กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
ทีมขับเคลื่อนเยี่ยมโรงเรียนโปโลเล้าสามัคคีวิทยา
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์

การเดินทางเยี่ยมเยือน เพื่อเรียนรู้จากเพื่อนครูและผู้อำนวยการ เป็นหนึ่งในแผนการดำเนินการที่เราวางไว้ตั้งแต่แรก โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการ ได้แก่

  1. เพื่อเรียนรู้ ให้รู้จักโรงเรียนด้วยประสบการณ์ตรง
  2. เพื่อพบปะสนทนากับคน 2 กลุ่ม คือ ครูแกนนำ และ นักเรียนแกนนำ เพื่อให้ได้เรียนรู้ใน 4 ประเด็น ดังนี้
    1. รู้จำและรู้จัก ปศพพ.
    2. เข้าใจ ปศพพ.
    3. นำไปปฏิบัติใช้กับชีวิต หรือ เชื่อมโยงชีวิตจริง
    4. เผยแพร่สู่บุคคลอื่น
  3. เพื่อเรียนรู้จากผู้บริหารของโรงเรียน ใน 4 ประเด็นตามข้อ 2 และเพิ่มเติมอีก 2 ประเด็น คือ
    1. กลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ ในการขับเคลื่อน ปศพพ. สู่ครู นักเรียน และการสร้างสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ในโรงเรียน
    2. กลยุทธ์หรือวิธีการในการขับเคลื่อนสู่ชุมชนและผู้ปกครองของนักเรียน
  4. เพื่อศึกษาวิจัย และพัฒนา การขับเคลื่อน ปศพพ. สู่โรงเรียนในบริบทต่างๆ

ขอบเขตของกิจกรรม

  1. ไม่มีรูปแบบตายตัว แล้วแต่จำนวนคน ที่เข้าร่วม หลักๆ คือ ทำกระบวนการกลุ่มกับนักเรียนแกนนำก่อน และ สะท้อนผลสู่ครูและผู้อำนวยการ
  2. ทำกิจกรรมระยะสั้น นักเรียนแกนนำประมาณ 1 ชั่วโมง ครูแต่ละโรงเรียน 1 ชั่วโมง
  3. เน้นการเป็นกัลยาณมิตร เป็นเพื่อน
  4. สะท้อนความจริง ตรงไปตรงมา
  5. ประชาสัมพันธ์ข่าวโครงการและกิจกรรมที่จะดำเนินการต่อไป
การเดินทางไปเยี่ยมโรงเรียนโปโลเล้าวันนี้พิเศษกว่าทุกวันที่ผ่านมา เพราะทีมผู้ประสานงสานต้องเดินทางไปรับทีมวิทยากรจากโรงเรียนพี่เลี้ยงก่อน คือคณะวิทยากรจากโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร แต่เนื่องจากตอนเช้าท่านติดภาระกิจด่วน ดังนั้นท่านจึงให้คุณครูแอนและคุณอุ้มเดินทางไปพร้อมกับทีมงานของพวกเราส่วนท่าน ผอ.อิ๋ว (ผอ.ธนิตา) จะเดินทางพร้อมกับคุณครูวิตามไปในช่วงสาย ทำให้คณะเราวันใหญ่เป็นพิเศษ ไปถึงโรงเรียนโปโลเล้าประมาณ 9.05 น. เป็นโรงเรียนขนาดเล็กมีพื้นที่ 7 ไร่ อยู่ติดกับชุมชนในเขตบริการ คุณครู 13 คน มีอาคารถาวร 2 หลัง สภาพภูมิทัศน์สวยงาม และได้รับการต้อนรับจากคณะครูและคณะผู้บริหารและครูจากโรงเรียนในเครือข่ายคือ จากโรงเรียนปากน้ำราษฎร์บำรุง โรงเรียนข้าวหลายชัยศรีดอนยางวิทยา โรงเรียนบึงไฮโนนสวางวิทยาและโรงเรียนน้ำจั้นราษฎร์บำรุง นอกจากนี้ยังมีผู้นำชุมชนร่วมให้การต้อนรับ วันนี้นอกจากคณะเราจะมีคนมากกว่าปกติทางเจ้าภาพก็ได้แสดงถึงความยิ่งใหญ่เช่นกัน โดยทางโรงเรียนได้แสดงให้เราเห็นว่าโรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากชุมชนและเครือข่ายของโรงเรียนอย่างเต็มที่ การเริ่มกิจกรรมในวันนี้ โดยทางโรงเรียนได้เชิญผู้เกี่ยวข้องมาประชุมพร้อมกัน นำโดยท่านรักษาการฯ ผอ.วิจิตร ไม่ว่าจะเป็นครูแกนนำขับเคลื่อนท่านคุณครูปราณีต ครูแกนนำและสมัชชาเครือข่ายเข้าในห้องประชุมของโรงเรียนและเริ่มแนะนำโรงเรียนอย่างเป็นทางการ และจากการชมสไลด์นำเสนอของทางโรงเรียนได้แสดงความพร้อมในหลายด้าน เช่น การนำครูภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมในการทักษะวิชาชีพ เช่น การตัดผม การนวดแผนไทย การแปรรูปอาหาร และนำพระมาช่วยสอนในวิชาพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นโรงเรียนยังมีกิจกรรมส่งเสริมการออมของนักเรียน โดยให้นักเรียนมีการสะสมเงินฝากในทุกๆวัน และโรงเรียนนำฝากธนาคารในทุกๆ เดือน เพราะโรงเรียนอยู่ในเขตชุมชนที่มีเศรษฐกิจดี อาชีพหลักของผู้ปกครองนักเรียนคือ เกษตรกรรม เลี้ยงปลา ค้าขาย และส่งสินค้าที่กรุงเทพฯ โรเรียนมีกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน มีจัดอบรมจากสำนักธรรมและส่งนักเรียนสอบสำนักธรรมทุกปี โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากชุมชนอย่างดี โดยชุมชนจะจัดผ้าป่าการศึกษาเพื่อหาทุนในการพัฒนาโรงเรียนในทุกปี และโรงเรียนสามารถใช้แหล่งเรียนรู้ของชุมชนเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชน และโรงเรียนเป็นโรงเรียนต้นแบบในการจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น หลังจากนั้นได้เริ่มสนทนากับคุณครูแกนนำ

คุณครูเพ็ญพรได้กล่าวถึงกิจกรรมที่ได้ทำมาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 10 ปี คือกิจกรรมการออมวันละ 1 บาทของนักเรียนรวมทั้งปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น ปัจจุบันเด็กนักเรียนมีบัญชีเงินฝากครบทุกคน รวมทั้งการแก้ปัญหาการมีเด็กที่มีพฤติกรรรมก้าวร้าว โดยการดูแลนักเรียนให้เหมือนคนในครอบครัวเหมือนลูกเหมือนหลาน ทำไห้เด็กหลายคนมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น

ดร.ต๋อยได้แนะนำให้โรงเรียนหาวิธีสื่อสารหลักของความพอเพียงนี้ไปสู่ชมชนหรือผู้ปกครองด้วย และให้เด้กนำไปปฏิบัติอย่างจริงในชีวิตด้วย

ครูประณีต ครูแกนนำขับเคลื่อนของโรงเรียนได้กล่าวถึงกิจกรรมขับเคลื่อนของโรงเรียน ในส่วนของเด็กนักเรียนนั้นมีกิจกรรมอะไรบ้าง เช่น การออม การอบรมธรรมมะ การสร้างวินัย เช่น การช่วยกันรักษาความสะอาด การปฏิบัติหน้าที่เวรอื่น ๆ โดยเด็กต้องรู้ว่าทำแล้วได้อะไร เกิดอะไร ในสวนของคุณครูจะต้องสร้างความรู้ความเข้าหลักพอเพียง ผ่านกิจกรรม เช่น กิจกรรมหน้าเสาธง มีนิทานธรรมะ และคุณครูต้องปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนด้วย

คุณครูวาสนา กล่าวว่าในการจัดแผนการเรียนได้มีการสอดแทรก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ ซึ่งตอนแรกคุณครูก็ยังไม่เข้าวิธีการสอดแทรก แต่ปัจจุบันคุณครูทุกกลุ่มสาระได้ดำเนินการแล้ว และขอคำแนะนำเพิ่มจากทีมวิทยการด้วย

ครูอุ้ม วิทยากรจากโรงเรียนวัดป่าเรไร กล่าวว่า การเขียนแผนแบบ Backward design นั้น จะต้องให้เด็กมีความรู้ ความเข้า และมีกิจกรรมอยู่แล้ว สามารถระบุได้ว่าสอดคล้องกับหลักของความพอเพียงอย่าไร ตรงไหนสอดคล้องกับอะไร

คุณครูแอน วิทยากรจากโรงเรียนวัดป่าเรไรอีกท่านหนึ่งกล่าวว่า ให้เขียนแผนไปตามปกติที่คุณครูเคยทำ แต่ให้เห็นว่าเกิดความรู้ตรงไหน คุณธรรมอะไร ตรงไหนเพิ่มเติมเท่านั้น ตรงไหนคือความพอเพียงพอประมาณ

นอกจากนั้นครูประณีตยังได้แจ้งว่าโรงเรียนมีเครือข่ายโรงเรียนอยู่ 7 โรงและวันนี้มีผู้มาร่วมสังเกต 4 โรงเรียน และยังมีคุณครูท่านอื่นๆ ได้แสดงความเห็นการอบรมหน้าเสาธง มีการอบรมคุณธรรม มีการบันทึกการทำความดี มีนิทานธรรมะ คุณครูอีกท่านหนึ่งยังได้กล่าวถึงกิจกรรมส่งเสริมการอ่านของนักเรียน นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมที่เน้นคุณธรรม เช่น การแต่งกาย

ผู้นำชุมชน ได้กล่าวถึงชุมชนสามารถเป็นที่พึ่งของทางโรงเรียนได้ เพราะชุมชนแถบนี้มีสภาพเศรษฐกิจที่ดี อาจจะเป็นจุดที่ดีที่สุดในจังหวัดกาฬสินธุ์สำหรับชุมชนระดับหมู่บ้าน เพราะประชนมีอาชีพที่มั่นคง เช่น ทำการเกษตร การเลี้ยงปลา การแปรรูปอาหารจากปลา และมีกลุ่มเกษตรอินทรีที่เข้มแข็ง เช่น การเลี้ยงหมูเหมยซาน การปุ๋ยอินทรีย์ การเพาะปลูกด้วยเกษตรอินทรีย์ สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างดีแก่นักเรียน

คุณครูอุ้ม กล่าวว่าเท่าทีรับฟังมาเห็นว่าโรงเรียนมีความพร้อม แต่จะต้องเน้นด้วยว่านักเรียนเกิดอะไร ได้อะไรจากการกำหนดกิจกรรมต่างๆ เด็กสามารถนำเสนอได้หรือไม่ด้วย และพบว่าโรงเรียนไม่แปลกแยกจากชุมชน จะเชื่อมโยงระหว่างชุมชนและห้องเรียนอย่างไรเป็นเรื่องที่สำคัญ

ครูแอน กล่าวต่ออีกประทับใจในเรื่องครูภูมิปัญญา แต่เด็กก็ต้องทราบด้วยว่าทำไมต้องทำ และทำแล้วได้อะไร และที่สำคัญต้องเข้าใจด้วยว่า ปศพพ. ไม่ใช่การเกษตร และเด็กจะต้องได้ทำกิจกรรมและโครงงานได้ด้วยตัวเอง

กิจกรรมพบปะคุณครูเสร็จในเวลาประมาณ 11.05 น. จึงได้ขอพบกับนักเรียนแกนนำขับเคลื่อน โดยทางโรงเรียนได้เตรียมเด็กแกนนำให้ 4 คน แต่ทางทีมประสานของให้เป็นนักเรียน ป.5-6 ทั้งหมด เพราะ 4 คนน้อยเกินไป ทดสอบการตั้งคำถามกับนักเรียนเกี่ยวกับ ปศพพ. พบว่านักเรียนตอบได้ หลักจากนั้นเปลี่ยนกิจกรรมเป็นกิจกรรมแนะนำตัวของเพื่อนสมาชิกในวง หลังจากเสร็จแล้วก็ตามด้วยกิจกรรมถอดบทเรียนเกี่ยวกับชีวิตประจำวันโดยให้น้องขิมเป็นผู้เล่าเรื่องเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันตั้งตื่นจนกระทั่งเข้านอน เล่าเสร็จถึงเวลารับประทานอาหารกลางวันของนักเรียนจึงปล่อยให้นักเรียนไปทานอาหารแล้วนัดพบกันใหม่ในเวลาเที่ยงครึ่งและช่วยกันถอดบทเรียนเทียบกับ ปศพพ.จากเรื่องเล่าของน้องขิมในตอนเช้า นักเรียนได้แสดงความเห็นพอสมควร

จากดำเนินกิจกรรมตลอดช่วงเช้า พบว่าโรงเรียนมีความพร้อมในด้านกิจกรรมและการได้รับความร่วมมือกับชุมชนเป็นอย่างดี และทรัพยากรบุคคลที่พร้อมให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนอย่างเต็มที่ ในด้านนักเรียนพบว่านักเรียนมีความรู้ แต่ในด้านความเข้าใจ และการแสดงออกจะต้องมีการฝึกให้มีการถอดบทเรียนอย่างต่อเนื่องและเพิ่มความถี่ในการถอดบทเรียนให้มากขึ้น

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน
  1. แม้ว่าท่าน ผอ.เพิ่มพูน ไม่อยู่ แต่จากที่ได้เห็นจากการทัศนาดูครั้งนี้ ก็ขอแสดงความยินดีและชื่นชมกับความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนของท่านครับ หากมองใน 5 ประเด็น คือ ผอ. ครูแกนนำ ครู นักเรียน และสิ่งแวดล้อมหรือฐานการเรียนรู้ เราพบว่าท่านพร้อมเกือบทุกอย่างแล้วครับ เหลือเพียง นักเรียน อย่างเดียวครับ
  2. หากแยกพิจารณาใน 4 มุมมอง คือ รู้จัก เข้าใจสามารถตีความได้ นำไปใช้เชื่อมโยงกับชีวิต และสามารถ่ายทอดได้ นักเรียนผ่านด่านแรก แต่ส่วนที่เหลือยังไม่ชัดเจนนัก อาจเป็นเพราะ นักเรียนยังไม่ค่อยกล้าพูด กล้าแสดงออกมากนัก .... ฝากอาจารย์ปราณีต และทีมคุณครู ฝึกถอดบทเรียนหรือประสบการณ์ให้มากขึ้น บ่อยขึ้น รวมทั้งครูด้วยนะครับ
  3. เสียดายที่เราไม่มีเวลาเข้าไปหาชุมชน ด้วยเวลาที่จำกัด เพราะผมคาดว่าแหล่งเรียนรู้ที่เด่นและเป็นบริบทของที่นี่คือ ปศพพ. ภาคชุมชน ชาวบ้าน ผู้ปกครอง ...... ฝากประเด็นนี้เป็นโจทย์ใหญ่ให้ท่าน ผอ.คิด ทำอย่างไร การเรียนรู้ของนักเรียนจะเป็นการ "เรียนรู้ชีวิต" มากกว่าที่จะยึดติดกับการแค่ "เรียนหนังสือ"

ขอบคุณท่าน ผอ.ธนิตา และทีมพี่เลี้ยงขับเคลื่อนจากเทศบาลวัดป่าฯ และขอบคุณท่าน รองผอ. ครูปราณีต ครูแกนนำทุกท่าน และเด็กๆ ทุกคนครับ วันนี้มีความสุขมากจริงๆ ครับ

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ