โครงการการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ในชุมชนบ้านทะเลนอกเพื่อนำไปสู่การจัดการพลังงานทางเลือกของชุมชนในอนาคต (phase 1)
โครงการการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ในชุมชนบ้านทะเลนอกเพื่อนำไปสู่การจัดการพลังงานทางเลือกของชุมชนในอนาคต (phase 1)
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
ทดลองกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ วันที่ 26 ธันวาคม 2556
ความเป็นมา วัตถุประสงค์
  • เพื่อทดลองนำร่อง สร้างบ่อหมักก๊าซชีวภาพ 2 หลังคาเรือน

1) บ้านนายเอกรัฐ เชื่องยาง  

2) บ้านนายเอกชัย วิจิตร

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

u0e41u0e1au0e1au0e1au0e48u0e2du0e2bu0e21u0e31u0e01u0e01u0e4au0e32u0e0bu0e0au0e35u0e27u0e20u0e32u0e1e.docx จากการดำเนินงานก่อสร้างบ่อหมักก๊าซชีวภาพ โดยได้นำร่อง 2 หลัง 1) บ้านนายเอกรัฐ เชื่องยาง 2) บ้านนายเอกชัย วิจิตรได้ดำเนินการก่อสร้างบ่อหมักมูลสัตว์ จะสร้างแบบก่ออิฐถือปูนหรือเป็นคอนกรีตที่ได้ ความลึกของขอบบ่ออยู่ระหว่าง 3-6 เมตร ความกว้างของขอบบ่ออยู่ระหว่าง 1.20-6 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณมูลสัตว์ที่จะกำจัดแต่ละวัน และปริมาณแก๊สที่ต้องการใช้ บ่อหมักมูลสัตว์ควรจะสร้างให้มีปริมาตรเป็น 30 ถึง 40 เท่าของปริมาณมูลสัตว์ ที่จะกำจัดแต่ละวัน เมื่อผสมกับน้ำแล้ว ตัวถังจะมีท่อซีเมนต์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.80 เมตร จำนวน 2 ท่อ เชื่อมติดอยู่กับท่อ PVC ขนาด 4 นิ้ว ทั้ง 2 ด้านท่อหนึ่งใช้สำหรับเติมมูลสัตว์และอีกท่อหนึ่งใช้สำหรับระบายกากมูลสัตว์ออก ช่องเติมมูลสัตว์หรือบ่อเติม หล่อเป็นคอนกรีตหรืออิฐถือปูนที่ก้นบ่อ มีรูเชื่อมติดกับตัวถังแต่ละด้าน ให้ปลายท่อทะลุเข้าไปในบ่อ ท่อหนึ่งใช้สำหรับเติมมูลสัตว์และอีกท่อหนึ่งใช้สำหรับระบายกากมูลสัตว์ออก ที่ระบายมูลหรือบ่อล้น ทำเป็นลานกรองทราย ชั้นล่างเป็นชั้นกรวดหนา 20 ซม. ชั้นบนเป็นชั้นทรายหนา 30 ซม. เพื่อรับกากมูลสัตว์ที่ย่อยสลายแล้วและไหลออกมาจากท่อระบายมูลสัตว์ ฝาครอบแก๊ส ฝาครอบแก๊สนี้จะทำด้วยเหล็กบ้างหรือสังกะสีหนาหรือวัสดุอื่นๆ ที่สามารถเก็บแก๊สที่เกิดขึ้นได้ ด้านบนจะมีรูเชื่อมติดไว้สำหรับต่อท่อแก๊สไปใช้ ก่อนใช้ควรทาหรือเคลือบวัสดุเพื่อกันสนิม เพิ่มความแข็งแรงและอายุการใช้งาน

การเริ่มต้นเดินระบบผลิตแก๊สชีวภาพ เมื่อเริ่มดำเนินการเติมมูลสัตว์ครั้งแรกจะต้องเติม มูลสัตว์กับน้ำในอัตราส่วน 1:1 คนให้เข้กันดี ในบ่อหมัก ถ้าเป็นบ่อมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.20 เมตร จะใช้มูลสัตว์จำนวน 40 ปี๊บ ส่วนการเติมมูลสัตว์ในครั้งต่อไป เพื่อเป็นการไม่ให้กระทบกระเทือนต่อระบบการย่อยสลาย พวกอินทรีย์สารของเชื้อจุลินทรีย์ ควรเติมมูลสัตว์ครั้งต่อไปจากที่ใส่มูลสัตว์ครั้งแรกแล้ว ประมาณ 15-20 วัน ใส่วันละ 2 ปี๊บ ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณมูลสัตว์ที่ต้องการกำจัดและแก๊สที่ต้องการใช้ ระยะการเกิดแก๊ส เมื่อเติมมูลสัตว์ผสมน้ำลงไปในถังหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจนแล้วพวกจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการออกซิเจนจากอากาศจะเริ่มย่อยสลายอินทรีย์สารในมูลสัตว์และจะเริ่มปล่อยแก๊สติดไฟออกมา ซึ่งจะเริ่มมีแก๊สในระยะ 3-7วัน ซึ่งการย่อยสลายและจะเริ่มปล่อยแก๊สติดไฟออกมา ซึ่งจะเริ่มมีแก๊สในระยะ 3-7 วัน ซึ่งการย่อยสลายนี้ จะมีเรื่อยๆจน อินทรีย์สารในมูลสัตว์หมด จำเป็นต้องเติมมูลสัตว์ใหม่ลงไปอีก

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ