กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
โครงงานสืบสานภูมิปัญญาไทย
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

ครงงานบูรณาการจิตอาสากับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “สืบสานภูมิปัญญาไทย”

รายวิชา ท31101 ภาษาไทย 7 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

หน่วยการเรียนรู้

  หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ภูมิปัญญาพาสู่ชุมชน (แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์)

  หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คนสร้างสันติด้วยรัก (อิเหนา)

  หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย (หัวใจชายหนุ่ม)

ตัวชี้วัด

ท 1.1 ม.4-6/3

ท 5.1 ม.4-6/1

ท 5.1 ม.4-6/4

ท 2.1 ม.4-6/1

ท 3.1 ม.4-6/5

กิจกรรมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ภูมิปัญญาพาสู่ชุมชน

  1. อ่านแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
  2. วิจารณ์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์จากการอ่าน
  3. ให้ข้อคิดจากการอ่านแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
  4. นำข้อคิดมาปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
  5. เขียนโครงงานใส่ใจคุณภาพชีวิต อนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย (ท้องถิ่น)

ข้อคิด ภูมิปัญญาไทยสร้างคุณภาพชีวิต จึงควรค่าแก่การอนุรักษ์

ภาระงาน ใช้กระบวนการกลุ่มเขียนโครงงานใส่ใจคุณภาพชีวิต สืบสานภูมิปัญญาไทยแล้วนำเสนอ

กิจกรรมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คนสร้างสันติด้วยรัก

  1. อ่านอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
  2. วิจารณ์อิเหนาจากการอ่าน
  3. ให้ข้อคิดจากการเรียนรู้อิเหนา
  4. นำข้อคิดมาปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
  5. เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (โครงงาน) จากผู้ใหญ่ใจดีและ/หรืออินเทอร์เน็ต

ข้อคิด ผู้ใหญ่ต้องมีความรักให้กับบุตรหลาน จึงจะทำให้เกิดความสันติสุขในสังคม

ภาระงาน ใช้กระบวนการกลุ่มเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยจากผู้ใหญ่ใจดี

กิจกรรมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

  1. อ่านหัวใจชายหนุ่ม
  2. วิจารณ์หัวใจชายหนุ่มจากการอ่าน
  3. ให้ข้อคิดจากการเรียนรู้หัวใจชายหนุ่ม
  4. นำข้อคิดมาปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
  5. เผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นแก่น้องๆ และชุมชน
  6. รายงานโครงการ

ข้อคิด เกิดเป็นคนไทยต้องรักและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

ภาระงาน ใช้กระบวนการกลุ่มเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น

การสอนหนังสือเป็นการสร้างความรู้ให้นัก เรียนเป็นคนเก่ง การสอนคนเป็นการสร้างความดีให้เกิดกับนักเรียน เมื่อนักเรียนเป็นคนเก่ง คนดี ก็จะใช้ชีวิตอยู่กับผู้อื่นอย่างมีความสุข ครูจึงต้องมีหน้าที่สอนทั้งหนังสือและสอนคน

ความรู้

รู้เรื่องแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์   โครงงาน  อิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  หัวใจชายหนุ่ม

ทักษะกระบวนการ

ทักษะการสื่อสาร อ่าน วรรณคดี วรรณกรรมที่กำหนดให้ 3 เรื่อง  อ่านความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากอินเทอร์เน็ต  อ่านความรู้เรื่องโครงงาน  เขียนโครงงาน ข้อมูลจากการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น รายงานโครงงาน

ทักษะการคิด วิจารณ์การ อ่านวรรณคดี/วรรณกรรมที่กำหนดให้ 3 เรื่อง สร้างสรรค์ในการทำโครงงานสืบสานภูมิปัญญาไทยด้วยการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่จากโครงงาน

ทักษะการแก้ปัญหา ร่วมกัน ตัดสินใจในการทำงาน เช่น ตัดสินใจเลือกโครงงาน เลือกภูมิปัญญาท้องถิ่น ร่วมกันแก้ปัญหาในการทำงาน เช่น พิจารณาเลือกเวลาทำงานพร้อมกัน เลือกวิธีการ วัสดุในการเผยแพร่

ทักษะชีวิต เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยตนเอง ร่วมกันทำงานกลุ่มจนเสร็จร่วมเรียนรู้จากครูภูมิปัญญา ร่วมกันแก้ปัญหา

ทักษะการใช้เทคโนโลยี ศึกษาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต ใช้  PowerPoint ในการนำเสนอ

เจตคติ

  • รักการอ่านแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
  • รักการเขียนโครงงาน
  • รักการพูดและการฟังแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่ม
  • รักการพูดและการฟังข้อเสนอแนะกับครูที่ปรึกษา
  • รักและสนุกกับการเรียนรู้ภาษาไทย
  • รักและสนุกกับการเรียนรู้ร่วมกับครูภูมิปัญญา เพื่อน และพี่ๆ จากศูนย์ประสานงานพัฒนาเด็กและเยาวชน จังหวัดตรัง
  • มีความสุขกับการเผยแพร่ พาน้องๆ เล่นปนเรียน ภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างมีจิตอาสา

อุปนิสัยพอเพียง

ใฝ่รู้ใฝ่เรียน

  • แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
  • โครงงาน
  • อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
  • ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • หัวใจชายหนุ่ม

ความซื่อสัตย์

  • ถ่ายทอดความรู้ให้กับน้องๆ และชุมชนอย่างถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์
  • นำข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้มาใช้อย่างถูกต้อง

ความอดทน

  • เรียนรู้การเขียนโครงงานด้วยความอดทน
  • ทำงานชิ้นด้วยความอดทน

ความมีวินัย

มีวินัยในการเรียนรู้ : ขยัด อดทน ซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา

ความขยัน ขยันเรียนรู้ทั้งวิชาภาษาไทยและวิชาอื่น ๆ

ความประหยัด

ใช้วัสดุ : ท้องถิ่น ธรรมชาติ เหลือใช้

ความสามัคคี มีน้ำใจ

ใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกัน : เรียนรู้ คิด ทำงน แก้ปัญหา

ความกตัญญู

เรียนรู้ภูมิปัญญาจากครูพ่อ ครูแม่

ความสะอาด

ทำชิ้นงานโดยคำนึงถึงความสะอาด

ความสุภาพ ใช้ถ้อยคำสุภาพพูดคุยกับครูพ่อ ครูแม่ น้องๆ ครูที่ปรึกษา และชุมชน

ความรับผิดชอบ ทำโครงงาน และเผยแพร่สู่น้องๆ และชุมชน

การตรงต่อเวลา จัดสรรเวลาในการทำงานเสร็จตามเวลาที่กำหนด

การมีเหตุผล บอกเหตุผลในการเลือกทำโครงงาน และแสดงความคิดเห็นภายในกลุ่ม

การรู้จักประมาณตน ทำโครงงานที่เหมาะสมกับศักยภาพของกลุ่มมีในชุมชน

การสร้างภูมิคุ้นกันในตัวที่ดี

  • เลือกทำโครงงานที่เหมาะสมกับนักเรียน
  • เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากครูพ่อ ครูแม่ที่อยู่ในบ้านไม่ต้องเดินทางไกล
  • เรียนรู้และทำชิ้นงานอย่างระมัดระวัง
กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ