กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สิ่งประดิษฐ์คิดสร้างสรรค์
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

ฐานการเรียนรู้ ที่ 1

สิ่งประดิษฐ์คิดสร้างสรรค์

­

ที่มาของฐานการเรียนรู้

โรงเรียนบ้านคลองยาง มุ่งเน้นการอนุรักษ์ และพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน มีความต้องการที่จะนำขยะหรือเศษวัสดุไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าที่สุด เป็นการปลูกฝังจิตสำนึกให้นักเรียนได้รู้คุณค่าของขยะ ฝึกความประหยัดการทำงานแบบมีส่วนร่วม และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เน้นการปฏิบัติจริง สร้างความตระหนักในการดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข

­

ปัญหาที่พบ

1. นักเรียนทิ้งขยะไม่เป็นที่

2. นักเรียนไม่เห็นคุณค่าหรือประโยชน์ของขยะ

3. นักเรียนขาดความรู้ในการคัดแยกขยะ

­

แนวทางแก้ไข

1. จัดการเรียนการสอนบูรณาการ ข้ามกลุ่มสาระตามความเหมาะสม

2. ประดิษฐ์ของใช้ของประดับจากเศษวัสดุเหลือใช้

­

คุณลักษณะที่พึงประสงค์


1. ด้านเจตคติ

1.1 นักเรียนเห็นคุณค่าของขยะหรือเศษวัสดุเหลือใช้

1.2 นักเรียนมีความตั้งใจ มีสมาธิในการประดิษฐ์

1.3 เสริมสร้างจิตสำนึกของการทิ้งขยะให้ถูกที่

­

2. ด้านทักษะ

2.1 นักเรียนมีทักษะในการคัดแยกขยะ และมีนิสัยในการทิ้งขยะให้ถูกที่

2.2 นักเรียนได้ปฏิบัติงานตามขั้นตอนการประดิษฐ์

2.3 นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบงานประดิษฐ์

2.4 นักเรียนกล้าแสดงออกในการนำเสนอผลงาน

­

3. ด้านความรู้

3.1 ความรู้ในเรื่องสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน, การจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น วิธีการคัดแยกขยะ

3.2 ความรู้ในเรื่องการประยุกต์ใช้สิ่งของเหลือใช้ เศษวัสดุ และวิธีการประดิษฐ์ของใช้ของประดับต่างๆ จากเศษวัสดุเหลือใช้

3.3 ความรู้ในเรื่องการออกแบบงานประดิษฐ์ให้เหมาะสมกับเศษวัสดุแต่ละประเภท เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ ขวดน้ำพลาสติก ฯลฯ

3.4 ความรู้เรื่องประโยชน์ของงานประดิษฐ์ของใช้ของประดับจากเศษวัสดุเหลือใช้

การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการฐานการเรียนรู้

­

หลักการมีเหตุผล

1. จัดการขยะให้มีปริมาณลดน้อยลง

2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทิ้งขยะ

3. ฝึกให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ

4. ใช้ขยะหรือเศษวัสดุเหลือใช้อย่างคุ้มค่า

5. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

6. ลดรายจ่าย - เพิ่มรายได้ระหว่างเรียน

7. รักษาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน

8. มีผลงานการประดิษฐ์ของใช้ของประดับที่สร้างสรรค์และหลากหลาย

9. ใช้เป็นของขวัญของฝาก, ของที่ระลึก

­

หลักความพอประมาณ

1. ด้านเวลา ให้นักเรียนได้มีเวลาศึกษาเกี่ยวกับประเภทของขยะหรือเศษวัสดุ, การออกแบบการประดิษฐ์, การนำเสนอผลงาน และการเผยแพร่ผลงาน

2. ด้านสถานที่ บริเวณโรงเรียนและชุมชนสะอาด ไม่มีขยะเกลื่อนกลาด

3. ด้านความสามารถของครูผู้สอน และวัยของผู้เรียนแต่ละระดับชั้น

4. พอประมาณกับภาระงาน/ชิ้นงานตามวัยของผู้เรียนแต่ละระดับชั้น

­

หลักการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

1. การวางแผนการปฏิบัติงานอย่างรอบคอบ เช่น การใช้วัสดุ / อุปกรณ์ ขั้นตอนการทำงาน และการนำเสนอผลงาน

2. ประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น การนำเศษวัสดุกลับมาใช้ใหม่ (re-use )

3. นักเรียนมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น เพราะมีความชอบในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์

4. นักเรียนมีวินัย ทิ้งขยะถูกที่

5. นักเรียนมีความรักและความภาคภูมิใจในผลงานประดิษฐ์ นำไปใช้ประโยชน์ได้

6. สภาพแวดล้อมของโรงเรียน/ชุมชน เกิดความสะอาด เป็นระเบียบ

­

เงื่อนไขคุณธรรม

1. ความประหยัด นักเรียนรู้จักใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุอย่างรู้คุณค่า

2. ความสามัคคี นักเรียนรู้จักการทำงานสิ่งประดิษฐ์ร่วมกับเพื่อนในกลุ่ม

3. ความรับผิดชอบ นักเรียนรับผิดชอบต่อชิ้นงาน และส่งตรงเวลาที่กำหนด

4. ความมีน้ำใจ นักเรียนรู้จักแบ่งปันสิ่งของ เศษวัสดุ และช่วยกันประดิษฐ์สิ่งของร่วมกัน

5. ความอดทน นักเรียนฝึกความอดทนผ่านงานประดิษฐ์ที่ต้องใช้เวลาในการทำงานมาก

6. ความมีวินัย นักเรียนฝึกความมีระเบียบวินัยในตนเอง สามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์ให้สำเร็จ

7. ความขยันหมั่นเพียร นักเรียนตั้งใจทำงานให้เสร็จ

8. ความสะอาดในการทำงานประดิษฐ์ นักเรียนรู้จักการเก็บกวาดให้สะอาดเรียบร้อยทุกครั้ง

­

เงื่อนไขความรู้

1. นักเรียนได้ใช้ความรู้ในเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมและวิธีการคัดแยกขยะ

2. นักเรียนรู้วิธีการประดิษฐ์ของใช้ของประดับต่างๆจากเศษวัสดุเหลือใช้

3. นักเรียนใช้ความรู้ในการออกแบบงานประดิษฐ์กับเศษวัสดุแต่ละประเภท เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ ขวดน้ำพลาสติก ฯลฯ

4. นักเรียนได้เรียนรู้การใช้ประโยชน์ของงานประดิษฐ์ของใช้ของประดับจากเศษวัสดุเหลือใช้

­

การเชื่อมโยง 4 มิติ

1. ด้านวัตถุ

- นักเรียนสามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมา เพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริม

- นักเรียนได้เรียนรู้ที่จะใช้เศษวัสดุ เพื่อเป็นการนำประหยัดค่าใช้จ่ายในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ (ลดรายจ่าย มีรายได้เสริม)

2. ด้านสิ่งแวดล้อม

- โรงเรียน และชุมชนสะอาด น่าอยู่น่าอาศัย

- นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาดให้แก่ตนเอง ครอบครัว โรงเรียนและชุมชน

3. ด้านสังคม

- นักเรียน ผู้ปกครอง และคนชุมชนได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความรักสามัคคี ร่วมพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

- นักเรียนมีความสัมพันธ์กันดีต่อกัน ช่วยเหลือ แบ่งปัน และร่วมกันทำงานให้สำเร็จ

4. ด้านวัฒนธรรม

- การรักษาความสะอาดตั้งแต่ตนเอง ครอบครัว และชุมชน สอดคล้องกับหลักคำสอนของศาสนาอิสลามในเรื่อง การรักความสะอาด

- ประชาชนรู้จักเคารพกฎกติกาของชุมชน ช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดให้กับชุมชน

- นักเรียนปรับปรุงตนเองให้เป็นผู้มีวัฒนธรรม เคารพในกติกา มารยาทในการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องการทิ้งขยะให้ถูกที่

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ