กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
​โครงงานน้ำหมักเปลือกไข่ สร้างเสริมคุณภาพชีวิต ปลูกจิตรักษ์สิ่งแวดล้อม
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

จัดทำโดย

เด็กหญิงอภิสรา พุทธประวัติ

เด็กหญิงสุทธิดา ยางสี

เด็กหญิงวิลาสินี พรมทองมี

­

คุณครูที่ปรึกษา 

นางธิดารัตน์ ประสมสุข

นางนภาพร ภูชำนิ

ระดับชั้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6

สถานศึกษา โรงเรียนสนามบิน อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

ปีการศึกษา 2555

­

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

จากการสังเกตของสมาชิกในกลุ่มเห็นแม่ครัวและแม่ค้าในโรงเรียนนำไข่มาประกอบอาหารเกือบทุกวัน วันละประมาณ 300-500 ฟอง แล้วทิ้งเปลือกไข่ลงในถังขยะ ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษและปัญหาภาวะโลกร้อน

­

ดังนั้นสมาชิกในกลุ่มจึงได้ไปศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบของเปลือกไข่จากอินเทอร์เน็ต ทำให้ทราบว่าในเปลือกไข่มีสารประกอบอินทรีย์เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต 95 เปอร์เซ็นต์ อีก 5 เปอร์เซ็นต์เป็นแร่อื่นๆ ผสมกัน เช่น แคลเซียมฟอสเฟต แมกนีเซียมคาร์บอเนต และโปรตีน จึงได้ไปปรึกษาคุณครูเพื่อจะได้นำเอาเปลือกไข่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป คุณครูได้พาพวกเราไปพบผู้รู้คือ นายสัตวแพทย์ปฏิวัติ คุณดิลกพจน์ ปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่น นายบุญชู ชมภูสอ นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการ และเกษตรกร บ้านโนนกู่ หมู่ที่ 24 ตำบลสาวะถี ซึ่งเป็นบ้านของสมาชิกในกลุ่ม ผู้รู้ได้ให้คำแนะนำว่าเอาเปลือกไข่ไปหมักกับน้ำซาวข้าวจะได้แร่ธาตุ(แคลเซียม) ที่สามารถนำไปใช้กับพืช จะช่วยทำให้โครงสร้างของพืชแข็งแรง นำไปให้สัตว์กินเพื่อบำรุงกระดูก และเป็นการช่วยลดมลพิษและปัญหาภาวะโลกร้อน ทำให้สิ่งแวดล้อมสะอาดและอากาศบริสุทธิ์ เป็นการสร้างเสริมคุณภาพชีวิต ปลูกจิตรักษ์สิ่งแวดล้อม

­

จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

เพื่อลดปัญหาเรื่องขยะเปลือกไข่ที่ก่อให้เกิดมลพิษและปัญหาภาวะโลกร้อน

เพื่อเป็นการนำขยะเปลือกไข่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เพื่อนำความรู้ไปเผยแพร่ในชุมชน

­

สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า

นำเปลือกไข่ไปหมักกับน้ำซาวข้าวจะได้น้ำหมักเปลือกไข่ไปใช้กับพืชและสัตว์

­

ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

ตัวแปรต้น เปลือกไข่ น้ำซาวข้าว

ตัวแปรตาม น้ำหมักจากเปลือกไข่

ตัวแปรควบคุม ระยะเวลาที่ใช้ในการหมักน้ำหมักจากเปลือกไข่

­

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

1. โรงเรียนสนามบิน ถนนประชาสโมสร อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

2. บ้านโนนกู่ หมู่ที่ 24 ตำบลสาวะถี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

3. บ้านบึงฉิม หมู่ที่ 4 ตำบลบึงเนียม อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

4. ระยะเวลาที่ศึกษา มิถุนายน-สิงหาคม 2555

­

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ได้ความรู้เกี่ยวกับสารประกอบของเปลือกไข่ ประโยชน์น้ำซาวข้าว

ได้ความรู้เรื่องการทำน้ำหมักเปลือกไข่

ลดปัญหาขยะเปลือกไข่ที่ก่อให้เกิดมลพิษและปัญหาภาวะโลกร้อน

­

อภิปรายผลการศึกษา

จากการทดลองพบว่า น้ำหมักจากเปลือกไข่และน้ำซาวข้าว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดปัญหาขยะจากเปลือกไข่และน้ำเสียที่เกิดจากน้ำซาวข้าวของโรงเรียนสนามบินและช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน หลังจากการทดลองนำน้ำหมักจากเปลือกไข่ไปทดลองใช้ในชุมชนพบว่า ประชาชนในชุมชนมีความสนใจในน้ำหมักจากเปลือกไข่เนื่องจากน้ำหมักจากเปลือกไข่มีคุณภาพในการเพิ่มปริมาณแคลเซียมให้กับสัตว์และรักษาความสะอาดที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยง และเนื่องจากเปลือกไข่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น เป็นการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในชุมชน และประเด็นสุดท้ายประชาชนในชุมชนมีสุขภาวะที่ดีขึ้น

สรุปผลการศึกษา

จากการศึกษาการหมักเปลือกไข่ด้วยน้ำซาวข้าวและทดลองนำไปใช้ในชุมชนบริเวณใกล้เคียงโรงเรียนสนามบิน สรุปผลการศึกษา ดังนี้

น้ำหมักเปลือกไข่ที่มีคุณภาพสามารถใช้เลี้ยงสัตว์ รดพืชผักและทำความสะอาดโรงเรือนเลี้ยงสัตว์

ปริมาณขยะเปลือกไข่และน้ำซาวข้าวในโรงเรียนสนามบินลดลง

นำความรู้ไปเผยแพร่ในชุมชนและประชาชนในชุมชนให้ความสนใจ

­

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ