กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
ทีมขับเคลื่อนเยี่ยมโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

­

11/3/56


การเดินทางมาทำกิจกรรมขับเคลื่อนโครงการของศูนย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อทำกิจกรรมร่วมกับคณะครูโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรีมีคุณครูร่วมทำกิจกรรมกิจกรรม ประมาณ 65 คน คณะเราประกอบด้วย ดร.ฤทธิไกร ผศ.ไพรัตน์ จากมหาวิทยาละยมหาสารคาม และ ท่านรอง ผอ.ฉลาด ปาโส ในฐานะของโรงเรียนพี่เลี้ยง ซึ่งในการดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารโรงเรียนและคณะครูอย่างดียิ่งดังนี้

­

เริ่มกิจกรรมเวลาประมาณ 09.15 น. เริ่มกิจกกรรมโดยวิทยากรหลักคือ ดร.ฤทธิไกร .ให้คุณครูเดิน แล้วหยุดแล้วตั้งคำถาม และต่อมาให้เดินแล้วคิดคำถามไว้ก่อน แล้วให้หยุดถาม และต่อมาให้กลั้นลมหายใจแล้วเดิน แล้วพอจะหมดลมให้เดินกลับมาที่จุดเดิม กิจกรรมนอกจากต้องการผ่อนคลายให้กับผู้ร่วมทำกิจกรรม แล้วยังต้องการให้ทราบว่าคำถามที่เราถามนั้นนำไปใช้ประโยชน์ในการนำ ปศพพ.ไปใช้ประโยชน์อย่างไร แล้วชี้แจงว่าคุณครูจะต้องรู้จักตั้งคำถาม เพราะในการสอนเด็กจะตัองรู้จักตึ้งคำถาม ต่อมาทำกิจกกรรมโดยให้นั้งในท่าสบายแบบวงกลม และให้กลุ่มสวนพฤกษศาสตร์ ทำกิจกรรมอ่างปลาโดยกลุ่มนำตัวแทนมาทำกลุมแบบวงกลมเล็ก กลางวงของกลุ่มใหญ่ แล้วตอบคำถามว่าอุปนิสัยพอเพียงคืออะไร แล้วชี้แจงให้คณะครูเห็นว่าเพียงแค่เราทำกิจกรรมเพียงห้าคน ก็ได้ความคิดที่หลากหลาย แล้วถ้าเป็นเด็กจำนวนมาก พวกเขารู้ไหมว่าเขากำลังทำอะไร เขากล้าแสดงคิดไหม และคิดอย่างไร ถ้าเข้าไม่กล้าแสดงความคิดครูจะดำเนินการอย่างไร

­

คุณครูหลายท่านยอมรับว่าเด็กมีปัญหาด้านการคิด และปัญหาด้านการพูดสื่อสารด้วย คุณครูคิดว่าเด็กขาดต้นแบบที่ดี ไม่กล้าคิดและคิดไม่เป็น ไม่กล้าแสดงออก รอให้ครูบอก การจูนสมองของเด็กเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทักษะของครู และครูคิดว่ามีความยุ่งยากเพราะมีภาระงานที่ต้องทำมากเกินไป ทำให้การทำหลายๆอย่างไม่สมบูรณ์

­

พื้นฐานความพร้อมในการเรียนรู้ของเด็กจะต้องประกอบไปด้วย

1. คิดเป็น

2. ต้องสื่อสารได้

4. ต้องมีความสุข

3. คุณธรรม

****จะต้องนำไปใช้ได้ สังเกตุจากผลการกระทำของเด็ก

­

จากการสังเกตเกคุโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรีมีฐานการเรียนรู้มาก แต่ในคราวนี้ทางโรงเรียนจัดให้มีฐานกการเรียนรู้ให้น้อยลง คำถามใหม่ ฐานแต่ละฐานจะทำอย่างไรถึงจะทำให้เด็กได้คิด ได้ทำ ไม่ใช่ครูคิดแล้วไปบอกให้เด็กทำ ครูจะต้องแบ่งขบวนการทำงานออกเป็นส่วนๆ แล้วจะต้องมีอย่างน้อยส่วนหนึ่งที่เด็กจะต้องทำเองทั้งหมด

­

ฝากงานก่อนเบรค

1. ขั้นตอนการทำกิจกรรม

2. กิจกรรมที่จะให้นักเรียนทำ มีเป้าหมายอะไร สื่ออะไร ท่านจะทำอะไรกับเด็กเก่ง และเด็กอ่อน

ทำให้เด็กกล้าคิด กล้าทำ-->กิจกรรมอะไรที่จะให้เด็กทำ-->ทำแล้วได้อะไร

คำถาม จากผู้เข้าอบรม เด็กจะต้องอาศัยฐานความรู้หรือไม่

คำตอบ เด็กจะต้องใช้ฐานความรู้เดิม ถ้ามีก็ดี ถ้าไม่มีค้นได้ไหม แต่ถ้าโปรเจคไม่อันตรายก็ต้องให้เด็กทำ เพราะขบวนการเรียนรู้จะเกิดในขณะทำโครงการ

คำถาม ถ้าเด็กอ่อน อ่านหนังสือไม่ออก ครูจะดำเนินการอย่างไร

คำตอบ กระบวนการเรียนรู้ของเด็ก

-1-3 ปี เด็กอยากรู้จักการมีตัวตน หลังจากนั้น

- เด็กจะต้องมีความมั่นใจว่าฉันทำได้ ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความมั่นใจ ครูต้องใก้ปบตอบสนองเชิงบวก

- เด็กสามารถสร้างสรรค์ได้ ฉันคิดเองได้

- ฉันเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม

­

ดังนั้น การตั้งคำถามจะต้องมั่นใจว่าเด็กตอบได้ ไม่ง่ายไม่ยากเกินไป ครูจะต้องรู้จักระดับความสามารถของเด็ก

­

เบรคเาลา 10.45 น.

หลังเบรค 11.10 น. ได้กล่าวถึงปัญหาที่พบในแต่ละฐาน คือต้องการให้เด็กได้เรียนรู้อะไร แล้วจะเกิดผลอย่างไรหรือวัดผลอย่างไร ที่สำคัญจะต้องรู้ประเด็นสำคัญที่จะนำไปออกแบบการเรียนการสอน เช่น กลุ่่มสวนพฤกษศาสตร์ อาจจะเริ่มต้นด้วยการฉายวีดิโอ อาจจะตั้งคำถามว่า พืชอะไรที่รู้จัก อะไรที่ไม่รู้จัก ไม่รู้จักแบ่งกันไปค้นและนำเสนอ และเลือกบางชนิดมาทำโครงงาน และไม่จำกัดขั้นของการเรียนรู้

ทำอะไร-->ทำอย่างไร-->ทำทำไม-->ทำแล้วได้อะไร

­

­

เริ่มกิจกรรมตอนบ่าย 13.30 เริ่มด้วยการนำเสนอผลงานกลุมของคุณครู เริ่มด้วยกลุ่มสวนพฤกษศาสตร์

­

กลุ่มที่หนึ่ง กลุ่มสวนพฤกษศาสตร์

และวิทยากรมให้คอมเมนต์ถึงความเชื่อมโยงกับการสอนแบบ PBL และการเชื่อมโยงกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขบวนการดำเนินกิจกรรมจะต้องให้เด็กกล้าพูดและฝึกการนำเสนอ ปัญหาคือทำอย่่างไร ถึงจะลดงานที่เกิดความซ้ำซ้อน และการตั้งคำถาม คำถามที่ดีที่สุดคือคำถามที่ไม่มีคำตอบ

­

3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ

วางแผน-->เชื่อมกับสิ่งแวดล้อม-->การเรียนที่ดีที่สุดเมื่อได้ปฏิบัติ

การเรียนรู้จะดีที่สุดเมื่อเป็นการเรียนรู้แบบเป็นทีม เมื่อเด็กทำผิด ให้หลีกเลี่ยงการตำหนิอย่างรุนแรงหรือการทำให้เด้กอาย ไม่จำเป็นจะต้องบอกว่าผิด

­

กลุ่มที่สอง สิ่งแวดล้อมและพลังงาน

แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือสิ่งแวดล้อมกับน้ำ ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง และจะแก้ไขอย่างไรบ้าง นักเรียนจะได้ทักษะการคิด กิจกรรมเพิ่มเติมให้ดูคลิป แล้วให้นักเรียนวิพากวิจารย์ ผลกระทบและการป้องกัน และเชื่อมโยงกับบริบทของโรงเรียนเรา และเน้น เด็กต้องมีโอกาสออกแบบกิจกรรม และนำเสนอ เช่นน้ำเสียเป็นอย่างไร งานทุกอย่างต้องใช้เวลาที่เหมาะสม

­

กลุ่มที่สาม คุณธรรมนำความรู้

การเรียนรู้เกี่ยวกัยศาสนพิธี งานมงคล งานอวมงคล วัตถุประสงค์รู้ระเบียบวิธี และสามารถให้เด็กเป็นผู้นำในการทำพิธีการ โดยการให้ดูvdo และมีใบงานกำกับ และรู้จักตั้งคำถามจากการดู vdo หรือใบงาน มีการแบ่งงาน เพื่อดำเนินการปฏิบัติจริง คอมเมนต์พิธีกรคคือการเพิ่มคำถาม ถ้าถามว่าทำไมจะต้องจุดธูปเทียน ทำไมต้องกรวดน้ำ ทำไมต้องมีอาสนะ ทำไมต้องเวียนขวา เด็กจะตอบได้ไหม จะต้องมีคำถามเพื่อให้เด็กได้คิด

­

กลุ่มทักษะอาชีพ

การเรียนการสอนให้เน้นการตั้งคำถามและเน้นการถอดบทเรียน มาเรียนทำไม เรียนแล้วได้อะไร มีขั้นตอนการทำอย่างไร ให้แบ่งกลุ่มตามความเหมาะสม และให้มีการจัดการกลุ่ม เช่น มีใบงานเกี่ยวข้องการทำขนม อาจจะต้องใช้เวลา และมีการให้ความรู้ การลงมือปฏิบัติโดยมีครูเป็นพี่เลี้ยง และมีปัญหาอะไร จะแก้ไขอย่างไร แล้วลงมือทำไหม่ สุดท้ายจึงมาถอดบทเรียนุ คอมเมนต์ จากคำถาม 4 ด้านบน รู้จักตัวเอง-->มีเหตุมีผล มีผลกระทบต่อตัวเองและผู้อื่นอย่างไร ครูตองรู้ว่าวัตถุประสงค์คืออะไร ถ้าเป็นการฝึกทักษะ สอนแบบเดิมได้ แต่ถ้าต้องการฝึกทักษะการคิดจะต้องวางแผ่นไหม่ เพราะจะต้องให้เด็กไปค้นและและทดลองทำแล้วมีการวิพากจากผลที่เกิดจากการดำเนินงาน

­

รอง ผอ.ฉลาด ปาโส ครูจากโรงเรียนพี่เลี้ยง

กล่าวถึงความคาดหวังของผู้บริหาร เพราะโรงเรียนจะต้องประเมินเป็นศูนย์ จะดำเนินการอย่างไร ปัจจัยสำคัญคือครูซึ่งเป็นผู้ขับเคลื่อน โดยการถาม

­

1. เข้าใจ ปศพพ.มากน้อยเพียงใด

2. นำมาใช้กับการเรียนการสอนอย่างไร

4 มิติ เกี่ยวข้องกับ วัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ยกตัวอย่างการเชื่อมโยงให้เห็น

แล้วให้สมาชิกยกตัวอย่างและอธิบายความมีเหตุทีผลในการกระทำนั้น มีความพอประมาณ ในตัวของท่านอย่างไร ทุกอย่างมีความเชื่อมโยงกัน และเน้นให้รู้จักตั้งคำถาม ให้ตั้งคำถามมากๆ ไม่ตำหนิให้เกิดความอับอาย เพราะจะเป็นการสะกัดความกล้าแสดงออกของเด็ก และคำนึงถึงหลัก ปศพพ.

­

กลุ่มที่ห้า ฐานการเรียนรู้สุนทรียภาพ

เป็นกิจกรรมด้านจิตใจของนักเรียน เช่น ดนตรี กีฬา และนาฎศิลป์ กิจกรรมตัวอย่าง เช่น กิจกรรมวาดเส้น มองว่านักเรียนจะมีสองกลุ่ม คือกลุ่มตั้งใจ และกลุ่มก่อกวน ทำให้ครูผู้สอนต้องอดทน อาจจะต้องเพิ่มความถี่ของคำถามมากขึ้น และยกตัวอย่างรูปแบบคำถาม เช่น การสื่อความหมายของเส้น และในการทำกิจกรรมเสร็จแล้ว จะเปิดเวทีให้เด็กนำเสนอผลงานของตนเอง และให้เด็กสามารถเชื่อมโยงกับ ปศพพ. คอมเมนต์ ในมุมพิธีกร มองว่า ยกเนื้อหาที่ยากเกินไป เพราะเอาเนื้อหาที่จะเป็นความรู้มาถอดบทเรียนจะทำได้ยาก และเป็นรูปแบบเกินไป เช่น วาดลายเส้นทำให้เด็กเข้าถึงสุนทรียภาพหรือไม่

ปิดเบรควันนี้โดยพิธีกร สรุปกิจกรรมตลอดทั้งวัน ผศ.ไพรัตน์ กล่าวถึงภาพรวมกิจกรรมในวันนี้และสรุปสดท้ายด้วยคำขอบคุณจากท่านผู้อำนวยการโรงเรียน 16.30 น.

ไพรัตน์ ธรรมแสง ทีมขับเคลื่อน รายงาน


­

11/4/56

วันที่ 8 มีนาคม 2556 ทีมขับเคลื่อน ปศพพ. อีสานตอนบน ร่วมกับโรงเรียนพี่เลี้ยง เชียงขวัญพิทยาคม ไปเยี่ยมศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี ร้อยเอ็ด เพื่อร่วมกับ ผอ.อนงค์ และคุณครู สร้างความรู้ความเข้าใจ และปรับแผนการขับเคลื่อนต่อไปในภาคเรียนหน้า .....

ผมเห็นจุดเด่นและโอกาสของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี ร้อยเอ็ด หลายจุด ดังนี้ครับ

เป็นโรงเรียนประจำ จึงมีเวลาที่ครูอยู่กับนักเรียนมากกว่าโรงเรียน ทั่วไป ที่นี่อยู่กันเป็นครอบครัว โรงเรียนไม่ใช่เพียงโรงเรียน แต่เป็น "บวร"..... วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ผมมีโอกาสได้เข้าร่วมประชุมประชาพิจารณ์ เกี่ยวกับกลยุทธศาสตร์การศึกษา ของรัฐบาลปัจจุบัน หลังการบรรยาย มีผู้อำนวยการท่านหนึ่งลุกขึ้นแสดงความคิดเห็นว่า... "ท่านที่เคารพรู้หรือไม่ว่า ปัญหาของการศึกษาเราเป็นอย่างไร จะแก้ให้ตายก็ไม่มีวันสำเร็จ ตราบใดที่ ลูกไม่มีพ่อ ไม่มีแม่ เกือบ 80 เปอรเซ็นต์ เด็กอยู่กับยายตา ที่ไม่แม้มีเวลาหรือความรู้ที่จะช่วยดูแลหรือสังสอน....... ผมนึกถึงวิธีแก้ไขทางเดียวที่ทำได้ คือ ครูต้องเป็นมากกว่าครู คือ โรงเรียนประจำ หากทำให้ดี ที่นี่จะเป็นต้นแบบได้.....

มีทรัพยากรทางกายภาพสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างยิ่ง

มีพื้นฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่เข้มแข็ง นักเรียนมีระเบียบวินัย

ผมตั้งใจ (BAR) ว่าจะชวนคุยเรื่อง การจัดการเรียนรู้ ให้ครูทุกคนเห็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

สิ่งหนึ่งที่ยากที่สุดของการทำงานขับเคลื่อน คือ การทำให้ "ครูเห็นกระบวนการ" เกือบทุกครั้ง ที่ผมนำกิจกรรมร่วมกับครู จะออกแบบกระบวนการ หรือออกแบบกิจกรรมใหม่ๆ เสมอ .... แต่กิจกรรมแต่ละอันความจริงแล้ว ได้เรียนรู้และปรับประยุกต์มาจากหลายที่ๆ ได้ไปเข้าร่วมกิจกรรมมา กิจกรรมที่ผมหยิบมาปรับใช้ (แบบสดๆ) ที่ศึกษาสงคเราะห์ฯ คือกิจกรรมที่ได้เรียนรู้จากเวทีประชุมเมื่อกลางเดือนตุลาคม ปีที่แล้ว อ่านบันทึกได้ที่นี่ครับ

สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ไม่คุ้นชิน ไม่ได้ยิน หรือไม่เคยเห็น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้อง เปลี่ยนบรรยากาศให้แปลกไปกับแบบเดิมที่กลุ่มเป้าหมายเคยชินอยู่ โดยทั่วไป จะจัดเก้าอี้คู่กับโต๊ะ จัดเป็นหน้ากระดานเรียงกันบ้าง จัดเป็นหมู่เป็นกลุ่มบ้าง วิธีที่ง่ายที่สุดในการเปลี่ยนบรรยากาศกัน ก็คือ จัดเก้าอี้เป็นวงกลม ซึ่งจะมีข้อดี ตรงที่ทุกคนจะมองเห็นกันและกันได้เกือบทั้งวง กว่า 270 องศา ของมุมหน้าหน้าไปมาจะเจอคนในวง และคนนั่งจะเขียนกระดาษหรืออะไรลำบาก ทำให้รวมสมาธิได้ง่าย ฯลฯ

เมื่อทุกคนอยู่ในวง(วงเก้าอี้ล้อมรอบ) ผมให้สัญญาณให้ทุกคนเดินไปแบบไร้จุดหมาย เสียงสนทนาดังขึ้นแทบจะทันทีที่ทุกคนเริ่มเดิน เหมือนกับผมบอกให้คุยกันยังไงยังงั้น ผมคิดว่าในวินาทีนั้น หลายคนคงจะสงสัย ความคิด และคำถาม "หมุนติ้ว" ในหัวของตนเอง ใครที่ไม่ใช่นักเรียนรู้ อาจมีความคิดเชิงลบมาแทรกว่า "...ทำทำไม ช่างไร้สาระ เสียจริง...." แต่คนที่พร้อมจะเรียนเสมอ อาจกำลัง สงสัย คอยดูว่า "เอ๊ะ ตานี่จะพาทำอะไร แปลกดี".....แต่จะมีสักกี่คนหรือไม่ ที่เห็น ความสงสัย หรือ อาการไม่เปิดใจของตนเอง......หากเห็นตรงนี้ ก็เริ่มมีคนที่เห็น "กระบวนการ" แน่นอน

­

­

­

เมื่อเดินไปสักครู่ ผมบอกผ่านไมค์ให้ทุกคน "หยุดครับ" "ท่านอยู่ใกล้ใครที่สุด ให้ถามคำถามที่อยากถามทันที 1 หนึ่งคำถาม ตามด้วยการสลับกันตอบทันที ...... หากใครเห็นความ "ประหม่า" ไม่รู้จะถามอะไรดี..... การตั้งคำถามและการตอบคำถามแบบทันทีทันด่วนแบบนี้ใช้บ่อยที่สุดในการสอนส่งเสริมทักษะการคิด โดยเฉพาะการคิดขั้นสูงที่ใช้ในการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผมเองเน้นว่าการตั้งคำถามคือสิ่งแรกๆ ที่เราต้องฝึก ความจริงผมไม่กล้าบอกตรงๆ ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็แล้วแต่ว่า สิ่งที่เราต้องฝึกก็คือ "ฝึกให้เราคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณาญาณ" ซึ่งก็จะได้จากที่เราฝึกตั้งคำถาม และหาคำตอบ (จากการปฏิบัติ) นั่นเอง

สักครู่ต่อมา... ผมให้สัญญาณครู ให้เตรียมคำถามไว้ในใจ เมื่อได้สัญญาณว่าหยุด ให้ถามคำถามนั้นกับคนที่อยู่ใกล้สุด หากสังเกตให้ดี เราจะเห็นความแตกต่างของความรู้สึกของเราเอง ระหว่างการถามคำถามที่เตรียมไว้ กับถามคำถามแบบทันที ใครเห็นความแตกต่างนี้ ก็นับได้ว่าเริ่มเห็นกระบวนการเช่นกัน ....คำ ถามที่ถามทันทีในขณะสนทนา (หรือที่เราเรียกเป็นคำสวยหรูว่า ปะทะหน้างาน) จะได้รับอิทธิพลจากคนฟัง....นั่นคือความแตกต่างที่สำคัญเมื่อเราคุยกับนัก เรียนและออกแบบการเรียนการสอนแบบสดๆ กับการทำแผนการสอนแล้วยึดตามนั้นแบบ "ติดกรอบ" กรอบในที่นี้ก็คือแผนของตัวเองนั่นเอง.....

การเดินครั้งถัดมา ให้ลองกลั้นลมหายใจ เมื่อเดินไปต้องไม่หายใจ จะหายใจได้อีกทีก็เมื่อกลับมาถึงจุดที่ยืนเมื่อเริ่มเดิน..... กิจกรรมนี้ ไม่ได้บอกว่า หัามพูด เพียงแต่กำหนดว่าไม่ให้หายใจเวลาเดิน ไม่รู้ว่ามีครูคนใดหรือไม่ที่สังเกตเห็นเหมือนผมว่า ไม่มีใครพูดเลย... ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะการไม่หายใจ คือสภาวะ "ไม่ปกติ" ความไม่ปกติ จะทำให้เราจดจ่อสติไว้ที่ใดที่หนึ่ง หรือเราอาจเรียกว่า ตั้งใจเป็นพิเศษ เลยลืมพูดไป.... หากเห็นตรงนี้ .... จะเป็นจุดเริ่มต้นของความสามารถในการใช้ "ปฏิสัณถารเชิงบวก" กับนักเรียน

­

­

­

กิจกรรม "อ่างปลาประยุกต์" ที่เชิญตัวแทนกลุ่มต่างๆ ที่ทางโรงเรียนจัดไว้ ให้เดินมาออกมา นั่งในเก้าอี้วงเล็ก ที่จัดไว้ตรงจุดกลางวงใหญ่ โดยคุยกันเรื่อง "อุปนิสัยพอเพียงคืออะไร" คุยกันไปคุยกันมา ปรากกฏณ์ ว่า สิ่งที่ได้ ไม่ใช่ อุปนิสัยพอเพียงที่ต้องการ .... เป็นสิ่งที่สำคัญกว่านั้น คือ ความคาดหวังจริงของครูที่นี่ นั่นคือ อยากให้นักเรียนศึกษาสงเคราะห์ กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ....

เราลุยงานกลุ่มกันตลอดบ่าย ตามโจทย์ที่ได้จากที่อยากให้เด็ก กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ ว่า "เราจะจัดการเรียนรู้อย่างไร ให้เด็กคิดเป็น สื่อสารได้ มีคุณธรรม และมีความสุข".... ใช้เวลาเกือบ 1 ชั่วโมง ก่อนจะเริ่มนำเสนอกัน

จากการนำเสนอและสทนากลุ่มใหญ่ในตอนบ่าย ผมขอสรุปเป็นข้อสะท้อน เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการขับเคลื่อนฯ ดังนี้ครับ

­

ระวังอย่าหลงติดหล่มอยู่เพียงคำถามที่ว่า "จะจัดหรือทำฐานการรู้กี่ฐาน อย่างไรดี" เพราะคำตอบที่ถูกไม่มีตายตัว.... อยากให้อ่านบล็อกเรื่อง "3 เชื่อม" จะได้หลักการชัดว่าควรจัดการอย่างไร

­

การจัดการรู้ตามหลักปรัชญาฯ ที่ท่านอาจารย์ฉลาด อธิบายนั้น แจ่มแจ้งยิ่งนัก กลับไปดูอีกรอบได้ที่นี่ครับ

­

สิ่ง ที่ทางครูเห็นตรงกันคือ พัฒนาทักษะการคิด และอยากให้นักเรียนกล้าคิด กล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น ผมอยากเน้นหนักๆ ตรงนี้ครับ ว่า

­

เด็กกล้าคิด เพราะเขามั่นใจในตนเอง

เด็กจะมั่นใจในตนเอง ก็ต่อเมื่อเขาภูมิใจในตนเอง

เด็กจะภูมิใจในตนเอง เมื่อเขารู้สึกว่า "ฉันทำได้" "ฉันคิดเองได้" "ฉันเป็นคนสำคัญในทีม"

ดังนั้น ครูเรา ต้องเปลี่ยนมาใช้ "ปฏิสัณถารเชิงบวก"

ครูจะทำ "ปฏิสัณถารเชิงบวก" ได้ก็ต่อเมื่อ "ครูหันมาเรียนรู้ความรู้สึกและความคิดตนเอง"

นั่นคือ ครูควร เจริญสติภาวนา หรือ ศึกษาจิตศึกษา หรือ จิตตปัญญาศึกษา หรือ เรียนรู้ภายในตนเอง

­

หากท่านเชื่อกฎของกรรม เรื่องเหตุและผล มีเหตุ ย่อมมีผล มีผลย่อมมีเหตุ ผมมีข้อสรุปดังนี้ครับ

­

เด็กจะคิดเก่ง ต้องได้ฝึกคิด

เด็กจะได้ฝึกคิด ครูควร "ตั้งคำถาม" (ไม่ใช่เน้นบอกให้จำ สั่งทำตามคำบอก)

ครูจะเก่งตั้งคำถาม ครูต้องได้ฝึกตั้งคำถาม

ครูจะได้ฝึกตั้งคำถาม เมื่อครูสอนแบบ PBL

ครูจะสอนแบบ PBL ให้ได้ผลดีที่สุดต้องทำ PLC

­

ผมเสนอว่า อาจารย์คมกฤตย์ ครูแกนนำขับเคลื่อน ควรทดลองใช้หลักสูตร 3PBL ในการขับเคลื่อนดูครับ ผมเสนอดังนี้ครับ

­

อย่างน้อยครูแต่ละช่วงชั้น หรือที่จัดแบ่งเป็นกลุ่ม ได้ร่วมกันถอดบทเรียนกัน อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง

­

ควรหาครูแกนนำให้เจอให้เร็วที่สุด

ทำ PLC วงนอก กับโรงเรียนอื่นๆ อาจผ่านทางบล็อกหรือ facebook เรามีห้องชื่อ "ครูเพื่อศิษย์อีสาน"

­

ผม ต้อง กราบขออภัย ท่าน ผอ.อนงค์ ที่ได้เขียนความเห็นที่ ที่เกินเลยความจริงไป แต่ผมยืนยันกับท่านได้ทุกเมื่อว่า ทำไปด้วยความจริงใจ ครับ

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

ผลสำเร็จจากการดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้


1. ทราบความก้าวหน้าของกิจกรรมที่โรงเรียนได้ดำเนินการไปแล้วในรอบปีที่ผ่านมา

2. คณะครูและผู้เกี่ยวข้องทุกคน.มีความพร้อมในการเตรียมกิจกรรมขับเคลื่อนในปี กาศึกษาหน้าและมีความพร้อมเพื่อเตรียมรับการประเมินมากขึ้น

3. คณะครูทุกคนเข้าใจถึงภาระกิจและมีเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกันระหว่างโรงเรียน ทีมขับเคลื่อน และโรงเรียนพื่เลี้ยง

­

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ