กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
ทักษะกีฬา ทักษะชีวิต
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

เยาวชนกลุ่มไผ่รวมก่อ ตำบลท้ายสำเภา อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ความเป็นมา

  เริ่มจากกลุ่มผู้ใหญ่ในชุมชนซึ่งเป็นเครือญาติกันทั้งหมดได้รวมตัวกันจัดทำ ปุ๋ยหมักชีวภาพ จนกลายมาเป็นกลุ่มสร้างสุขไสต้นทง ทางกลุ่มจึงได้ทำการจัดกิจกรรมภายในกลุ่มคือกิจกรรมเข้าค่าย ครอบครัวช่วงฤดูร้อนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ของกลุ่มและความสัมพันธ์ในครอบ ครัว เพราะค่ายนี้นอกจะมีทางผู้ใหญ่ที่เป็นสมาชิกของกลุ่มก็ให้ทุกคนในครอบครัว ได้มามีส่วนร่วมด้วย และได้ทำการจัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน ปี 2548 โดยทางองค์การบริหารส่วนตำบลได้สนับสนุนงบประมาณทั้งหมดมาให้ทางกลุ่มได้ จัดการบริหารกันเอง ซึ่งเยาวชนที่เข้ามาร่วมค่ายครั้งนี้ถือว่าเป็นเยาวชนรุ่นที่ 1

จาก นั้นเยาวชนกลุ่มนี้ก็ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมทุกครั้งเมื่อทางกลุ่มไสต้นทงมี กิจกรรม โดยทางเยาวชนกลุ่มนี้ได้เข้ามีส่วนร่วมในเรื่องของการเป็นพี่เลี้ยงเยาวชน ทำกิจกรรมสันทนาการ และกิจกรรมอื่นๆที่อกจะมีทางผู้ใหญ่ที่เป็นสาเท่าที่เยาวชนจะทำได้ นับสนุนงบประมาณทั้งหมดมาให้ทางกลุ่มได้จัดการบริหารกันเอง  ปี นช่ว

ช่วง ของการปิดภาคเรียนกคนในครอบครัวได้มามีส่วนร่วมด้วย จากนั้นทางกลุ่มก็ได้เห็นความสามารถและความสำคัญของลูกหลานจึงจัดค่ายเยาว จากนั้นทางกลุ่มก็ได้เห็นความสามารถและความสำคัญของลูกหลานจึงจัดค่ายพัฒนา ศักยภาพให้เยาวชนให้กับเยาวนรุ่นที่ 1 เพื่อจะเป็นพี่เลี้ยงในการจัดค่ายให้กับเยาวนรุ่นที่ 2 ซึ่งให้การอบรมโดยทางวิทยากรภายในชุมชนเอง จากนั้นก็รับเยาวชนรุ่นที่ 2 มาเข้าค่ายในช่วงของการปิดภาคเรียนซึ่งมีชื่อค่ายว่า “ค่ายเยาวชนเรียนรู้ชีวิต”

  ต่อมาทางองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายสำเภาได้รับงบประมาณจากพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ เรื่องการมีพื้นที่สร้างสรรค์ของเยาวชน จึงได้คัดสรรค์เยาวชนทั้งตำบลมาเข้า “ค่ายเยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจบ้านเกิด” กิจกรรมภายในค่ายก็จะเป็นในลักษณะปลูกฝังให้เยาวชนรักษ์บ้านเกิด มีการอนุรักษ์แม่น้ำลำคลอง การปลูกป่า เมื่อเสร็จสิ้นค่ายนี้ทางผู้ใหญ่และ อบต. ได้เล็งเห็นความสามารถและศักยภาพของเยาวชนกลุ่มนี้ จากนั้นกิจกรรมก็ได้ดำเนินมาจนถึงปี 2550 ทางกลุ่มเยาวชนกลุ่มก็รับมอบหมายภารกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการจัดค่าย คือค่ายเยาวชนรักษ์ถิ่น เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้ชมชน เรียนรู้สมุนไพรภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อให้เยาวชนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน ไม่หลงไปกับวัตถุหรือเทคโนโลยียุคใหม่

 และ ในปี 2552 ทางโครงการส่งเสริมการจัดการความรู้เยาวชนในชุมชนท้องถิ่น 4 ภาค โดยการสนับสนุนจากมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพานิชย์ ร่วมกับสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส)ได้เข้ามาร่วม ก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของพี่เลี้ยงที่จะมาทำกิจกรรมกับเยาวชนในชุมชน เนื่องจากพี่เลี้ยงที่ได้มาทำกิจกรรมกับเยาวชนในระยะที่ผ่านมาเมื่อเข้ามาทำ กิจกรรมกับเยาวชนได้สักระยะหนึ่งก็จะหายไปหรือหยุดกิจกรรมไป ก็สืบเนื่องมาจากพี่เลี้ยงไม่มีเครื่องมือที่จะมาเล่นกับเยาวนมากพอจึงทำให้ กิจกรรมของเยาวชนไม่มีความต่อเนื่อง ท

โครงการ ส่งเสริมการจัดการความรู้เยาวชนในชุมชนท้องถิ่น 4 ภาค  จึงได้จับมือกับองค์การบริหารส่วนตำบลต่างๆได้จัดทำโครงการ “พัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนในการเป็นผู้จัดการเรียนรู้ในท้องถิ่น” โดยโครงการนี้จะคัดแกนนำเยาวชนไปพัฒนาศักยภาพต่อยอดความสามารถทางด้าน เครื่องมือ ความคิดและด้านภายในจิตใจ เพื่อจะได้กลับมาพัฒนาถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง ซึ่งทางองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายสำเภาได้ส่งแกนนำเยาวชนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 3 คนซึ่งทั้งสามคนนี้เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วเขาสามารถเป็นนักจัดกระบวนการ เยาวชนที่ดีให้กับตำบล เขาสามารถนำเยาวชนในชุมชนตำบลทำกิจกรรมดีๆที่มีคุณค่าต่อตนเองและสังคม โดยมีการจัดการฝึกอบรมขึ้นในช่วงดังนี้

 

“การสร้างพลังกลุ่ม การทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำ” ระหว่างวันที่ 19-21 มิถุนายน 2552

  • การสร้างความไว้วางใจในหลากหลายมิติ ทั้งในแง่ความไว้วางใจต่อเพื่อนร่วมงาน ความศรัทธาต่อการเรียนรู้เพื่อเติบโตของตนเอง
  • การสร้างระบบการสื่อสารที่สร้างสรรค์และเพียงพอ ศึกษาทั้งในแง่ปัญหา สาเหตุและทางออกรวมทั้งฝึกฝนทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพหลายทาง โดยเฉพาะทักษะการรับฟังอย่างลึกซึ้ง เพื่อจับประเด็นเนื้อหาสาระของเรื่อง และเพื่อเข้าถึงความรู้สึกของคนอื่น
  • กิจกรรมเพื่อเข้าถึงบุคลิกภาพทั้งตนเองและผู้อื่น เพื่อเข้าใจและยอมรับตนเองและผู้อื่นได้มากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การบริหารคนและบริหารงานที่เหมาะสม
  • ความเข้าใจเรื่องความหมายและลักษณะของผู้นำหลายรูปแบบ ภาวะผู้นำหรือคุณสมบัติที่ดีของผู้นำ คืออะไร และจะสร้างสรรค์ภาวะผู้นำขึ้นได้อย่างไร
  • ฝึกฝนการผ่อนคลายอย่างสมบูรณ์ด้วยดนตรีบำบัด และการฝึกฝนการทำสมาธิ ภาวนา เพื่อแปรเปลี่ยนด้านในของชีวิต
  • เรียนรู้หลักการ ทฤษฎีที่อยู่เบื้องหลังของการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของความเป็นมนุษย์ที่แท้

 

 “การฟัง พูด อ่าน เขียนเพื่อเรียนรู้ชีวิต” ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2552

  • ฝึกการคิด อ่าน เขียน และสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้

 

“การรู้จักตนเอง รู้จักชุมชน และฝึกฝนทักษะวิทยากรกระบวนการ”ระหว่างวันที่ 7-9 สิงหาคม 2552

  • ทักษะการวิเคราะห์ตนเอง และรู้จักตนเองผ่านเครื่องมือที่หลากหลาย
  • ทักษะการจับประเด็น
  • ทักษะการคิดแบบเชื่อมโยง
  • ทักษะการเขียน

และ ค่ายครั้งที่ 4 ก็ได้เกิดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคม 2552  จะเป็นการจัดค่ายด้วยตัวของแกนเยาวชนเองโดยเป็นการนำความรู้ที่ได้จากการ เรียนรู้ทั้ง 3 ครั้งมาจัดการวางแผนทำงานของเยาวชนเอง ค่ายครั้งที่ 4 ทางองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายสำเภาก็ขออาสาขานรับเป็นพื้นที่ให้การเรียนรู้ แก่เยาวชนแกนนำกลุ่มนี้ โดยทาง อบต.ท้ายสำเภาได้อาสาใช้คนของตนเอง พื้นที่ และงบประมาณ ร่วมกันจัดค่ายครั้งที่ 4 กับโครงการส่งเสริมการจัดการความรู้ฯ

จาก นั้นโครงส่งเสริมการจัดการความรู้เยาวชนในชุมชนท้องถิ่น 4 ภาค ก็ได้เริ่มโครงการใหม่ขึ้นมาอีกหนึ่งโครงการโดยใช้ชื่อว่าโครงการ “คิดดี ทำดี เพื่อตนเอง ครอบครัว และชุมชน”เนื่องจากได้เล็งเห็นแล้วว่าเยาวชนหลายคนที่ได้ทำกิจกรรมดีๆเพื่อ ชุมชน สังคมบางครั้งลืมคิดหรือตระหนักถึงความรู้สึก หรือลืมทำสิ่งดีๆให้กับครอบครัวของตนเอง ดังนั้นโครงการนี้จึงมุ่งเน้นให้เยาวชนได้คิดทำสิ่งดีๆที่มีคุณค่าแก่ตนเอง ครอบครัว ชุมชน โดยผ่านโครงการย่อยที่เยาวชนอยากจะทำหรือร่วมกันคิดกันขึ้นมาว่าเขาจะทำอะไร

จาก นั้นการกลับมาร่วมตัวของเยาวชนกลุ่มไผ่รวมกอก็เกิดขึ้นมาอีกครั้ง โดยการผ่านสื่อกลางอย่างพี่สาว นักวิชาการศึกษา ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงให้กับกลุ่มเยาวชนกลุ่มไผ่รวมกอมาตั้งแต่ก่อตั้งกลุ่ม และจากการประชุมพูดคุยกันระหว่างสมาชิกในกลุ่มทั้ง 15 คนร่วมกับทางผู้ใหญ่ใจดี ผู้ประสานงานโครงการฯ ก็ได้ข้อสรุปออกมาว่าทางเยาวชนกลุ่มไผ่รวมกอ ต้องการที่จะทำโครงการ “ทักษะกีฬา ทักษะชีวิต” โดยการรับสมัครเยาวชนในตำบลเข้าร่วมแข่งขันกีฬาฟุตบอล 7 คน ซึ่งแต่ละทีมจะส่งผู้เล่นได้ทีมละไม่เกิน 10 คน และอายุก็ไม่เกิน 12 ปี ซึ่งทุกทีมที่สมัครเข้าร่วมการแข่งขัน จะต้องมาทำการเข้าร่วมค่ายพัฒนาทักษะกีฬาชีวิต ทักษะชีวิต ในวันที่ 26 – 27 ธันวาคม 2552

ซึ่ง เป็นค่ายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานเพื่อชุมชนของกลุ่มแกนนำ เยาวชนตำบลท้ายสำเภา  สร้างจิตสำนึกพลังเยาวชนเพื่อชุมชน อีกทั้งยังส่งเสริมและพัฒนาทักษะการเล่นกีฬาให้กับเด็กและเยาวชน เข้าใจและเห็นคุณค่าการเล่นกีฬา และการรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และต้องการให้เกิดการสร้างความรักสามัคคี มีน้ำใจเป็นนักกีฬา เสริมสร้างความมีวินัย และท้ายที่สุดก็เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ  ห่างไกลอบายมุขและสิ่งเสพติด โดยมีเป้าหมายดังนี้

  1. เพื่อให้ “การกีฬา มุ่งส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพดี พลานามัยสมบูรณ์ สามารถป้องกันและต้านทานโรคภัยไข้เจ็บได้ เพื่อเป็นการสร้างความรักสามัคคี
  2. จัดกิจกรรมการเข้าค่ายพัฒนาทักษะกีฬา  ทักษะชีวิต  ในระหว่างวันที่  26 – 27 ธันวาคม 2552
  3. จัดการแข่งขันกีฬาฟุตบอล  5 คน ในระหว่างวันที่  3  มกราคม 2553
  4. เด็ก เยาวชน อายุ 10 -12 ปี  จำนวน 50 คน (5 ทีม) เข้ากิจกรรมและร่วมแข่งขัน
  5. นักเรียน นักศึกษา  ประชาชน  ประมาณ  800 คน และร่วมเชียร์ตลอดกิจกรรมการแข่งขันกีฬา

 

สิ่ง ที่น่าสนใจมากที่สุด และแตกต่างจากการจัดค่ายเยาวชนของตำบลอื่นๆก็คือ ค่ายของตำบลท้ายสำเภานี้ เป็นการจัดกระบวนการเองทั้งหมดโดยแกนนำเยาวชนกลุ่มไผ่รวมกอ จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น ว่าทางตำบลได้ส่งเยาวชน 3 คนเข้าร่วมโครงการ“พัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนในการเป็นผู้จัดการเรียนรู้ใน ท้องถิ่น” ก็ได้นำเอาความรู้ความสามารถที่ได้มาใช้กับค่ายในครั้งนี้ ซึ่งทั้ง 3 คนก็ได้ทำหน้าที่เป็นทั้งวิทยากรหลักและเป็นวิทยากรผู้ช่วยในบางครั้ง เราอาจพูดได้ว่าการจัดค่ายในครั้งนี้ ที่มีผู้เข้าร่วมค่ายเป็นเยาวชนผู้ชายทั้งหมด 52 คน และเป็นเยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 10 – 13 ปีนั้นเป็นงานที่ยากมากไม่ใช้น้อยก็ “สามารถเปรียบได้กับการจับปูใส่กระด้ง” ไม่ใช้ว่าเป็นใครก็จะทำได้ ถ้าไม่ผ่านการอบรมและฝึกฝนมาเป็นอย่างดี แต่การจัดค่ายในครั้งนี้ซึ่งเป็นเวลา 2 วัน 1 คืน ก็ผ่านไปได้ด้วยดีบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ทุกอย่าง

ผล ที่เกิดขึ้นในค่าย เยาวชนที่เข้าร่วมค่ายทั้งหมดมีความตั้งใจที่จะมาฝึกทักษะกีฬาแต่วัตถุ ประสงค์ของค่ายมีทั้งทักษะกีฬา ทักษะชีวิต ช่วงที่ทางวิทยากรให้ทำกิจกรรมทักษะชีวิตกิจกรรมพลังกลุ่ม เยาวชนจะไม่ให้ความร่วมมือและเกิดการต่อต้านกับกิจกรรมดังกล่าว แต่ในช่วงที่เข้าสู่กิจกรรมทักษะกีฬาเยาวชนทั้งให้ความร่วมมือดีมาก แต่เมื่อทางวิทยากรให้เยาวชนได้ทำกิจกรรมทักษะชีวิตหรือกิจกรรมพลังกลุ่มไป ได้สัก 2-3 กิจกรรมผนวกกับมีการถอดบทเรียนกิจกรรมให้เยาวชนเห็นถึงสิ่งที่ตัวเองได้รับ จากกิจกรรม อีกทั้งได้รวมกันแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายๆแง่มุมกับเพื่อนๆจึงทำให้เยาชน เห็นและตระหนักถึงความสำคัญของกิจกรรมพลังกลุ่มและให้ความร่วมมือกับกิจกรรม ทักษะชีวิตมากยิ่งขึ้น ทำให้วิทยากรจัดกระบวนการการเรียนรู้ในค่ายครั้งนี้ให้ประสบความสำเร็จง่าย ยิ่งขึ้น

การ เข้าค่ายในครั้งนี้ได้ส่งผลมายังวันที่ 3 มกราคม 2553 ซึ่งเป็นวันแข่งขันจริงแต่การแข่งขันในครั้งนี้มันเป็นเรื่องที่น่าจดจำ อย่างมากเพราะไม่มีการทะเลาะกันเกิดขึ้นในสนามเลย แต่ก็มีการกระทบกระทั่งกันบางแต่ทุกคนก็ให้อภัยซึ่งกันและกัน เพราะว่ามันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่เรานำนักกีฬาทุกคนมาทำกิจกรรมพลัง กลุ่มร่วมกันตั้งแต่ค่ายครั้งแรก ทำให้เยาวชนทุกคนได้รู้จักกันทั้งหมดอีกทั้งยังได้ทำกิจกรรมที่ยากๆไปด้วย กันความเป็นเพื่อนมิตรภาพมันเลยเกิดขึ้น ทำให้ปัญหาของนักฟุตบอลที่ทำการแข่งขันแล้วมีการทะเลาะกันมันเลยไม่เกิดขึ้น ในการแข่งขันในครั้งนี้ 

 

สิ่งที่พี่เลี้ยงได้เรียนรู้

  • การจัดค่ายที่มีแต่เฉพาะผู้ชายอายุประมาณ 10-13 ปีทั้งหมดนั้นไม่ใช้เรื่องที่ง่ายๆใช้เฉพาะเครื่องมือการเรียนรู้อย่างเดียว ไม่ได้ต้องใช้กฎระเบียบเข้ามาช่วยในบางจังหวะบางกิจกรรม
  • ต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็กวัยนี้ว่าเข้ามีนิสัยที่ชอบซุกซนอยู่ไม่นิ่ง
  • ได้สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมของเยาวชนที่เปลี่ยนแปลงไปในทาง ที่ดี เช่นมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีขึ้นมาก มีการช่วยเหลื่อเพื่อนที่ทุกยาก
  • การกล้าพูดกล้าแสดงออกของเยาวชนมากยิ่งขึ้น
  • ผลจากการทำกิจกรรมบางคนรับมอบหมายจากอาจารย์ให้เป็นผ่ายประชาสัมพันธ์ ให้กับน้องๆที่จะเข้ามาศึกษาใหม่ในวิทยาลัย
  • บางคนก็มีความคิดที่แตกต่างไปจากคนอื่น โดยจะคิดได้ลึกและรอบคอบกว่าคนอื่น สามารถคิดออกแบบกิจกรรมได้อย่างละเอียดรอบคอบเพราะมีประสบการณ์ในการทำงาน กิจกรรมากกว่าเพื่อนคนอื่นในโรงเรียน
  • บางคนก็มีความคิดสร้างสรรค์มีไอเดียดีๆกว่าคนอื่น

 

สิ่งที่ต้องปรับปรุง

  • ถ้ามีการจัดครั้งต่อไปต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ปกครองอย่างทั่วถึง
  • ให้ผู้ปกครองมาร่วมทำกิจกรรมกับเยาวชนด้วยเพราะจะได้เห็นถึงรูปแบบและความ สำคัญของกิจกรรม เช่นการมาร่วมแสดงและร่วมทำขนมเป็นต้นเพราะที่ผ่านมาผู้ปกครองมีส่วนร่วมกับ กิจกรรมของเยาวชนน้อยมากตัวพี่เลี้ยงเองก็ต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ให้ผู้ปกครองเห็นว่าการเข้าค่าย สามารถพัฒนาตัวเขาให้เป็นเยาวชนที่เก่งมีความสามรถและมีความรู้ที่ช่วยเหลือ ตัวเองได้
  • เรื่องของสื่อต้องมีการจัดทำสื่อให้สามารถเข้าถึงกับตัวผู้ปกครองมากว่านี้จะทำให้ผู้ปกครองเห็นภาพและเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น

 

ท้าย ที่สุดมุมมองด้านเด็กและเยาวชนของตำบลท้ายสำเภาจากพี่สาวเจ้าหน้านักวิชาการ การศึกษา และยังเป็นพี้เลี้ยงเยาวชนได้เล่าให้ฟังว่ากิจกรรมของเยาวชนในตำบลท้ายสำเภา ได้เกิดขึ้นและมีการจัดขึ้นอยู่บ่อยครั้งจาก อบต.เอง จากผู้ใหญ่ในชุมชน จากการร่วมจัดจากหน่วยงานข้างนอกหรือแม้แต่จากเยาวชนโดยเยาวชนเพื่อเยาวชน เองก็มีอยู่บ่อย ทางนายกองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายสำเภาก็ได้เล็งความสำคัญในการพัฒนาเยาวชน จริงส่วนของเจ้าหน้าที่ ทางพี่สาวก็ได้อธิบายให้ทุกคนในองค์กรทราบไปในทิศทางเดียวกัน และที่ทางท่านนายกให้ต้องการให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กในช่วงอายุ 10-13 นั้นเพราะได้เห็นตัวอย่างไม่ดีจากนักกีฬารุ่นโตๆที่มาเล่นกีฬาแล้วมียาเสพ ติดมาด้วยจึงอยากที่จะพัฒนาหรือปลูกฝังให้เด็กเยาวชนรุ่น 10-13 ปีให้ตระหนักว่าเล่นกีฬาดีกีฬาเก่งได้โดยการไม่พึ่งยาเสพติด  

 

ถอดบทเรียนผู้ใหญ่ใจดีตำบลท้ายสำเภา

ผู้ อยู่เบื้องหลังความสำเร็จการทำกิจกรรมของเยาวชนที่ขาดไม่ได้ คือพี่เลี้ยงหรือผู้ใหญ่ใจดีที่คอยให้การสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมของเยาวชน อย่างต่อเนื่อง พี่เลี้ยงหรือผู้ใหญ่ใจดีเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนงานของ เยาวชนที่จะคอยเชื่อมต่อกับแหล่งทุนและพาไปศึกษาดูงาน  ตามแหล่งเรียนรู้ต่างๆ

  ตำบลท้ายสำเภาก็มีคุณกาญจนา  ฉิมมณี (พี่สาว) นักวิชาการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลท้ายสำเภา บทบาทของพี่สาวเป็นทั้งพี่เลี้ยงและผู้ใหญ่ใจดีคือ คอยให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาคอยประคับประคองเยาวชนอย่างใกล้ชิด ข้อดีของพี่สาวคือ พี่สาวเป็นคนในตำบลท้ายสำเภา จึงง่ายต่อการเข้าถึงเยาวชน พี่สาวเป็นคนใจดีรักเด็กและเข้าใจเด็ก จึงสื่อสารกับเยาวชนค่อนข้างดีกว่าคนอื่น

ก่อน ที่จะเกิดโครงการทักษะกีฬา ทักษะชีวิต สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) ได้เข้ามาชวนคิดชวนคุยเรื่องการขับเคลื่อนกิจกรรมของเยาวชนอย่างต่อเนื่อง และทางตำบลท้ายสำเภา ก็ได้ส่งเยาวชนเข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำพี่เลี้ยงเยาวชนที่ สรส. ได้จับมือกับหลายๆ อบต. ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อต้องการเพิ่มศักยภาพให้กับแกนนำเยาวชน  กิจกรรมค่ายครั้งล่าสุด ก่อนจะถึงค่ายทักษะกีฬา ทักษะชีวิต  คือค่าย “ต้นกล้ารุ่นใหม่ใส่ใจบ้านเกิด” เพื่อปลูกฝังให้เยาวชน ได้เรียนรู้ชุมชน และรักบ้านเกิดของตัวเอง

  แนวคิดที่ทำกิจกรรม ทักษะกีฬา ทักษะชีวิต  เพราะเยาวชนมีความถนัดที่แตกต่างกัน กลุ่มหนึ่งถนัด กีฬาฟุตบอลกับดนตรี ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง ถนัดด้านวิชาการ ด้านของการทำกิจกรรมสร้างพลังกลุ่ม ทำให้เกิดความรักความผูกพันกันในหมู่คณะ อยากให้เยาวชน สองกลุ่มนี้ทำงานร่วมกันบ้าง และทุกคนก็ได้แสดงความสามารถที่ตัวเองมีอยู่ได้ทุกคน  พี่สาวในฐานะพี่เลี้ยงก็ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาแก่เยาวชนในการเขียนโครงการ ทักษะกีฬา ทักษะชีวิต  โครงการนี้ อบต. ใช้งบประมาณ 36,000 บาท  สำหรับจัดแข่งขันกีฬาฟุตบอล อำเภอพระพรหม ที่อบต. ท้ายสำเภา รับเป็นเจ้าภาพ พี่สาวจึงได้ดึงงบประมาณส่วนนี้มาใช้ก่อน

 

การเกิดขึ้นของโครงการทักษะกีฬา ทักษะชีวิต

  ประชุมสมาชิก วางแผนหาข้อสรุป การที่จะทำ จากนั้นนำโครงการจากเยาวชนไปเสนอกับ อบต. ในวันประชุมสภา คอยให้คำแนะนำ และอำนวยความสะดวกในการทำกิจกรรม

  ในการนำเสนอโครงการถ้าเยาวชนมีโครงการเรียบร้อยแล้ว พี่สาวก็จะนำมาเสนอ อบต. อบต.ก็จะนำเข้าข้อบัญญัติ  ปีที่ผ่านมาคือ ปี 2552 อบต. ได้จัดตั่งงบประมาณ ไว้สำหรับกิจกรรมของเยาวชนไว้ 40,000 บาท ส่วนปีนี้ กิจกรรมที่ได้ตั้งงบประมาณไว้ก็มีสองกิจกรรมคือ กิจกรรมค่ายเยาวชนในช่วงปิดเทอม จะจัดในช่วงเดือนเมษายน กับกิจกรรมวันแม่แห่งชาติ วันที่12 สิงหาคม สองกิจกรรมนี้จะจัดขึ้นทุกปี งบประมาณที่ใช้ ก็จะอยู่ในหมวดของการพัฒนากีฬา คุณภาพชีวิตและสังคม สามารถนำมาใช้ในกิจกรรมของเยาวชนได้

  ตำบลท้ายสำเภา มีฐานของเยาวชนอยู่แล้ว คือ เยาวชนกลุ่มไผ่รวมกอ ซึ่งเยาวชนกลุ่มไผ่รวมกอ เป็นตัวแทนจากทุกหมู่บ้าน ของเยาวชน ตำบลท้ายสำเภา จึงเป็นตัวแทนในการของบประมาณจากหน่วยงานภายนอกได้ แต่ในช่วงทำกิจกรรม เยาวชนบางคนไม่ค่อยได้เข้ามามีส่วนร่วม เพราะ บางคนไม่ได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมของเยาวชนจริงๆ ส่วนของกิจกรรมของตำบลท้ายสำเภา ยังขาดในเรื่องอาชีพ พี่สาวอยากให้มีกิจกรรม ที่หลายหลากขึ้นเพื่อที่เยาวชนจะได้มีรายได้ เพื่อเป็นทุนการศึกษา

  กลไกในการขับเคลื่อนงานเยาวชน ในส่วนของผู้ใหญ่ใจดี ช่วงที่ผ่านมา ต้องขยับกิจกรรมของเยาวชน ให้เกิดและประสบความสำเร็จให้ผู้ใหญ่เห็นประโยชน์ กับกิจกรรมที่เยาวชนทำ จึงเข้ามามีส่วนร่วมแต่ต้องคอยเป็นค่อยไป และเข้ามาจะต้องเป็นคนรักเด็กเข้าใจเด็ก รู้ว่าเด็กต้องการอะไร และตัวของพี่เลี้ยงหรือแกนนำเยาวชน รู้สึกว่า เป็นหน้าที่ของเยาวชนเองที่ต้องช่วยกันไม่ใช่ว่า อบต. มอบหน้าที่ให้ทำ  อยากให้เยาวชนเกิดจิตสำนึกรักชุมชนด้วยตนเอง

  เยาวชนที่ผ่านค่ายทักษะกีฬา ทักษะชีวิต ในด้านของความต่อเนื่อง ของกิจกรรมได้ฝึกซ้อมกันอย่างต่อเนื่องเพื่อเข้าแข่งขัน ฟุตบอล ดิวีชั่น ของจังหวัด นครศรีธรรมราช

  กิจกรรมส่วนใหญ่ที่เยาวชนทำในตำบล เกิดจากพี่เลี้ยงจะทำกิจกรรมอะไรก็นัดเยาวชนประชุม เพื่อให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งไม่ได้เกิดจากความต้องการของเยาวชนจริง แต่เยาวชนกลุ่มนี้ชอบทำกิจกรรม เพื่อพัฒนาตนเองอยู่แล้ว จึงมีกิจกรรมให้เยาวชนทำอย่างต่อเนื่อง และถ้าเยาวชนอยากจะทำอะไร ก็มาชวนเพื่อนๆในกลุ่มไปช่วยกันทำ

  ส่วนของ อบต. ก็อยากให้เกิดการมีส่วนร่วมกันทุกฝ่ายทั้งผู้ใหญ่และพี่เลี้ยงเยาวชนก็ดี เป้าหมายสูงสุดของพี่เลี้ยง อยากให้เยาวชนรู้ว่า ตัวเองมีคุณค่าต่อสังคม ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน และสุดท้ายอยากให้ สรส. เข้ามามีส่วนช่วยในการให้คำปรึกษาให้คำแนะนำ.


กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ