โครงการคนต้นกล้า ป่าต้นน้ำ วิถีปะกาเกอะญอ  (กลุ่มเยาวชนหญ้าแพรกสาละวิน จ.แม่ฮ่องสอน)
โครงการคนต้นกล้า ป่าต้นน้ำ วิถีปะกาเกอะญอ (กลุ่มเยาวชนหญ้าแพรกสาละวิน จ.แม่ฮ่องสอน)
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปผลโครงการคนต้นกล้า ป่าต้นน้ำ วิถีปกาเกอะญอ
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

คนต้นกล้า ป่าต้นน้ำวิถีปะกาเกอะญอ

กลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน จ.แม่ฮ่องสอน



การรวมตัวของกลุ่มเยาวชนปกาเกอะญอ 5 คน ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการทำงานของสถาบันปัญญาปีติที่ได้ลงไปทำงานในพื้นที่ ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ ทักษะเรื่องการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และการเก็บรวบรวมข้อมูลท้องถิ่น จนเห็นว่าการรวมกลุ่มมีความสำคัญในการทำงานในชุมชน จึงได้รวมกลุ่มเพื่อน ๆ ที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันในนาม “กลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน” (องค์กรสาธารณะประโยชน์ ทะเบียนเลขที่ 3537)

­

เกิดการวิเคราะห์การเรียนรู้ เกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจต่อวิถีชีวิตของชุมชนชาวกะเหรี่ยง ว่า “ปัจจุบันนักเรียน เยาวชน คนหนุ่มสาว มีการเรียนหนังสือด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมของชุมชนน้อยลง เยาวชนในชุมชนให้ความสนใจในการประกอบอาชีพ ด้วยการไปทำงานรับจ้างใช้แรงงานนอกชุมชน ชีวิตความเป็นอยู่ มีความยากลำบากมากขึ้น ในที่สุดความรู้ ความสามารถ ที่เคยพึ่งพาความอุดมสมบูรณ์ของป่า และพื้นที่ทำกิน ก็จะลดลง จนกระทั่งขาดหายไปในที่สุด เมื่อวิถีชีวิตเปลี่ยน การดำรงชีวิตที่พึ่งพาป่าไม้และสายน้ำก็จะเปลี่ยน คนจะไม่รักษาป่า ไม่รักษาน้ำ ความสุขที่เคยมีกิน มีอยู่ มีใช้อย่างพอเพียง ด้วยความเรียบง่าย และเคารพต่อธรรมชาติ ก็จะหายไป” แกนนำเยาวชนจิตอาสาในพื้นที่สูง ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน จึงมีความสนใจในการนำประสบการณ์จากที่ต่างๆ กลับไปปรับประยุกต์ใช้ในชุมชน โดยกำหนดประเด็น “การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ” เป็นประเด็นในการเรียนรู้การปฏิบัติงาน และพัฒนาต้นทุนสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยจัดตั้งเป็น “กลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน”เป็นที่รวมตัวกันของแกนนำเยาวชนจิตอาสา ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

­

วัตถุประสงค์ของกลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน

1) พัฒนาองค์ความรู้ และแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตปกาเกอะญอ ลุ่มน้ำสาละวิน เพื่อพัฒนายกระดับ คุณภาพในการดำรงชีวิต

2) เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ความรู้และแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนปกาเกอะญอ ลุ่มน้ำสาละวิน

3) สร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน เพื่อจัดสวัสดิการชุมชน สำหรับพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ลุ่มน้ำสาละวิน

­

รายชื่อแกนนำเยาวชนที่รับผิดชอบโครงการ (แกนนำหลัก)

1.นางสาวอำภา ธวัชวิฑูรย์ ตำแหน่ง/หน้าที่รับผิดชอบ หัวหน้าโครงการ

2.นางสาวพิชญาภรณ์ พิมานกระสินธุ์ตำแหน่ง/หน้าที่รับผิดชอบ ธุรการโครงการ

3.นางสาวพรรณี จารุวีรวรรณ ตำแหน่ง/หน้าที่รับผิดชอบ ประสานงานโครงการ

4.นางสาววศิกา หยกสิริผลลาภ เยาวชนบ้านห้วยมะโอ

5.นายยุทธศักดิ์หนุนพฤกษา เยาวชนบ้านแม่ลามาน้อย

6.นางสาวอัมภิกา บุญทวีสุขใจ เยาวชนบ้านห้วยกระต่าย

7.นายพะเกลา ชิโน เยาวชนบ้านปู่คำ

8.นายสุภาพ บูรณประภากุล เยาวชนบ้านซิวาเดอ

9.นายบุญส่ง ปัทมสกุล เยาวชนบ้านซิวาเดอ

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

คนต้นกล้า ป่าต้นน้ำวิถีปะกาเกอะญอ

กลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน จ.แม่ฮ่องสอน

­

การรวมตัวของกลุ่มเยาวชนปกาเกอะญอ 5 คน ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการทำงานของสถาบันปัญญาปีติที่ได้ลงไปทำงานในพื้นที่ ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ ทักษะเรื่องการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และการเก็บรวบรวมข้อมูลท้องถิ่น จนเห็นว่าการรวมกลุ่มมีความสำคัญในการทำงานในชุมชน จึงได้รวมกลุ่มเพื่อน ๆ ที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันในนาม “กลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน” (องค์กรสาธารณะประโยชน์ ทะเบียนเลขที่ 3537)

­

เกิดการวิเคราะห์การเรียนรู้ เกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจต่อวิถีชีวิตของชุมชนชาวกะเหรี่ยง ว่า “ปัจจุบันนักเรียน เยาวชน คนหนุ่มสาว มีการเรียนหนังสือด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมของชุมชนน้อยลง เยาวชนในชุมชนให้ความสนใจในการประกอบอาชีพ ด้วยการไปทำงานรับจ้างใช้แรงงานนอกชุมชน ชีวิตความเป็นอยู่ มีความยากลำบากมากขึ้น ในที่สุดความรู้ ความสามารถ ที่เคยพึ่งพาความอุดมสมบูรณ์ของป่า และพื้นที่ทำกิน ก็จะลดลง จนกระทั่งขาดหายไปในที่สุด เมื่อวิถีชีวิตเปลี่ยน การดำรงชีวิตที่พึ่งพาป่าไม้และสายน้ำก็จะเปลี่ยน คนจะไม่รักษาป่า ไม่รักษาน้ำ ความสุขที่เคยมีกิน มีอยู่ มีใช้อย่างพอเพียง ด้วยความเรียบง่าย และเคารพต่อธรรมชาติ ก็จะหายไป” แกนนำเยาวชนจิตอาสาในพื้นที่สูง ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน จึงมีความสนใจในการนำประสบการณ์จากที่ต่างๆ กลับไปปรับประยุกต์ใช้ในชุมชน โดยกำหนดประเด็น “การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ” เป็นประเด็นในการเรียนรู้การปฏิบัติงาน และพัฒนาต้นทุนสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยจัดตั้งเป็น “กลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน”เป็นที่รวมตัวกันของแกนนำเยาวชนจิตอาสา ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

­

วัตถุประสงค์ของกลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน

1) พัฒนาองค์ความรู้ และแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตปกาเกอะญอ ลุ่มน้ำสาละวิน เพื่อพัฒนายกระดับ คุณภาพในการดำรงชีวิต

2) เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ความรู้และแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนปกาเกอะญอ ลุ่มน้ำสาละวิน

3) สร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน เพื่อจัดสวัสดิการชุมชน สำหรับพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ลุ่มน้ำสาละวิน

­

รายชื่อแกนนำเยาวชนที่รับผิดชอบโครงการ (แกนนำหลัก)

1.นางสาวอำภา ธวัชวิฑูรย์ ตำแหน่ง/หน้าที่รับผิดชอบ หัวหน้าโครงการ

2.นางสาวพิชญาภรณ์ พิมานกระสินธุ์ตำแหน่ง/หน้าที่รับผิดชอบ ธุรการโครงการ

3.นางสาวพรรณี จารุวีรวรรณ ตำแหน่ง/หน้าที่รับผิดชอบ ประสานงานโครงการ

4.นางสาววศิกา หยกสิริผลลาภ เยาวชนบ้านห้วยมะโอ

5.นายยุทธศักดิ์หนุนพฤกษา เยาวชนบ้านแม่ลามาน้อย

6.นางสาวอัมภิกา บุญทวีสุขใจ เยาวชนบ้านห้วยกระต่าย

7.นายพะเกลา ชิโน เยาวชนบ้านปู่คำ

8.นายสุภาพ บูรณประภากุล เยาวชนบ้านซิวาเดอ

9.นายบุญส่ง ปัทมสกุล เยาวชนบ้านซิวาเดอ

­

ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม

ชุมชนบนพื้นที่สูงตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นชุมชนที่เดินทางยากลำบาก โดยเฉพาะฤดูฝน อาชีพหลักของชุมชนทำไร่หมุนเวียน ประชากรส่วนใหญ่ เป็นชุมชนปกาเกอะญอ มีภูมิปัญญาด้านอาหาร ยา ผ้า บ้าน ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 880 ครัวเรือน อาศัยอยู่พื้นที่ในพื้นที่ป่าสาละวิน ใกล้กับแม่น้ำสายสำคัญ 3 สาย คือ แม่น้ำยวม แม่น้ำเมย และแม่น้ำสาละวิน มีอาณาเขตติดกับประเทศพม่า และมีศูนย์พักพิงผู้อพยพลี้ภัยสงครามฯ ของชาวกะเหรี่ยงแดงจากประเทศพม่า อยู่ใกล้กับชุมชน

­

โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ

ปัจจุบันพื้นที่ป่าต้นน้ำของแต่ละชุมชนถูกทำลาย และเปลี่ยนแปลงเสื่อมสภาพไปจากอดีต เนื่องจาก

1.พื้นที่ป่าลดลง มีไฟไหม้ในพื้นที่ต้นน้ำมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของชุมชน (ปีพ.ศ.2556) จากการเผาไร่ ซึ่งปัจจุบันมีการทำแนวกันไฟน้อยลง เนื่องจากแรงงานมีน้อยลง คนหนุ่มสาวออกจากชุมชนไปเรียนหนังสือและทำงานในเมือง และคนในชุมชนบางส่วนไม่เห็นความสำคัญของการทำแนวกันไฟ นอกจากนี้การเผาไร่ในปัจจุบันชุมชนไม่สามารถตัดสินใจ กำหนดช่วงเวลาการเผาไร่ได้เอง เนื่องจากต้องรอคำสั่งจากอำเภอ ซึ่งเป็นการจัดช่วงเวลาลดหมอกควัน และสาเหตุอื่นๆ เช่น การเผาป่าเพื่อหวังให้เห็ดออก

2.การบุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ำ เพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง และการใช้สารเคมีเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนพื้นที่และปริมาณการใช้ (2 ปีที่ผ่านมา) การขยายพื้นที่ปลูกพริกกะเหรี่ยงเพิ่มมากขึ้น การผลิตที่มุ่งตอบสนองความต้องการรายได้ จากการขายผลผลิตมากกว่าการสร้างความมั่นคงทางอาหาร

3.มีการลักลอบตัดไม้สักและแปรรูปเพื่อจำหน่ายทั้งในและนอกชุมชน พร้อมกับการตัดถนนใหม่มีความสะดวกสบายในการเดินทางมากขึ้น อีกทั้งอาหารสดแช่เย็น และอาหารแปรรูปหลายอย่าง สามารถซื้อได้จากร้านค้าในชุมชน ที่มีปริมาณสินค้าและจำนวนร้านค้ามากขึ้นจากเดิม ซึ่งอาหารส่วนใหญ่ให้โทษมากกว่าให้คุณ ทั้งในด้านเศรษฐกิจและด้านสุขภาพ

­

จากสาเหตุดังกล่าวที่ส่งผลกระทบต่อป่าต้นน้ำของแต่ละชุมชน ทำให้หน้าแล้งน้ำสำหรับบริโภคกินดื่มใช้ น้อยลง ลำห้วยหลายแห่งเล็กลงและแห้ง กุ้ง หอย ปู ปลา และพืชผักที่เป็นอาหารตามธรรมชาติลดจำนวนลง และน้ำขุ่นจากการชะล้างหน้าดินในช่วงหน้าฝน และที่เด่นชัดอีกประการคือ ขาดการสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจัดการตนเอง ความมั่นคงทางอาหาร

­

ดังนั้นกลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน ซึ่งเป็นเยาวชนในพื้นที่ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีความสนใจ ศึกษาเรียนรู้การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าต้นน้ำจากผู้รู้ในชุมชน และจัดให้มีกิจกรรมในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากชุมชน สำหรับจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กนักเรียนในชุมชน และผู้สนใจจากนอกชุมชน ดังนี้คือ 1) ศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาในการดูแลรักษาพื้นที่ป่าต้นน้ำตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน จากผู้รู้เกี่ยวกับคุณค่าความสำคัญ การดูแลและการใช้ประโยชน์จากป่าเพื่อพึ่งพาตนเอง “ด้านอาหาร ยา ผ้า บ้าน” 2) ทบทวนกติกาการดูแลรักษาป่าของแต่ละหมู่บ้าน 3) จัดทำเส้นทางการเรียนรู้พฤกษศาสตร์พื้นบ้านปกาเกอะญอ โดยสำรวจพันธุ์ไม้ พืชตระกูลขิงข่า กล้วยไม้ พืชอาหาร ยา ผ้า บ้าน 4) จัดกิจกรรมในการดูแลรักษาป่า ได้แก่ การบวชป่า บวชน้ำ ทำแนวกันไฟ ทำฝายชะลอน้ำ เพาะกล้าไม้ ปลูกต้นไม้ท้องถิ่นเสริมในพื้นที่และคืนกล้วยไม้สู่ป่า เพื่อให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของป่าต้นน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหารที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของชุมชน

­

เป้าหมายของโครงการ

เป้าหมายระยะยาว : ป่าต้นน้ำแต่ละชุมชนได้รับการอนุรักษ์

เป้าหมาย 7 เดือน : การเรียนรู้การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ เพื่อปลูกฝังภูมิปัญญาสู่คนรุ่นใหม่

กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนในการแก้ไขปัญหาหรือดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

1.ศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาในการดูแลรักษาป่าต้นน้ำ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เกี่ยวกับคุณค่าความสำคัญ การดูแลและการใช้ประโยชน์จากป่าเพื่อพึ่งพาตนเอง ด้าน อาหาร ยา ผ้า บ้าน นอกจากนี้ยังได้ทบทวนกติกาดูแลรักษาป่าของหมู่บ้าน

2.ศึกษาและพัฒนาเส้นทางพฤกษศาสตร์พื้นบ้านปกาเกอะญอ ในพื้นที่ป่าต้นน้ำบ้านแม่ลามาน้อย

3.จัดอบรมทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาในการดูแลรักษาป่าต้นน้ำ และการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ แก่แกนนำเยาวชนที่สนใจ

4.กิจกรรมเรียนรู้การดูแลรักษาป่าต้นน้ำ กิจกรรมบวชป่า ทำแนวกันไฟ เพาะกล้าไม้

­

ปัญหา/อุปสรรค และแนวทางการแก้ไข

ปัญหา/อุปสรรค

-การทำกิจกรรมที่ต่อเนื่องและยาวนาน ทำให้สมาชิกกลุ่มจำนวนหนึ่งเกิดความเบื่อหน่าย ถอดตัวออกจากการดำเนินงาน ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่ได้รับการตอบสนองเป้าหมายในเชิงรายได้ อันมีเหตุปัจจัยมาจากบุคคลแวดล้อมของตัวเยาวชนเอง

-แกนนำและสมาชิกกลุ่มยังขาดการจัดระบบการทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน การเตรียมการล่วงหน้าและการติดตามสรุปผล ส่งผลให้เกิดอุปสรรคระหว่างการดำเนินงาน

แนวทางแก้ไข

-ทบทวนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และจัดตั้งกองทุนสนับสนุนการเรียนรู้และให้ก่อนเกิดรายรับจากการดำเนินงาน เช่น การจัดทำผงนัว การเลี้ยงไก่ไข่ การปลูกพืชผัก การจัดทำยาสมุนไพร เป็นต้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของแกนนำและสมาชิกในลักษณะเบี้ยเลี้ยง แต่ควรตั้งเกณฑ์การทำงานร่วมกับกลุ่มอย่างต่อเนื่องมาระยะเวลาหนึ่ง จึงจะได้รับเบี้ยเลี้ยงจากการดำเนินงาน

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

1) ผลที่เกิดขึ้น (ทั้งด้านบวกและลบ) ต่อ ชุมชน + สิ่งแวดล้อม + กลุ่มเยาวชน

ทำโครงการเพื่อสืบสานพื้นที่ป่าต้นน้ำ กิจกรรมที่ทำคือการเก็บข้อมูลหมู่บ้านเพื่อมาวิเคราะห์ชุมชน ในเรื่องของอาหาร และนำข้อมูลอาหารชุมชนที่ได้ให้เด็กๆ ในชุมชนได้เรียนรู้ และอีกส่วนคือเรื่องของมหาวิทยาลัยชีวิตที่ได้ทำเกี่ยวกับเรื่องของชุมชน ให้เป็นพื้นที่ให้ศึกษาร่วมกัน และอีกกิจกรรมคือการบวชป่า เป็นการร่วมกิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชน ในตอนนั้นเราได้ถามคนในชุมชนและพูดคุยกับถึงกฎกติกาการดูแลรักษาป่าชุมชน จนตอนนี้เรามีกฎกติกาในการช่วยกันรักษาป่าชุมชน และการเข้าไปใช้ประโยชน์จากน้ำร่วมกันอย่างไร

­

จากการทำมีผลสะท้อนจากชาวบ้านว่าดี เป็นโครงการที่น่าทำต่อในเรื่องของการบวชป่า และกิจกรรมของการสำรวจน้ำ ซึ่งเราได้ทำฝายและทำแนวกันไฟ เพื่อสร้างเป็นกิจกรรมให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ การทำกิจกรรมเราได้ปรึกษาทีมพี่เลี้ยงกองทุนไทยเพื่อนำไปปรับในกิจกรรมของเราให้มีความละเอียดมากขึ้น และมีกิจกรรมปลูกกล้วยไม้ในป่าเพื่อสร้างเป็นเส้นทางพฤกษศาสตร์เป็นการให้น้องๆ ได้ลงพื้นที่ป่าสำรวจ แต่มีปัญหาคือเกิดไฟไหม้ขึ้นทำให้เกิดความเสียหายขึ้น

­

ความสุขที่ได้จากการทำกิจกรรมคือ การบวชป่ามีความสุขและความสำเร็จมากเพราะมีคนเข้าร่วมกิจกรรมเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นนายอำเภอ อบต. หรือคนในชุมชนที่ให้ความสนใจ กับโครงการที่เราจัดขึ้นมา และสามารถนำไปต่อยอดงานของเราต่อได้ กิจกรรมสำรวจน้ำกับการพัฒนาเส้นทางธรรมชาติเป็นกิจกรรมที่มีความสุขน้อยที่สุด เพราะเรายังมีการปรับตัวที่ไม่เข้าทาง และยังไม่พร้อมในตัวของเยาวชนและอุปกรณ์ มีหลายคนทำงานผิดพลาดหลายอย่างแต่สิ่งที่ได้คือเราได้บทเรียนจากการทำงานในครั้งนี้ ทำให้ครั้งต่อมามีการพูดคุยกัน แบ่งงานกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนรู้ให้กับตัวเองและให้กับน้องๆ เยาวชน

­

ปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดความสำเร็จ

•การจัดกระบวนการเรียนรู้ของพี่เลี้ยงให้กับแกนนำเยาวชนของกลุ่ม

•การประชุมพูดคุยออกแบบกิจกรรมร่วมกันและสรุปบทเรียนการทำงานร่วมกัน

•การสรุปทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้กับน้องๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรม

คุณค่าจากการทำโครงการ

•แกนนำเยาวชนในโครงการได้พัฒนาทักษะการจัดกิจกรรม ออกแบบกระบวนการ และการบันทึกข้อมูล

•กระตุ้นและสร้างจิตสำนึกร่วมในการเรียนรู้วิถีชีวิตของตนเอง (วิถีปกาเกอญอ)

•กิจกรรมบวชป่า ทำให้คนในชุมชนและภายนอกให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์และเห็นความสำคัญของกลุ่มเยาวชนมากขึ้น

อนาคตที่อยากทำต่อ

•การจัดกระบวนการเรียนรู้ของศูนย์การเรียนรู้หญ้าแพรกสาละวิน เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน

•ขยายกิจกรรมการบวชป่าให้ครอบคลุมในตำบลแม่สามแลบ

­

การเรียนรู้ของแกนนำเยาวชน



นางสาวอำภา ธวัชวิฑูรย์ (นุ้ย) อายุ 24 ปี

กำลังศึกษา คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

ตำแหน่ง/หน้าที่รับผิดชอบ หัวหน้าโครงการ

­

แรงบันดาลใจที่มาทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมหรือเข้ามาร่วมกับกลุ่มเยาวชน

ด้วยความรักชุมชนของตนเองทำให้นุ้ยอยากพัฒนาตนเองเพื่อนำประสบการณ์ ความรู้มาพัฒนาชุมชน “ หนูก็เป็นเยาวชนคนหนึ่งในหมู่บ้านที่ได้อยู่กับป่า ก็เลยมาหาเพื่อนใหม่ หาประสบการณ์ อยากพัฒนาเด็กรุ่นหลังให้รู้จักกับธรรมชาติ และรู้จักชนเผ่าของตัวเอง ไม่อยากให้ลืมประเพณีวัฒนธรรมชนเผ่าของเรา และอยากให้น้องๆได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นและเพื่อนต่างจังหวัดด้วย” นอกจากนี้การที่ได้ออกมาประสบการณ์จะทำให้นุ้ยได้แลกเปลี่ยนเรื่องสิ่งแวดล้อมกับเพื่อนๆที่อยู่ต่างถิ่นอีกด้วย

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)

ก่อนทำโครงการขาดการวางแผนในการทำงานรวมถึงขาดวิธีคิดที่เป็นระบบ และไม่มีความรู้เรื่องการทำบัญชี หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมในโครงการไปแล้วมีความเข้าใจในกระบวนการทำกิจกรรม และทำงานอย่างมีเป้าหมายมากขึ้น ได้เรียนรู้ร่วมออกแบบวางแผนการทำกิจกรรมในค่ายและวิธีการทำสันทนาการ ได้ฝึกการทำบัญชีและทำรายงานสรุปการเงิน จดบันทึกจากการฝึกวิเคราะห์ข้อมูลได้

­

นางสาวพิชญาภรน์ พิมานกระสินธุ์ (แอพ) อายุ 18 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 5 การศึกษานอกโรงเรียน

ตำแหน่ง/หน้าที่รับผิดชอบ ธุรการโครงการ

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)

ก่อนทำโครงการสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ แต่ยังไม่มีทักษะที่ดีพอ เขียนบันทึกได้แต่ไม่ค่อยมั่นใจในการเขียน และหลังจากการทำงานเสร็จแล้วไม่ค่อยได้สรุปการประชุม หลังจากทำกิจกรรมในโครงการไปแล้วรู้จักวิธีการคิดและวิเคราะห์หลังจากการทำกิจกรรม และวางแผนการทำกิจกรรมในค่าย สามารถเขียนบันทึกการประชุมที่สามารถนำไปใช้วิเคราะห์ทำงานต่อได้ และมีการสรุปการประชุมที่มีข้อมูลมากขึ้น

­

พี่เลี้ยง

นางเกศสุดา โตนิติ (เกด) จบปริญญาตรีครุศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้จัดการสถาบันปัญญาปีตี

­

“เราพยายามที่จะทำให้เรื่องงาน เรียน และชีวิตไปด้วยกัน เมื่อเขาจบม. 6 เขาก็พยายามเรียนอะไรที่ไม่ต้องออกไปจากชุมชน อย่างเจ๊ะเรียนมหาลัยชีวิตก็สามารถกำหนดประเด็นที่จะเรียนเองได้ โดยเขาเลือกเรียนเรื่องการบริหารจัดการกลุ่ม เขาก็สนุกและชอบที่จะสัมพันธ์กับคนคะ ส่วนนุ้ยก็มีความสนใจเรื่องสุขภาพ วางแผนว่าถ้าจบมัธยมปลาย นุ้ยก็วางแผนว่าจะเรียนด้านที่นุ้ยชอบแล้วกลับมาใช้กับชุมชนด้วย ตอนนี้แต่ละคนเขาก็มีฐาน เขาก็มีแปลงสาธิตเพาะกล้วยไม้ เขาก็วางแผนว่าจะมีแปลงสมุนไพรที่ดูแลคนในชุมชน นอกจากนั้นก็มีน้องๆที่อยู่ในชุมชนเราก็จะชวนคิดว่า เราจะทำอย่างไรดี หากเราเรียนแล้วเราเองก็ไม่ทิ้งการทำไร่ทำสวน เรียนอะไรแล้วไม่ต้องออกจากชุมชน แล้วก็ช่วยกันดูแลชุมชนด้วย ดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนป่วย”

­

สิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานร่วมกันอย่างมีส่วนร่วม ของกลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน พี่เลี้ยงที่ปรึกษา ชุมชน ชาวบ้าน คือ การเปิดโอกาสในการเรียนรู้ร่วมกัน ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีกระบวนการเรียนรู้ภายนอกและภายในไปด้วยกัน โดยยึดถือความดีงานของวิถีชีวิตชนเผ่า “ปกาเกอะญอ” ให้เยาวชน คนหนุ่มสาวได้เรียนรู้ อยู่ได้ ด้วยความมั่นคงในวิถีอันดีงามอย่างสมดุลทั้งภายในและภายนอก ให้เติบโตอย่างเท่าทัน

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ