กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
เวทีคณะกรรมการพัฒนาเด็กเยาวชนตำบลมหาดไทย (อบต.ป่างิ้ว) ประจำเดือน พฤษภาคม 2555
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ในการจัดเวที
 

  1. เพื่อฝึกการทำงานของทีมครูใหญ่โรงเรียนครอบครัวตำบลมหาดไทย
  2. เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ และการจัดเวทีปฐมนิเทศก์เยาวชนโรงเรียนครอบครัวในวันที่ 3 พ.ค.55 นี้   
  3. เพื่อกำหนดแผนการดำเนินงานพัฒนาเยาวชนอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดปฏิทินในการทำงานร่วมกันอย่างชัดเจนตลอดปี
  4. เพื่อวางระบบประเมินผลของ “นักเรียนโรงเรียนครอบครัว”
  5. เพื่อกำหนดรางวัลและและจูงใจในการเสริมให้แก่ครอบครัวนำร่องทั้งหมด

 

กระบวนการที่ใช้ในการจัดกิจกรรม

วิธีการพูดคุยใช้วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ  เน้นการพูดคุยแบบเป็นกันเอง

ผู้ดำเนินรายการคือ คุณหมอสมนึก  บำรุงญาติ  ครูใหญ่โรงเรียนครอบครัวตำบลมหาดไทย  โดยมีผู้ประสานงานพื้นที่จังหวัดอ่างทอง (อัฒยา)  เป็นผู้ร่วมกระตุ้น ชวนคุย  และจดบันทึก  รวมถึงผู้ช่วยในเวที  (ชไมพร) เป็นผู้ร่วมกระตุ้นการพูดคุย (สรุปประเด็นสำคัญลงโปรเจคเตอร์)

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

สรุปผลการดำเนินงานไตรมาส 1 เดือนมกราคม - เดือนมีนาคม 2555
พื้นที่ตำบลมหาดไทย (อบต.ป่างิ้ว) อ.เมือง จ.อ่างทอง

 

งานเดิมปีที่ผ่านมา

จากเดิมพื้นที่ตำบลมหาดไทยได้ดำเนินงานด้านการสร้างกลไกพัฒนาเยาวชนตำบลหมาดไทยขึ้นในช่วงปี 2554 โดยในระยะแรกได้มีการพูดคุยเพื่อสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันระหว่าง สรส. กับทางนายก อบต.ป่างิ้ว คุณอภิชาติ รอตประเสริฐ ซึ่งมีความคิดเห็นตรงกันในเรื่องของการพัฒนาเยาวชน โดยหลักการคือ เน้นการมุ่งสร้าง “กลไกพัฒนาเยาวชนในระดับตำบล” เพื่อให้เกิดทีมที่มีทักษะ ความรู้ความเข้าใจที่จะทำกิจกรรมพัฒนาเยาวชนโดยอาศัยความร่วมมือของคนในชุมชนได้ ซึ่งในครั้งนั้นทาง ผอ.รพ.สต.มหาดไทย นำโดย ผอ.สมนึก บำรุงญาติ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำงานพัฒนาเยาวชน ซึ่งคุณหมอเองมองว่าเป็นเรื่องที่ทาง รพ.สต.ดำเนินงานอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว และอีกด้านคือ งานนี้ก็เป็นภารกิจของทาง รพ.สต.อยู่แล้วดังนั้นจึงอาสาเป็นหัวเรือใหญ่ในการทำงานด้านนี้ โดยมีทีมหลักๆ คือ คุณสุพจน์ งามคณะ ส.อบต. คุณอนันท์ บุญประเสริฐ แพทย์ประจำตำบล คุณกาญจนา เกษสุวรรณ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 เป็นทีมหลัก ซึ่งโดยบทบาทหน้าที่แล้วทุกท่านเป็นทีม อสม.ที่ดูแลคนในชุมชนทุกเพศวัยของตำบลอยู่แล้ว

 

จากการทำงานด้านการพัฒนาศักยภาพเยาวชนในระยะที่ผ่านมาทำให้เห็นศักยภาพในการออกแบบการเรียนรู้ที่เชื่อมร้อยกับสถานการณ์ชุมชน มหาดไทยในขณะน้ำท่วม ทีมกลไกสามารถออกแบบกระบวนการเรียนรู้ไปบนสถานการณ์จริงของวิถีชุมชน น้ำท่วมไม่เป็นอุปสรรค์ของการทำงาน ทีมได้ออกแบบให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้กิจกรรมไปบนสถานการณ์ การช่วยเหลือคนในชุมชนโดยลงไปช่วยทีมหมอแจกยา การสำรวจผู้สูงอายุที่เกิดความเครียดขณะน้ำท่วม แจกอาหารกับผู้ประสบภัยที่ไม่สามารถเดินทางออกมารับอาหารที่ทำได้ การทำอีเอ็มบอล การทำขนมเพื่อแจกผู้สูงอายุ นอกจากนี้หลังน้ำท่วมได้มีการร่วมมือ รวมตัวกันไปทำความสะอาดให้แก่ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในการทำความสะอาดบ้านได้ ทำให้ผู้ประสานมีความมั่นใจในทีมกลไกลว่าน่าจะมีความสามารถในการยกระดับและพัฒนาให้เกิด “โรงเรียนครอบครัว” ขึ้นในตำบลมหาดไทยได้

 

เรียนรู้...จัดทำ ระบบฐานข้อมูล

ในไตรมาสแรกของการทำงาน “โรงเรียนครอบครัว” การจัดทำฐานข้อมูลถือเป็นเรื่องสำคัญไปพร้อมๆ กับการค้นหาครอบครัวแกนนำ หรือครอบครัวนำร่องของโรงเรียน เนื่องจากการดำเนินงานโรงเรียนครอบครัวนั้นเน้นที่การมีส่วนร่วมของสามส่วนคือ

  1. ครอบครัว ซึ่งประกอบด้วย เด็กและเยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ปู่ย่า ตายาย ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรมในการพัฒนาบุตรหลานของตนเอง รวมไปถึงการเป็น “ครู” คนหนึ่งในโรงเรียนครอบครัว
  2. ชุมชน โดยจะมุ่งเน้นที่ “ทุนชุมชน” หรือผู้รู้ ภูมิปัญญา ที่มีอยู่ในชุมชน
  3. หน่วยงาน องค์กรในพื้นที่ เช่น อบต. รพ.สต. โรงเรียน เป็นต้น

 

ดังนั้นทีม “ครูใหญ่” โรงเรียนครอบครัวจึงมีหน้าที่ในการ ลงพื้นที่เพื่อจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวเพื่อนำมาเป็นฐานข้อมูลในการพิจารณากำหนด “เมนูการเรียนรู้” รวมไปถึงการออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของนักเรียนในโรงเรียนครอบครัว

 

ซึ่งการจัดทำฐานข้อมูลถือเป็นการการจัดความรู้ก่อนทำที่มีความสำคัญยิ่งเนื่องจาก หากเราจัดการเรื่องของฐานข้อมูลได้ครบถ้วนสมบูรณ์มากเท่าไหร่ การทำงานในระหว่างทางก็จะมีความสมบูรณ์ได้มากที่สุดซึ่งหลังจากที่ทีมครูใหญ่ได้มีการจัดเวทีพูดคุยเพื่อกำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกครอบครัวนำร่องแล้ว จึงได้ลงไปรับสมัครนักเรียนภายใต้โรงเรียนครอบครัวในพื้นที่อย่างเป็นจริงเป็นจัง

 

ดังนั้นกิจกรรมจึงแบ่งออกเป็น

  1. การค้นหาครอบครัวนำร่อง โดยจากการพูดคุยร่วมกันของทีมครูใหญ่ได้มีการเน้นให้ครอบครัวของคณะกรรมการ ทีมครูใหญ่เอง ผู้นำ รวมถึง อสม.เป็นครอบครัวนำร่องก่อน เพื่อทดลองการทำงานในไตรมาสถัดไป เป็นการเปิดเทอมแรก แล้วจึงมีการขยายผลและขยับไปสู่ครอบครัวอื่นๆ เบื้องต้นทางทีมจะมีคุณสุพจน์ งามคณะ คุณอนันท์ บุญประเสริฐ คุณกาญจนา เกษสุวรรณ์ คุณประทิน มีพัฒนะ และคุณสิริมา เข็มสุวรรณ ที่ส่งครอบครัวตัวเองเข้าเป็นครอบครัวนำร่อง นอกจากนี้จะพิจารณาจากเด็กแกนนำเก่าๆ ที่ยังคงมีกิจกรรมร่วมกับตัวชุมชนอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น มอส กิ๊ฟ ป๊อป เพ็ชร เป็นต้น และจะค้นหาพี่นายหมู่เพิ่มให้ครอบคลุมหมู่บ้านในตำบล เบื้องต้นได้มีการคัดเลือกครอบครัวตามเกณฑ์จำนวน 15 ครอบครัว

การค้นหาผู้รู้ ภูมิปัญญาที่มีใจ สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่เยาวชนตามความสนใจได้โดยเบื้องต้นกำหนดไว้คือ

จากการค้นหาเบื้องต้นได้มีการกำหนดเมนูการเรียนการสอนของโรงเรียนครอบครัวออกเป็น

 

 

 

ร่วมกิจกรรมอื่นๆ ตามความเหมาะสม นอกจากนี้ทางทีมครูใหญ่ได้มีการวางตัวแกนนำในรุ่นแรกให้ทำกิจกรรมร่วมกับทางโรงเรียนในวันเด็ก เนื่องจากปีนี้ทาง อบต.ป่างิ้วไม่ได้มีการจัดกิจกรรมวันเด็กรวมที่ อบต.เพราะงบประมาณส่วนใหญ่ได้ถูกใช้ไปกับทางดูแลป้องกันน้ำท่วม ร่วมถึงหลังน้ำท่วมได้ใช้เรื่องของการฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบภัยในพื้นที่ จึงได้มอบหมายให้ทางโรงเรียนในพื้นที่จัดกิจกรรมวันเด็กเอง แต่ทาง อบต.ได้มีการสนับสนุนของขวัญของรางวัลให้แก่เด็กๆในชุมชน และในโรงเรียน ในครั้งนี้แกนนำเยาวชนได้เข้ามามีบทบาทในการพาน้องๆ ในโรงเรียนเล่นเกม เช่น การตอบคำถามที่เกี่ยวกับ ธนาคาร การพาน้องเล่นเกมผู้นำพอเพียงหลังจากที่ได้ไปฝึกเกมจาก “พี่แอ๋ม” คุณสุทิน ศิรินคร มาและนำมาพาน้องๆ เล่นเกมเพื่อแข่งขันกัน ซึ่งเป็นการฝึกความกล้าและภาวะผู้นำให้แก่น้องๆ เยาวชนแกนนำของตำบล

 

 

 

จากการดำเนินงานทั้งหมดที่ผ่านมาผลของการทำงานคือ

  1. ได้ฐานข้อมูลครอบครัวนำร่อง เช่นชื่อ นามสกุล ความใฝ่ฝันที่อยากเป็นในอนาคต ได้ข้อมูลพ่อแม่ผู้ปกครอง เช่นชื่อ นามสกุล ความเก่งของพ่อแม่ที่พอจะนำมาเป็นฐานข้อมูลในการจัดทำเมนูการเรียนรู้
  2. ได้เรื่องของผังโครงสร้างคณะกรรมการทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายดำเนินงาน โดยการทำงานนั้นจะมุ่งเน้นที่ทีมครูใหญ่เป็นหลัก
  3. ได้เมนูการเรียนรู้เบื้องต้นสำหรับการเรียนการสอนของโรงเรียนครอบครัวในเทอมแรก

 

แผนงานในอนาคต

  1. จัดเวทีปฐมนิเทศเยาวชน ๒พื้นที่ในเดือน พฤษภาคม ๒๕๕๕
  2. จัดเวทีสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองทั้งสองพื้นที่ เพื่อให้มีการวางแผนในการปรับปรุงนิสัยของบุตรหลานร่วมกัน
  3. จัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน
  4. กำหนดตัว CA ที่ชัดเจน ใน ๒ ระดับคือ ทีมครูใหญ่ และแกนนำเยาวชนหรือที่เรียกว่านายหมู่ รวมไปถึงการถ่ายทอดบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน

 

ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน

ในการวางแผนงานเดิมมีการคาดการณ์ว่าจะสามารถเปิดโรงเรียนครอบครัวได้ในเดือนเมษายน แต่เมื่อถึงสถานการณ์จริงเกิดความผิดพลาดคือ นักเรียนโรงเรียนครอบครัวส่วนใหญ่ไม่ค่อยอยู่ในพื้นที่เนื่องจากบ้างก็ติดตามพ่อแม่ครอบครัวไปทำงานต่างจังหวัด และนอกจากนี้เป็นช่วงปิดเทอมใหญ่นักเรียนในโรงเรียนครอบครัวส่วนใหญ่ต้องมีการสอบเพื่อเข้าโรงเรียนใหม่ เวลาในการจัดกิจกรรม หรือเปิดภาคเรียนนั้นทำได้ไม่ตรงกัน ประกอบกับการจัดเวทีแต่ละครั้งไม่ใช่วันหยุด ทำให้ครอบครัว หรือพ่อแม่ผู้ปกครองบางรายต้องไปทำงานรับจ้างไม่สามารถเข้าร่วมเวทีได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการประเมินสถานการณ์ที่ผิดพลาด ซึ่งในครั้งแรกคิดว่าช่วงปิดเทอมใหญ่ และช่วงเดือนเมษายนจะสามารถเปิดภาคเรียนของโรงเรียนครอบครัวได้สะดวก แต่อันที่จริงแล้วเดือนเมษายนทั้งเดือนมีวันหยุดเยอะมาก และช่วงต้นเดือนเป็นระยะเวลาที่ยุ่งมากของแกนนำในพื้นที่เพราะต้องเตรียมจัดงานสงกรานต์ซึ่งถือว่าเป็นงานที่สำคัญของคนในชุมชนอีกด้วย

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ