กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
ตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อมฯ โรงเรียนบ้านดอนช้าง (ศรีสุขวิทยาคาร)
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

                   วันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 คณะกรรมการตรวจเยี่ยมประเมินความพรัอมการขับเคลื่อนฯ ของโรงเรียนบ้านดอนช้างฯ เข้าเยี่ยมชมเพื่อประเมินความก้าวหน้า สะท้อนให้ข้อเสนอแนะ หรือความช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาสู่โรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ฯ ต่อไป 


วัตถุประสงค์ของการตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อมฯ

  1. ประเมินความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียน
  2. สะท้อนข้อคิดเห็น และเสนอะแนะแนวทางในการขับเคลื่อนสู่ความพร้อมในการประเมินเป็นโรงเรียน ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  3. รายงานผลการตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อมฯ ต่อผู้จัดการโครงการส่งเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่เยาวชน

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

22/12/55

วันที่ 23 พฤศจิกายน  2555 คณะกรรมการตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อมการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียงสู่โรงเรียนบ้านดอนช้าง ซึ่งประกอบด้วย


  1. ผอ.ธนิตา กุลสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร ร้อยเอ็ด
  2. ผอ.สวัสดิ์ มะลาหอม ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านห้วยค้อมิตรภาพ 206
  3. ครูอภัยวัลย์ กึกก้อง ครูแกนนำจากโรงเรียนสนามบิน
  4. ดร.ฤทธิไกร ไชยงาม หัวหน้าทีมขับเคลื่อน
  5. นางสาวสุกัญญา มาชำนิ ศึกษานิเทศ สพป. ขอนแก่น เขต 1


เดิน ทางไปถึงโรงเรียนก่อนกิจกรรมการเข้าแถวหน้าเสาธง และเสร็จสิ้นการตรวจเยี่ยมหลังบ่ายสามโมงครึ่ง ต่อไปนี้คือขั้นตอนการเตรียมรับการประเมินและกิจกรรมต่างๆ


  • ก่อนกิจกรรมหน้าเสาธง
    • คณะ กรรมการเดินทางไปถึงเวลา 7:30 นาที นักเรียนทุกคนกำลังทำความสะอาดตามหน้าที่ๆ ตนเองรับผิดชอบ (เวร) มีนักเรียนส่วนหนึ่งที่กำลังขนโต๊ะเก้าอี้มายังห้องประชุมเพื่อจัดเตรียม กิจกรรมการตรวจเยี่ยมในวันนี้
    • เด็กกระตือรือล้นมากในการทำความสะอาด


  • กิจกรรมหน้าเสาธง
    • เมื่อ ได้ยินเสียง "ระฆัง" ครั้งแรก นักเรียนจะมาเข้าแถวหน้าชั้นเรียนตนเอง และเมื่อ "ระฆัง" ดังครั้งที่สอง นักเรียนก็เดินจากหน้าห้องมาพร้อมกันที่หน้าเสาธง.... เด็กๆ ให้เหตุผลว่า เพื่อตรวจเช็คความพร้อมของนักเรียนว่า มาครบหรือไม่
    • กิจกรรมหน้าเสาธงได้แก่ ร้องเพลงชาติพร้อมกัน กิจกรรมพี่ไหว้น้องโดยไล่เรียงตั้งแต่ ป.1 ไหว้ ป.2 จนถึง ม.2 ไหว้ ม. 3
    • กิจกรรม ร้องเพลง ตามเครื่องกระจายเสียง ได้แก่ เพลงอยู่อย่างพอเพียง และ เพลงรูปที่มีอยู่ทุกบ้าน ที่ขับร้องโดยอิ๊ดวงฟลาย และเบิร์ดธงชัย ตามลำดับ
    • เดินแถวเข้าห้องประชุม (ไม่มีการอบรมของครูเวรหน้าเสาธง)


  • กิจกรรมในห้องประชุม
    • สวดมนต์ไหว้พระ
    • กิจกรรมนั่งสมาธิโดย ผอ.เชษฐา เป็นผู้นำพานักเรียนเอง
    • กิจกรรมพิเศษ รำถวายเทียน
    • นักเรียนกล่าวต้อนรับ


  • ผอ.เพชรรัตน์ อ่างยาน นำเสนอกระบวนการขับเคลื่อน โดยมีประเด็นสำคัญๆ ดังนี้
  1. ทุกคนนำอาหารมากินข้าวร่วมกัน กว่า 10 ปี
  2. แต่งกายเหมือนกัน ยกเว้นวันอังคาร
  3. เน้นการไหว้ ทักทายสวัสดี
  4. เข้าโครงการ 2550 ทำวิสัยทัศน์สู่ปศพพ.
  5. ครูทุกคนต้องเป็นแบบอย่าง
  6. จัดทำแนปารอรียนอน้นปารบูรณาการ
  7. กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ
  8. กิจกรรมการปลูกข้าว
  9. กิจกรรมศิลปินน้อยตามรอยพระราชดำริ
  10. ก จกรรมฟังธรรมเปฺ็นนิตย์
  11. กิจกรรมนั่งสมาธิ
  12. กิจกรรมปลาส้มแจ่วบอง แก่งนำ้ต้อน ปลาสอนคุณธรรม
  13. กิจกรรมต้นกล้าอนาคตลดภาวะโลกร้อน
  14. กิจกรรมหน้าเสาธง
  15. กิจกรรมร่วมกับภายนอก อบต. ดอนช้าง
  16. เว็บไซต์ของโรงเรียน
  17. กิจกรรมนำเสนอผลงานของโรงเรียน
  18. ผ่านการประเมิน สมศ.
  19. การทำงานคือเกียรติยศ
    • เดินดูฐานการเรียนรู้
      1. ฐานการปลูกผักสวนครัว
      2. ฐานเรือนเพาะชำ
      3. ฐานการออม
      4. ฐานนาข้าว
      5. ฐาขอาชีพ


  • คุณครูรัตน์ภัณฑชา อ่างยาน กล่าวรายงานเพิ่มเติม เกี่ยวกับกระบวนการขับเคลื่อนของครูสู่นักเรียน


  1. เราเน้นหลักสูตร ได้ส่งครูไปอบรม แล้วนำมาขยายผล
  2. เราจัดกิจกรรมในห้องเรียน
  3. เราจัดเสริมกิจกรรม แล้วแต่ว่าใครจะถนัดกิจกรรมใด
  4. เราใช้ฐานการเรียนรู้ต่างๆ นาข้าว เรือนเพาะชำ พืชอาหารท้องถิ่น  ผักสวนครัว ฐานการอาชีพ


  • นำเดินตรวจเยี่ยมตามฐานการเรียนรู้ ได้แก่
    • ฐานการปลูกผักสวนครัว
    • ฐานเรือนเพาะชำ
    • ฐานการออม
    • ฐานนาข้าว
    • ฐาขอาชีพ




ผลการตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อม ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน  2555 มีดังนี้


  • โรงเรียนยังไม่พร้อมรับการประเมินเป็นโรงเรียนศูนย์ฯ ขณะวันประเมินนี้
  • นักเรียนส่วนใหญ่ยังไม่เกิดอุปนิสัยพอเพียง
  • นักเรียนแกนนำยังไม่กล้าคิด กล้าพูด ไม่มั่นใจในตนเอง
  • ฐานการเรียนรู้ยังไม่เหมาะสมเพียงพอที่จะเป็นฐานการเรียนรู้ของโรงเรียนศูนย์ฯ


ต่อไปนี้เป็นข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ต่อการขับเคลื่อนฯ ต่อไป

  • ผอ. และ ครู ต้องใช้คำถามกระตุ้น และสร้างโอกาสให้นักเรียนแกนนำ ได้ฝึกทำ คิด พูด


  • ให้นักเรียนแกนนำได้ถอดบทเรียนบ่อยๆ ทุกๆ กิจกรรม และทุกๆ หน่วยการเรียนรู้


  • สนใจในรายละเอียดของกิจกรรมทุกๆ อย่าง เช่น การนั่งสมาธิของนักเรียน ครูควรถอดบทเรียนกันให้ชัดเจนว่า ทำเพื่ออะไร การดำเนินการนั้นเกิดตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ถ้าไม่เกิดเพราะอะไร และจะทำอย่างไรให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น...... จากการสังเกต กิจกรรมการนั่งสมาธิของโรงเรียนยังไม่บรรลุผลนัก


  • ครูควรใช้จิตวิทยาเชิงบวก.....จากการเดินทางตรวจเยี่ยมหลายโรงเรียน พบว่า การจับผิดหรือใช้จิตวิทยาเชิงลบในการขับเคลื่อนนั้น ไม่สามารถทำให้เกิดอุปนิสัยพอเพียงได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อทำกิจกรรมเพื่อฝึกสมาธินักเรียน ไม่ควรบอกกับนักเรียนที่ไม่นั่งสมาธิเช่น อย่าลืมตาซิลูก นั่งนิ่งๆ ซิลูก  แต่ควรกล่าวชมนักเรียนที่ทำได้ดี โดยระบุชื่อ เช่น น้องน้ำหวานเก่งมากลูก นั่งนิ่งสงบแบบนั้นดีแล้ว..... เมื่อนักเรียนคนอื่นได้ยินจะนิ่งๆ ได้เอง ... เป็นต้น


  • ฐานการเรียนรู้ ควรมีองค์ความรู้ วิธีการใช้ฐานการเรียนรู้ มีร่องรอยของการใช้ฐานการเรียนรู้นั้นอย่างสม่ำเสมอ และฐานการเรียนรู้นั้นสามารถทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่กำหนดได้จริง เช่น หากต้องการฝึกฝนและปลูกฝังความรับผิดชอบในแปลงนาข้าว ควรมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบให้นักเรียนอย่างชัดเจน มีการตรวจเช็คประเมินว่านักเรียนรับผิดชอบต่อหน้าที่หรือไม่ หากมอบหมายให้ดูแล แต่หากไม่ได้ดูแล แสดงว่าไม่เกิดความรับผิดชอบกับนักเรียน เป็นต้น


  • ฯลฯ

 


"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ