โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น 4 ภาค ระยะที่ 1 : ส่งเสริม อปท. ในการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาเยาวชน
โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น 4 ภาค ระยะที่ 1 : ส่งเสริม อปท. ในการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาเยาวชน
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
เวทีปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

การเสวนาทางวิชาการ "เวทีปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล" ครั้งที่ 10 : ถักทอพลังชุมชน(ตำบล)... เพื่อยกระดับการเรียนรู้ของพลเมืองรุ่นใหม่


ย้อนกลับไปเมื่อครั้งที่ “บ้าน-วัด-โรงเรียน” ยังเป็น “เบ้าหลอม” สำคัญในการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน แต่เมื่อสังคมเปลี่ยน เป้าหลอมนั้นเริ่มบุบเบี้ยว เพราะคนเริ่มมองแบบแยกส่วน การพัฒนาและแก้ไขปัญหาเด็กเยาวชน โดยเฉพาะการส่งเสริมการเรียนรู้จึงทำได้ไม่ต่อเนื่อง โรงเรียนจึงกลายเป็น “ตัวช่วยหลัก” ที่พ่อแม่ฝากความหวัง แต่เมื่อโรงเรียนขาดแรงสนับสนุน และถูกปล่อยให้ยืนอย่างโดดเดี่ยว บ่อยครั้งจึงพบการเรียนรู้ที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของคนในท้องถิ่น


การแก้ปัญหาเพื่อสร้างให้เกิดความยั่งยืนในการสร้างการเรียนรู้จึงวกกลับมายังท้องถิ่น โดยเริ่มมองหาการเชื่อมโยงระหว่างคนในชุมชน ซึ่งมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้สนับสนุนให้ สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) พัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในลักษณะที่เรียกว่า “โรงเรียนครอบครัว” ซึ่งเป็นแนวทางการปรับฐานความคิดที่ดึงความมีส่วนร่วมจากบ้าน โรงเรียน วัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานพื้นฐานต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมจัดการเรียนรู้ให้เยาวชนในท้องถิ่นได้เรียนรู้วิชาชีพ วิชาชีวิต วิชาชุมชน และวิชาการ การถ่ายทอดความรู้และใช้ความรู้ที่มีอยู่เชื่อมโยงทั้งในและนอกชุมชน เพื่อพัฒนาคนรุ่นใหม่เกิดทักษะในการคิดทำงานร่วมกันและการอยู่ร่วมกัน สอดคล้องกับแนวทางพัฒนาเยาวชนในศตวรรษที่ 21


"เวทีปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล" ครั้งที่ 11 : ถักทอพลังชุมชน(ตำบล)...เพื่อยกระดับการเรียนรู้ของพลเมืองรุ่นใหม่ ซึ่งมาจากความร่วมมือของมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงร่วมกันถ่ายทอด 2 กรณีศึกษาตัวอย่าง จากโรงเรียนครอบครัวบ้านห้วยม้าลอย ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี และโรงเรียนครอบครัวตำบลหนองอียอ ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองอียอ อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ ณ โรงแรมมิราเคลแกรนด์ ในวันที่ 4 ธันวาคมนี้

­

สำหรับจุดเด่นของ โรงเรียนครอบครัว คือ โรงเรียนที่เปิดพื้นที่สร้างสรรค์และเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้ “คิดร่วม ทำร่วม และเรียนรู้ร่วม” โดยมีคณะกรรมการโรงเรียนที่มาจาก “กลุ่มคนมีใจ” ในชุมชน ตั้งแต่พระ แพทย์ ผู้ใหญ่บ้าน ครู ท้องถิ่น และเอกชน ที่พร้อมจะหนุน “ทีมครูใหญ่” และ “เยาวชนแกนนำ” ในนการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการและส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ และช่วงปิดภาคเรียน

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

สรุปการหารือแนวทางความร่วมมือในการดำเนินโครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น 4 ภาค ระยะที่ 2
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2555 เวลา 10.30 – 11.30 น.
ณ ห้อง Mars โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น

รายนามผู้เข้าร่วมประชุม

1. ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล
2. นางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล
3. นางรัตนา กิติกร ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารเพื่อสังคม
4. นางสุทิน ศิรินคร ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการต่อยอดและพัฒนาเครือข่ายเด็กและเยาวชน
5. นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น (สพบ.)
6. นายประสูตร เหลืองสมานกุล ผู้อำนวยการส่วนบริหารงานฝึกอบรม สพบ.
7. นางสาวฐิติมา ปุยอ๊อต นักทรัพยากรบุคคล/ชำนาญการ สพบ.
8. นายทรงพล เจตนวณิชย์ ผู้อำนวยการสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข
9. นางสาวนวลทิพย์ ชูศรีโฉม ผู้ประสานงาน สรส.
10. นายสวัสดิ์ กันจรัตน์ ปลัด อบต.หนองสาหร่าย จ.สุพรรณบุรี
11. นายมีชัย ศิลปรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยม้าลอย จ.สุพรรณบุรี
12. นายสมนึก พลเสน เจ้าพนักงานสาธารณสุขอาวุโส โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
13. นายเตียง ชมชื่น สมาชิกสภา อบต.หนองสาหร่าย และครูใหญ่โรงเรียนครอบครัวบ้านห้วยม้าลอย
14. นางยุภาวดี บุญมาก นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอียอ จ.สุรินทร์
15. นายสมเกียรติ สาระ หัวหน้าสำนักงานปลัด อบต.หนองอียอ
16. นายสุริยา ดวงศรี ประธานสภาเด็กและเยาวชน อบต.หนองอียอ

สรุปผลการประชุมหารือร่วมกัน ดังนี้คือ

1)แนวทางความร่วมมือ/ ความคาดหวัง
• สพบ.
- ต้องการองค์ความรู้จากมูลนิธิฯ /สรส. มาหนุนเสริมสมรรถะและให้ อบต.ใช้ความรู้ในการทำงานพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งควรเรียนรู้ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงวัยเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ และผู้สูงวัยจนถึงแก่กรรม
- ต้องการความร่วมมือจาก CSR ของธนาคาร SCB ที่มีพนักงานจิตอาสาประจำสาขาต่างๆ และเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญมาเป็นวิทยากรให้ความรู้และทักษะด้านการบริหารจัดการการเงินการคลังของท้องถิ่น และ/หรือจะส่งพนักงานของ SCB มาเรียนรู้งานในท้องถิ่นได้
- ต้องการความร่วมมือในการสนับสนุนด้านงบประมาณของวิทยากร ส่วนค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ที่พัก อาหารและเครื่องดื่ม ก็ให้คิดเป็นค่าลงทะเบียนจากพื้นที่ที่ได้คัดเลือกเข้าร่วมโครงการ แต่ขอให้คิดอัตราค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนรู้ไม่แพง
- ยินดีร่วมกำหนดเกณฑ์และคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย ที่มุ่งมั่นตั้งใจ ทำจริงและรับผิดชอบอย่างต่อเนื่องและจริงจัง โดยคัดเลือกผู้เรียนห้องคิงในการดำเนินโครงการ
- ยินดีรับการถ่ายโอนและร่วมเป็น “เจ้าภาพ” ในการดำเนินงานร่วมกันตลอดระยะเวลา 3 ปี โดยจะพัฒนาหลักสูตรนี้เพื่อบรรจุเป็นหลักสูตรพัฒนาบุคลากรท้องถิ่นของ สพบ.
• ตัวแทนจากพื้นที่ (อบต. หนองสาหร่าย/ อบต.หนองอียอ)
- เห็นพ้องตรงกันว่า อยากพัฒนาบุคลากรท้องถิ่นให้มีสมรรถนะในการทำงาน และปรับทัศนคติในการทำงาน โดยใช้วาระเรื่องเด็กและเยาวชนเพื่อดึงการมีส่วนร่วมของชุมชน
• สรส.
- ข้อค้นพบจากการทำงานร่วมกับชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) พบว่า คนทำงานชุมชนต้องการความรู้เชิงปฏิบัติ (ความรู้ + ทักษะ) และต้องมี “พี่เลี้ยง”
- การทำงานควรทำวิจัยและพัฒนาประกบการดำเนินโครงการฯ
- สร้าง อบต.ต้นแบบ โดยคัดเลือก อบต.ดีเด่น ที่มีทุนดี เสมือนอบรมให้เป็นครู ก. เพื่อขยายผลไปสู่ อบต.ใกล้เคียง
• มูลนิธิฯ (ส.ก.จ.)
- เป้าหมายของมูลนิธิฯ คือ ส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยมูลนิธิฯ มีบทบาทเป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนาพลเมืองรุ่นใหม่ให้มีบุคลิกลักษณะอันพึงประสงค์ มีคุณธรรม สามารถยกระดับการเรียนรู้ และรู้เท่ารู้ทันสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและความเป็นไปของสังคมและโลก
- ต้องการให้ “สพบ.” และ “พื้นที่” ลุกขึ้นมาเป็น “เจ้าภาพจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน” ในชุมชนท้องถิ่นเป้าหมาย และขยายผลไปสู่ อปท.ทั่วประเทศ

2) หลักสูตรและการจัดหลักสูตร
• สพบ.
- ปัจจุบัน สพบ.มีหลักสูตรอบรมของผู้บริหารท้องถิ่นทุกระดับ มีวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านวิชาการ ซึ่งขณะนี้ได้เชื่อมโยงกับสถาบันพัฒนาเด็กและครอบครัวแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเห็นว่าน่าจะมีการพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน
• สรส.
- เชื่อมโยงภาคีด้านพัฒนาเด็กและเยาวชนต่างๆ ที่มีองค์ความรู้และทำได้ดี (มีทั้งหลักสูตร+วิทยากร) เข้ามาร่วมจัดการหลักสูตร เพื่อส่งเสริมให้พื้นที่ได้จัดการทุนทางสังคมทั้งภายในและภายนอกชุมชน
- ควรสร้าง อบต.ต้นแบบ โดยคัดเลือก อบต.เด่น ที่มีทุนดี เสมือนอบรมให้เป็น ครู ก. เพื่อขยายผลไปสู่ อบต.ใกล้เคียง
- เกณฑ์และเงื่อนไขในการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย คือ “ต้องเอาจริง และทำจริง” และมีระบบติดตามประเมินผลการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
• มูลนิธิฯ
- การพัฒนาหลักสูตรนั้น ต้องการให้บุคลากรท้องถิ่นที่เข้าร่วม สามารถวิเคราะห์สถานการณ์และสภาพแวดล้อมของเด็กและเยาวชน โดย มูลนิธิฯ/ สรส. เห็นพ้องตรงกันว่าต้องประสานความร่วมมือกับ Thai PBS เรื่อง “รู้เท่าทันสื่อ”
- การ Coaching เรียนรู้ตามหลักสูตรฯของกลุ่มเป้าหมาย ขอย้ำว่า “ต้องเรียนรู้และลงมือทำจริงจัง” แล้วนำสิ่งที่ได้เรียนรู้และปฏิบัติมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทั้งในระดับพื้นที่และข้ามพื้นที่ ตามที่ สรส.ได้ออกแบบไว้ว่าจะมีการ Coaching 10-11 ครั้ง และเวทีสุดท้ายที่จะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
- ควรมีวิธีการจัดการหลักสูตร ตัวอย่างเช่น วิทยากรให้สื่อ VDO กลับไปดูและตั้งโจทย์ให้การบ้านกลับไปคิดและทำ พอครั้งถัดไปก็ให้แต่ละพื้นที่นำคำตอบมาพูดคุยกัน จะทำให้เห็นว่าเกิดความรู้และทักษะใหม่ของแต่ละคนในแต่ละพื้นที่ เป็นการยกระดับความรู้ที่เน้นการลงมือปฏิบัติ เป็นต้น

3) การแต่งตั้งคณะกรรมการ 2 ชุด ได้แก่

ชุดที่ 1 คณะกรรมการที่ปรึกษา (Steering Committee) เพื่อกำกับทิศทางนโยบายการดำเนินงาน

ประกอบด้วย
• ผู้แทนจากมูลนิธิสยามกัมมาจล
1) ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล
บทบาท ประธานกรรมการที่ปรึกษา
2) นางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล
บทบาท ในฐานะผู้ให้การสนับสนุน และเป็นกรรมการ
• ผู้แทนจากมูลนิธิทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
บทบาท ในฐานะผู้ให้การสนับสนุน และเป็นกรรมการ
• ผู้แทนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
1) คุณสมพร ใช้บางยาง อดีตอธิบดีกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น
บทบาท กรรมการ ใช้องค์ความรู้และประสบการณ์การทำงานด้านตำบลสุขภาวะ และประสบการณ์จากอดีตอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการฯ
2) คุณเพ็ญพรรณ จิตตะเสนีย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะองค์กร สสส.
บทบาท เป็นกรรมการ
3) รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์สื่อสารสังคม สสส.
บทบาท เป็นกรรมการ
• ผู้แทนจากมูลนิธิปูนซิเมนต์
บทบาท มีองค์ความรู้และประสบการณ์ 84 ตำบล ให้ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ
• ผู้แทนจาก Thai PBS
บทบาท รับผิดชอบด้านการสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่สังคม
• ผู้แทนจากกรมส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กระทรวงมหาดไทย
1) นายแก่งเพชร ช่วงรังษี อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
บทบาท เป็นกรรมการ ที่เห็นความสำคัญและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรท้องถิ่นทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการในเรื่องการส่งเสริมพัฒนาพลเมืองรุ่นใหม่ และรับทราบผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง
• ผู้แทนจากสถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น
1) นายชัยวัฒน์ โกสุม ผู้อำนวยการ สพบ.
บทบาท (1) รับผิดชอบเป็นเลขานุการที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษา
(2) รับภารกิจถ่ายโอน “หลักสูตร (ความรู้และทักษะ)” จากมูลนิธิฯ /สรส. และ “ใช้องค์ความรู้” เพื่อพัฒนาพื้นที่เป้าหมาย สู่การขยายผล อปท.ทั่วประเทศ
• สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.)
1) คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ ผู้อำนวยการสถาบัน สรส.
บทบาท ในฐานะผู้รับทุนและนำเสนอผลการดำเนินงาน เพื่อขอคำแนะนำ/ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน
• ผู้ทรงวุฒิอื่น ๆ เพิ่มเติม
อยู่ในระหว่างสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มเติม

ชุดที่ 2 คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาบุคลากรท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ประกอบด้วย
• ผู้แทนจากมูลนิธิสยามกัมมาจล
1) นางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล
2) นางสุทิน ศิรินคร ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการต่อยอดและพัฒนาเครือข่ายเด็กและเยาวชน
• ผู้แทนจากสถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น
1) นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น
2) นายประสูตร เหลืองสมานกุล ผู้อำนวยการส่วนบริหารงานฝึกอบรม
3) นางสาวฐิติมา ปุยอ๊อต นักทรัพยากรบุคคล/ชำนาญการ
• ผู้แทนจากสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.)
1) นายทรงพล เจตนาวณิชย์ ผู้อำนวยการสถาบัน สรส.
2) นางสาวนวลทิพย์ ชูศรีโฉม ผู้ประสานงาน สรส.
• ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ (นายก อบต. / ปลัด อบต.)
1) นายสวัสดิ์ กัจนรัตน์ ปลัด อบต.หนองสาหร่าย อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี
2) นายภิญโญ ปลัด อบต.หัวไผ่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี
หมายเหตุ สรส. / สพบ. อยู่ในระหว่างสรรหา นายก อบต.
• ผู้แทนจากทีมนักวิชาการ (แนวคิด หลักการ ทฤษฎี เครื่องมือ)
1) ดร.บัญชร แก้วส่อง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยท้องถิ่น สกว.
2) รศ.ดร.เนาวรัตน์ พลายน้อย ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยและประเมินผลแบบเสริมพลัง, นโยบายสาธารณะ
3) นพ.สุริยเดว ทวีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
4) ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ
5) ผศ.สมพงษ์ จิตระดับ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์

นอกจากนี้ สรส. ได้ประสานเชื่อมโยงกับภาคีเป้าหมายที่มีสื่อ วิทยากร เครื่องมือ และวิธีการ เช่น แผนงานเสริมสร้างวัฒนธรรมการอ่าน สมาคมไทสร้างสรรค์ องค์กรแพธ มูลนิธิรักษ์ไทย (โครงการ Childlife ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนโลก) และแผนงานด้านสื่อเพื่อสุขภาวะของเด็กและเยาวชน (สสย.)

4) การลงนามข้อตกลงการปฏิบัติงาน (M.O.U.) ร่วมกัน 3 ฝ่าย คือ 1) มูลนิธสยามกัมมาจล 2) กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ต้นสังกัดของสถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น และ 3) สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มดำเนินการ คาดว่าจะเป็นวันเวลาและสถานที่เดียวกับวันปฐมนิเทศครั้งแรก

5) แนวทางในการขับเคลื่อนงานช่วง Pre Phase ของแต่ละฝ่าย
บทบาทของ สรส./ สพบ.

• สรส. ร่วมกับ สพบ. เพื่อกำหนดเกณฑ์และคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย พัฒนาหลักสูตรฯ จัดการหลักสูตร และกำหนดเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้
• เชื่อมโยงภาคีความร่วมมือด้านพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่
• พัฒนาโครงการฯ กำหนดแผนงานและงบประมาณเพื่อนำเสนอขออนุมัติต่อมูลนิธิฯ
• เป็นวิทยากรกระบวนการในพื้นที่ เพื่อหนุนเสริมศักยภาพทีมงานของพื้นที่ของโรงเรียนครอบครัว

บทบาทของมูลนิธิฯ

• สรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา (Steering Committee)
• สรรหานักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรด้านเด็กและเยาวชน
• จัดประชุมหารือแนวทางความร่วมมือระดับนโยบายและการดำเนินงาน เพื่อเชื่อมโยงภาคี ได้แก่ คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร, คุณเพ็ญพรรณ จิตตเสนีย์, รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์, ดร.บัญชร อ่อนดำ, คุณทรงพล เจตนาวณิชย์
• จัดประชุมหารือแนวทางความร่วมมือกับทีมวิจัยประเมินผล (รศ.ดร.เนาวรัตน์- รศ.ดร.ศุภวัลย์ พลายน้อย) และ สพบ. (คุณชัยวัฒน์ โกสุม)

6) เรื่องอื่นๆ
• การจัดปฐมนิเทศ และนิทรรศการของภาคีที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชน อาจใช้สถานที่ หอประชุมของสถาบันพัฒนาบุคคลากรท้องถิ่น หรือ หอประชุมมหิศร จะเป็นประเด็นหารือร่วมกันอีกครั้ง

บันทึกโดย สุทิน ศิรินคร

6 ธ.ค. 2555

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ