โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น 4 ภาค ระยะที่ 1 : ส่งเสริม อปท. ในการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาเยาวชน
โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น 4 ภาค ระยะที่ 1 : ส่งเสริม อปท. ในการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาเยาวชน
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
เวทีประชุมของทีมครูใหญ่กับคณะกรรมการบ้านห้วยม้าลอย ครั้งที่ 3
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

เวทีประชุมของทีมครูใหญ่ร่วมกับคณะกรรมการฯบ้านห้วยม้าลอย ตำบลหนองสาหร่าย เพื่อการพัฒนาเด็กเยาวชนในตำบลอย่างมีส่วนร่วม

วัตถุประสงค์ในการจัดเวที

  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาเด็กเยาวชนบ้านห้วยม้าลอยที่ผ่านมา สู่การร่วมคิด ร่วมวางแผนการดำเนินงาน “โรงเรียนครอบครัวบ้านห้วยม้าลอย” ได้อย่างต่อเนื่อง
  • วางแผนการบริหารจัดการ การจัดทัพ จัดทีม เพื่อเพิ่มบทบาทหน้าที่ของทุกฝ่าย ภายใต้งาน“โรงเรียนครอบครัวบ้านห้วยม้าลอย”ให้เกิดกลไกการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายมากขึ้น
  • คัดเลือกหมวดวิชาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเด็กและเยาวชนบ้านห้วยม้าลอยได้อย่างเหมาะสม (วิชาชีวิต วิชาชีพ วิชาชุมชน และวิชาการ)

กระบวนการที่ใช้ในการจัดกิจกรรม

  • เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้ได้แนวทางในการบริหารจัดการต่อภายใต้งานโรงเรียนครอบครัวแบบมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายให้มากขึ้น ผู้ดำเนินการชวนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน คือ นายทรงพล เจตนาวณิชย์ (ผอ.สรส.) โดยมีผู้ประสานงานพื้นที่ “ชไมพร” (ชวนคุย/นำเสนอ/บันทึก) และทีมครูใหญ่บ้านห้วยม้าลอย ช่วยนำเสนอ เติมเต็ม การทำงานที่ผ่านมา สู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

ทำความเข้าใจร่วมกับพื้นที่ ต่อ แนวคิดการพัฒนาเด็กเยาวชน

“โรงเรียนครอบครัว” มีเป้าหมายหลักในการสร้างความร่วมมือร่วมกับชุมชนเพื่อร่วมมือกันต่อการดูแลลูกหลานของตนเองให้มีภูมิคุ้มกันทางสังคมที่ดี เพื่อให้เกิดการคิดดี ทำดี เพื่อตนเอง ครอบครัวและชุมชน จากการดำเนินงานของผู้ประสานงานในปี 2554 ในพื้นที่ตำบลวัดดาวที่ผ่านมาทำให้ผู้ประสานงานมีความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนางานร่วมกับพื้นที่ได้ในระดับหนึ่ง อีกทั้งคุณทรงพล เจตนาวณิชย์(ผู้อำนวยการสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข : สรส.) มีแนวคิดต่อการขยายพื้นที่การดำเนินงานของพื้นที่สุพรรณบุรีร่วมด้วย จึงได้ร่วมกันกำหนดพื้นที่ที่มีความสนใจและมีศักยภาพต่อการให้ความร่วมมือในการพัฒนาเด็กและเยาวชนขึ้น โดยระบุเป็นพื้นที่หนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ โดยใช้หมู่บ้านห้วยม้าลอยเป็นพื้นที่นำร่องต่อการพัฒนางาน “โรงเรียนครอบครัว” อีกพื้นที่หนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี

ในช่วงเดือนมกราคม 2555 ต้นปี ผู้ประสานงานและคุณทรงพล เจตนาวณิชย์(ผู้อำนวยการสรส.) ได้ลงพื้นที่ทำความเข้าใจต่อแนวคิดการดำเนินงาน “โรงเรียนครอบครัว” ในพื้นที่ห้วยม้าลอย โดยประสานงานผ่านนายเตียง ชมชื่น (สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสาหร่าย ม.4) เพื่อจัดเวทีชี้แจงและทำความเข้าใจร่วมกับหน่วยงาน แกนนำชุมชนในพื้นที่ โดยจัดเวทีที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านห้วยม้าลอย ในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2555

วัตถุประสงค์ในการจัดเวที

(1) ชี้แจงและทำความเข้าใจต่อแนวทางในการดำเนินงาน “โรงเรียนครอบครัวบ้านห้วยม้าลอย”
(2) สรรหาทีมทำงาน “โรงเรียนครอบครัว” ให้กับพื้นที่

ผู้เข้าร่วมในเวที

  • พระอธิการประเสริฐ (หลวงพ่อ : เจ้าอาวาสวัดห้วยม้าลอย)
  • ทีมงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยม้าลอย
  • ส.อบต. ม.4, แกนนำชุมชน, ตัวแทนผู้สูงอายุ
กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

ผลที่เกิดจากการจัดเวที

คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ (ผอ.สรส.) ได้ชวนผู้เข้าร่วมประชุมร่วมตระหนักถึงความสำคัญและสถานการณ์ปัญหาของเด็กเยาวชนในปัจจุบัน โดยอธิบายถึง “สมัยนี้ไม่เหมือนสมัยก่อน สถานการณ์เปลี่ยนไป เด็กเหมือนต้นไม้ 1 ต้น เหมือนต้นกล้า ตัวดึงตัวล่อไม่มี ปัจจุบันตัวล่อที่ไม่ดีก็เยอะ เด็กได้รับผลกระทบอย่างมาก พ่อแม่มองไม่เห็นตรงนี้ ส่งผลต่อพฤติกรรมของลูก การด่าลูกนั้นแก้ไขปัญหาไม่ได้ ความเปราะบางมีมากกว่าสมัยก่อน เด็กไม่อดทน ไม่อดกลั้น ปัญหาเด็กมักแก้ที่ปลายเหตุ ฐานที่สำคัญอยู่ที่ฐานครอบครัว ถามว่าถ้าเราอยากให้เด็กเติบโตที่ดีนั้น สำคัญอยู่ที่เบ้าหลอม เด็กเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น อารมณ์ ร่างกายเปลี่ยนแปลง จะทำให้เข้าใจกันยาก พ่อแม่ต้องใจเย็นพอ ที่ผมพูดทั้งหลายทั้งปวงเป็นปัญหาระดับประเทศไปแล้ว พ่อแม่ปรับตนเองไม่ทัน การเลี้ยงลูกเลี้ยงแบบเดิมๆ แต่ว่าใช้ไม่ได้ในยุคนี้แล้ว ลูกไม่ฟังพ่อแม่แล้ว ลูกสนใจแต่ทีวี net ไม่สนใจพ่อแม่แล้ว เรามาลองดูว่า หากจะเริ่มทำ เราสามารถช่วยเหลือกันได้อย่างไร”

การสร้างความตระหนักรู้เพื่อสร้างความร่วมมือกับหน่วยงาน แกนนำในชุมชนในพื้นที่บ้านห้วยม้าลอยต่างได้รับความร่วมมืออย่างดีเพราะต่างตระหนักถึงสถานการณ์ปัญหาด้านเด็กเยาวชนที่มีผลรุนแรงกับลูกหลานอย่างยิ่งและต่างเข้าใจดีว่า “ฐานครอบครัว”เป็นฐานเริ่มต้นที่ดีที่สุดต่อการบ่มเพาะลูกหลานของตนเองให้เป็นคนดีของสังคม ดังนั้น แนวทางในการจัดการต่อของพื้นที่ คือ การร่วมกันกำหนดและสรรหาคณะทำงานของโรงเรียนครอบครัวในพื้นที่บ้านห้วยม้าลอยให้ชัดเจน เพื่อมาร่วมกันดำเนินการออกแบบและวางแผนการทำงานตามคำแนะนำร่วมกับ สรส.ให้บรรลุผลตามเป้าหมายได้ ในเบื้องต้นพระอธิการประเสริฐ (เจ้าอาวาสวัดห้วยม้าลอย) ถือเป็นบุคคลที่คนในชุมชนให้ความเคารพ ศรัทธาอย่างยิ่ง หลวงพ่อวัดห้วยม้าลอยท่านให้การสนับสนุนเต็มที่ โดยมีเป้าหมายเพื่อ “สร้างคนดีให้กับหมู่บ้าน” ดังนั้น ผู้นำ แกนนำชุมชนจึงมีแรงบันดาลใจร่วมต่อการให้ความร่วมมือเพื่อพัฒนาและดูแลลูกหลานในตำบลเป็นคนดีของสังคมเช่นกัน


การจัดการต่อ คือ ต้องเร่งสร้างความเข้าใจร่วมกับผู้ปกครองในโรงเรียนบ้านห้วยม้าลอยเพื่อเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนครอบครัวกับทางพื้นที่และสรส.

ค้นหา “ทีมทำงาน” เพื่อสานฝัน “โรงเรียนครอบครัว”

ก่อนที่โรงเรียนบ้านห้วยม้าลอยจะปิดเทอมในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์นั้น ทาง(ว่าที่)คณะทำงานโรงเรียนครอบครัวของพื้นที่ได้จัดเวทีสร้างความเข้าใจร่วมกับผู้ปกครองในโรงเรียนบ้านห้วยม้าลอยเพื่อประสานความเข้าใจก่อนการดำเนินการโรงเรียนครอบครัวในระยะต่อไป

ผู้เข้าร่วมในเวที

  • พระอธิการประเสริฐ (หลวงพ่อ : เจ้าอาวาสวัดห้วยม้าลอย)
  • ทีมงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยม้าลอย (คุณหมอสมนึก พลเสน)
  • นายมีชัย ศิลปะรัตน์ (ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยม้าลอย)
  • นายสวัสดิ์ กันจรัตน์ (ปลัด อบต.หนองสาหร่าย)
  • นายเตียง ชมชื่น (ส.อบต.ม.4)
  • ทีมผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยม้าลอย

ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดเวที


กลุ่มผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยม้าลอยเมื่อได้รับฟังการชี้แจงจากหน่วยงานในพื้นที่ กลุ่มแกนนำต่างๆในชุมชน รวมไปถึงการอธิบายแนวทางในการพัฒนางานโรงเรียนครอบครัวในพื้นที่จากทีมงานสรส.(คุณทรงพล + ผู้ประสานงานพื้นที่) ทำให้ผู้ปกครองทุกท่านต่างมีความสนใจในแนวทางการพัฒนาและบ่มเพาะนิสัยของลูกหลานตนเอง ผลที่เกิดขึ้นในเวที คือ การร่วมลงชื่อเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนครอบครัวกับ(ว่าที่)คณะทำงานโรงเรียนครอบครัวในพื้นที่ โดยมีนายเตียง ชมชื่น เป็นแกนนำหลักในการดำเนินการ(ในฐานะว่าที่ครูใหญ่โรงเรียนครอบครัวในพื้นที่)

การจัดตั้งคณะทำงาน “โรงเรียนครอบครัวบ้านห้วยม้าลอย”


กระบวนการสรรหาคณะทำงานโรงเรียนครอบครัวบ้านห้วยม้าลอย ถูกกำหนดขึ้นจากการที่พื้นที่มีกลุ่มแกนนำในพื้นที่ร่วมดำเนินกิจกรรมและให้ความสำคัญในการเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยมีมติในการจัดตั้งเป็นโครงสร้างดำเนินการ เฉพาะ “ทีมครูใหญ่” ดังนี้

บทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่ายแม้ว่าจะมีการแยกส่วนกันตามบทบาทหน้าที่ แต่ในทางดำเนินงานนั้นต่างทำงานอย่างมีส่วนร่วมร่วมกันเสมอ โดยบทบาทคนทำงานหลักๆจะเป็นทีมโรงเรียนครอบครัว ซึ่งทีมโรงเรียนครอบครัวประกอบด้วย


นายเตียง ชมชื่น (ครูใหญ่โรงเรียนครอบครัว) ทำหน้าที่ประสานงานและจัดการงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่เพื่อร่วมกำหนดแผนงานให้บรรลุเป้าหมายของโรงเรียนครอบครัวได้


นางสาวธนภรณ์ แวงวรรณ (ผู้ช่วยครูใหญ่ / เลขานุการ) ทำหน้าที่ประสานงานร่วมกับทีมแกนนำครอบครัว, การจัดการเอกสารงานของโรงเรียนครอบครัว อีกประการถือเป็น Buddy ในการทำงานในพื้นที่ร่วมกับผู้ประสานงานด้วย


นอกจากนี้ทีมแกนนำครอบครัว และ ทีมบริหาร มีบทบาทหน้าที่ต่อการช่วยเอื้อและการจัดการงานในภาพรวมให้บรรลุผลตามที่คณะทำงานร่วมกันออกแบบ

ร่วมวางแผนบริหารจัดการงาน “โรงเรียนครอบครัว” ของตำบล

เดือนมีนาคม เป็นช่วงของการเตรียมความพร้อมงานโรงเรียนครอบครัวบ้านห้วยม้าลอยโดยในเดือนนี้มีแผนดำเนินการเพื่อให้งานบรรลุผล ดังนี้
เป้าหมายแผนงานในช่วงเดือนมีนาคม 2555


(1) สรรหาทีมนายหมู่ “โรงเรียนครอบครัวบ้านห้วยม้าลอย” เพื่อพัฒนาเยาวชนในพื้นที่ต่อการเป็นพี่นายหมู่ให้แก่น้องๆนักเรียนในโรงเรียนบ้านห้วยม้าลอย
(2) ทำความเข้าใจต่อบทบาทหน้าที่ของทีมนายหมู่ ก่อนการจัดค่ายเด็กเยาวชนในพื้นที่
(3) ออกแบบ Menu วิชาการเรียนรู้ร่วมกับคณะทำงานโรงเรียนครอบครัวเพื่อวางแผนการดำเนินงานในระยะยาวร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน

(1) ได้(ว่าที่)ทีมนายหมู่จากการปรึกษาหารือเพื่อคัดเลือกแกนนำเยาวชนในหมู่บ้านร่วมกับคณะกรรมการโรงเรียนครอบครัว รวมไปถึงการพูดคุยร่วมกับทางโรงเรียนบ้านห้วยม้าลอยเพื่อคัดเลือกแกนนำเด็กน้อยในโรงเรียนบ้านห้วยม้าลอยร่วมกับทางคณะครูของโรงเรียนบ้านห้วยม้าลอย โดยนายมีชัย กล่าวว่า “มีแกนนำเด็กนักเรียนรวมไปถึงผู้ปกครองที่สนใจเข้าร่วม อย่างน้อย 30 ครอบครัวแล้ว” โดยนางสาวธนภรณ์ แวงวรรณ (ผู้ช่วยครูใหญ่ / เลขานุการ) ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเด็กนักเรียน

(2) จัดวงพูดคุยแลกเปลี่ยนเพื่อทำความเข้าใจต่อบทบาทหน้าที่ของทีมนายหมู่ ก่อนการเปิดค่ายพัฒนาทักษะแกนนำเด็กเยาวชน ครั้งที่ ๑ ในช่วงเดือนเมษายน โดยทีมนายหมู่เริ่มมีความเข้าใจต่อบทบาทหน้าที่ของตนเอง แต่ยังไม่ชัดเจนในการดำเนินงานว่าต้องทำอย่างไร ? โดยผู้ประสานงานพื้นที่มอบหมายงานให้ทีมนายหมู่ฝึกการทำสันทนาการในการจัดค่ายเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ทีมนายหมู่ กล้าคิด กล้าแสดงออก และมีภาวะผู้นำต่อการพาน้องเรียนรู้ตามกระบวนการที่สรส.และผู้ประสานงานร่วมกันออกแบบให้ได้

 (3) Menu วิชาการเรียนรู้ของบ้านห้วยม้าลอยเพื่อการพัฒนาเด็กเยาวชนในพื้นที่ มีข้อสรุปจากการพูดคุยร่วมกัน โดยใช้ฐานการเรียนรู้หรือแหล่งเรียนรู้ที่มีในชุมชนมาออกแบบกิจกรรมในการดำเนินการแต่ละครั้ง โดยผู้ประสานงานมีหน้าที่ในการช่วยเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำร่วมกับคณะกรรมการฯในพื้นที่ ดังนี้ คือ

แนวทางการขับเคลื่อนงาน ในไตรมาสที่ 2

ในช่วงเดือนเมษายน ถึงเดือนมิถุนายน แผนดำเนินการในพื้นที่บ้านห้วยม้าลอย เน้น “การพาทำ โดยจับมือทำในเบื้องต้น” พร้อมกับ “การลงมือปฏิบัติด้วยตนเองในภายหลัง” โดยผู้ประสานงานวางเป้าหมายในการดำเนินการ ดังนี้

(1) ทำการเปิด “โรงเรียนครอบครัว” อย่างเป็นทางการ ในช่วงเดือนเมษายน เป็นต้นไป

(2) เน้นพัฒนา “ทีมนายหมู่” ให้มีความสามารถต่อการพาน้องนักเรียนแกนนำเรียนรู้ตามกิจกรรมแผนงานที่ร่วมกันออกแบบไว้ได้ โดยการจัดค่ายพัฒนาทักษะแกนนำเด็กเยาวชนบ้านห้วยม้าลอยในช่วงที่เด็กๆปิดเทอม แต่เป็นการเปิดเทอมของโรงเรียนครอบครัว

(3) สร้าง Buddy ในพื้นที่ให้เข้าใจงาน บทบาทหน้าที่ และเป้าหมายของโรงเรียนครอบครัวร่วมกับผู้ประสานงานให้ได้ เพื่อช่วยให้การดำเนินงานในพื้นที่สามารถส่งไม้ต่อได้ หากในระยะยาวแม้ไม่มีผู้ประสานงานก็ให้พื้นที่สามารถออกแบบกิจกรรมและดำเนินงานได้เอง

(4) ให้พื้นที่เห็นรูปแบบการจัดการความรู้ในการดำเนินกิจกรรมแต่ละครั้ง เช่น การเตรียมความพร้อมก่อนทำ (BAR), การพาทำในช่วงกิจกรรม และการสรุปบทเรียนหลังจากที่เสร็จกิจกรรมแต่ละครั้ง (AAR) เพื่อให้ทีมนายหมู่, แกนนำในพื้นที่ เห็นความสำคัญของการจัดการความรู้และฝึกฝนให้เป็นนิสัยในการออกแบบกิจกรรมหรือวางแผนการทำงานในแต่ละครั้งได้

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ