โครงการการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ในชุมชนบ้านทะเลนอกเพื่อนำไปสู่การจัดการพลังงานทางเลือกของชุมชนในอนาคต (phase 1)
โครงการการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ในชุมชนบ้านทะเลนอกเพื่อนำไปสู่การจัดการพลังงานทางเลือกของชุมชนในอนาคต (phase 1)
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
การชี้แจงทำความเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการทะเลนอก
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

ชี้ แจงโครงการสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่พิบัติภัยสึนามิ ที่ได้มาพูดคุยแบบคราวๆ กับทีมแกนนำโฮมสเตย์บ้านทะเลนอกไว้แต่จะอธิบายว่าทำไม?ถึงเลือกพื้นที่นี้ เพราะด้วยหลักการและเหตุผลของโครงการที่เน้นในจังหวัดที่ประสบภัยสึนามิซึ่ง ประเทศไทยเรามี 6 จังหวัดที่ประสบภัยสึนามิดังกล่าวตามที่เรารู้กันก็มีจังหวัดพังงา กระบี่ ภูเก็ต ระนอง ตรัง และสตูล ตามเอกสารโครงการที่ได้แจกให้กับทุกคนที่เข้ามาพูดคุยในวันนี้ ซึ่งโครงการนี้ก็ได้รับงบประมาณมาจากธนาคาร ไทยพาณิชย์ซึ่งเป็นแหล่งทุนให้ตัวงบประมาณผ่านมูลนิธิสยามกัมจล


คุณ ณัฐกานต์  ไท้สุวรรณ ได้ชี้แจงโครงการสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่พิบัติภัยสึนามิ  ที่ได้มาพูดคุยแบบคราวๆ กับทีมแกนนำโฮมสเตย์บ้านทะเลนอกไว้แต่จะอธิบายว่าทำไม?ถึงเลือกพื้นที่นี้ เพราะด้วยหลักการและเหตุผลของโครงการที่เน้นในจังหวัดที่ประสบภัยสึนามิซึ่ง ประเทศไทยเรามี  6  จังหวัดที่ประสบภัยสึนามิดังกล่าวตามที่เรารู้กันก็มีจังหวัดพังงา  กระบี่  ภูเก็ต  ระนอง  ตรัง  และสตูล  ตามเอกสารโครงการที่ได้แจกให้กับทุกคนที่เข้ามาพูดคุยในวันนี้ ซึ่งโครงการนี้ก็ได้รับงบประมาณมาจากธนาคาร ไทยพาณิชย์ซึ่งเป็นแหล่งทุนให้ตัวงบประมาณผ่านมูลนิธิสยามกัมจลซึ่งมีศูนย์ ประสานงานวิจัยท้องถิ่นเป็นผู้เขียนโครงการและเป็นผู้ขับเคลื่อนงานใน จังหวัดดังกล่าวซึ่งจังหวัดที่เข้ารับงบประมาณตามโครงการที่ได้เขียนมี เพียง  3  จังหวัดประกอบด้วย ระนอง  ตรัง  และสตูล ส่วนจังหวัดระนองมีพื้นที่ที่จะดำเนินการ  3พื้นที่ได้แก่ ชุมชนบ้านกำพวนขับเคลื่อนในงานกองทุนวันละบาท  ชุมชนบ้านบางกล้วยนอกขับเคลื่อนในงานที่เป็นงานต่อเนื่องคือการหมักน้ำปลา และชุมชนบ้านทะเลนอกอีก1พื้นที่ที่ได้เลือกไว้และได้คุยกับคุณสนธยา  สืบเหตุว่ามองอย่างไรบ้าง
คุณ สนธยา สืบเหตุ  ได้เสนอให้คุยกับทางกลุ่มโฮมสเตย์ เพราะเห็นถึงการดำเนินกิจกิจกรรมของทีมแกนนำ  หรือว่าสมาชิกคนอื่นคิดอย่างไร?ที่ได้ฟังมาทั้งหมด 
  คุณดรุณี  ภักดี  ได้อธิบายถึงสิ่งที่อยากพัฒนาการที่กลุ่มโฮมสเตย์  อาสามาทำงานพัฒนาชุมชนก็เห็นถึงพลังของคนทำงานทั้งทีม  ถึงแม้มีความท้อแท้ที่ได้สูญเสียแกนนำของกลุ่มโฮมสเตย์  แต่ด้วยหัวหน้าโครงการเองและแกนนำคนอื่นที่อยากมีความรู้  และอยากที่จะทำโครงการนี้  จึงได้สะท้อนให้ทีมพี่เลี้ยง  อาสาสมัครสึนามิ  ทราบว่าที่ทำเพราะอยากเห็นการพัฒนาจริงๆ  แล้วสร้างให้คนในชุมชนได้เรียนรู้ไปด้วยกัน  แล้วเกิดการพัฒนามากกว่านี้  ที่ไม่ใช้เฉพาะแต่โฮมสเตย์เพียงกลุ่มเดียว  แต่ได้ประโยชน์ทั้งชุมชนบ้านทะเลนอก  จึงได้พูดคุยกับทางแกนนำกลุ่มโฮมสเตย์บางส่วนแล้วจึงเรียกสมาชิกทุกคนเข้ามา ประชุม หารือพร้อมกันในคืนนี้ว่าจะทำหรือไม่ทำ 
สมาชิกตอบว่าทำและเป็นสิ่งที่ดีที่ทางแจงได้เลือกพื้นที่นี้ไว้ในตัวโครงการนี้
สิ่งที่ทางกลุ่มอยากพัฒนาคือ
  1) ภาษาการสื่อสารกับแขก  เพราะการสื่อสารจะเป็นรูปแบบของภาษาอังกฤษ  จึงทำให้การสื่อสารยากลำบากระหว่างไกด์กับแขกนักท่องเที่ยว  และเจ้าของบ้านกับแขกนักท่องเที่ยว
2 )ช่องทางการตลาดมีการประชาสัมพันธ์แต่แขกยังซื้อทัวร์การท่องเที่ยว ผ่านบริษัทและเครือข่ายแต่แขกจะไม่ได้ซื้อจากกลุ่มโฮมสเตย์โดยตรง
3 )บ้านพักที่มีการเสื่อมตามกาลเวลาและไม่มีการซ่อมแซมและต่อเติมจึงทำให้การรับรองแขกเข้าพักได้ไม่เต็มที่
  4) เรือพาหนะนำเที่ยวที่ยังไม่มีอำนวยความสะดวกในการบริการต่างๆเช่นที่นั่งเรือ เส้นทางการเดินป่าชายเลน เป็นต้น
5) องค์ความรู้รูปแบบการบริการที่ใหม่ๆ เช่นการตอนรับ มารยาท อัธยาศัยต่างๆ
6 )กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อศึกษาดูงานที่ทำเป็นฐานการเรียนรู้แบบชัดเจนและมีข้อมูลในฐานนั้นๆ 
แกนนำกลุ่มท่องเทียวโฮมสเตย์
1. นางสาว ดรุณี ภักดี
2. นาย เอกรัฐ เชื่องยาง
3. นาย ก้อดีด  นิ่มนวล
4. นาง สนธยา สืบเหตุ
5. นางวรยา แขกเต้

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

พบว่าการทำความเข้าใจชุมชนในเรื่องของโครงการ ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินงานของชมรมท่องเที่ยวโฮมเสตย์บ้านทะเลนอก เห็นแกนนำ 4-5 คนที่เป็นแกนหลักในการเคลื่อนงาน ทั้งนี้ต้องชวนกันสรุปบทเรียนการทำงานของชุมชนต่อไป

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ