กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
ค่ายพัฒนาเด็กและเยาวชนตำบลวัดดาว ครั้งที่ 1
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ในการจัดเวทีครั้งนี้ คือ

  1. เพื่อพัฒนาแกนนำเด็กเยาวชนในตำบลวัดดาวในภาพรวมอย่างมีส่วนร่วม
  2. ค่าย แรกมีเป้าหมายต่อการส่งเสริมให้แกนนำเด็กเยาวชนเรียนรู้และกำหนดเป้าหมาย ชีวิตของตนเองเพื่อให้รู้จักวางแผน และสร้างวินัยตนเองต่อการกำหนดการพัฒนานิสัยที่พึงประสงค์ของตนร่วมกับครอบ ครัว ภายใต้การบันทึกความดีได้
  3. ผู้ ประสานงานพื้นที่จับมือพา“ทีมครูใหญ่”ทดลอง และฝึกทำกระบวนการร่วมกันเพื่อให้ทีมครูใหญ่สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ แก่เด็กด้วยทีมเองในโอกาสต่อไปได้
  4. สร้างระบบความสัมพันธ์ระหว่างพี่และน้องของกลุ่มเด็กเยาวชนในตำบลวัดดาว


กระบวนการที่ใช้ในการจัดกิจกรรม

เน้นกิจกรรม play & learn แบบมีส่วนร่วมระหว่างพี่และน้อง ตลอดจนการเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ การกล้าแสดงออก และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เพื่อวางแนวทางในการเสริมทักษะแก่น้องๆ ตำบลวัดดาวได้อย่างต่อเนื่อง

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

สานต่อพัฒนางานเด็กเยาวชน ด้วย Model โรงเรียนครอบครัว

จากการที่พื้นที่ตำบลวัดดาว อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ได้สร้างความร่วมมือกับสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) ต่อการพัฒนาเด็กเยาวชนในพื้นที่ตลอดปี 2554 ที่ผ่านมา ด้วยการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายสถานศึกษาในพื้นที่ตำบล รวม 5 โรงเรียน เพื่อคัดเด็กนักเรียนแกนนำแต่ละโรงเรียนมาร่วมเรียนรู้และพัฒนาทักษะของตนเองผ่านการเรียนรู้ร่วมกับครูภูมิปัญญาในท้องถิ่นที่ถือได้ว่าเป็น “ทุนความรู้ทางสังคม” ที่สำคัญของตำบลวัดดาว

โดยที่ผ่านมาได้จัดค่ายการเรียนรู้ประจำเดือนของเด็กนักเรียนแกนนำ รวม 6 ค่าย โดยค่ายการเรียนรู้แต่ละครั้งจะผ่านการพูดคุยร่วมกับคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนของตำบล โดยมีหน่วยงาน แกนนำชุมชนในพื้นที่ร่วมเป็นคณะกรรมการฯ อาทิเช่น องค์การบริหารส่วนตำบลวัดดาว (อบต.วัดดาว), ครูภูมิปัญญาในท้องถิ่น, ทีมครูพี่เลี้ยงทั้ง 5 โรงเรียน, แกนนำชุมชนหรือผู้ใหญ่ใจดีในชุมชน และทีมผู้ปกครองแกนนำ โดยใช้การพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จากนั้นจึงออกแบบค่ายการเรียนรู้ให้แก่เด็กอย่างมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายเพื่อร่วมดูแลลูกหลานของตำบลร่วมกัน

ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานร่วมกันของทุกฝ่าย ก่อให้เกิดฉันทะและแรงบันดาลใจ ตลอดจนการตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลและใสใจต่อการอบรมบ่มเพาะนิสัยเด็กและเยาวชนในตำบลร่วมกันมากขึ้น ด้วยผลการดำเนินงานร่วมกันก่อให้เกิดการทำงานในรูปแบบของ Model โรงเรียนครอบครัวของตำบลวัดดาวขึ้น จากการแนะนำหลักการ แนวคิดในการพัฒนา Model นี้ จากสรส. โดยคุณทรงพล เจตนาวณิชย์(ผู้อำนวยการ สรส.) ได้เป็นผู้ถ่ายทอดแนวคิด หลักการดำเนินงานให้แก่พื้นที่ ยังผลให้พื้นที่ได้ร่วมกันก่อตั้งคณะกรรมการในการดำเนินงาน เป็น 2 ระดับ ดังนี้


ผังภาพโครงสร้าง 1ผังภาพโครงสร้าง 1

(คำอธิบาย ผังภาพโครงสร้าง 1) ทีมคณะกรรมการฝ่ายบริหารงานโรงเรียนครอบครัว ประกอบด้วย ฝ่ายท้องถิ่น (อบต.), สถานศึกษาทั้ง 5 โรงเรียน (ผู้อำนวยการโรงเรียน), ครูภูมิปัญญา (ที่ถูก Vote ให้เป็นคณะกรรมการร่วม) และ ครูพี่เลี้ยงที่ได้รับหน้าที่หลักในการเป็น “ครูใหญ่โรงเรียนครอบครัว” เข้ามาเป็นทีม “เลขานุการ” ของคณะกรรมการฝ่ายบริหาร

บทบาทหน้าที่หลักของ “เลขานุการ” ในโครงสร้างคณะกรรมการฝ่ายบริหารงานนั้น ต้องนำเสนอความก้าวหน้าในการดำเนินงานโรงเรียนครอบครัวให้แก่คณะกรรมการรับทราบ เพื่อพิจารณาและกำหนดนโยบายหรือแนวทางร่วมในการจัดการงานต่อเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนในตำบลได้ โดยสรุปออกมาเป็นแผนงานครั้งต่อไป

สรุป คือ หน้าที่หลักๆที่สำคัญในโครงสร้างนี้ คือ ผลงานที่คณะทำงานโรงเรียนครอบครัวไปดำเนินการที่ผ่านมา(คณะทำงานภาพผังโครงสร้างที่ 2) มานำเสนองานที่ทำไปเพื่อให้คณะกรรมการฝ่ายบริหารรับทราบความก้าวหน้าพร้อมกับให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องได้

ผังภาพโครงสร้าง 2

(คำอธิบาย ผังภาพโครงสร้าง 2) ทีมคณะทำงานของโรงเรียนครอบครัวมาจากการ Vote ร่วมกันจากการประชุมคณะกรรมการฯในปี 2554 ที่ผ่านมา ประกอบด้วย ตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนครอบครัว คือ อ.วิชัย รักษ์วงวาน

ร่วมด้วยครูพี่เลี้ยงที่ตั้งใจจริงในการพัฒนาเด็กมาร่วมมือกันเป็นทีมผู้ช่วยครูใหญ่โรงเรียนครอบครัว นอกจากนี้ จะมีทีมร่วมทำที่สำคัญในพื้นที่ คือ ทีม อบต. ที่ทำหน้าที่ในการจัดสรรงบประมาณบางส่วนเพื่อการจัดค่ายหรือเอื้ออำนวยความสะดวกให้แก่ทีมครูใหญ่โรงเรียนครอบครัวในการจัดกระบวนการเรียนรู้

ครูภูมิปัญญา ทำหน้าที่เป็นครูฝึกสอนที่สำคัญในหลักสูตรการเรียนรู้ วิชาชีวิต วิชาชีพ วิชาชุมชน โดยมีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนรู้ พาเด็กเรียนรู้ตามเมนูวิชาที่กำหนดไว้ในแต่ละครั้งได้


ร่วมมือกับท้องถิ่น สร้างสุขในงาน “วันเด็กแห่งชาติ”

ต้นปี 2555 ที่ผ่านมา คณะทำงานโรงเรียนครอบครัวได้ร่วมมือกันระหว่างทีมครูพี่เลี้ยงในการออกแบบการเรียนรู้ให้แก่เด็กนักเรียน ทั้ง 5 โรงเรียน โดยได้ร่วมกันรวบรวมผลงานจากการดำเนินงานที่ผ่านมาตลอดปี 2554 มานำเสนอในงาน “วันเด็กแห่งชาติ ปี 2555” และในปีนี้ทางมูลนิธิสยามกัมมาจลได้ร่วมจัดงานกับทางพื้นที่ด้วย โดยการนำเกมส์เศรษฐกิจพอเพียงมาฝึกวิธีคิดให้แก่เด็กผ่านการเรียนรู้ร่วมกันอย่างสนุกสนาน โดยมีคุณสุทิน ศิรินคร (พี่แอ๋ม) ร่วมจัดกิจกรรมให้กับพื้นที่ร่วมกับผู้ประสานงาน

ผลที่เกิดขึ้นจากการส่งเสริมกิจกรรมนี้ ช่วยให้เด็กเกิดความรู้ ความเข้าใจต่อแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้นเพราะเกมส์นี้ช่วยให้เด็กได้ฝึกวิธีคิด ฝึกการวางแผน และเรียนรู้ต่อความผิดพลาด ทำให้ผู้เล่นได้รู้จักตนเองและได้รู้จักนิสัยใจคอของเพื่อนผู้ร่วมเล่นมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้น กิจกรรมที่นำมาปรับใช้ในงานวันเด็กแห่งชาติปีนี้ ระหว่างมูลนิธิสยามกัมมาจลและ สรส.ได้ช่วยให้เด็กๆวัดดาวรู้สึกสนุกสนานและมีความสนใจต่อกิจกรรมที่ สรส.และมูลนิธิฯมานำเสนอแต่ละครั้งได้อย่างดียิ่ง



วางแผนบริหารจัดการงาน “โรงเรียนครอบครัว” ของตำบล

ช่วงต้นปี 2555 ตามแผนการดำเนินงานของโรงเรียนครอบครัวในช่วงระยะนี้อยู่ในช่วงของการร่วมพูดคุยปรึกษาและหาแนวทางในการสรุปข้อมูล Menu วิชาการเรียนรู้ และคัดเลือกกลุ่มเด็กนักเรียนเป้าหมายก่อนทำการเปิดโรงเรียนครอบครัว


การเปิดภาคเรียนของโรงเรียนครอบครัวจะเป็นการเปิดสลับกับหน่วยงานราชการโดยปกติ ราวๆเดือนมีนาคม เด็กนักเรียนตามสถานศึกษาของทางราชการจะอยู่ในช่วงของการสอบปิดภาคเรียน บางพื้นที่ก็ปิดเทอมในช่วงนี้ แต่งานโรงเรียนครอบครัวเป็นช่วงของการเปิดรับสมัครนักเรียนรุ่นใหม่เพื่อคัดสรรเด็กแกนนำสู่การพัฒนาตนเองตามแนวทางของโรงเรียนครอบครัว


และเนื่องจากข้อจำกัดของพื้นที่วัดดาวที่มีคณะทำงานบางท่านเป็นคณะครูด้วย ทำให้เดือนมีนาคม การดำเนินการประชุมของ “ชุดครูใหญ่” จึงขาดทีมครูพี่เลี้ยงมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้


โดยวาระในการพูดคุยแลกเปลี่ยน มีประเด็นปรึกษาหารือ ดังนี้

1. การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าร่วม “โรงเรียนครอบครัว” โดยกำหนดไว้อย่างน้อย 50 คน
2. เมนูการเรียนรู้สำหรับเด็กในปี 2555
3. การพัฒนาทีมทำงานของครูใหญ่

ผลที่เกิดขึ้นจากการพูดคุยร่วมกัน คือ

(1) การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเด็กนักเรียนแกนนำที่เข้าร่วม จากเดิมทั้ง 5 โรงเรียนนั้น ในปีนี้จะใช้ฐานความสนใจของเด็กเป็นตัวตั้ง โดยไม่กำหนดว่าแต่ละโรงเรียนต้องคัดเด็กเข้าร่วมโรงเรียนละเท่าไหร่ เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้ตัดสินใจด้วยตนเอง อีกประการหนึ่งที่ค้นพบ คือ แม้ว่าแต่ละโรงเรียนจะเข้าร่วมโครงการฯในปีที่ผ่านมา แต่บางโรงเรียนเมื่อประเมินแล้วเบื้องต้นอาจเข้ามาร่วมด้วยเพราะความเกรงใจท้องถิ่นมากกว่า ดังนั้น ในการดำเนินงานปีนี้ ที่ประชุมจึงมีมติให้เปิดรับสมัครนักเรียนโดยใช้ฐานนักเรียนเป็นตัวตั้ง โดยในเบื้องต้น นายประทิว รัศมี (นายกอบต.วัดดาว) เสนอแนะว่า “หากจะให้ได้ตามเป้าหมาย รวม 50 คนนั้น ในช่วงต้น อาจยังไม่ได้ แต่ในระยะยาวต่อไปเด็กที่สนใจอาจมาเข้าร่วมเพิ่มเติมจนอาจจะเกิน 50 คนก็ได้ แต่ในช่วงแรกจะเปิดโอกาสให้เด็กที่ผ่านการพัฒนาในปีที่แล้วเข้าร่วมก่อน จากนั้นจึงเปิดรับสมัครตามความสนใจ ซึ่งคาดว่า ช่วงต้นๆอาจมีไม่เกิน 30 คน”

(2) เมนูวิชาการเรียนรู้สำหรับเด็ก คณะกรรมการฯเห็นพ้องต้องกันว่า จะกำหนดให้ “วิถีความรู้ฐานเกษตร” เป็นพระเอกเดินเรื่องของเมนูวิชา โดยนายสนั่น เวียงขำ รับทำหน้าที่หลักในการพาเด็กเรียนรู้ โดยเน้นฝึกเด็กให้เรียนรู้ “วิชาชีวิต” ให้มากที่สุด เพื่อเตรียมความพร้อมต่อการจัดการตนเองพึ่งพาตนเองในช่วงน้ำท่วม

เมนูการเรียนรู้ของพื้นที่ตำบลวัดดาว มีข้อสรุป ดังนี้

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ