กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
ตรวจเยี่ยมโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี ร้อยเอ็ด
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2555 คณะกรรมการตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อมการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียง ได้เข้าตรวจเยี่ยมประเมินความก้าวหน้าการขับเคลื่อนฯ สู่โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด


วัตถุประสงค์ของการตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อมฯ


  1. ประเมินความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียน
  2. สะท้อนข้อคิดเห็น และเสนอะแนะแนวทางในการขับเคลื่อนสู่ความพร้อมในการประเมินเป็นโรงเรียน ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  3. รายงานผลการตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อมฯ ต่อผู้จัดการโครงการส่งเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่เยาวชน

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

24/12/55


          คณะกรรมการตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อมฯ ประกอบด้วย ทีมขับเคลื่อนและผู้ทรงคุณวุฒิดังนี้


  1. ว่าที่ร้อยตรี ผอ. วัฒนะชัย ศาลารัตน์  ปัจจุบันท่านย้ายจากโรงเรียนโพนทองวิทยายน เป็นโรงเรียนเสลภูมิ
  2. อาจารย์นาตยา โยธาศิริ ครูจากโรงเรียนโพนทองวิทยายน
  3. รอง ผอ. ฉลาด ปาโส ผอ.โรงเรียนเชียงขวัญพิทยาคม
  4. ศึกษานิเทศก์ วิภา ประภาศรี ศึกษานิเทศ สพม. ร้อยเอ็ด เขต 27


           โดย ผอ.วัฒนะชัย เป็นประธานในการตรวจเยี่ยมประเมินฯ หลังจากที่ท่านได้นำเสนอเกณฑ์ก้าวหน้า ต่อผู้บริหาร ครู นักเรียน และตัวแทนกรรมการสถานศึกษา แล้ว ท่านได้เปิดโอกาสให้ผม พูด ผมสรุปเป็นสูตรสั้นคือ "สูตร 3-4-5 เพื่อพิจารณาตนเอง" คือ 3 ด้าน 4 คน 5 ระดับ ตามที่ได้นำเสนอไปแล้ว


การขับเคลื่อน ปศพพ. ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี


            โรงเรียนวิถีพุทธระดับประเทศ และรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย จึง ได้เน้นฐานด้านคุณธรรมและจริยธรรมในการขับเคลื่อนฯ ดังนั้นนักเรียนจะมีคุณธรรมพื้นฐานทั้ง 8 ประการในระดับดีมาก  ปัญหาสำคัญของการขับเคลื่อนฯ คือ นักเรียนยังไม่ค่อยกล้าพูด กล้าแสดงออก หรือยังไม่ค่อยกล้าคิด และมั่นใจในตนเอง


            อย่างที่เรียนเบื้องต้นว่า คุณธรรมพื้นฐาน เรื่อง ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย และ สะอาด สุภาพ สามัคคี มีน้ำใจ ที่โรงเรียนฯ เป็นต้นแบบโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์เกิดแล้ว สังเกตจาก ความพร้อมเพรียงของบคลากรต่างๆ พร้อมทั้งนักเรียนแกนนำ ที่มาพร้อมกันที่ห้องประชุม โรงเรียนก็สะอาด เรียบร้อย สวยงามตลอดทั่วบริเวณของโรงเรียน


 

              จุดเด่นของที่นี่ คือมีฐานการเรียนรู้เชิงเกษตร ซึ่งครูและนักเรียนดำเนินชีวิตเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว แต่สาเหตุที่นักเรียนยังไม่สามารถถ่ายทอดและขยายผลสู่ผู้อื่นได้ น่าจะมาจากวิธีการในการสอนแบบบอกวิชา หรือออกคำสั่งของครู ถ้าหากเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ คิด ทำ และนำเสนอสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ครูเป็นผู้ถาม แนะนำ และช่วยเหลือให้พวกเขาได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ถอดบทเรียนด้วยตนเอง ผมคิดว่าไม่นาน บรรยายกาศในโรงเรียนจะเปลี่ยนเป็นอีกแบบหนึ่งทีเดียว


             ผลการประเมินและข้อเสนอแนะอย่างละเอียด กรรมการแต่ละท่าน ได้แจ้งต่อคณะครูและผู้บริหารของทางโรงเรียนแล้ว โดยเฉพาะขณะที่เดินตรวจเยี่ยมตามฐานการเรียนรู้ต่างๆ ของโรงเรียน ต่อไปนี้เป็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผม ที่อยากเพิ่มเติมและสรุป ไว้เผื่อจะเป็นประโยชน์ ครับ


  • นักเรียนแกนนำสามารถถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจได้ พัฒนาขึ้นจากคราวก่อนที่ผมเดินทางไปเยี่ยม  ที่เป็นเช่นนี้ ผมคิดว่าน่าจะเป็นผลจากกิจกรรมถอดบทเรียนกิจกรรมต่างๆ ที่ทางโรงเรียนขับเคลื่อนอย่างจริงจัง โดยให้อาจารย์ที่ประจำฐานการเรียนรู้ทุกฐาน พานักเรียนถอดบทเรียนให้สอดคล้องกับ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข สังเกตจากที่ มีป้ายแสดงผลการถอดบทเรียนแบบไวนิล ไว้ทั่วทุกฐาน


  • แต่จำนวนนักเรียนที่สามารถถ่ายทอดได้ ยังมีจำนวนน้อย แสดงว่ายังไม่สามารถขยายผลสู่นักเรียนส่วนใหญ่ได้ อาจเป็นเพราะ เพิ่งจะเริ่มทำกิจกรรมถอดบทเรียนไม่นาน


  • การนำเสนอยังคงติดกรอบ ซึ่่งเป็นผลการถอดบทเรียนตามกรอบ ถือเป็นข้้นตอนในการถอดบทเรียนให้เข้าใจ ปศพพ. ยังเหลือการถอดบทเรียนเพื่อให้เข้าใจการนำไป ปศพพ. ไปใช้ 


"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ