โครงการการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ในชุมชนบ้านทะเลนอกเพื่อนำไปสู่การจัดการพลังงานทางเลือกของชุมชนในอนาคต (phase 1)
โครงการการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ในชุมชนบ้านทะเลนอกเพื่อนำไปสู่การจัดการพลังงานทางเลือกของชุมชนในอนาคต (phase 1)
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สำรวจข้อมูลความรู้กระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ จ.ระนอง วันที่ 26 สิงหาคม 2556 ณ มงคลฟาร์ม ตำบลเชี่ยวเหลียง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาความรู้กระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพจากภูมิปัญญาท้องถิ่น

2. ศึกษาผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านพลังงานในพื้นที่

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

พลังงาน จ. ระนอง คุณทองรัตน์ วรรณนุช ได้พูดในเรื่องของขนาดบ่อของที่ มงคลฟาร์ม ทำอยู่ก็จะเป็นฟาร์มหมูขนาดเล็กที่ทะเลนอกก็ใช้ได้เหมือนกันก็ใช้วิธีการเติมมูลหมูผสมน้ำลงไปในบ่อหมักแล้วก็จะเกิดเป็นก๊าซชีวภาพที่ใช้ในการหุงต้มในครัวเรือน ซึ่งที่นี่เริ่มใช้ได้ประมาณเกือบปีแล้ว

คุณทองรัตน์ วรรณนุช ได้พูดถึง ในการทำบ่อหมักก๊าซชีวภาพมีอยู่หลายวิธี ซึ่งก็จะมีต้นทุนที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาทำการหมักก๊าซชีวภาพ ยกตัวอย่าง ให้ฟัง เช่น

  • 1.แบบไฟเบอร์ ต้องสั่งหล่อ ราคาจะสูง แต่ถ้าทำเสร็จแล้ว อายุการใช้งานจะยาวนาน
  • 2.แบบถุงพีวีซี ราคาติดตั้งจะไม่สูง การติดตั้งก็ง่าย แต่ก็มีข้อเสีย คือ ต้องซ่อมบำรุงรักษาบ่อย ๆ รั่วง่าย ชุดละ 7,000 บาท การเติมมูล หรือศักยภาพแก๊สที่ออกมาจะเหมือนกัน
  • 3.แบบโอ่ง ต่อท่อเติม ท่อล้น ชุดละ 5,000 – 6,000 บาท ส่วนการติดตั้งจะสูงกว่าท่อพีวีซี การติดตั้งจะยากกว่าถุงพีวีซี

คุณทองรัตน์ วรรณนุช บอกว่าในการติดตั้งบ่อ ต้องให้เหมาะสมกับพื้นที่ ส่วนของมงคลฟาร์ม จะใช้รูปแบบไฟเบอร์กลาส เป็นรูปโดมการติดตั้งค่อนข้างยาก ต้องขุดลงไปจากพื้นดิน 2 เมตร แล้วเทคอนกรีต ค่อยมาต่อท่อน้ำล้นทีหลัง วิธีนี้อายุการใช้งานยาวนาน การเกิดแก๊สจะดีมากพลังงานกล่าว

คุณทองรัตน์ วรรณนุช กล่าวว่า การล้นของกาก ต้องคอยตักออก เพราะถ้าไม่ตักออกจะทำให้ท่อตัน ในการใส่มูลประมาณ 2 อาทิตย์ก็จะใช้ได้ (กากที่ออกมาจะไม่มีกลิ่น) และยังบอกอีกว่า ในการเติมมูลครั้งแรก จะมีอากาศ จะจุดไม่ค่อยติด แนะนำให้ถ้าเกิดแก๊สครั้งแรกให้ปล่อยออกให้หมดก่อน แล้วปิดระบบ อีก2 – 3 วัน ค่อยเปิดใช้เพื่อไล่อากาศออกให้หมดก่อน

คุณทองรัตน์ วรรณนุช ได้พูดว่า ถ้าทางโครงการจะเอาแบบถูก ก็จะเป็น แบบโอ่ง และแบบถุงพีวีซีหรือจะเอาแบบวงบ่อก็ได้ ถ้าแบบโอ่ง ให้ใช่ 1 หรือ 2 ลูก ก็ได้ นำมาประยุกต์ใช้ ส่วนการใช้ถังสีฟ้า หรือถัง 22 ลิตร ไม่แนะนำให้ใช้ จุดอ่อนก็คือ ข้อต่อ จะรั่วง่าย ศักยภาพในการเกิดแก๊สไม่ดี ส่วนแบบโอ่ง จะใช้วิธีแจะเข้าไปเชื่อมผสานให้เป็นเนื้อเดียวกันข้อต่อยาด้วยซีเมนต์ฝังอยู่ในดิน มันจะรั่วยาก ส่วนจุดอ่อน ก็คือ ข้อต่อรั่ว ก็จะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายทำให้ไม่อยากทำ

คุณณัฐกานต์ ไท้สุวรรณ พี่เลี่ยง ได้พูดถึงบ้านทะเลนอกว่า ให้เลือกตามความเหมาะสม แต่ถ้าเลือกที่จะทำแบบใหญ่ จะต้องมีการจัดการบริหารที่ดี

คุณณัฐกานต์ ไท้สุวรรณ พี่เลี่ยงได้ถามในเรื่อง ถ้าทำแบบครัวเรือนทีมีวิธีกรจัดการที่ดี จะมีแบบไหนบ้าง

คุณทองรัตน์ วรรณนุช บอกว่าถ้าเป็นแบบโอ่งจะใช้พื้นที่น้อย ศักยภาพการใช้แก๊สจะสูง ต้องมีถังพักแก๊ส หรืออาจจะเป็นถัง 22 ลิตรก็ได้เก็บแก็สได้มาก

ผอ.โรงเรียนบ้านนา ได้ถามว่า จะเกิดอันตรายจากการระเบิดไหม

คุณทองรัตน์ วรรณนุช ตอบว่า แรงดันแก๊สไม่เยอะ ยกตัวอย่างให้ดู แก๊สหุงต้มที่เราใช้ในครัวเรือนความดันอยู่ที่ 90 ปอน ต่อตารางนิ้ว แต่แก๊สที่เราทำนี้ แรงดันแค่ 15 ปอนน้อยกว่า 6 เท่าการระเบิดจะน้อยมาก

คุณทองรัตน์ วรรณนุช แนะนำถ้ามีพื้นที่น้อยก็ให้ใช้แบบวงท่อ ใช้เมตร 20 ใช้ 4 วง ฝังลงไปในดิน 3 ลูก ให้โผล่พ้นดิน 1 ลูก ขุดลงไปประมาณเมตร 50 ต้องฉาบให้ดีอย่าให้รั่ว

อันดามันดิฟคัฟเฟอร์รี่ คุณณัฐยา เล็กธีร์ ได้ถามในเรื่อง การใช้พลังงานลม จะได้ไหม เพราะบ้านทะเลนอกหน้าชายหาดมีลมจัด

คุณทองรัตน์ วรรณนุช ตอบว่า เร้าองเช็คพลังงานความเร็วลมก่อน ถ้าความเร็วลม 5 เมตร ต่อวินทีก็ทำได้ คุณทองรัตน์ วรรณนุช ยังกล่าวต่อไปว่า พลังงานลมมีศักยภาพ ต่ำแค่ 16 % พลังงานน้ำจะมีศักยภาพสูงกว่า สุดท้าย คุณทองรัตน์ วรรณนุช พูดว่าในปี 2557นี้ แผนผังพลังงานทดแทน มีงบทำทั้งตำบล ชุมชน 400,000 บาท ให้เข้าร่วมแผนชุมชนมาร่วมงานอบรมให้ความรู้ให้คนต่อยอดไปสู่โรงเรียน ( ต่อยอดตัวแทนคนที่จะทำ)

ทางคุณมงคล เจ้าของฟาร์ม ได้พาไปดูสถานที่ หมักก๊าซชีวภาพ ที่นี่จะใช้วิธี การขุดหลุมฝังไฟเบอร์กลาส ลงไปในดิน และกลบให้มิด ซึ่งจะมีบ่อล้นอีกด้านส่วนวิธีการเติมมูลก็จะใช้วิธีการล้างคอกหมูและไหลลงไปในบ่อหมัก ซึ่งทาง คุณมงคล เจ้าของฟาร์มบอกว่าต้องหา วิธีจัดการที่ง่าย ส่วนกากที่ล้นออกมายังสามารถนำมาใส่ต้นไม้ได้อีก

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ