กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
โครงงาน อี.เอ็ม. ( E.M.) นั้นสำคัญไฉน
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

­

โครงงาน : โครงงาน อี.เอ็ม. ( E.M.) นั้นสำคัญไฉน

เริ่มทำโครงงาน : กลางภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555

เรื่องเล่า : โครงงาน E.M. นั้น สำคัญไฉน

­

จากการเรียนการสอนในรายวิชา การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ รหัสวิชา I 22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ซึ่งจะต้องจัดการเรียนรู้ให้ถูกต้องตรงตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และตรงตามเป้าหมาย มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของวิชานี้จัดในลักษณะของบันได 5 ขั้น คือ (1) การตั้งประเด็นคำถาม / สมมุติฐาน (2) การสืบค้นความรู้จากแหล่งการเรียนรู้และสารสนเทศ (3) การสรุปองค์ความรู้ (4) การสื่อสารและการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ (5) การบริการสังคมและจิตสาธารณะ (ขั้นที่ 1 – 3 คือ IS1 ขั้นที่ 4 คือ IS2 ขั้นที่ 5 คือ IS3)

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทำโดยการให้นักเรียนรู้จักการตั้งคำถาม โดยคำที่ใช้เป็นคำถามได้แก่ ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม และอย่างไร จากนั้นครูนำตัวอย่างของจริงคือต้นตาลปัตรฤาษี มาให้ดู และให้นักเรียนทุกคนตั้งคำถามคนละ 1 คำถาม โดยไม่ให้คำถามซ้ำกัน แล้วให้นักเรียนทุกคนเลือกเรื่องที่ตนเองสนใจคนละ 1 เรื่อง และฝึกตั้งคำถามจากเรื่องนั้น ๆ จำนวน 30 ข้อ โดยทำเป็นการบ้านและนำมาส่งครูในวันรุ่งขึ้น ครูตรวจผลงานของนักเรียน จากนั้นให้นักเรียนรวมกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน ทุกคนนำเสนอเรื่องที่ตนเองสนใจต่อที่ประชุมกลุ่ม แล้วให้สมาชิกเลือกเรื่องที่สนใจที่สุดเพียงเรื่องเดียว และครูให้ความรู้เรื่องโครงงานและการบูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และขณะนั้นทางโรงเรียนได้จัดกิจกรรมจิตอาสา 

­

จึงได้ชักชวนนักเรียนเข้าร่วมโครงงาน มีนักเรียนเป็นสมาชิกโครงงานจำนวน 8 คน นักเรียนทุกคนเลือกทำเรื่อง EM. เนื่องจากผู้ปกครองของนักเรียนทั้ง 8 คน ต่างก็ใช้ EM. กันทุกครอบครัวโดยที่บ้านของ ด.ญ.อนุชสรา โพธิ์นางดำ ใช้ EM. ในการกำจัดกลิ่นเหม็นของน้ำเสียจากการทำโรงงานยางแผ่นรมควัน บ้านของด.ญ.เพชรรัตน์ จันทร์อุดม ใช้ EM. ในการกำจัดกลิ่นเหม็นของน้ำเสียจากการทำโรงงานยางแผ่นดิบ บ้านของ ด.ญ.อนุชฏา บันดาลลักษณ์ ใช้ EM. ในการกำจัดกลิ่นเหม็นจากการทำฟาร์มไก่เนื้อ บ้านของ ด.ญ.กนกพร ทิมเทพ ใช้ EM. ในการเลี้ยงปลา บ้านของ ด.ญ.พัสราภรณ์ บุญแจ่ม ด.ญ.ฐปนีย์ โพปลอด ด.ญ.นริศรา ทองสัมฤทธิ์ และ ด.ช.วัชรากร จันทร์นิ่ม ใช้ EM. ในการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในการปลูกพืชผักสวนครัว นอกจากนี้วัสดุที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นวัสดุเหลือใช้และมีอยู่ในท้องถิ่น เช่น แกลบดิบหรือเศษพืชต่าง ๆ มูลสัตว์ รำละเอียด(หากไม่มีก็ใช้กากมะพร้าวแทนได้) ใบสะเดา หัวข่า ตะไคร้หอม กล้วยน้ำว้า ฟักทอง มะละกอ น้ำซาวข้าว เศษอาหารในครัวเรือน ฯลฯ ซึ่งการนำวัสดุเหล่านี้มาใช้ก็สามารถช่วยลดมลภาวะต่าง ๆ ของโลกได้ด้วย 

­

  จากนั้นนักเรียนไปศึกษาค้นคว้าจากสื่อ / แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาเสนอในห้องเรียนและจัดแฟ้มผลงานส่งครู นักเรียนกลุ่มนี้ได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงที่ห้องปฏิบัติการเกษตรในเวลาพักกลางวันหรือเมื่อมีเวลาว่าง โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาและคอยให้คำแนะนำ โดยนักเรียนได้ใช้ EM. ในการทำปุ๋ยหมักโบกาฉิมูลสัตว์ เศษอาหารหมัก สารไล่แมลงศัตรูพืช ฮอร์โมนพืชและน้ำซาวข้าวสารพัดประโยชน์ เมื่อนักเรียนทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้แล้วก็นำไปใช้ในโรงเรียนที่บ้านของนักเรียนและชุมชนต่าง ๆ เช่น การใส่ปุ๋ยหมักโบกาฉิมูลสัตว์เป็นปุ๋ยรองพื้นและปุ๋ยแต่งหน้าในแปลงผักปลอดสารพิษ และต้นไม้หรือพืชทั่ว ๆ ไปที่ปลูกในโรงเรียน การนำโบกาฉิมูลสัตว์ไปเป็นส่วนประกอบในการทำเศษอาหารหมัก การนำโบกาฉิมูลสัตว์ไปหว่านในแหล่งน้ำเสีย มีกลิ่นเหม็น 

­

ซึ่งจะช่วยปรับปรุงสภาพน้ำให้ดีขึ้น การนำน้ำจากเศษอาหารหมักไปดับกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ แก้ปัญหาห้องน้ำอุดตันหรือส้วมเต็ม และนำไปขัดโลหะ เช่น หัวเข็มขัดให้สวยเป็นเงางามได้ด้วย นอกจากนี้กากของเศษอาหารหมักยังสามารถนำไปฝังเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ได้เป็นอย่างดี ส่วนน้ำซาวข้าวสารพัดประโยชน์ก็สามารถนำไปใช้ล้างจาน ฉีดพ่นปรับอากาศ และใช้ทำปุ๋ยได้ การนำน้ำฮอร์โมนพืชไปฉีดพ่นพืชจะทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี ให้ผลผลิตสูง ผลผลิตมีคุณภาพดี ส่วนที่เป็นไขจากฮอร์โมนพืชก็สามารถนำไปทาแผลกิ่งตอนซึ่งจะช่วยให้กิ่งตอนออกรากได้ดียิ่งขึ้น ส่วนสารไล่แมลงศัตรูพืชเมื่อนำไปฉีดพ่นในแปลงปลูกพืชผักก็สามารถไล่แมลงศัตรูพืชได้ ซึ่งจะไม่มีสารพิษตกค้างในพืชผักหรือก่อให้เกิดโทษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำสารไล่แมลงศัตรูพืชนั้นสามารถรับประทานได้ทุกชนิด เช่น หัวข่าใบสะเดา ตะไคร้หอม หลังจากนักเรียนนำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ไปใช้และเผยแพร่สู่ชุมชนแล้วครูและนักเรียนถอดบทเรียนสรุปผลการปฏิบัติงานบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

­

จากการที่นักเรียนทำโครงงานนี้ทำให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะต่าง ๆ ดังนี้ คือ

- ทักษะการคิด : การคัดเลือกโครงงานที่เหมาะสมกับเหตุผลและความสามารถของสมาชิก

ในกลุ่ม การรู้จักการวางแผนการปฏิบัติงาน การกำหนดปฏิทินการปฏิบัติงาน

- ทักษะการแก้ปัญหา : การหาเวลานอกในการปฏิบัติงาน โดยใช้เวลาที่นักเรียนว่างหรือ

ตอนพักกลางวัน การใช้วัสดุทดแทน เช่น การใช้กากมะพร้าวแทนรำละเอียด (ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย)

- ทักษะการสื่อสาร : การติดต่อสื่อสารร่วมกันของสมาชิกภายในกลุ่ม การติดต่อสื่อสาร

กับครูที่ปรึกษา ผู้ปกครองหรือบุคคลอื่น ๆ เช่น การที่นักเรียนนำผลงานไปจัดนิทรรศการ/เผยแพร่ที่โรงเรียนห้วยยอด (การตรวจเยี่ยมสถานศึกษาและการประเมินผู้อำนวยการ) การจัดนิทรรศการในงานเปิดอาคารเรียนเฉลิมพระเกียรติฯโรงเรียนรัษฏา การจัดนิทรรศการในงานวันเยาวชนแห่งชาติ (มหกรรมพลังเยาวชน พลังท้องถิ่น จังหวัดตรัง ครั้งที่ 2) การจัดนิทรรศการในงานถนนเด็กเดินจังหวัดตรัง (ตรัง เมืองแห่งความสุข)

- ทักษะการใช้เทคโนโลยี : โดยใช้ในการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต การติดต่อสื่อสารการรายงานโครงงานและการนำเสนอผลงาน

- การใช้ทักษะชีวิต : โดยการร่วมกันทำงานเป็นกลุ่ม การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับความสามารถของสมาชิกแต่ละคน การนำวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ การช่วยลดมลพิษต่าง ๆ การลดภาวะโลกร้อน การรู้จักกตัญญูต่อแผ่นดิน ตลอดจนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่สู่ชุมชน เพื่อร่วมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง/สังคมเป็นสุข และนักเรียนสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข

­

นอกจากนั้นการทำโครงงานนี้ยังสามารถพัฒนาลักษณะนิสัยพอเพียงของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้นได้ เช่น

­

1. ด.ญ. พัสราภรณ์ บุญแจ่ม : รู้จักการวางแผนการทำงาน การจัดลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน การแบ่งงานหรือหน้าที่ความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับสมาชิกแต่ละคน มีระเบียบวินัยในการทำงานดีมาก เช่น การขีดเส้นบรรทัด การจดบันทึกลงในสมุด การทำรายงาน

2. ด.ญ. อนุชฎา บันดาลลักษณ์ : เป็นคนมีเหตุผล ใช้เหตุผลในการทำงาน ทำงานร่วม

กับเพื่อน ๆ ได้เป็นอย่างดี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจ เมื่อเพื่อนมีปัญหาก็รีบให้ความช่วยเหลือ เสียสละเวลา ทรัพย์สิน และความสุขส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

3. ด.ญ.ฐปนีย์ โพปลอด : เป็นคนตรงต่อเวลา มีความอดทน ใจเย็น ชอบความปรองดอง

รักความสามัคคี ให้ความร่วมมือในการทำงานเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี มีความสุภาพอ่อนน้อม

4. ด.ญ.กนกพร ทิมเทพ : มีความรับผิดชอบต่องานหรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และมีความระมัดระวังในการทำงาน เช่น การสับตะไคร้หอม เนื่องจากตะไคร้หอมมีความแข็งและสับยากจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ มิฉะนั้นจะเกิดอันตรายกับนิ้ว / มือได้

5. ด.ญ.อนุสรา โพธิ์นางดำ : เนื่องจากผู้ปกครองมีฐานะดีมาก จึงใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ไม่รู้จักประมาณตน แต่เมื่อเข้าร่วมโครงงานนี้แล้วทำให้เป็นคนที่รู้จักประหยัดมากขึ้น เช่น การใช้ อี.เอ็ม. และกากน้ำตาล โดยไม่ทำให้หกเรี่ยราด ใช้วัสดุทุกชนิดอย่างคุ้มค่าที่สุด และรู้จักการประมาณตนมากขึ้น

6. ด.ญ.เพชรรัตน์ จันทร์อุดม : รักความสะอาด เช่น ทำความสะอาดเครื่องมือ อุปกรณ์ และสถานที่ทุกครั้งหลังจากการใช้งาน เป็นผู้ที่มีความกตัญญู ไม่ประพฤติตนให้ผู้ปกครองมีความกังวลใจดังเช่นเมื่อก่อน

7. ด.ญ. นริศรา ทองสัมฤทธิ์ : เป็นคนกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น มีความซื่อสัตย์ เช่น การจัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย ด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส

8. ด.ช.วัชรากร จันทร์นิ่ม : ก่อนเข้าร่วมโครงงานนี้เป็นคนไม่ขยันและไม่ค่อยมีความรับผิดชอบ แต่หลังจากเข้าร่วมโครงงานนี้ทำให้เป็นคนขยันและมีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้มีผลการเรียนดีขึ้นด้วย

­

จะเห็นได้ว่าโครงงานนี้เป็นโครงงานที่ดีและมีประโยชน์มากดังได้กล่าวมาแล้ว สมควรที่จะดำเนินการต่อไปเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดีของประเทศชาติสืบไป.

­

4. ฐานการเรียนรู้

ชื่อฐานการเรียนรู้ : ฐานการเรียนรู้ E.M. นั้น สำคัญไฉน

­

กิจกรรมภายในฐานการเรียนรู้

­

- เป็นการนำเสนอของจริงโดยนำเสนอในรูปของบอร์ดความรู้ แผ่นพับ และ Power point

ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับ วัสดุ /อุปกรณ์ วิธีทำ และการนำไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับ E.M. กากน้ำตาล รวมทั้งผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทำจาก E.M. ได้แก่ ปุ๋ยหมักโบกาฉิมูลสัตว์ เศษอาหารหมัก ฮอร์โมนพืช สารไล่แมลงศัตรูพืช และน้ำซาวข้าวสารพัดประโยชน์ - รูปภาพการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ โดยนักเรียนนำปุ๋ยหมักโบกาฉิมูลสัตว์ และสารไล่แมลงศัตรูพืชไปใช้ในแปลงพืชผักที่ปลูกในบริเวณแปลงพืชผักปลอดสารพิษหน้าโรงเรียน โดยเริ่มตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ การใส่ปุ๋ยรองพื้น การปลูก การบำรุงรักษา การเก็บเกี่ยว การจำหน่าย และการทำบัญชีการจำหน่ายพืชผัก

­

- โครงงาน งานประดิษฐ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีซึ่งบูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เช่น โครงงานดอกไม้จากถุงน้ำยาปรับผ้านุ่มโครงงานหงส์สวยด้วยไพ่เหลือใช้ โครงงานดอกกุหลาบจากใบเตยหอม โครงงานรถตุ๊ก ตุ๊ก เมืองตรัง โครงงานดอกไม้จากผ้าใยบัว โครงงานจักรยานเหรียญโปรยทาน โครงงานดอกไม้จากเกล็ดปลา โครงงานชั้นวางของ โครงงานชั้นวางรองเท้า โครงงานสานปลาตะพียน โครงงานการสานกุ้ง เป็นต้น

­

- โครงงานการทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น โดยสาธิตวิธีการทำทุกขั้นตอนตลอดจนถึงการบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์และการจำหน่าย

­

- การสาธิตการสานกุ้งจากทางมะพร้าว

­

5. คลังความรู้ ได้แก่

- รูปภาพ

- ตัวอย่างของจริง

- บอร์ดความรู้

- การสาธิต

- Power point

- หน่วยการเรียนรู้ / แผนการจัดการเรียนรู้

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ