังนำไปเผยแพร่ และลงมือปฏิบัติในครอบครัว ชุมชน และในท้องถิ่น โดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในเรื่องของหลักคิด และหลักปฏิบัตินำไปใช้ทำงานจนประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืน นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการทำโครงงาน เรื่อง การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับหน่วยพืชผักรักษ์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม อยู่ในระดับดีมาก และมีความสุขทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคมอีกด้วย

กิตติกรรมประกาศ


โครงงาน เรื่อง การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับหน่วยพืชผักรักษ์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม คณะผู้จัดทำได้รับการสนับสนุนจาก อาจารย์กรรณิการ์ มาบุญมี ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลจามเทวี สังกัดเทศบาลเมืองลำพูน และระหว่างดำเนินโครงงานได้รับคำแนะนำจากอาจารย์รำภา เพชรหงษ์ ซึ่งเป็นครูสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม นอกจากนี้ได้รับความอนุเคราะห์ด้านเอกสารจากอาจารย์กฤษณา ปัญญาสุข ซึ่งเป็นครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม นายทรงฤทธิ์ จันทะพิงค์ ผู้ดูแลอุทยานการศึกษาพืชผักรักษ์ไทย คณะผู้จัดทำโครงงาน เรื่อง การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับหน่วยพืชผักรักษ์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จึงใคร่ขอกราบขอบพระคุณทุกท่านที่กล่าวไว้ข้างต้นเป็นอย่างยิ่ง

ำนำ

โครงงาน เรื่อง การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับหน่วยพืชผักรักษ์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล จามเทวี อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพืชผักในท้องถิ่นตามฤดูกาล และเพื่อนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน นักเรียนมีความพึงพอใจต่อโครงงาน เรื่อง การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับหน่วยพืชผักรักษ์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โครงงานนี้มีข้อผิดพลาดประการใด คณะผู้จัดทำขอน้อมรับข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข ให้โครงงานนี้มีความสมบรูณ์มากยิ่งขึ้น ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

บทที่ 1 บทนำ : ที่มาและความสำคัญ


แหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่าต่อการเรียนการสอนมีมากมาย เช่น จากวิทยุ โทรทัศน์ สารคดี หนังสือพิมพ์ เป็นต้น อุทยานการศึกษาก็เป็นอีกแหล่งข้อมูลหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาลจามเทวีเป็นอย่างมาก เพราะทุกวันนักเรียนจะต้องได้เข้าสัมผัสเกี่ยวข้อง เพื่อเรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรมในอุทยานการศึกษา ซึ่งมีอยู่ 5 อุทยานการศึกษาได้แก่ 1. อุทยานพืชผักรักษ์ไทย 2. อุทยานไร่นาสาธิต 3. อุทยานชีวิตจิ้งหรีดน้อย 4. อุทยานสับซอยหมักเพิ่มคุณค่า 5. อุทยานเลี้ยงปลาได้ประโยชน์ ซึ่งแต่ละอุทยานได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดการผสมผสานระหว่างวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชุมชนในท้องถิ่น และนำภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชน หรือท้องถิ่นมาปรับใช้ไม่ให้เกิดการสูญหาย จากการที่ได้เรียนรู้และเกี่ยวข้องกับพืชผักในอุทยานการศึกษาในโรงเรียนเทศบาลจามเทวี ทำให้เกิดแนวคิด เกี่ยวกับการจัดทำโครงงาน เรื่อง การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับหน่วยพืชผักรักษ์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ มาตรฐานการเรียนรู้ ส 3.1 : เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิต และการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ และสาเหตุที่นำมาสัมพันธ์กับเรื่องของพืชผักในอุทยานการศึกษา เพราะพืชผักในอุทยานการศึกษา เป็นการปลูกพืชผักในท้องถิ่นตามฤดูกาล และเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์ใช้ประโยชน์มากมายจากพืชผัก ผู้จัดทำจึงคิดว่าพืชผักน่าจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการบริหารการจัดทรัพยากรในการผลิต และการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมี ดุลยภาพ จึงได้จัดทำโครงงานนี้ขึ้น

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการปลูกพืชผักในท้องถิ่นตามฤดูกาล
2. เพื่อนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อโครงงาน เรื่อง การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับหน่วยพืชผักรักษ์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

สมมติฐานของการศึกษา


ในการปลูกพืชผักแต่ละชนิดสามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ ได้ และเปิดโอกาสให้กับนักเรียน ได้นำผลผลิตจากอุทยานการศึกษา จากครอบครัว ในท้องถิ่น ออกมาจำหน่าย โดยแลก ซื้อขายร่วมกับคณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ตามโครงการแอ่วกาดงาย จ่ายกาดหมั้ว ซื้อครัวเกษตรโรงเรียนเทศบาลจามเทวี

ตัวแปรที่ทำการศึกษา

  • ตัวแปรต้น การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับหน่วยพืชผักรักษ์ไทย
  • ตัวแปรตาม การนำความรู้และทักษะ จากการฝึกปฏิบัติในการปลูกพืชผัก ไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้
  • ตัวแปรควบคุม การปลูกพืชผักชนิดต่าง ๆ ในอุทยานการศึกษา พืชผักรักษ์ไทย

นิยามศัพท์เฉพาะ

  • หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การนำหลักคิด หลักปฏิบัติ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ โดยอยู่ภายใต้ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ มีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม
  • พืชผักรักษ์ไทย หมายถึง พืชผักที่ปลูกในอุทยานการศึกษาพืชผักรักษ์ไทย ตามฤดูกาลที่เหมาะสม เช่น ผักกะหล่ำปลี ผักกะหล่ำดอก ผักบุ้ง ผักตำลึง ผักปรัง แตงกวา บวบ ผักคะน้า ถั่วฝักยาว ฟักเขียว ฟักทอง ผักกาดทุกชนิด ฯลฯ


ขอบเขตของการศึกษา : อุทยานการศึกษาพืชผักรักษ์ไทย โรงเรียนเทศบาลจามเทวี เทศบาลเมืองลำพูน

ระยะเวลาดำเนินการ : วันที่ 15 – 25 มิถุนายน พ.ศ.2555

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ได้รับความรู้และทักษะในการปลูกพืชผักในท้องถิ่นตามฤดูกาล
2. ได้เรียนรู้เรื่องการนำผักแต่ละชนิด มาปรุงอาหารเพื่อรับประทาน
3. ได้รับความรู้เรื่องพืชผักที่มีอยู่ในท้องถิ่น
4. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนจามเทวี นำมาประยุกต์ใช้กับแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
5. ได้เรียนรู้ และประสบการณ์ ในการนำผลผลิตพืชผักรักษ์ไทยออกจำหน่าย

การวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  • ความพอประมาณ

1. พอประมาณในเรื่องเวลา สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ในการทำโครงงาน
2. นักเรียนศึกษาปัญหาเกี่ยวกับเรื่องที่จะนำมาทำโครงงาน
3. นักเรียนรู้จักวิเคราะห์เรื่องการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับหน่วยพืชผักรักษ์ไทย

  • ความมีเหตุผล

1. เลือกหัวข้อที่จะทำโครงงาน
2. รู้วิธีกระบวนการขั้นตอนในการทำโครงงาน

  • มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

1. นักเรียนมีทักษะพื้นฐานในการทำงาน
2. นักเรียนมีความสุข สนุกกับการมาเรียน ทำงานได้อย่างเป็นระบบ

  • เงื่อนไขความรู้

นักเรียนรู้ขั้นตอนในการทำโครงงาน เรื่องการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับหน่วยพืชผักรักษ์ไทย

  • เงื่อนไขคุณธรรม

นักเรียนมีการใฝ่รู้ใฝ่เรียน ขยัน รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ และแบ่งปัน

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

โครงงาน เรื่อง การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับหน่วยพืชผักรักษ์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยมีเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  • ความหมายของอุทยานการศึกษา อุทยานการศึกษา หมายถึง สวนที่รื่นรมย์ ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ ฝึกหัดกิจกรรมต่าง ๆ หรืออาจแปลได้อีกความหมายหนึ่งว่า สวนอันเป็นแหล่งเรียนรู้ที่รื่นรมย์
  • ความหมายของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิต และปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ครอบครัว ระดับชุมชน รวมไปถึงระดับรัฐ ในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปตามสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากความเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุสังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้อย่างดี
  • ความสำคัญของการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับหน่วยพืชผักรักษ์ไทย ความสำคัญของการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การปลูกพืชผักชนิดต่าง ๆในอุทยานการศึกษาพืชผักรักษ์ไทย ได้แก่ผักกะหล่ำปลี ผักกะหล่ำดอก ผักบุ้ง ผักตำลึง ผักปรัง แตงกวา บวบ คะน้า ถั่วฝักยาว ผักกาดทุกชนิดฯลฯ เป็นการเสริมรายได้ให้กับตนเอง ผู้ปกครอง และชุมชน โดยนักเรียนได้ร่วมกิจกรรม ในอุทยานการศึกษาพืชผักรักษ์ไทย ทำให้ได้รับประสบการณ์ตรง และนำประสบการณ์นี้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างมีคุณภาพ และเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว เป็นการตอบสนองนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำหริ และอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี ที่มีมาตั้งแต่อดีต เป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนด้านอื่น ๆ อีกมากมาย

อุทยานการศึกษาพืชผักรักษ์ไทย ประกอบไปด้วยการปลูกพืชผักตามฤดูกาล ที่กล่าวมาแล้วนี้ นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง สามารถนำผลผลิตของพืชผักต่าง ๆ ออกจำหน่ายในโครงการ แอ่วกาดงาย จ่ายกาดหมั้ว ซื้อครัวเกษตรเทศบาลจามเทวี ซึ่งทางโรงเรียนเทศบาลจามเทวีได้จัดโครงการนี้ทุกปี การศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ เป็นการศึกษาถึงความแตกต่างของสิ่งแวดล้อม ที่มีความแตกต่างกันในพื้นที่ต่าง ๆ และการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การบริโภคสินค้า และบริการพัฒนาเศรษฐกิจทำให้เกิดการขยายตัว หรือการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตสินค้า และบริการอันส่งผลให้ประชากรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วยการค้าระหว่างประเทศ ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกบริโภคสินค้าที่หลากหลาย จากผู้ผลิตที่ชำนาญมีปัจจัยต้นทุนต่ำ แต่สินค้ามีคุณภาพ ผู้บริโภคแต่ละประเทศจึงมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ระบบเศรษฐกิจเป็นการจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกของรัฐ ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจแบบผสม โดยรัฐเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าดำเนินกิจกรรมบางอย่างด้วยการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ช่วยทำให้ราษฎรพึ่งพาตนเองได้ และอยู่อย่างมีความสุข สหกรณ์เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้สมาชิกได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมช่วยเหลือกันในด้านเศรษฐกิจ การเรียนรู้เกี่ยวกับปัจจัยการผลิต และการบริโภคจะทำให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม หน่วยเศรษฐกิจ หมายถึง ผู้ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจในกระบวนการทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การผลิต การจำหน่าย จ่ายแจก และการบริโภคสินค้า และการบริการตลาด หมายถึง สถานที่ใดสถานที่หนึ่งที่มีการจำหน่ายสินค้า เป็นสถานที่ซึ่งผู้ซื้อ และผู้ขายมาติดต่อซื้อขายสินค้า และบริการกัน ดังนั้น ผู้จัดทำโครงงาน เรื่อง การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับหน่วยพืชผักรักษ์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ได้นำหลักเศรษฐศาสตร์ดังที่กล่าวมานี้มาบูรณาการกับโครงการของเรา เพื่อจะได้จัดตั้งเป็นสหกรณ์ร้านค้าขนาดเล็กภายในโรงเรียนของเราต่อไป

บทที่ 3 อุปกรณ์ และวิธีดำเนินการศึกษา

จากการที่ได้จัดทำโครงงาน เรื่อง การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับหน่วยพืชผักรักษ์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีขั้นตอน ดังนี้

วัสดุอุปกรณ์ที่ศึกษา

- แบบสัมภาษณ์
- แบบบันทึกข้อมูล
- ผู้รู้ในท้องถิ่น (ภูมิปัญญาชาวบ้าน)
- เอกสารประกอบการศึกษาค้นคว้า
- หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

วิธีการศึกษา

1. ประชุมกลุ่มวางแผนการทำงาน
2. กำหนดเรื่องที่จะศึกษาและวัตถุประสงค์ ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา
3. กำหนดขั้นตอนและกิจกรรมการปฏิบัติ
4. ติดตามผล ปรับปรุงแก้ไข
5. ประเมินผล และนำไปใช้

การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน


ศึกษาความรู้เกี่ยวกับ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ในหลวงทรงพระราชทานให้กับประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการทำการเกษตร และศึกษาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น (การปลูกพืชผักในท้องถิ่นตามฤดูกาล) และอุทยานการศึกษาพืชผักรักษ์ไทย โรงเรียนเทศบาลจามเทวี

ประวัติความเป็นมา และชีวิตความเป็นอยู่

ชุมชนจามเทวี เดิมชื่อบ้าน สันมหาพน มีอาชีพทำเกษตร เช่น ปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ หาปลา เพื่อเลี้ยงชีพและครอบครัว เมื่อเสร็จจากการปลูกข้าว ปลูกผัก มีการสานภาชนะจากไม้ไผ่ ถักยอ ถักแห สำหรับดักปลาเพราะใกล้ชุมชนจะมีลำน้ำเหมืองกลาง (คลองส่งน้ำ) ซึ่งมีปลาน้ำจืด ชุกชุม และมีอาชีพปั่นสามล้อรับจ้าง ผู้คนที่เจ็บไข้ได้ป่วย มาทำการรักษาที่โรงพยาบาลซึ่งอยู่ในพื้นที่ของชุมชน ดำรงชีวิตสืบทอดกันมา ณ ปัจจุบันนี้ชุมชนสันมหาพนได้ถูกเรียกขานตามชื่อวัดจามเทวี ซึ่งเป็นที่เก็บสถูปของพระนางจามเทวี กษัตริย์ผู้ครองเมืองนครหริภุญชัย คือจังหวัดลำพูนในปัจจุบัน

วิธีดำเนินงาน

- ประชุมแบ่งกลุ่มผู้รับผิดชอบ แบ่งเป็นกลุ่มละ 3 คน รับผิดชอบต่อ 1 แปลง
- วางแผนการดำเนินงาน เตรียมดิน ใส่ปุ๋ยหมัก อีเอ็ม หว่านเมล็ด รดน้ำ ดูแลบำรุงรักษา การเจริญเติบโตของพืชผัก
- ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง จากครูเกษตรในโรงเรียน ผู้ดูแลอุทยานการศึกษาพืชผักรักษ์ไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- สำรวจ สอบถาม สัมภาษณ์ผู้รู้ (ภูมิปัญญาท้องถิ่น) การปลูกผักแต่ละชนิด จะต้องรู้ขั้นตอน ฤดูกาลที่เหมาะสม ระยะเวลา และการบำรุงดูแลรักษา
- รวบรวมข้อมูล โดยการสำรวจ สอบถาม สัมภาษณ์ รวบรวมเก็บข้อมูล และจดบันทึก
- สรุป และประเมินผลร่วมกัน นำผลจากการเรียนรู้ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการปลูกพืชผักในท้องถิ่นตามฤดูกาลที่เหมาะสม และเพื่อนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีดุลยภาพ

บทที่ 4 ผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล

จากการที่ได้ศึกษาและจัดทำโครงงาน เรื่อง การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับหน่วยพืชผักรักษ์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ผลการศึกษา

จากการที่ได้ร่วมมือกันปลูกพืชผักต่าง ๆ ในอุทยานการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลจามเทวี เมื่อผลผลิตโตเต็มที่แล้ว ได้เวลาเก็บผลผลิตเราจะมีการวางแผน โดยการฝึกทำอาหารเพื่อรับประทานกันก่อน เช่น ผัดกะหล่ำปลี และผัดกะหล่ำดอก ฯลฯ ประกอบด้วยการหุงข้าว (หน่วยไร่นาสาธิต) ข้าวที่เราปลูกกันเอง ในการเก็บผลผลิตในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะพืชผักรักษ์ไทย คือ กะหล่ำปลี และกะหล่ำดอก เมื่อเก็บผลผลิตเหล่านี้แล้วนำมาชั่ง พร้อมทั้งจดบันทึกไว้ แต่ละกลุ่มจะคิดเมนูอาหารของตนเอง และลงมือประกอบอาหาร จากนั้นนำผลผลิตออกจำหน่ายให้กับคุณครูในโรงเรียน ชุมชน พยาบาล และหมอในโรงพยาบาลลำพูนที่อยู่ติดรั้วโรงเรียนของเราด้วย จากผลผลิตในอุทยานการศึกษาพืชผักรักษ์ไทย เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ฯลฯ ทำให้เรามีรายได้พอสมควร จนกระทั่งถึงวันสำคัญที่โรงเรียนจัดโครงการแอ่วกาดงาย จ่ายกาดหมั้ว ซื้อครัวเกษตรเทศบาลจามเทวี เราได้นำผลผลิตจากอุทยานการศึกษาพืชผักรักษ์ไทยจำหน่ายทั้งสด และแปรรูป (ผัดกะหล่ำปลี ผักลวกจิ้มน้ำพริก สุกี้ สลัดผัก ฯลฯ) เป็นรายได้เสริมระหว่างเรียน จากข้อความที่กล่าวมานั้น ผู้จัดทำ สรุปได้ว่า เป็นเพราะการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการเรียนการสอนของคุณครูในโรงเรียนเทศบาลจามเทวี และการศึกษาเกี่ยวข้องกับการปลูกพืชผักในท้องถิ่นตามฤดูกาล ในอุทยานพืชผักรักษ์ไทย โดยบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รายวิชาเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ตรงกับสาระเศรษฐศาสตร์ ผู้จัดทำและเพื่อน ๆ จึงได้เข้าใจหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข และมีมติสังคมที่ดี สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ การปลูกพืชผักสำหรับใช้รับประทานในชีวิตประจำวัน ก็จะมีพืชผักสวนครัว เช่น ใบกะเพราใบโหระพา มะกรูด มะนาว ตะไคร้ ต้นหอม ผักชี ผักตำลึง ใบชะพลู ผักปรัง มะระ ฟักทอง ฟักเขียว (ฟักหม่น) แตงกวา ถั่วพู พืชพันธุ์ไม้เลื้อยจะปลูกเป็นรั้วบ้าน การปลูกผักตามแปลงในบ้านจะมีผักกาดทุกชนิด ผักชี ผักคะน้า ผักบุ้ง บวบ ถั่วฝักยาว กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี ฯลฯ

ผู้จัดทำเห็นว่าพืชผักดังกล่าว ทำรายได้ระหว่างเรียน เกิดความประทับใจกับผลงานที่ได้จัดทำโครงงาน เรื่อง การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับหน่วยพืชผักรักษ์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมมาก เพราะได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้มากที่สุด นักเรียนมีความพึงพอใจต่อโครงงาน เรื่องการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับหน่วยพืชผักรักษ์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม อยู่ในระดับดีมาก

บทที่ 5

สรุปผลอภิปรายและข้อเสนอแนะ

  • สรุปผล

การจัดทำโครงงาน เรื่อง การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หน่วยพืชผักรักษ์ไทย กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลจามเทวี เทศบาลเมืองลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการปลูกพืชผักในท้องถิ่นตามฤดูกาล และนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ นักเรียน มีความพึงพอใจต่อโครงงาน เรื่อง การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับหน่วยพืชผักรักษ์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม อยู่ในระดับดีมาก

  • อภิปรายผล

จากการศึกษาในอุทยานการศึกษาของโรงเรียนพบว่า มีการปลูกพืชผักตามฤดูกาลของหน่วยการเรียนรู้พืชผักรักษ์ไทย มีการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ได้มากที่สุด เช่น มีความพอประมาณ ก่อนจะลงมือทำการปลูกต้องรู้ว่าจะปลูกพืชผักชนิดไหนในที่นี้ จะขอกล่าวถึงการปลูกผักกะหล่ำปลีและกะหล่ำดอก เราจะต้องรู้ว่าเมื่อโตเต็มที่ก่อนจะเก็บผลผลิต ต้นของกะหล่ำปลีแต่ละต้นจะกว้างประมาณ 15-20 ซม. เราจะมีการคำนวณพื้นที่ของแปลงว่ากว้างขนาด 4 x 4 เมตร จะต้องปลูกแถวละ 20 ต้น จำนวน 4 แถว 1 แปลงจะได้ 80 ต้น เราจึงเกิดความมีเหตุผล มีการคิดวิเคราะห์ เมื่อขึ้นแปลงแล้ว เราจะใส่ปุ๋ยหมัก (ปุ๋ยสดที่ทำเอง) ผสมกับมูลวัว อีเอ็ม ของหน่วย หมักซอยสับเพิ่มคุณค่า เพื่อเตรียมแปลง เมื่อลงมือปลูกต้นกล้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก เรามีการบำรุงดูแล โดยการรดน้ำทุกวัน การรดน้ำช่วงเช้าก่อนโรงเรียนเข้า หรือช่วงเย็นหลังโรงเรียนเลิก ช่วงใดช่วงหนึ่ง เกิดการมีภูมิคุ้มกันในตนเอง ระหว่างที่รอให้พืชผักเจริญเติบโต จะบันทึกการเจริญเติบโตของพืชผักไปด้วย ทำให้ได้รู้ถึง ความเจริญเติบโตของผลผลิต และได้เรียนรู้เรื่องข้อมูล สถิติเป็นกิจวัตรทุกวัน เกิดความรู้ รอบคอบ ตามเงื่อนไขและมีคุณธรรม ความรับผิดชอบ ความขยันอดทน โดยสลับสับเปลี่ยนกันไปทำ หรือหากเป็นชั่วโมงเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง มีการวางแผนแบ่งงานกัน บันทึกผล วัดความสูงของพืชผัก (การเจริญเติบโต) ศึกษาเรียนรู้พัฒนาการของพืชผัก เกิดความรู้ทางกระบวนการวิทยาศาสตร์ การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต และมีการใช้เครื่องมือในการเกษตร ต้องระมัดระวังไม่ประมาท ความปลอดภัยของตนเองและของเพื่อน สิ่งที่ตามมาจากกิจกรรมนี้หลายอย่าง ทำให้ผู้จัดทำได้เรียนรู้ชีวิตที่ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข เกิดความรัก ความสามัคคี ความเสียสละจากเพื่อนๆ ที่ได้จัดทำโครงงาน เรื่องการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับหน่วยพืชผักรักษ์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

นักเรียนมีความพึงพอใจต่อโครงงาน เรื่อง การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับหน่วยพืชผักรักษ์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม อยู่ในระดับดีมาก

  • ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ได้รับความรู้และฝึกทักษะการปลูกพืชผักในท้องถิ่นตามฤดูกาล
2. ได้รับความรู้เรื่อง การนำผักแต่ละชนิดมาประกอบเป็นอาหารและนำมาแปรรูปออกจำหน่าย
3. ได้เรียนรู้วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนจามเทวีจากประสบการณ์ตรง
4. นักเรียนมีความพึงพอใจและสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

  • ข้อเสนอแนะ
    • ข้อเสนอแนะทั่วไป

จากการศึกษาเกี่ยวกับการปลูกพืชผักในท้องถิ่นตามฤดูกาลที่เหมาะสม พบว่า พืชผักในอุทยานการศึกษาพืชผักรักษ์ไทย เช่น ผักกะหล่ำปลี ผักกะหล่ำดอก ผักบุ้ง ผักตำลึง ผักปรัง แตงกวา บวบ ผักคะน้า ถั่วฝักยาว ฟักทอง ฟักเขียว ผักกาดทุกชนิด ฯลฯ เป็นที่นิยมของโครงการอาหารกลางวัน ของนักเรียน และคณะครู โรงเรียนเทศบาลจามเทวี ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  • ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป

จากการนำโครงงาน เรื่อง การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับหน่วยพืชผักรักษ์ไทย นักเรียนสามารถนำทักษะนี้ไปใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ และยังได้นำผลผลิตมาแปรรูป ออกจำหน่ายให้กับชุมชน ผู้ปกครอง และหน่วยงานอื่นต่อไป

หนังสืออ้างอิง

  • ศิรินยา.ผักริมรั้ว, กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์วาดศิลป์ จำกัด, 2545.
  • อรุณรักษ์ พ่วงผล. พืชผักสวนครัวเสริมรายได้, กรุงเทพฯ: บริษัท บิ๊กบุ๊คส์ เซนเตอร์, 2543.
  • ศรานนท์ เจริญสุข. ผักสวนครัว, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ส่งเสริมอาชีพธุรกิจ เพชรกะรัด จำกัด.
  • เยาวลักษณ์ อักษร, สุพน ทิมคำ, วิริยะ บุญยะนิวาสน์. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551,กรุงเทพฯ: บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด.
  • คุณประเสริฐ อินต๊ะพิงค์ ,ปราชญ์ชาวบ้าน ชุมชนจามเทวี อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
  • คุณมนัส ปัญญาวงศ์ ,ปราชญ์ชาวบ้าน ชุมชนจามเทวี อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ