กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
รากฐานความพอเพียง
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

จัดทำโดย

ชื่อโครงงาน : รากฐานความพอเพียง

ชื่อผู้ทำโครงงาน : 1. น.ส. จารุวรรณ ชูเกิด

2. น.ส. จิรัชญา หนูอนันต์

3. น.ส. นุชนาฎ แคนยุกต์

4. น.ส. วรรณดี ไก่แก้ว

5. น.ส. อิสริยาภรณ์ รอดกลิ่น

คุณครูที่ปรึกษาโครงงาน : คุณครูเพ็ญศรี เพ็งสวัสดิ์

­

ที่มาและความสำคัญ

ในปัจจุบันนี้ประชาชนมีการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย โดยไม่ได้มีการวางแผนการใช้จ่ายไว้ล่วงหน้า และการใช้จ่ายแต่ละครั้งก็ไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ ประกอบไปกับปัญหาเศรษฐกิจในยุคนี้คือข้าวของ และอาหารมีราคาที่สูงขึ้นทุกวัน ทำให้ประชาชนเกิดหนี้สิน อีกทั้งการซื้อของในตลาดบางครั้งอาจมีสารเคมีตกค้าง

­

ทางกลุ่มของเราจึงคิดที่จะทำโครงงานนี้ขึ้นเพื่อช่วยให้ประชาชนในชุมชนมีการตัดสินใจที่ดีขึ้น โดยทางกลุ่มได้นำวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค33101 ภาคเรียนที่ 1 ระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 เรื่อง สถิติ และข้อมูล มาประยุกต์ใช้ในการทำโครงงานชิ้นนี้ เพราะถ้าเราทำอะไรโดยมีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ก่อน ถือเป็นการวางแผนที่ดี

­

จากการที่เราได้ลงพื้นที่สำรวจโดยพื้นที่ที่เราเลือกนั้นคือ หมู่ที่ 8 ต.หนองบัว พบว่าชาวบ้านมีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ มีการเลี้ยงปลา เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ และการปลุกผักริมรั้ว ทางกลุ่มจึงได้ลงพื้นที่ไปสอบถามประชาชนเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงปลา เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ และการปลูกผักของแต่ละบ้านแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ว่า วิธีการเลี้ยงแบบใดจะทำให้ประชาชนลดค่าใช้จ่ายและได้กำไรมากที่สุด

­

วัตถุประสงค์

1.ใช้ข้อมูลข่าวสารและสถิติช่วยในการวางแผนและตัดสินใจ

2.เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริม

3.เพื่อเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าสู่ชุมชน

­

ขอบเขตของโครงงาน

1. สาระของการศึกษา

- ศึกษาเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

- ศึกษาเรื่อง ข้อมูล และ สถิติ จากบทเรียนบทที่ 1 วิชาคณิตศาสตร์ สาระพื้นฐาน

- ศึกษาและพัฒนาทักษะการสื่อสาร และ การใช้เทคโนโลยี

- ศึกษาการปลูกผัก เลี้ยงปลา และอาชีพเสริมของชาวบ้าน

­

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ชาวบ้านมีการตัดสินใจที่ดีขึ้น

2. ทำให้สมาชิกในกลุ่มมีความขยันและอดทน

3 มีภูมิคุ้มกันและมีทักษะในการใช้ชีวิตมากขึ้น

4. ลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมได้

5. สมาชิกในกลุ่มสามารถนำวิถีชีวิตในการประกอบอาชีพต่างๆของประชาชนมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

6. ชาวบ้านใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์มากขึ้น

7. สร้างนิสัยพอเพียงแก่สมาชิกในกลุ่มและชาวบ้าน

­

วิธีการดำเนินงาน

1. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ สถิติ และ ข้อมูล

2. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3. สมาชิกในกลุ่มประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับการทำโครงงาน

4. ลงพื้นที่สำรวจ

5. เก็บรวบรวมข้อมูล

6. วิเคราะห์ข้อมูล

7. ไปศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาชีพอาชีพเสริม

8. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพเสริมที่ได้ไปศึกษามาในรูปแบบแผ่นพับ

9. ไปเผยแพร่ความรู้แก่ชุมชน

10. รวบรวมเป็นชิ้นงาน พร้อม นำเสนอ

­

ผลของการศึกษา

1.ใช้ข้อมูลข่าวสารและสถิติช่วยในการวางแผนและตัดสินใจ

­

ผลของการศึกษา

จากการที่ได้นำข้อมูลข่าวสารมาทำเป็นค่าสถิติแล้วทำให้ชาวบ้านรู้ว่า ชาวบ้านควรประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับฐานะของตนเอง

2.เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริม

­

ผลของการศึกษา

ชาวบ้านมีการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์มากขึ้นจากการทำอาชีพเสริม เช่น การปลูกผัก เลี้ยงปลา เป็นต้น

3.เพื่อเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าสู่ชุมชน

­

ผลของการศึกษา

จากการที่ทางกลุ่มได้มีการลงพื้นที่พูดคุยกับชาวบ้านแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันและทางกลุ่มได้จัดทำแผ่นพับเกี่ยวกับการปลูกผักในพื้นที่จำกัด การเลี้ยงปลาดุก การเลี้ยงไก่ การเพาะเห็ด แจกจ่ายให้กับชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านมีการปรับปรุงการปลูกผัก การเลี้ยงสัตว์ต่างๆให้ได้ผลผลิตที่ดีกว่าเดิม

­

สรุปและอภิปรายผลการดำเนินงาน

ในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ เรื่อง รากฐานความพอเพียง มีผลสรุปและอภิปรายผลการดำเนินงาน ในแต่ละขั้นการทดลองดังนี้

1.ใช้ข้อมูลข่าวสารและสถิติช่วยในการวางแผนและตัดสินใจ

- หลังจากการทำโครงงานครั้งนี้พบว่า สมาชิกในกลุ่มสามารถนำความรู้ที่ได้จากเรื่องสถิติ

และข้อมูลมาใช้ในช่วยในการตัดสินใจในชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น

2.เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริม

- หลังจากที่เราได้ไปเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการทำอาชีพเสริมให้กับชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริม และทำให้ชาวบ้านมีรายรับเพิ่มขึ้น

3.เพื่อเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าสู่ชุมชน

- หลังจากที่เราได้นำความรู้ไปเผยแพร่กับชุมชนในรูปแบบแผ่นพับ ทำให้ชาวบ้านมีทักษะในการใช้ชีวิตเพิ่มขึ้น

­

ข้อเสนอแนะ

1. สมาชิกในกลุ่มควรมีทักษะการสื่อสารกับชาวบ้านที่ดีกว่านี้

2. ในการงพื้นที่สำรวจควรไปในเวลาที่เหมาะสม

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ