กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
เยาวชนคลองไครทำดีถวายในหลวง
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

ฐานการเรียนรู้ “เยาวชนคลองไคร ทำดีถวายในหลวง”
โรงเรียนบ้านคลองไคร อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่

๒. กรอบประเด็นคำถามในการถอดบทเรียนจากฐานการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ ๑ ต้นทาง/สาเหตุของการเกิด

๑.๑ สาเหตุที่มา/เป้าหมายของฐาน/วัตถุประสงค์

­

- ที่มาของฐานการเรียนรู้

ในยุคปัจจุบันนี้มีปัญหาต่างๆเข้ามามากมายทำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่เปิดรับอารยธรรมทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก ทำให้ประชาชนชาวไทยมีผลกระทบมากมายทั้งทางด้านเศรษฐกิจตกต่ำ ปัญหาชนกลุ่มน้อยตามชายแดน ปัญหายาเสพติด ปัญหาสังคมต่างๆ ความยากจน ความเหลื่อมล้ำทางสังคม เกิดช่องว่างทางสังคมสิ่งเหล้านี้มีผลกระทบต่อการจัดการระบบการศึกษาของไทยให้มีคุณภาพ

­

กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศนโยบายในการเร่งรัดที่จะปฏิรูปการศึกษา โดยยึดหลักคุณธรรมนำความรู้ สร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี ดำเนินชีวิตตามวิถีประชาธิปไตย มุ่งเร่งพัฒนาเยาวชนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยง ความร่วมมือของทุกสถาบัน เช่น สถาบันครอบครัว ชุมชน ศาสนา และที่สำคัญสถาบันการศึกษา โดยมีจุดเน้นเพื่อให้เยาวชนเป็นคนดี มีความรู้และอยู่ดีมีสุข

­

ข้าพเจ้าและคณะผู้บริหารได้มีแนวคิด ในการจัดฐานการเรียนรู้นี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีศักยภาพด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ และด้านคุณธรรม จริยธรรม ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึก ให้นักเรียน บุคลากรของโรงเรียนและชุมชน ได้ร่วมกันทำความดี โดยการปฏิบัติตนเป็นคนดีของสังคมและประเทศชาติ เป็นการถวายพระราชกุศลในปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบรอบ ๘๔ พรรษาแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนกระแสพระราชดำรัสเรื่อง ความพอเพียง สู่สถานศึกษาให้นักเรียนและชุมชนได้นำไปปฏิบัติเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตเพื่อความสงบสุขต่อไป

­

- แนวคิดเบื้องหลังที่นำมาใช้

จากการที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระราชทานแนวทางการแก้ไขปัญหา เรื่องเศรษฐกิจตกต่ำ โดยนำหลักการดำเนินชีวิตให้คนไทยได้ปฏิบัติคือหลักความพอเพียง ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข ให้ทรงเน้นย้ำเรื่อง คุณธรรม ซึ่งเป็นความดีงามในจิตใจที่ทำให้บุคคลประพฤติดี มีความรู้สึกในทางดีงาม ดังนั้น การที่จะพัฒนาบุคคลด้วยคุณธรรมต้องฝึกฝนให้มีความรู้สึกตระหนักว่าอะไรดี อะไรไม่ดี อะไรควร อะไรไม่ควร และปฏิบัติแต่ในทางที่ถูกที่ควรให้เป็นปกติวิสัย ต้องกระทำตั้งแต่ยังเด็กๆพฤติกรรมเหล่านี้จะติดตัวจนเติบใหญ่ เมื่อเยาวชนรู้จักผิดชอบชั่วดีแล้วปัญหาต่างๆก็จะมีน้อยลงสังคมก็จะสงบสุข

­

- ข้อมูล/สาเหตุ/ปัญหาที่พบและนำมาสู่การแก้ไขปัญหา

สถานการณ์บ้านเมืองของประเทศไทยเราในปัจจุบันนี้ ดูน่าเป็นห่วง อย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจ ปัญหาความเสื่อมถอยในด้าน คุณธรรม จริยธรรมของคน ทั้งในระดับการเมือง ข้าราชการ หรือ คนในแวดวงอาชีพอื่นๆ ภาพที่เห็นชัดเจนและเป็นข่าวอยู่ทุกวัน ก็คือ การทุจริตคอรัปชั่น การก่อ อาชญากรรม การเสพและการค้ายาเสพติด ซึ่ง แพร่ระบาดในกลุ่มเยาวชนไทย ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา จนถึง อุดมศึกษา รวมถึงการแต่งกายล่อแหลม ที่เป็นมูลเหตุก่อให้เกิดอาชญากรรม ทางเพศ ของนักศึกษาหญิง การขายบริการทางเพศของนักศึกษา การที่นักศึกษาอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยา การทะเลาะวิวาทของนักศึกษาทั้งภายในสถาบันเดียวกันและต่างสถาบัน เหล่านี้เป็นต้น ปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่มของเยาวชนดังกล่าว ทุกคนต่างลงความเห็นตรงกันว่า เยาวชนไทยของเราขาดการปลูกฝังในด้าน คุณธรรม จริยธรรม อย่างยั่งยืน คือ อาจจะมีอยู่บ้างแต่เป็นแบบฉาบฉวย ไม่เกิดผลที่ถาวรในขณะที่สังคมไทยต้องการเห็นภาพการพัฒนาเยาวชนไทยไปสู่การเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ มีสติ ปัญญา มีความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรม ในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นได้ อย่างมีความสุข ดังกล่าวมานี้เป็นผลโดยตรง มาจากเรื่องของการปลูกฝัง ทางด้านคุณธรรม จริยธรรม นั่นเอง จริยธรรม เป็น หลักความประพฤติ หรือ แนวทางในการปฏิบัติตน ที่ ควรแก่การยึดถือ ปฏิบัติ เพื่อสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข โดยมีคุณธรรม และ ศีลธรรมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม จึงเปรียบเสมือนการพัฒนาคุณภาพจิตใจ ที่มีอิทธิพลต่อความประพฤติของคน คุณธรรม เป็นสภาวะที่อยากให้เราทำอะไรที่เป็นคุณ ศีลธรรม เป็นสภาวะที่เราห้ามจิตใจของเราไม่ให้ทำในสิ่งผิด หรือบอกไม่ให้คนอื่นทำ ทั้งคุณธรรม และ ศีลธรรม จึงเป็นตัวกำหนดความประพฤติของเรา ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกที่ควร คือ เป็นตัวกำหนดจริยธรรม จริยธรรมที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลมาจากศาสนา ที่เกี่ยวข้องกับ วัฒนธรรม ประเพณี และกฎหมาย

­

ในเรื่องการปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม ให้กับเยาวชน เอาไว้ว่า คนเราถ้าไม่มีความรู้สึกผูกพันต่อ พ่อ แม่ ต่องานต่อแผ่นดิน และสิ่งแวดล้อมที่มีต่อเขา จะสอนเท่าไดก็คงไม่มีประโยชน์ เพราะเขาจะเกิดความสำนึกในหน้าที่ ในคุณค่าของชีวิต คุณค่าของความเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะแม้ชีวิตของเขาเอง เขาก็ไม่รับผิดชอบเสียแล้ว เขาจะไปรับผิดชอบในหน้าที่ของเขาที่ต้องทำความดีและให้ความดีแก่สังคมที่ได้รับประโยชน์ได้อย่างไร ดังนั้น คุณธรรม จริยธรรม จึงเป็นตัวผล ที่จะต้องสร้างด้วยเหตุ คือ ให้ความรู้ ความเข้าใจแก่เขาเป็นอย่างดีนั่นเอง และมีผู้ใหญ่ที่เป็นแบบอย่างที่ดีด้วย การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม จำเป็นต้องมีครู 3 สถานะ เป็นต้นเหตุ คือ ครูที่บ้าน ครูที่โรงเรียน / สถานศึกษา และครู ที่เป็นคำสอนในศาสนา เพราะบุคคล 3 จำพวกนี้ ซึ่งหมายถึง 1. บุพการี 2. ครู 3. พระสงฆ์หรือโต๊ะครู เท่านั้น ที่อยากเห็นบุคคลอื่นได้ดี ถ้าขาดเหตุ หรือ เหตุ ไม่ครบถ้วน ผลคือ คุณธรรม และ จริยธรรม ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ หรือไม่สมบูรณ์นั่นเอง เรามักจะเอาผลกลับมาเป็นเหตุ คือ เอา จริยธรรม หรือศีลธรรม ไปสอนเขาโดยตรง จริยธรรม ศีลธรรม และ คุณธรรมอื่นๆ ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ หรือ มีขึ้นได้น้อยเต็มที

­

ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดฐานการเรียนรู้ขึ้นเพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านคลองไคร บุคลากรของโรงเรียนและชุมชน ได้ตระหนักและปฏิบัติตนเพื่อให้มีคุณธรรม จริยธรรม ในลักษณะโครงการและกิจกรรมต่างๆ เช่น โครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่กิจกรรมการเรียนรู้ มีกิจกรรมฐานการเรียนรู้ดังนี้ เทิดไท้องค์ราชันน้อมนำหลักปรัชญาสู่วิธีพอเพียง สิ่งประดิษฐ์คิดสร้างสรรค์ ประจักษ์ร้อยพันก้องหล้านวมินทร์ เยาวชนคลองไครทำดี ถวายในหลวง ดุกหรรษา ประชาทั่วถิ่น รู้ทำกินใต้ร่มองค์ภูมิพล สมุนไพรเทิดไท้องค์ราชันย์ ผักปลอดสารพิษ ปุ๋ยชีวภาพปลอดภัยสู่ปลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รีไซเคิลลดโลกร้อนสนองใต้เบื้องพระยุคลบาท กะปิภูมิปัญญา ใต้หล้าพระบารมี หยดน้ำใสดั่งดวงหทัยองค์ราชันย์ กิจกรรมวันสำคัญ เช่น วันพ่อแห่งชาติ วันแม่แห่งชาติ วันเข้าพรรษา วันวิสาขบูชา การแข่งขันกีฬา ฯลฯ กิจกรรมออมทรัพย์

­

ฐานการเรียนรู้ “เยาวชนคลองไครทำดี ถวายในหลวง ” เป็นฐานการเรียนรู้ที่อธิบายถึงคุณธรรม จริยธรรมและพฤติกรรมที่พึงปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงคุณธรรม จริยธรรมนั้นๆ และกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมต่างๆที่โรงเรียนจัดขึ้น

­

๑.๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของการเรียนรู้


- ด้านเจตคติ

การปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เยาวชน จำเป็นต้องเริ่มแต่เด็ก เพราะอายุก่อน 6 ปี จะสามารกบันทึกจริยธรรมในช่วงนั้น ได้มากที่สุด พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง ผู้ใกล้ชิดของเด็กในวัยนี้ จึงมีบทบาทสำคัญมาก ในการปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม และควรทำอย่างต่อเนื่องผ่านทางกิจกรรมต่างๆ ทั้งในและนอกหลักสูตร นักเรียนจะชอบทำกิจกรรม ในฐานนี้จะปลูกฝังนักเรียนให้มีความประพฤติดี ประพฤติชอบโดยผ่านทางกิจกรรมที่นักเรียนกระทำทุกครั้งที่ทำนักเรียนจะมีความสุขและสนุกสนาน การให้รางวัลและการยกย่อง ชมเชย นักเรียนที่ทำความดี กระทำตนเป็นประโยชน์แก่สังคม เป็นการเสริมกำลังใจ และมุ่งหวังที่จะกระทำความดีต่อไป

­

- ด้านทักษะ 

การสังเกตพฤติกรรมการมีคุณธรรมในด้านต่างๆ เช่น ความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี มีน้ำใจ กตัญญู และ จิตสาธารณะ มีการประเมินตนเองของผู้เรียน การประเมินโดยเพื่อน การประเมินโดยครูผู้สอนการมีแฟ้มสะสมงาน มีกิจกรรมต่างๆที่สามารถฝึกฝนนักเรียนที่เกิดสิ่งเหล่านี้ เช่น โครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่กิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ การพูด การเขียน ซึ่งต้องกระทำบ่อยๆและที่สำคัญผู้สอนต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนเพราะตัวอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคำสอน

­

- ด้านความรู้

ฐานการเรียนรู้ “เยาวชนคลองไครทำดี ถวายในหลวง ” เป็นฐานการเรียนรู้ที่อธิบายถึงความหมายคุณธรรม จริยธรรมและพฤติกรรมที่พึงปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงคุณธรรม จริยธรรมนั้นๆ

๑.๓ การจัดการเรียนการสอนเชื่อมโยงกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างไร

­

๑.๓.๑ หลัก ๓ ห่วง

๑. การมีเหตุผลในการตัดสินใจ

การปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เยาวชน จำเป็นต้องเริ่มแต่เด็ก พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง ผู้ใกล้ชิดของเด็กในวัยนี้ จึงมีบทบาทสำคัญมาก ในการปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม และควรทำอย่างต่อเนื่อง ทั้งในและนอกหลักสูตร คนเราถ้าไม่มีความรู้สึกผูกพันต่อ พ่อ แม่ ต่องานต่อแผ่นดิน และสิ่งแวดล้อมที่มีต่อเขา จะสอนเท่าไรก็คงไม่มีประโยชน์ เพราะเขาจะเกิดความสำนึกในหน้าที่ ในคุณค่าของชีวิต คุณค่าของความเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะแม้ชีวิตของเขาเอง เขาก็ไม่รับผิดชอบเสียแล้ว เขาจะไปรับผิดชอบในหน้าที่ของเขาที่ต้องทำความดีและให้ความดีแก่สังคมที่ได้รับประโยชน์ได้อย่างไร ดังนั้น คุณธรรม จริยธรรม จึงเป็นตัวผล ที่จะต้องสร้างด้วย เหตุ คือ ให้ความรู้ ความเข้าใจแก่เขาเป็นอย่างดี

­

ฐานเยาวชนคลองไคร ทำดีถวายในหลวง เป็นฐานการเรียนรู้ที่รวบรวมกิจกรรมต่างๆที่ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียน เพื่อสื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมว่านักเรียนในโรงเรียน เป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรมอย่างไร และจะแสดงออกได้อย่างไรถึงการมีคุณธรรมจริยธรรม

­

๒. การใช้หลักความพอประมาณ

เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา โดยยึดคุณธรรมนำความรู้สร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และได้กำหนดคุณลักษณ์อันพึงประสงค์ของเด็กไทย ๙ ประการในหลักสูตรขั้นพื้นฐาน คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ ซึ่งเป็นคุณธรรมพื้นฐานที่นักเรียนต้องเรียนรู้และพฤติปฏิบัติ กิจกรรมที่ปฏิบัติเพียงพอกับงบประมาณที่ได้รับ เหมาะสมกับนักเรียนในระดับต่างๆ

­

๓. การใช้หลักการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

การวางแผนการปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม ให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน สามารถทำได้ดังนี้

๑.การสอนโดยตรงในรายวิชาต่างๆ

๒.การปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม โดยบูรณาการไว้ในการเรียน การสอน

๓.การสนับสนุนส่งเสริมงานด้านกิจกรรมนักเรียน ๔.ผู้สอนต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน ๕.การให้รางวัลและการยกย่อง ชมเชย นักเรียนที่ทำความดี กระทำตนเป็นประโยชน์แก่สังคม

­

การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ประกอบด้วย

๑. ผู้ปกครองทุกระดับต้องตั้งอยู่บน ความถูกต้อง ความสุจริต ยุติธรรม เพราะการประพฤติปฏิบัติของผู้ปกครอง จะกระทบกับทุกอณูของสังคม ดังนั้นการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ผู้ปกครองทุกระดับ ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีลงไปถึงหัวหน้าครอบครัวต้องเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม

๒. ครอบครัวอบอุ่น การอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวจะผดุงไว้ซึ่งคุณธรรมได้มากกว่าคนที่ไม่ได้อยู่กันครอบครัว

๓. ชุมชนแข็งแรง จะผดุงไว้ซึ่งคุณธรรมได้มากกว่าชุมชนที่ไม่เข้มแข็ง

๔. การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ เป็นรากฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข สัมมาชีพเป็นอาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และมีรายจ่ายน้อยกว่ารายได้ สัมมาชีพเป็นการบูรณาการของความดี

๕. การมี สปีริตแห่งความเป็นอาสาสมัครเต็มแผ่นดิน รัฐบาลควรมีนโยบายส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษา ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน ใช้เวลาช่วงหนึ่งในแต่ละปีเป็นอาสา สมัครเพื่อเพื่อนมนุษย์ ซึ่งจะไปกระตุ้นเมล็ดพันธ์แห่งความดีในจิตใจของแต่ละคนให้งอกงามขึ้น และเป็นการเชื่อมโยงมนุษย์เข้ามาหากันด้วยความเมตตากรุณา

๖. ส่งเสริมการพัฒนาจิตให้เป็นวิถีชีวิต ในขณะที่จิตสามารถฝึกอบรบให้มีความสุขได้ ฝึกอบรมให้ลดความเห็นตัวได้ ฝึกอบรมให้มีสติ มีสมาธิ มีปัญญายิ่งๆขึ้นได้ คนปัจจุบันเกือบไม่มีการพัฒนาจิตเลย ควรส่งเสริมการพัฒนาจิตให้เป็นวิถีชีวิตของผู้คนทั้งในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน ส่งเสริมให้มีศูนย์พัฒนาจิต ทั้งทางสถาบันทางศาสนา หรือดำเนินการโดยฆราวาส

๗. การศึกษาที่เข้าถึงความดี การศึกษาของเราเกือบทั้งหมดเอา วิชา เป็นตัวตั้ง จึงทำให้เข้าไม่ถึงความดี ในขณะที่ มีคนที่คิดดีทำดีอยู่ด้วย การศึกษาของคนเราไม่รู้จักค้นหาสิ่งเหล่านั้น การศึกษาทุกระดับควรไปศึกษาวิจัยในพื้นที่ให้รู้จักคนดีๆ แล้วนำมาสื่อสารเรียนรู้กัน เรื่องคนดีก็จะซึมซับเข้าไปสู่ผู้เรียน

๙. การสื่อสารความดี เป็นสิ่งที่มีพลังมากทั้งทางบวก และทางลบ ควรมีการสื่อสารให้คนทั้งประเทศเข้าถึงความจริง ความดี และความงาม

­

๑.๓.๒ หลัก ๒ เงื่อนไข

เงื่อนไขคุณธรรม

๑. ขยัน ความหมายของคำว่า ขยัน คือ ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมออดทนไม่ท้อถอยเมื่อพบอุปสรรค ความขยันต้องปฏิบัติควบคู่กับการใช้สติปัญญาแก้ปัญหาจนเกิดผลสำเร็จตามความมุ่งหมายคุณลักษณะเชิงพฤติกรรม ผู้ที่มีความขยัน คือผู้ที่ตั้งใจทำอย่างจริงจังต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควรผู้ที่เป็นคนสู้งานมีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง

­

๒. ประหยัด ความหมายของคำว่า ประหยัด คือ การรู้จักเก็บออมถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของแต่พอควรพอประมาณ ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อ คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม ผู้ที่มีความประหยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตนคิดก่อนใช้คิดก่อนซื้อ เก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่ารู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเองอยู่เสมอ

­

๓. ความซื่อสัตย์ ความหมายของคำว่า ความซื่อสัตย์ คือ ประพฤติตรงไม่เอนเอียงไม่มีเล่ห์เหลี่ยมมีความจริงใจปลอดจากความรู้สึกลำเอียงหรืออคติคุณลักษณะเชิงพฤติกรรม ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือผู้ที่มีความประพฤติตรงทั้งต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช้เล่ห์กลคดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองและปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้อง

­

๔. มีวินัย ความหมายของคำว่า มีวินัย คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผนข้อบังคับและข้อปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งวินัยในตนเองและวินัยต่อสังคม คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม ผู้ที่มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน/องค์กร/สังคมและประเทศโดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ

­

๕. สุภาพ ความหมายของคำว่า สุภาพ คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อมมีกิริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะคุณลักษณะเชิงพฤติกรรม ผู้ที่มีความสุภาพ คือผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว รุนแรงวางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจาและท่าทาง แต่ในเวลาเดียวกันยังคงมีความมั่นใจในตนเอง เป็นผู้ที่มีมารยาท วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย

๖. สะอาด ความหมายของคำว่า สะอาด คือ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจและสภาพแวดล้อม ความผ่องใสเป็นที่เจริญตาทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็นคุณลักษณะเชิงพฤติกรรม ผู้ที่ความสะอาด คือ ผู้รักษาร่างกายที่อยู่อาศัยสิ่งแวดล้อมถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัวจึงมีความแจ่มใสอยู่เสมอ

๗. สามัคคี ความหมายของคำว่า สามัคคี คือ ความพร้อมเพียงกันความกลมเกลียวกัน ความปรองดองกัน ร่วมใจกันปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามที่ต้องการเกิดงานการอย่างสร้างสรรค์ปราศจากการทะเลาะวิวาท

­

ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นการยอมรับความมีเหตุผลยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติความกลมเกลียวกันในลักษณะเช่นนี้ เรียกอีกอย่างว่า ความสมานฉันท์ คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม ผู้ที่มีความสามัคคี คือผู้ที่เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลังช่วยเหลือเกื้อกูลกันเพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง แก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อพร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ

­

๘. มีน้ำใจ ความหมายของคำว่า มีน้ำใจ คือความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง

­

แต่เห็นอกเห็นใจเห็นคุณค่าในเพื่อน มนุษย์ มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ให้ความสนใจในความต้องการ ความจำเป็น ความทุกข์สุขของผู้อื่นและพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกันคุณลักษณะเชิงพฤติกรรม ผู้ที่มีน้ำใจ คือผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตนเพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่นเข้าใจ เห็นใจ ผู้ที่มีความเดือดร้อนอาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกาย สติปัญญา ลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหาหรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน

­

๒. เงื่อนไขความรู้

การจัดกิจกรรมตาม โครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่กิจกรรมการเรียนรู้ มีกิจกรรมฐานการเรียนรู้ดังนี้ เทิดไท้องค์ราชันน้อมนำหลักปรัชญาสู่วิธีพอเพียง สิ่งประดิษฐ์คิดสร้างสรรค์ ประจักษ์ร้อยพันก้องหล้านวมินทร์ เยาวชนคลองไครทำดี ถวายในหลวง ดุกหรรษา ประชาทั่วถิ่น รู้ทำกินใต้ร่มองค์ภูมิพล สมุนไพรเทิดไท้องค์ราชันย์ ผักปลอดสารพิษ ปุ๋ยชีวภาพปลอดภัยสู่ปลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รีไซเคิลลดโลกร้อนสนองใต้เบื้องพระยุคลบาท กะปิภูมิปัญญา ใต้หล้าพระบารมี หยดน้ำใสดั่งดวงหทัยองค์ราชันย์ กิจกรรมวันสำคัญ เช่น วันพ่อแห่งชาติ วันแม่แห่งชาติ วันเข้าพรรษา วันวิสาขบูชา การแข่งขันกีฬา กิจกรรมออมทรัพย์ ฯลฯ

­

๑.๓.๓ เชื่อมโยง ๔ มิติ


๑. มิติด้านวัตถุ

กิจกรรมฐานนี้มุ่งสร้างผู้เรียนให้เกิดจิตสำนึก เห็นคุณค่าในการใช้จ่ายเงิน ใช้สิ่งของ ประหยัด อดออม ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ที่สุด ใช้จ่ายตามความจำเป็น ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย ไม่ตกเป็นทาสของวัตถุนิยมและบริโภคนิยม คำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงในอนาคต และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง

­

มิติด้านสิ่งแวดล้อม

มุ่งให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ลดการใช้พลังงาน นำสิ่งที่ไม่มีค่ามาประดิษฐ์คิดค้นให้เกิดประโยชน์ รักษาระบบนิเวศวิทยา การพึ่งพาอาศัยระหว่างเรากับธรรมชาติ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมรักษาสมดุลทางสิ่งแวดล้อม

­

มิติด้านสังคม

มุ่งสร้างความสงบสุข มีความเอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างอยู่ มุ่งให้เกิดความสามัคคีร่วมมือกัน เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันโดยปราศจากการเบียดเบียน การเอารัดเอาเปรียบกัน การมุ่งร้ายทำลายกัน จะเห็นได้จากการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน ระหว่างนักเรียนกับนักเรียน นักเรียนกับโรงเรียน โรงเรียนกับชุมชน

­

มิติด้านวัฒนธรรม

มุ่งให้ผู้เรียนมีจุดยืนในชีวิต มีหลักคิด หลักปฏิบัติ ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและพัฒนาตนเอง มีความแกร่งในความเป็นไทย ไม่ลืมรากเหง้าของตนเอง สืบทอดประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้าใจในความเป็นสากล เพื่อให้อยู่รอดได้ในยุคโลกาภิวัฒน์ คำรงตนอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงรอบด้าน

­

๑.๔ บูรณาการกับวิชาใดได้บ้าง

๑.การสอนโดยตรงในรายวิชาสังคมฯ เช่น สาระการเรียนรู้ที่ ๑ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ทุกระดับชั้น และสาระการเรียนรู้ที่ ๒ หน้าที่พลเมือง และการดำเนินชีวิตในสังคม ทุกระดับชั้น ๒.การปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม โดยบูรณาการไว้ในการเรียน การสอน ทุกกลุ่มสาระ

­

ขั้นตอนที่ ๒ วิธีการ

๒.๑ ขั้นตอนการใช้ฐานการเรียนรู้

การเรียนกิจกรรมฐานเยาวชนคลองไคร ทำดีถวายในหลวง ในปีการศึกษา ๒๕๕๕ ภาคเรียนที่ ๑ จะเน้นนักเรียนในระดับช่วงชั้นที่ ๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ กิจกรรมที่เลือกสำหรับนักเรียนในชั้นนี้ ชื่อกิจกรรมสุดยอดนักประหยัด

­

๒.๒ ใช้วัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณ อะไรบ้าง

วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ กระปุกนักประหยัด สมุดนักประหยัด สมุดบัญชีธนาคารต่างๆ ใบความรู้ ใบงาน

­

๒.๓ มีวิธีการจัดการเรียนรู้ มีข้อมูลประกอบฐานอะไรบ้าง มีวิธีการสอนที่เชื่อมโยงกับสาระการเรียนรู้อย่างไร


วิธีการจัดการเรียนรู้

๑. ทำแบบทดสอบก่อนเรียนครูนำกระปุกออมสิน สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารต่างๆ มาให้นักเรียนดู

๒.ครูให้นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง ความหมายของการออม การรู้จักวางแผนการใช้จ่าย และวิธีการวางแผนการใช้จ่าย

๓.นักเรียน ๒-๓ คน ออกมาเล่าประสบการณ์ในการออมของตนเองให้เพื่อนฟัง

๔.นักเรียน ๒-๓คน ออกมาเล่าประสบการณ์ในการใช้เงินของตนเอง

๕.ให้นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง ประโยชน์ของการใช้จ่ายเงินไม่เกินตัว และโทษของการใช้จ่ายเงินเกินตัว

๖.ออกแบบกระปุกออมสิน คนละ ๑ แบบ จากวัสดุที่เหลือใช้ภายในบ้านและให้นักเรียนเตรียมอุปกรณ์มาทำกระปุกออมสินในชั่วโมงถัดไป

๗.นักเรียนแต่ละคนออกมานำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน

๘.นักเรียนทำใบงาน เรื่อง จ่ายเป็น ออมเป็น ไม่ขัดสน

๙.นักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๖ คน คละกันตามความสามารถ แล้วให้แต่ละกลุ่มแต่งนิทานสั้นๆ เกี่ยวกับการออม พร้อมวาดภาพประกอบ ออกมานำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน

๑๐. นักเรียนทุกคนทำสมุดนักประหยัด บันทึกรายรับรายจ่ายของตนเอง โดยวางแผนการใช้จ่ายเงินของตนเองตามจำนวนเงินที่ได้รับในแต่ละวัน เป็นเวลา ๑ สัปดาห์ ทำแบบทดสอบหลังเรียน

­

ข้อมูลประกอบฐาน ได้แก่ กระปุกออมสิน สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารต่างๆ ใบความรู้ ใบงาน

­

วิธีการสอนที่เชื่อมโยงกับสาระการเรียนรู้ ใช้ทักษะการกลุ่ม ดูเนื้อหาของคุณธรรม ตรงกับเรื่องใด สาระใด นำไปบูรณาการกับสาระนั้นๆ เรื่องนี้ ตรงกับคุณธรรม ความประหยัดอดออม สาระเศรษฐศาสตร์

­

๒.๔ มีวิธีการประเมินผล / วัดผลการเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้อย่างไร

­

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ