กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
ค่ายนักเรียนผู้นำวิถีธรรมนำชีวิตสู่เศรษฐกิจพอเพียง
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

กิจกรรมที่  4 :  ค่ายนักเรียนผู้นำวิถีธรรมนำชีวิตสู่เศรษฐกิจพอเพียง


1.  วัตถุประสงค์

  1.1  เพื่อให้นักเรียนผู้นำมีความรู้ความเข้าใจในวิถีทางตามแนวพระราชดำริ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในเรื่อง “เศรษฐกิจที่พอเพียง”  รวมถึงการดำเนินตามแนวทางขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเรื่อง  อัตตาหิ  อัตตาโนนาโถ (ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน)

หลักอริยสัจสี่  หลักอิทธิบาท 4  มาเป็นหัวใจในการดำรงชีวิต

  1.2  เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาและขยายเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง

  1.3  เพื่อให้นักเรียนผู้นำมีความเคารพ และภาคภูมิใจต่อบุคคลในชุมชน

  1.4  เพื่อกระตุ้นให้เรียนรู้  เกิดการสร้างงานจากการเรียนรู้  โดยขยายผลการเรียนรู้และนำเสนอในรูปสื่อ  งานเขียน  หรือสิ่งพิมพ์

  1.5  เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจในการ “หาวิธีการช่วยครอบครัวลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้  และอุดรอยรั่วของครอบครัว”  และร่วมกันจัดทำโครงการหรือแผนงานต่อยอดต่อไป

2.  เป้าหมาย

  2.1  เชิงปริมาณ

  2.1.1  ผู้นำนักเรียนวิถีธรรม

   ระดับชั้น ป.3 จำนวน 8 ห้อง ๆ ละ 2 คน  รวม 16 คน

   ชั้น ป.4  จำนวน 8 ห้อง ๆ ละ 2 คน  รวม 16  คน

   ชั้น ป.5  จำนวน 9 ห้อง ๆ ละ 2 คน   รวม 18  คน

   ชั้น ป.6  จำนวน 9 ห้อง ๆ ละ 2 คน  รวม 18  คน

   ชั้น ม.1  จำนวน 4 ห้อง ๆ ละ 2 คน   รวม  8  คน

   ชั้น ม.2  จำนวน 5 ห้อง ๆ ละ 3 คน  รวม 15  คน

   ชั้น ม.3  จำนวน 5 ห้อง    รวม  9  คน

  2.1.2 ครูผู้ควบคุม  จำนวน  5  คน

  2.1.3 ผลงานจากการเรียนรู้ของผู้นำนักเรียนที่นำเสนอในรูปสื่อ  งานเขียน  งานพิมพ์

  2.1.4 โครงการหรือแผนงานของผู้นำนักเรียนเกี่ยวกับ “วิธีการช่วยครอบครัวลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้  และอุดรอยรั่วของครอบครัว”

  2.2 เชิงคุณภาพ

  2.2.1 นักเรียนผู้นำมีความรู้ความเข้าใจแนวทางตามแนวพระราชดำริ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในเรื่อง “เศรษฐกิจที่พอเพียง”  รวมถึงการดำเนินตามแนวทางขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเรื่อง  อัตตาหิ  อัตตาโนนาโถ (ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน)  หลักอริยสัจสี่  หลักอิทธิบาท 4  มาเป็นหัวใจในการดำรงชีวิต

  2.2.2 นักเรียนผู้นำมีความเคารพและภาคภูมิใจต่อบุคคลในชุมชน

  2.2.3 นักเรียนผู้นำมีการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและขยายเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน

  2.2.4 นักเรียนผู้นำเกิดการเรียนรู้  โดยขยายผลการเรียนรู้ โดยนำเสนอในรูปสื่อ  งานเขียน  หรือสิ่งพิมพ์เผยแพร่  ประชาสัมพันธ์

  2.2.5 นักเรียนผู้นำเกิดแรงจูงใจในการพานักเรียนเครือข่าย “วิธีการช่วยครอบครัวลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้  และอุดรอยรั่วของครอบครัว” และร่วมกันจัดทำโครงการหรือแผนงานต่อยอดต่อไป

3.  ความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  ให้นักเรียนผู้นำได้มีความรู้จากบุคคลต้นแบบในด้าน

  3.1  ความพอประมาณ  ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น  เช่น  การผลิตและบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

  3.2  ความมีเหตุผล  หมายถึง  การตัดสินใจเกี่ยวกับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการ กระทำนั้น ๆ  อย่างรอบคอบ

  3.3  การมีภูมิคุ้มกัน  หมายถึง  การเตรียมตัวให้พร้อมกับผลกระทบ และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

  3.4  ความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม  ความสามัคคี

4.  รายละเอียดกิจกรรม 

  1.  ครูประจำชั้นระดับ ป.3 – ม.3  ทุกห้องคัดเลือกตัวแทนตามที่กำหนดข้างต้น และส่งรายชื่อให้กับคณะกรรมการผู้รับผิดชอบ

  2.  นำนักเรียนผู้นำคุณธรรมเข้าค่าย ที่ “บ้านดงบัง” ตำบลคอนฉิม  อำเภอหนองแวง  จังหวัดขอนแก่น  เป็นหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลจากตัวเมืองขอนแก่นเกือบ  80  กิโลเมตร

  3.  นักเรียนเรียนรู้วิถีเดินทางตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวฯในเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” รวมถึงการดำเนินตามแนวทางขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเรื่อง อัตตาหิ  อัตตาโนนาโถ (ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน)  หลักอริยสัจสี่  หลักอิทธิบาท 4 มาเป็น  หัวใจในการดำรงชีวิต จากการดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้เกษตรกรรมแบบผสมผสาน ที่เรียกว่า  “มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาไทอีสานคืนถิ่น” ของ บุญเต็ม  ชัยลา  ผู้ใหญ่บ้านบ้านดงบัง  ซึ่งถือเป็น “ปราชญ์ชาวบ้าน” คนหนึ่ง ในด้านการพัฒนาเกษตรกรรมแบบผสมผสาน  บุญเต็มใช้พื้นที่ของตนเองประมาณ  11  ไร่  ก่อตั้งเป็นศูนย์การเรียน

  4.  นักเรียนวิเคราะห์  วิจารณ์  การดำรงชีวิตของพ่อบุญเต็ม  ชัยลา  ในประเด็นต่อไปนี้

  -  ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร

  -  การดำเนินตามแนวทางขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเรื่อง อัตตาหิ อัตตาโนนาโถ (ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน), หลักอริยสัจสี่  และหลักอิทธิบาท 4  อย่างไร

  5.  นักเรียนร่วมกันทำแผนงานหรือแนวทางในการช่วยครอบครัวลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และอุดรอยรั่วให้กับครอบครัว

  6.  นักเรียนผู้นำสร้างสื่อ  งานเขียน  ในรูปเอกสาร  บทความร่วมกัน เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

5.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1.  นักเรียนผู้นำมีความรู้ความเข้าใจการดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯในเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” รวมถึงการดำเนินตามแนวทางขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเรื่อง อัตตาหิ  อัตตาโนนาโถ (ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน) , หลักอริยสัจสี่  หลักอิทธิบาท 4  มาเป็นหัวใจในการดำรงชีวิต

  2.  ได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาและได้แนวทางในการขยายเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง

  3.  นักเรียนผู้นำมีความเคารพและภาคภูมิใจต่อบุคคลในชุมชน

  4.  นักเรียนผู้นำได้ขยายผลการเรียนรู้ในรูปสื่อ  งานเขียน  และสิ่งพิมพ์

  5.  นักเรียนผู้นำเกิดแรงจูงใจในการ “หาวิธีการช่วยครอบครัวลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และอุดรอยรั่วของครอบครัว” และร่วมกันจัดทำโครงการหรือแผนงานต่อยอดต่อไป

6.  ผู้รับผิดชอบ

  นางวณานิภา  บุญสวัสดิ์กุลชัย  นายธีร  โฆษณสันติ  นางพวงเพชร  อาศิรวัจน์

 

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน
  1. ด้านสภาวะแวดล้อม  พบว่า  ผลการประเมินอยู่ในระดับ  มากที่สุด  มีค่าเฉลี่ย  เท่ากับ  4.56
  2. ด้านปัจจัย  พบว่า  ผลการประเมินอยู่ในระดับ  มากที่สุด  มีค่าเฉลี่ย  เท่ากับ  4.56
  3. ด้านกระบวนการ  พบว่า  ผลการประเมินอยู่ในระดับ  มากที่สุด  มีค่าเฉลี่ย  เท่ากับ  4.52
  4. ด้านผลผลิต พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.51  โดยภาพรวมอยู่ในระดับ  “มากที่สุด”  ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ  4.54

อภิปรายผล

  กิจกรรมค่ายผู้นำนักเรียนวิถีธรรมนำชีวิตสู่เศรษฐกิจพอเพียง  มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน สะท้อนให้เห็นว่า ในการดำเนินกิจกรรมด้านนี้มีความพร้อม และสมบูรณ์  ทั้งด้านการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม  การกำหนดยุทธวิธี  กระบวนการดำเนินงาน และการพัฒนานักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ