กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
ห้องสมุดเติมฝัน...ของคนวัยซน
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

"ทำ กิจกรรมไปด้วย เรียนไปด้วย ไม่ใช่เรื่องยาก แถมเกรดเพิ่มอีกต่างหาก แค่เข้าเรียนทุกคาบ ช่วงสอบก็พักกิจกรรมก่อน สอบเสร็จเริ่มกิจกรรมใหม่ แถมยังเอาประสบการณ์จากการพัฒนาสังคม มาตอบข้อสอบ และเป็นตัวอย่างประกอบการเรียน ทำให้เข้าใจเนื้อหาในตำราเรียนง่ายขึ้น... เรียนรู้จากชีวิตจริง" กาญจนา รอดสวัสดิ์ หรือ มิ้ม นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวด้วยความภูมิใจ

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน
“ทำ กิจกรรมไปด้วย เรียนไปด้วย ไม่ใช่เรื่องยาก แถมเกรดเพิ่มอีกต่างหาก แค่เข้าเรียนทุกคาบ ช่วงสอบก็พักกิจกรรมก่อน สอบเสร็จเริ่มกิจกรรมใหม่ แถมยังเอาประสบการณ์จากการพัฒนาสังคม มาตอบข้อสอบ และเป็นตัวอย่างประกอบการเรียน ทำให้เข้าใจเนื้อหาในตำราเรียนง่ายขึ้น... เรียนรู้จากชีวิตจริง” กาญจนา รอดสวัสดิ์ หรือ มิ้ม นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวด้วยความภูมิใจ

ด้วย มีใจอาสาเป็นทุนเดิม เมื่อเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย มิ้ม ตั้งใจแน่วแน่ สมัครเข้าเป็นสมาชิกชมรมสังคมพัฒนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งงานหลักของ ชุมนุมสังคมพัฒนา คือ การจัดค่ายพัฒนาสังคม

“ตอนพวกเราเข้าไปทำกิจกรรม บางคนเข้ามาช่วยตอกนั่นเจาะนี่ ช่วยกันคนละไม้คนละมือจนเสร็จ ห้องสมุดดูมีชีวิตชีวาขึ้นเยอะ เหมาะให้น้องๆ มานั่งเล่น ทำกิจกรรม หรือ อ่านหนังสือ”

 

ส่วน ผลตอบรับจากการแต่งแต้มห้องสมุดใหม่วัยซน หน่วยสอดแนมทีมงาม Book of Life บอกว่า ตอนนี้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้และทำกิจกรรมชั้นยอด เรียกว่า มีน้องๆ มานั่งอ่านหนังสือ คุณครูพาน้องๆ เข้ามาทำกิจกรรมการเรียนการสอนตลอดทั้งวัน น้องๆ รักห้องสมุดของโรงเรียนมากขึ้นช่วยกันดูแลด้วย มิ้ม อมยิ้ม

 

ยังไม่จบเพียงเท่านี้ หลังโครงการ Book of Life สำเร็จเป็นรูปเป็นร่าง มิ้มกับเพื่อนๆ ยังแวะเวียนเข้าไปทำกิจกรรมกับน้องๆ และชุมชนอยู่เสมอ ล่าสุด อาสาสมัครเข้าไปจัดกิจกรรมแรลลี่เสริมทักษะความรู้และรักษ์ถิ่นในชุมชนใกล้โรงเรียนเวฬุวัน มีน้อง ๆ กว่า 20 คนมาร่วมกิจกรรม

 

“กิจกรรมมี 4 ฐาน ฐานแรกเล่นเกม ฐานที่สองให้น้องๆ หาข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชน ด้วยการเข้าไปพูดคุยกับผู้อาวุโสในชุมชน ฐานที่สาม ฝึกนาฏศิลป์การรำมอญท้องถิ่น เพราะชาวบ้านชุมชนนี้ส่วนใหญ่มีเชื้อสายมอญ และฐานสุดท้ายให้แต่ละคนออกมาแลกเปลี่ยนเรื่องราวของตัวเอง วันนั้นน้องๆ ทำกิจกรรมกันสนุกมาก” มิ้ม เล่าอย่างออกรส

 

มิ้มประทับใจหลายอย่างจากประสบการณ์จัดค่ายและการพัฒนาสังคม เพราะไม่เพียงได้รู้จักคนเพิ่มขึ้น ได้เรียนเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้คนหลากหลาย ทำให้โลกทัศน์ของเรากว้างขึ้น ได้เรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น โดยเฉพาะตอนแรกที่กลัวว่าจะเข้ากับเด็กไม่ได้ เอาเข้าจริงก็ไม่ใช่เรื่องยาก

 

“น้องๆ มาขอเบอร์โทรศัพท์ เราก็ให้ไป ไม่นึกว่าน้องจะโทรมาจริงๆ” มิ้มเล่า “พี่กินข้าวหรือยัง? สบายดีไหม?” เป็นคำถามยอดฮิตจากปลายสาย “มิ้มไม่รำคาญ รู้สึกดีมากเลย น้องๆ น่ารัก และดีใจที่เขาไว้ใจเรา” มิ้ม กล่าวอย่างภูมิใจ

 

มิ้ม บอกว่า กิจกรรมจิตอาสามีเสน่ห์ในตัว ตอนแรกจากคนทำไม่กี่คนก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กิจกรรมจิตอาสาใครได้ลองทำก็ติดใจบอกกันปากต่อปาก เพื่อนเล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนไม่มีอะไรทำก็ไปเดินห้างตอนนี้เพื่อนๆ ภูมิใจที่ได้ทำดี เพื่อคนอื่นบ้าง

 

“ตอนนี้เตรียมค่ายของชุมนุมอยู่ เป็นกิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำให้กับศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่ ที่เขาแผงม้า โคราช ตอนนี้กำลังเปิดรับอาสาสมัครไปช่วยกันประมาณเดือนตุลาคมนี้”

 
 
โครงการ Book of Life
หัวหน้าโครงการ/ผู้ประสานงาน: กาญจนา รอดสวัสดิ์ “มิ้ม”
E-mail : pilot_m2on@hotmail.com

 

 

“...ไป จัดค่ายพัฒนาที่ดอยเต่ากับเพื่อนๆ ประมาณ 40 คน ช่วยกันสร้างอาคารอเนกประสงค์ให้ศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่ ตอนมิ้มไปสำรวจเห็นแล้วว่าการเดินทางลำบาก แต่คิดว่าไม่เป็นไร เอาเข้าจริงตอนขนของมาจัดค่ายลำบากมาก ของหนัก ถนนไม่ดี เหนื่อยมาก...” มิ้ม เน้นเสียง

 

ปัญหาครั้งนั้นจุดประกายให้ มิ้ม เสนอโครงการมาที่ศูนย์อาสาสมัคร

 

“กลับ มาเห็นประกาศของศูนย์อาสาสมัคร รับพิจารณาให้ทุนสนับสนุนโครงการพัฒนาชุมชน โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องเป็นชุมชนรอบข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นจังหวะเหมาะพอดีเรากลับมาจากค่ายดอยเต่าแล้วรู้สึกล้าจากการเดินทาง ไปพื้นที่ไกลๆ เลยคิดอยากทำกิจกรรมพัฒนาในพื้นที่ใกล้ๆ ดูบ้าง”

 

หลังลงไปสำรวจพื้นที่รอบรั้วมหาวิทยาลัยแล้ว เลือก โรงเรียนวัดเวฬุวัน เป็นจุดนัดหมายของพลพรรคโครงการ โรงเรียนแห่งนี้มีนักเรียนประมาณสามร้อยคน ตั้งแต่อนุบาลถึง ป.6 “เข้าไปเห็นกับตาว่าห้องสมุดโรงเรียนไม่มีใครใช้งาน ไม่ใช่ใช้งานไม่ได้ แต่ฝุ่นเกาะเต็มไปหมด เหมือนไม่ได้ใช้งานมานานแล้ว หนังสือก็มีน้อย แถมจัดไม่เป็นระเบียบ” มิ้ม เล่าจนเห็นภาพ

 

“จากที่ไม่รู้ว่าจะทำกิจกรรมกับน้องๆ อย่างไร ตอนนั้นได้ไอเดียเยอะเลย ทำโต๊ะญี่ปุ่น ทำตู้หนังสือ และต้องรับบริจาคหนังสือเพิ่ม”

 

มิ้ม เสริมว่า “บางครั้งครูไม่ยอมปล่อยให้น้องตัวแสบ เกเรๆ มาทำกิจกรรม เพราะกลัวน้องเข้ามาป่วน อาสาสมัครก็ดึงเขามาทำกิจกรรมด้วย น้องๆ กลุ่มนี้ตั้งใจทำกิจกรรม เชื่อฟังพี่ๆ มาก เชื่อพี่ แต่ไม่เชื่อครู (หัวเราะ)” บรรยากาศอย่างนี้เลยทำให้การทำกิจกรรมครั้งนี้ไม่มีอุปสรรคให้น่ากังวลเพราะ น้องๆ คุณครู และผู้ปกครองให้ความร่วมมือดีมาก
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ