กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
โครงการส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนทุ่งลาน
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

        ด้วยเหตุที่โรงเรียนได้ดำเนินการจัดการด้านเศรษฐกิจพอ เพียง จนได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนต้นแบบ "สถานศึกษาพอเพียง" และเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้แก่นักเรียน ครู สถานศึกษาอื่น หน่วยงาน และชุมชน ในปี 2551 - 2552 จึงทำให้เกิด "โครงการส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนทุ่งลาน" 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน ครู และชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2. เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

3. เพื่อใช้วัสดุที่เหลือใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

4. เพื่อเพิ่มรายรับ ลดรายจ่าย ขยายโอกาสตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
5. เพื่อรวมกลุ่มทางเลือกอาชีพในชุมชน

6. เพื่อจัดโรงเรียนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่ ชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง



ขั้นตอนการดำเนินโครงการ


1.ขั้นวางแผน


1.1 คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา ร่วมวิเคราะห์จุดเน้นในการพัฒนาตามบริบทของโรงเรียน

1.2 เตรียมการด้าน โครงการเพื่อขับเคลื่อนบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่และกิจกรรมการเรียนรู้

1.3 ศึกษาเรียนรู้ต้นแบบ และศึกษาดูงานตามสถานที่ต่างๆ เพื่อปรับปรุง ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับโรงเรียนด้านกระบวนการคิดและกิจกรรมสู่การปฏิบัติ


2. ขั้นดำเนินการ

2.1 ให้ความรู้ สร้างความตระหนัก หลักแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2.2 กำหนดผู้รับผิดชอบตามโครงการส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเศรษฐกิจ พอเพียงชุมชนทุ่งลาน ในโรงเรียนแบ่งกลุ่มเป็น 5 ฐาน ทุกฐานมีครูและนักเรียนประจำกลุ่ม นักเรียนชั้น ม.ปลายเป็นพี่เลี้ยง ร่วมรับผิดชอบ ร่วมเรียนรู้และเป็นวิทยากร ในชุมชนมีคณะกรรมการชุมชน ๆ ละ 5 คน เป็น คณะกรรมการขับเคลื่อน จำนวน 2 หมู่บ้าน โดยแบ่งเป็นฐานการจัดการ ดังนี้

- ฐาน การจัดการครัวเรือน เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการภายในบ้าน เน้นการผลิตเพื่อการ อุปโภคและบริโภค กิจกรรมหลักที่จัด ประกอบด้วยการทำน้ำยาเอนกประสงค์ น้ำยาล้างจาน น้ำมันมะพร้าว สกัดเย็น ผลิตภัณฑ์จักสานจากวัสดุในท้องถิ่น การทำเตาดินเผา การย้อมคราม

- ฐาน การจัดการดิน เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการที่ดินเพื่อการเพาะปลูกและการปรับสภาพดินตาม ธรรมชาติ มีกิจกรรมการทำน้ำหมัก การเลี้ยงหมูหลุม การผลิตปุ๋ยชีวภาพ การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ การปลูกผักสวนครัว การห่มดินและ การปลูกหญ้าแฝก

- ฐาน การจัดการป่า เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการป่า เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม มีกิจกรรมการ เพาะชำพันธุ์กล้าไม้ ป่า 3 อย่างเพื่อประโยชน์ 4 อย่าง ป่า 3 ชั้น และ สวนพืชสมุนไพร

- ฐาน การจัดการน้ำ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการน้ำเพื่อชีวิต มีกิจกรรมการทำนาข้าว การเลี้ยงปลาพื้นเมือง ปลากินพืช การบำบัดน้ำ และจักรยานน้ำ

- ฐาน การจัดการคุณธรรมและจริยธรรม เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการดำเนินชีวิต พัฒนาจิต มีกิจกรรมสวนป่าลานธรรม วันพระที่วชิรธรรม อบรมคุณธรรม จริยธรรม


3. ชั้นการตรวจสอบ สรุป และประเมินผล ในการทำกิจกรรมทุกกิจกรรมในโรงเรียน หลักจากเสร็จสิ้นกิจกรรม จะมีการประเมินผล สรุปผล หลักการทำงาน ที่เรียกว่า AAR (After Action Review) โดยมีหัวข้อหลักที่นำมาใช้พิจารณาและร่วมสรุปเพื่อนำไปพัฒนากิจกรรมในทุก ด้านในครั้งต่อๆ ไป คือ

- สิ่งที่ได้ตามคาด หรือเกินความคาดหมาย
- สิ่งที่เรียนรู้จากการทำกิจกรรมนี้
- สิ่งที่จะนำไปต่อยอดงาน/กิจกรรมเดิม ได้อย่างไร
- จะดีกว่านี้ถ้า..........


ระยะเวลาดำเนินโครงการ ตั้งแต่ ตุลาคม 2551 – กันยายน 2552

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
- ครูมีจิตสำนึกและจิตอาสาเพื่อเป็นแนวร่วมในการพัฒนา และขับเคลื่อนร่วมกัน ครูสามารถปรับประยุกต์กระบวนการจัดการเรียนการสอน

-นักเรียนเกิดการพัฒนาตามศักยภาพที่เกิดจากกการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติและ สามารถแก้ปัญหาด้านความประพฤติได้ด้วยตนเอง โดยมีกิจกรรมเป็นสื่อ

-โรงเรียนเป็นที่ยอมรับและเกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเอง อีกทั้งยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงแก่ชุมชน และร่วมแก้ปัญหาของชุมชนที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตหรือทุนทางสังคม ที่อาจจะเปลี่ยนไป

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ