กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

กิจกรรมที่  2  :  การพัฒนาหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง

 

1.  วัตถุประสงค์

  1.1  เพื่อให้ครูโรงเรียนสนามบิน  ผู้บริหารและโรงเรียนเครือข่าย  มีความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญา  หลักปฏิบัติ  แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

  1.2  เพื่อให้ครูมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี  ด้วยการน้อมเกล้าน้อยกระหม่อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการสู่ การเรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ในทุกช่วงชั้น

 

2.  เป้าหมาย

  2.1  เชิงปริมาณ

  2.1.1  ครู  ผู้บริหารโรงเรียนสนามบินและโรงเรียนเครือข่าย  จำนวน  176 คน มีความรู้ ความเข้าใจหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียง

  2.1.2  แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 

  2.2  เชิงคุณภาพ

  2.2.1  ครูโรงเรียนสนามบิน ผู้บริหารและโรงเรียนเครือข่าย มีความรู้ความเข้าใจหลัก ปรัชญา หลักปฏิบัติ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 

  2.2.2  ครูมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี  ด้วยการน้อมเกล้าน้อยกระหม่อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการสู่ การเรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ในทุกช่วงชั้น

 

3.  ความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  3.1  ความพอประมาณ  ครู  ผู้บริหาร  และโรงเรียนเครือข่าย  รู้จักความพอดี  ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป  โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น  ดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง

  3.2  ความมีเหตุผล  เข้าใจและรู้จักตัดสินใจ  โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

  3.3  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  มีการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น  โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

  3.4  มีความรู้  ในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้เชื่อมโยงกับหลักวิชาของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ อย่างระมัดระวัง

  3.5  มีคุณธรรม  ที่จะต้องเสริมสร้างในการดำเนินชีวิตของทุกคน  ได้แก่  ความซื่อสัตย์  สุจริต  มีความอดทน  มีความพากเพียร  ประหยัด  ใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหา  ไม่โลภ  และไม่ตระหนี่

 

4.  รายละเอียดกิจกรรม / การปฏิบัติงาน

  การประชุมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง” ระหว่างวันที่  30  พฤศจิกายน – 1  ธันวาคม  2550 ณ  ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์ขอนแก่นและโรงเรียนสนามบิน
  1. การบรรยาย เรื่อง  “การเรียนการสอนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา” โดย ดร.ปรียานุช  พิบูลสราวุธ (หัวหน้าโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียงสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์)

  2. การบรรยายเรื่อง “การบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน” โดย  ดร.ปรียานุช  พิบูลสราวุธ, อาจารย์ระวิวรรณ  ภาคพรต  และคณะ

  3. การเสวนาเรื่อง “การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา” โดยผู้บริหารโรงเรียนและครู  (นายบัวเรียน  นนทะลี,  นายอารมณ์  ศรีเชียงสา)

  4. ชี้แจงการบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน  โดยอาจารย์ระวิวรรณ  ภาคพรต  และคณะ

  5. ประชุมกลุ่มย่อยเขียนแผนฯ “การบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน”  ที่  อาคาร 3  โดย  วิทยากรแกนนำเครือข่าย

  6.  ตัวแทนกลุ่มนำเสนอ แผนบูรณาการ ที่ห้องประชุม อาคาร 3  กลุ่มละ  10  นาที

5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  5.1  ครูโรงเรียนสนามบิน  ผู้บริหาร และโรงเรียนเครือข่าย มีความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญา  หลักปฏิบัติ  ตามแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

 5.2  ครูน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการสู่การ เรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ของทุกช่วงชั้น

 5.3  ครูได้พัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้โดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการสู่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

6.  ผู้รับผิดชอบโครงการ

  นางละออ  ผาน้อย    นางประพิศ  หนูอักษร     นายสุธรรม  เทพชาลี 

  นางบุญเอื้อ  เหล่าชัย   นางอภัยวัลย์  กึกก้อง  นางอุบลรัตน์  หาญพานิช

 

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน
  1. ด้านสภาวะแวดล้อม  พบว่า  ผลการประเมินอยู่ในระดับ  มากที่สุด  มีค่าเฉลี่ย  เท่ากับ  4.61
  2. ด้านปัจจัย  พบว่า  ผลการประเมินอยู่ในระดับ  มาก  มีค่าเฉลี่ย  เท่ากับ  4.41
  3. ด้านกระบวนการ  พบว่า  ผลการประเมินอยู่ในระดับ  มากที่สุด  มีค่าเฉลี่ย  เท่ากับ  4.64
  4. ด้านผลผลิต  พบว่า  ผลการประเมินอยู่ในระดับ  มาก  มีค่าเฉลี่ย  เท่ากับ  4.46  โดยภาพรวมอยู่ในระดับ  “มากที่สุด”  ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ  4.53

อภิปรายผล

  กิจกรรมพัฒนาหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง  ด้านสภาวะ-แวดล้อม และด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านปัจจัยและผลผลิต อยู่ในระดับมาก สะท้อนให้เห็นว่า มีการวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย โอกาสและอุปสรรค เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดเป้าหมาย และขั้นตอนในการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายได้ดีมาก แต่ต้องแก้ไขปรับปรุงด้านปัจจัย  ในด้านความเหมาะสมของบุคลากรที่ร่วมดำเนินการ  และเพิ่มงบประมาณสนับสนุนให้เพียงพอ

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ