กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
เยี่ยมโรงเรียนศูนย์ ปศพพ. เทศบาลวัดป่าเรไร จ.ร้อยเอ็ด
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

วัน อังคารที่ 24 กรกฎาคม 2555 ทีมขับเคลื่อน ปศพพ.อีสานตอนบน ถือโอกาสเวลาหลังสอนตอนเช้าและก่อนจะเข้ามาสอนช่วงบ่าย ออกเดินสายเรียนรู้จากโรงเรียนศูนย์ ปศพพ. โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร ที่ใครๆ ก็กล่าวถึง.....เมื่อได้เห็นแล้วก็ทึ่งจริงๆ ครับ...

ตั้งแต่ก้าวแรกที่วางลงบนพื้นที่โรงเรียน ผมเห็น "ความสุข" "ความสนุก" ของนักเรียน ผมไมเห็นครูตระโกนห้ามไม่ให้เล่น (เหมือ นกับตอนที่ผมเป็นเด็กๆ เท่าพวกเขาที่ครูจะคอยตระโกนบอกว่าอย่าเล่นอย่างนั้น อย่างนี้ เดี๋ยวจะมีอันตราย เดี๋ยวจะทำลายข้าวของบ้าง) เด็กๆ ทั้งหมด (ผมคิดว่าทั้งหมด เพราะผมพยายามมองไปรอบๆ ว่า มีใครที่กำลังทุกข์ใจอยู่บ้างหรือไม่) กำลังเล่นกันอย่างสนุกสนาน โดยเฉพาะเด็กๆ อนุบาล ที่เอยปากทักทาย "สวัสดีคะ" กับผมอย่างไม่เกรงกลัวตระหนกตื่นใดๆ แต่สิ่งนี้ผมไม่สงสัยนัก เพราะทราบเบื้องต้นว่าโรงเรียนมีแขกหรือคนแปลกมาดูงานบ่อย แต่ที่ประทับใจมาก็ตอนเจอแม่หนูน้อยที่ยกสองนิ้วยิ้มแฉ่ง แบ่งบันความสุขมาให้ผู้อ่าน ผ่านหน้ากล้องผมนี่แหละครับ... (ไม่รู้เหมือนกันว่าหนู่ชื่ออะไร)

ผมเห็นกิจกรรมที่เด็กๆ กำลังทำกันเอง โดยไม่มีครูคอยกำกับหรือคอยจับมือทำหลากหลายกิจกรรม

  1. กิจกรรมทำขนม จากชมรมขนมไทย โดยจะสลับกันไปทั้งชนิดขนมและนักเรียนที่สนใจทำในแต่ละอาทิตย์
  2. กิจกรรม ทำน้ำหมักปู๋ยชีวภาพจากเศษอาหาร ที่ผลงานที่วางเรียงรายไว้ ก็สรุปได้ว่าทำมานาน และมีขวดใหม่เก่า ก็สามารถเล่าได้ว่าทำมาอย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญเด็กที่มานำเสนอก็ตอบคำถามได้อย่างชัดเจน คล่องแคล่ว เหมาะสมแล้วครับ ที่เป็นเด็กแกนนำ...
  3. กิจกรรม ทำธนาคารขยะ ที่ผมก็ "อ้อ" เหมือนกันครับ ว่า เขาทำอย่างนี้นี่เอง แม้ว่าจะไปเวลาไม่เหมาะนัก แต่ผมก็ประจักษ์ว่า คำว่า "ร่องรอยแห่งกระบวนการเรียนรู้" ที่ อาจารย์ศศินีย์ พูดถึง เป็นอย่างนี้นี่เอง ... ประเด็นสำคัญคือความครบถ้วนเหมือนจริง ธนาคารทั่วไปที่เราเข้าใจกัน น่าจะเขียนให้เต็มว่า "ธนาคารเงิน" เพราะที่ "ธนาคารขยะ" เขามีทุกอย่างเหมือนธนาคารเงินมี มีทั้งบุคลากร มีทั้งองค์ความรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มีทั้งสถานที่เก็บออมไว้ให้ มีทั้งนำเอาออกไปขาย กลับมาเป็นรายได้เป็นดอกเบี้ย..... และที่สำคัญ... ผมเห็นกระบวนการเรียนรู้ ที่ครูที่นี่ออกแบบได้แยบยลจริงๆ (นี่ผมไม่เห็นไม่ได้ถามเด็กเลยนะครับ แต่ผมว่าผมจับประเด็นที่เขียนไว้นี้ไม่ผิดแน่)
  4. กิจกรรม ซ้อมดนตรี ที่โรงเรียนเศรษฐีเขามีกัน ผมหมายถึงอุปกรณ์ครบครัน เอาไว้ซ้อมหลังเวลาอาหารกลางวัน ในห้องที่เก็บความสนั่นของเสียงไว้ได้พอสมควร
  5. กิจกรรม แปรงฟันกันทั้งโรงเรียน มีคณะกรรมการนักเรียน ที่รับหน้าที่เป็นเวรเปิดเพลงเป็นสัญญาณว่า "พวกเราจะมาแปรงฟันกัน" พอได้ยินเสียงเพลง ทุกคนก็มาจริงๆ ครับ ตั้งแต่ ม.3 จนถึง อนุบาล รวมถึงนักเรียนพิการสายตา ก็เดินออกมาพร้อมครูพี่เลี้ยง แปรงฟันร่วมกันอย่างพร้อมเพียงๆ .... ผมไม่แปลกใจนักเมื่อ สังเกตเห็นฟันของนักเรียนแข็งแรง ขาวสะอาดกันเกือบทั้งโรงเรียน...
  6. กิจกรรม ประกอบเพลงของพ่อ หลังจากแปรงฟัน นักเรียนทั้งสามโรงเรียน (โรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่) จะเดินขึ้นไปรวมกันใต้อาคารเรียน มีนักเรียนกลุ่มหนึ่ง ที่ "ถึงคิว" ของแถว พวกเขาจะออกไปยืนเป็นแนวหน้ากระดาน ประสานมือกัน โยกขยับตัวเอง เข้ากับจังหวะเพลงของพ่อ.... ผมเห็นความสุข โดยเฉพาะกับนักเรียนอนุบาล
  7. กิจกรรมสัมผัสสมาธิ ที่นักเรียนชั้น ม.ต้น ทุกคนทำก่อนขึ้นเรียนคาบบ่าย.... ผมว่า นี่แหละ ปัจจัยอันหนึ่ง ที่ทุกโรงเรียนควรทำ ....

ฯลฯ

ผมเห็นการบริหารจัดการพื้นที่แบบ ปศพพ.

ผมเห็นห้องเรียนแห่งความสุข

ผม เห็นอีกสิ่ง ที่ผมในฐานนะ กระบวนกร ต้องหา "กระบวนการ" และ "กระบวนทันศ์" ที่ทำให้ "โรงเรียนวัด" อย่างที่นี่ มีดีจนได้เป็นศูนย์ ปศพพ.

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ