โครงการสร้างชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์เพื่อปฏิรูปการศึกษา
โครงการสร้างชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์เพื่อปฏิรูปการศึกษา
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
เสริมศักยภาพและสร้างเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์

    เพื่อเสริมศักยภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้ Change Agent มีความสามารถในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ในพื้นที่ตนเองได้ดีมากขึ้น (โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสริมความเข้าใจและทักษะของการทำ PBL, PLC และ 21st Century Skill ให้มากขึ้น)

       การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ในเวทีนี้ เป็นการผสมผสานกิจกรรมแนวการจัดการความรู้บวกกับกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษา เหมือนการออกแบบ PBL ย่อๆ 4 วัน ให้ผู้เข้าร่วมได้ฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้ได้สัมผัสประสบการณ์ตรงด้วยตัวเอง เรียนรู้และสามารถนำไปประยุกต์ได้

กลุ่มเป้าหมาย : คัดเลือกครูเพื่อศิษย์, ผู้บริหารสถานศึกษา, ศึกษานิเทศ, นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา ที่มีผลงานกลับไปทำต่อ นำแนวคิดที่ได้จากโครงการฯ ไปขยายผลต่อในพื้นที่ของตัวเองตนเอง

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

       เวทีครั้งนี้เป็นโอกาสที่ได้เติมเต็มความรู้ความเข้าใจให้กับ Change Agent ที่เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านกิจกรรมหลากหลาย เช่น ฐานการเรียนรู้ (PBL, PLC, 21st Century Skills), การให้ครูทดลองออกแบบ PBL และฝึกเป็น facilitator วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บวกกิจกรรมเปิดโอกาสให้ได้ซักถามประเด็นที่ยังลังเล ติดขัด ค้างคาใจอย่างใกล้ชิด รวมทั้งเปิดพื้นที่ให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการณ์ รวมถึงปัญหาอุปสรรคเมื่อกลับไปทำงานในพื้นที่จริงของตนเอง ซึ่งผลโดยสรุปหลักๆ คือ

a) ผู้เข้าร่วมเกิดความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้นในหลักการ รูปแบบ กระบวนการ/ขั้นตอน ของ PBL, PLC, 21st Century Skills ที่เชื่อมโยงกัน และจะนำกลับไปใช้ในพื้นที่ตนเอง ผลลัพธ์ที่สำคัญที่ผู้เข้าร่วมสะท้อนให้เห็นมากคือ ช่วยคลี่คลายความกังวลใจของเขาส่วนใหญ่ในการขับเคลื่อนขยายผลไปสู่เพื่อนครูเพื่อให้เห็นความสำคัญ เป้าหมายเดียวกัน (21st Century Skills) และร่วมมือกัน

b) จากการวิเคราะห์การเรียนรู้ของผู้เข้าร่วมหรือคนที่เป็น change agent ตั้งแต่เวทีที่ 1 ถึงเวทีที่ 3 เห็นได้ว่า คนที่กลับไปปฏิบัติจริงด้วยตัวเองอย่างจริงจัง จะเข้าใจแนวคิดใหม่ทั้ง 3 ตัวของโครงการได้ดีกว่า เล่าเรื่อง ทำกิจกรรมฝึกปฏิบัติและตีความได้ชัดเจนกว่า คนที่เข้าร่วมเรียนรู้และทำความเข้าใจในเวทีที่จัดขึ้นเท่านั้น (ดูผลจากการเล่าเรื่อง และการตีความในกิจกรรมฝึกปฏิบัติต่างๆ ในเวที)

c )แม้ผลสะท้อนการเรียนรู้ของผู้เข้าร่วมจะมีความเข้าใจชัดเจนมากขึ้น มีพลังใจที่จะกลับไปผลักดันต่อมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการพัฒนาทักษะของการออกแบบ PBL , การขยายผล PLC ที่อยู่บนฐาน 21st Century Skills เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน และพลาดตกหลุมแนวคิดการศึกษาแบบเก่าๆ ได้ง่าย จึงควรต้องมีกลไกสนับสนุนการเรียนรู้ให้กับกลุ่มนี้ต่อไป  

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ