กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
เวทีคณะกรรมการพัฒนาเด็กเยาวชนตำบลหัวไผ่ ประจำเดือน พฤษภาคม 2555
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

เวทีคณะกรรมการพัฒนาเด็กเยาวชนตำบลหัวไผ่ ประจำเดือน พฤษภาคม 2555 ณ ห้อง ICT อบต.หัวไผ่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2555 ครั้งที่ 1/2555

­

วัตถุประสงค์ในการจัดเวที
 

  1. เพื่อฝึกการทำงานของทีมครูใหญ่โรงเรียนครอบครัวตำบลมหาดไทย
  2. เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ และการจัดเวทีปฐมนิเทศก์เยาวชนโรงเรียนครอบครัวในวันที่ 26 พ.ค.55 นี้   
  3. เพื่อกำหนดแผนการดำเนินงานพัฒนาเยาวชนอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดปฏิทินในการทำงานร่วมกันอย่างชัดเจนตลอดปี
  4. เพื่อวางระบบประเมินผลของ “นักเรียนโรงเรียนครอบครัว”
  5. เพื่อกำหนดรางวัลและและจูงใจในการเสริมให้แก่ครอบครัวนำร่องทั้งหมด

 

กระบวนการที่ใช้ในการจัดกิจกรรม
 

วิธีการพูดคุยใช้วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ  เน้นการพูดคุยแบบเป็นกันเอง


ผู้ ดำเนินรายการคือ คุณวันวิสาข์ ธรรมกรณ์  รองประธานคณะกรรมการโรงเรียนครอบครัว  โดยมีผู้ประสานงานพื้นที่จังหวัดอ่างทอง (อัฒยา)  เป็นผู้ร่วมกระตุ้น ชวนคุย  และจดบันทึก  รวมถึงผู้ช่วยในเวที (ชไมพร) เป็นผู้ร่วมกระตุ้นการพูดคุย (สรุปประเด็นสำคัญลงโปรเจคเตอร์)

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

สรุปผลการดำเนินงานไตรมาส 1
เดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม 2555
พื้นที่ ตำบลหัวไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี

งานเดิมที่ผ่านมา

เดิมตำบลหัวไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี เป็นพื้นที่ดำเนินงานที่ทาง สรส.ได้มีการทำงานร่วมกันมาเป็นระยะเวลาหลายปี ดังนั้นการต่อยอดจากฐานงานเดิมนั้นจึงไม่ยากมากนัก เนื่องจากทั้งผู้นำ แกนนำในพื้นที่นั้นเข้าใจกระบวนการที่จะทำร่วมกับทาง สรส.พอสมควร ทำให้การประสานงานในการทำงานด้านการพัฒนากลไกหนุนเสริมเยาวชนในพื้นที่ ตำบลหัวไผ่จึงเป็นไปด้วยดี โดยเบื้องต้นจุดประสงค์ในการทำงานร่วมกับทาง หัวไผ่นั้นคือ สร้างกลไกพัฒนาเยาวชนในระดับตำบล รวมไปถึงการหวังผลด้านการขยายงานพัฒนาเยาวชนดังกล่าวไปสู่ตำบลอื่นๆ ในเครือข่ายของ ตำบลหัวไผ่ ซึ่งเป็นตำบลศูนย์กลางการเรียนรู้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ภาคกลางจำนวน 20 แห่งในปีแรก และอีก 40 แห่งในปีถัดไป

ในปีที่ผ่านมาหัวไผ่ ได้ใช้วิธีการพัฒนาเยาวชนผ่านการทำ “โครงงาน” โดยทาง อบต.หนุนเสริมด้านงบประมาณตั้งแต่การพัฒนาศักยภาพเด็กเยาวชนในพื้นที่ พัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนในเครือข่ายตำบลอีกหลายตำบล เพื่อสร้างให้เด็กและเยาวชนมีภาวะผู้นำ กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ นอกจากนี้ได้มีการฝึกการเขียนโครงงานเล็กๆ เท่าที่ความสามารถของพวกเขาจะทำได้ โดยในครั้งนี้ สรส.ได้หนุนเสริมเรื่องของวิทยากรกระบวนการ พี่เลี้ยงที่คอยประกบการทำงานของเยาวชนและผู้ใหญ่ใจดีในพื้นที่ อบต.สนับสนุนด้านงบประมาณในพื้นที่โดยการจัดงบประมาณสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนเดือนละ 1 ครั้ง การสนับสนุนโครงงานคิดดีทำดี เพื่อตนเอง ครอบครัวและชุมชน หมู่บ้านละ 2,500 บาท จำนวน 13 หมู่บ้าน หลังจากเด็กทำโครงงานเสร็จก็มาถอดบทเรียน และนำเสนอผลงานของพวกเขาในวันเด็กแห่งชาติ

ทำให้ผู้ใหญ่ใจดี ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่หันมาให้ความสนใจและความสำคัญด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนมากขึ้น นอกจากนี้ทางโรงเรียนในพื้นที่ทั้ง 5 โรงให้ความสำคัญและส่งแกนนำเด็กและเยาวชนของตนเองเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมตลอดเวลา จึงทำให้เค้าร่างของโรงเรียนครอบครัวนั้นมีความเป็นไปได้สูง

ทำให้ปลายปี 2554 มีการพูดคุยและพัฒนาทีมกลไก ให้ยกระดับตนเองเป็น “โรงเรียนครอบครัว” ภายใต้การดำเนินงานของครูใหญ่โรงเรียน และครูน้อย หรือทีมภูมิปัญญาในชุมชนนั่นเอง

กิจกรรมที่ทำ

วันเด็กแห่งชาติ เนื่องจากพื้นที่หัวไผ่เป็นพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมหนักมากทำให้ปีนี้วันเด็กไม่คึกคักเท่าที่ควร ทาง อบต.ซึ่งนำโดยนายกทวีป จูมั่น ยังคงจัดวันเด็ก แต่งบประมาณนั้นมีจำนวนน้อยมาก จึงจัดเป็นการสร้างความสุขให้แก่เด็กเยาวชนทั้งตำบล โดยการเปิดโอกาสให้แกนนำเยาวชนทั้งหลายได้มีบทบาทพาน้องๆ ในพื้นที่เล่นสนุก เช่นการปาลูกโป่ง ให้แกนนำเยาวชนเป็นผู้คุมฐานและมอบตุ๊กตาให้แก่น้องๆ ที่มาปาโป่ง ส่วนแกนนำหลัก นุ๊ก นะ อาร์ม นั้นทำกิจกรรมร่วมกับทีมมูลนิธิสยามกัมมาจล นำโดยคุณสุทิน ศิรินคร หรือพี่แอ๋ม จัดกิจกรรมเกม ผู้นำพอเพียง โดยในครั้งนี้ได้มีการมอบรางวัลให้แก่ผู้ที่ชนะการเล่นเกมและถอดบทเรียน “ได้อะไรจากการเล่นเกม”

พูดคุยกับคณะทำงานหลัก หลังจากที่หัวไผ่ผ่านวันเด็กมาทำให้สถานการณ์ในพื้นที่เกิดการเปลี่ยนแปลง มีการลาออกของนายกคนเก่า นายกทวีป จูมั่น ทำให้ในพื้นที่เกิดการแข่งขันทางด้านการเมืองท้องถิ่น การจัดกิจกรรมเยาวชนจึงทำให้เพียงแค่พูดคุยกับคณะทำงานหลักๆ คือ ครูใหญ่ของโรงเรียนครอบครัว คุณครูนวลปรางค์ ทองพาณิชย์ ประกอบกับเป็นช่วงที่ทางโรงเรียนยุ่งกับการจัดการสอบของน้องๆ รวมถึงการมีประเด็นด้านการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องจึงทำให้เป็นเพียงแค่การพูดคุยถึง “ผังโครงสร้าง” คณะทำงาน รวมถึงการคัดเลือกครอบครัวนำร่อง ซึ่งในครั้งนี้ต้องมีการพูดคุยกับทางเจ้าหน้าที่ อบต.ที่ดำเนินงาน “โรงเรียนครอบครัว” มาตั้งแต่ต้นคือ พี่เล็ก หรือคุณวันวิสาข์ ธรรมกรณ์ หัวหน้าสำนักปลัดของ อบต.หัวไผ่ รวมถึง คุณนาถนภา อินทพันธุ์ เจ้าหน้าที่วิชาการศึกษาของ อบต.หัวไผ่ ซึ่งร่วมดำเนินงานมาตั้งแต่ระยะที่ผ่านมา

ผลที่เกิด

แกนนำเยาวชนในพื้นที่ลุกขึ้นมาพาน้องๆ เรียนรู้กิจกรรมร่วมกับ อบต.หัวไผ่ได้เป็นอย่างดี ทำให้เห็นแววในการเป็น “นายหมู่” ของโรงเรียนครอบครัว เพราะไม่เพียงแต่การทำกิจกรรมวันเด็ก ในระยะต่อมาทาง อบต.มีงานที่เชื่อมร้อยกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสิงห์บุรีเรื่องการทำงานกับเยาวชน แกนนำหลักก็เข้าร่วมเพื่อฝึกฝนตัวเอง ทั้งนุ๊ก นะ อาร์ม จ๋อม แกนนำ รุ่นแรกที่ได้รับการพัฒนาทักษะด้านการเป็นผู้นำจากทีม สรส.

อกจากนี้ผังโครงสร้างคณะทำงานก็ได้รับการพูดคุยจนได้โครงสร้างที่มีความชัดเจนมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่กันเล็กน้อยก็ตาม

(คลิกที่นี่ เพื่อดูโครงสร้างคณะทำงาน)

ได้มีการกำหนดวิชาของโรงเรียนครอบครัวแบบคร่าวๆ ไว้ร่วมกันคือ

ซึ่งทั้งวิชาเลือกและวิชาบังคับดังกล่าวนั้น ทีมครูใหญ่จะเป็นผู้เขียนหลักสูตรร่วมกับทีมครูภูมิปัญญาเอง ซึ่งถือว่าเป็นเพียงเมนูในการเรียนรู้ให้แก่โรงเรียนครอบครัว ซึ่งไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ทุกเรื่องพร้อมๆ กันทุกครอบครัวแต่เป็นการจัดเมนู และเลือกเรียนรู้ตามความต้องการ สมัครใจ และความพร้อมของครูภูมิปัญญา ซึ่งมองเรื่องความสอดคล้องของเทศกาลชุมชนเป็นหลักด้ว

การขยับงานต่อ

หลังจากเดือนที่ผ่านมาได้มีการเลือกตั้งนายกอบต.คนใหม่ขึ้นมา รวมถึงท่านนายกได้เข้ามาแถลงนโยบาย เปิดประชุมสภาแล้ว ทางหัวไผ่จึงมีการกำหนดเวทีประชุมคณะกรรมการ และการจัดเวทีเปิดโรงเรียนครอบครัวได้แล้วในวันที่ 25 และ 26 เดือนพฤษภาคมนี้

การจัดทำคู่มือในการทำงานร่วมกันในเดือนพฤษภาคม ซึ่งทีมครูใหญ่จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำคู่มือ เพราะถือว่าคู่มือเป็น “แผนที่ของการเดินงาน” โรงเรียนครอบครัว

ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน

  • การทำงานในชุมชนท้องถิ่น การเมืองท้องถิ่นถือว่าเป็นเรื่องสำคัญของการทำงาน หากสถานการณ์ในการเมืองท้องถิ่น เกิดการเปลี่ยนแปลง ถึงแม้เราจะจับตัวแกนนำในพื้นที่เป็นคนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทางด้านการเมืองท้องถิ่น เช่นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งถือเป็นฝ่ายท้องที่ ปกครอง คุณครู ซึ่งในพื้นที่น่าจะเป็นคนที่อยู่ตรงกลาง แต่พอถึงสถานการณ์จริงแล้ว เราไม่สามารถขยับงานได้มากนักเนื่องจากคนทุกคนในท้องถิ่นถือว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกันไม่มากก็น้อย
  • การวางบทบาท และความสัมพันธ์ของตัวผู้ประสานงานเอง ต้องไม่วางตัวว่าเป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งหัวไผ่ถือเป็นบทเรียนที่ดี เนื่องจากเมื่อมีสถานการณ์ทางด้านการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องถึงแม้ว่าจะขยับงานไม่ได้มากนัก แต่ความสัมพันธ์กับคนหลักที่ทำงานในพื้นที่ยังถือว่าทำให้สามารถงานไปได้
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ