โครงการเยาวชนสำรวจพันธุ์ไม้ในป่าชุมชน  เพื่อสร้างองค์ความรู้แก่คนในชุมชน (กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ป่ายูงทอง  จ.สุราษฎร์ธานี)
โครงการเยาวชนสำรวจพันธุ์ไม้ในป่าชุมชน เพื่อสร้างองค์ความรู้แก่คนในชุมชน (กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ป่ายูงทอง จ.สุราษฎร์ธานี)
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปผลโครงการเยาวชนสำรวจพันธุ์ไม้ในป่าชุมชน สร้างองค์ความรู้แก่คนในชุมชน
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

เยาวชนสำรวจพันธุ์ไม้ในป่าชุมชน สร้างองค์ความรู้แก่คนในชุมชน

กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ป่ายูงทอง จ.สุราษฎร์ธานี

­

จากกระบวนการต่อสู้เพื่อดูแลป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติบ้านควนยูงของกลุ่มแกนนำอนุรักษ์และคนในชุมชนที่ผ่านมา กลุ่มแกนนำอนุรักษ์ได้มีโอกาสพาเยาวชนซึ่งเป็นลูกหลานในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยบ่อยครั้ง ทำให้เยาวชนได้เห็นบทบาทการทำงานและได้มีส่วนช่วยในการดำเนินงานของผู้ใหญ่อยู่เสมอ จึงทำให้มีความสนใจอยากจะร่วมดูแลรักษาป่าของชุมชนไว้ ปี 2554 เด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี จึงได้รวมตัวกันตั้งเป็น “กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ป่ายูงทอง” ขึ้น เพื่อดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ป่าร่วมกับแกนนำอนุรักษ์ในชุมชน เช่น กิจกรรมศึกษาต้นไม้ในป่าชุมชน กิจกรรมปลูกป่า กิจกรรมบวชป่า กิจกรรมจัดทำเส้นทางเรียนรู้ในป่า กิจกรรมสำรวจพันธุ์พืชสมุนไพร กิจกรรมค่ายอนุรักษ์ป่า กิจกรรมค่ายเรียนรู้ป่าชุมชนกับโลกร้อน

­

รายสมาชิกกลุ่มเยาวชน

1.นางสาวเพชรน้ำหนึ่ง ปุ่นเต็ก ผู้ประสานงาน

2.นางสาวมณฑิรา เวชกุล ฝ่ายประชาสัมพันธ์

3.นางสาวชมพูนุช สุทธิราช ฝ่ายวิชาการและการจัดการความรู้

4.นางสาวจิรารัตน์ ทวดสงค์

5.นางสาวสุธิดา วาสินธุ์

6.นายจิราวัฒน์ ปานซัง

7.นายพรรษา ปุ่นเต็ก

8.เด็กชายศุภนัฐ ขวัญเทพ

­

ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม

ป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติบ้านควนยูง หมู่ที่ 4 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ 52 ไร่ ภายในป่ามีระบบนิเวศน์หลากหลายทั้งพันธุ์ไม้ พันธุ์สัตว์ และ พืชสมุนไพร ซึ่งพันธุ์ไม้ที่พบมีทั้งไม้หายากและไม้เศรษฐกิจ เช่น ไม้หลุมพอ ไม้ยางนา ไม้ตะเคียน ไม้พะยูง บางต้นมีขนาดใหญ่ประมาณ 3-4 คนโอบ มีเส้นรอบวงตั้งแต่ 1.2 เมตร ถึง 5 เมตร สัตว์ที่พบในผืนป่ามีทั้งลิงกัง งู ผึ้ง กระรอก และนกอีกหลายสายพันธ์ พืชสมุนไพรหายากที่พบอีกกว่า 50 ชนิด ผืนป่าแห่งนี้ถือเป็นแหล่งผลิตและกักเก็บน้ำที่สำคัญของชุมชน เพราะน้ำจากป่าได้ไหลลงสู่สระน้ำขนาดใหญ่ของหมู่บ้าน

­

จากความสมบูรณ์ของผืนป่า ทำให้คนในชุมชนกว่า 4,000 ครัวเรือน ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยการอุปโภค บริโภค บางคนอาศัยหาของป่าขาย เช่น หน่อไม้ พืชผัก จับผึ้ง(น้ำผึ้ง) บางคนใช้ประโยชน์โดยการหาพืชสมุนไพรเพื่อนำไปรักษาโรค นอกจากนี้ป่าชุมชนบ้านควนยูงยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญให้เยาวชน และผู้สนใจทั้งในและนอกชุมชนได้มาศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

­

มีกลุ่มของผู้ใหญ่ในชุมชนที่เริ่มทำงานดูแลรักษาป่าลุงสาร(ประสาร มณีน้อย) ลุงหลุยส์ (ธนเทพ วาสินธุ์) และลุงเก(นิรุต ศรีมงคล) มาไม่ต่ำกว่า 30 ปี โดยการป้องกันการตัดไม้และอนุญาตให้หาของป่าได้ และคนในชุมชนเริ่มเข้ามามีบทบาทในกิจกรรมปลูกป่า เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้วจนเมื่อปี พ.ศ. 2553 ชาวบ้านในชุมชนตื่นตัวและมีส่วนร่วมมากเนื่องจากมีโครงการปลูกพืชพลังงานทดแทน โดยจะนำป่าออกแล้วปลูกปาล์มน้ำมันแทนหลังจากนั้นก็มีกิจกรรมด้านอนุรักษ์ในพื้นที่ต่อเนื่องมา

­

โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ

ด้วยเป็นพื้นที่ป่าใกล้เมือง ทำให้คนกลุ่มต่างๆ และหน่วยงานมีความสนใจจะใช้พื้นที่ป่าเพื่อสร้างประโยชน์ทั้งส่วนรวมและส่วนตน ซึ่งในปี 2553 มีบริษัทใหญ่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้นำเครื่องจักรพร้อมคนงานลงมายังพื้นที่ป่าเพื่อเตรียมไถกวาดผืนป่า สำหรับปลูกปาล์มน้ำมันตามโครงการปลูกพืชพลังงานทดแทน

­

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ก่อเกิดแกนนำกลุ่มอนุรักษ์รวมตัวกันเพื่อศึกษาติดตามสถานการณ์ปัญหาร่วมระดมความคิดเห็นของคนในชุมชน หลังจากนั้นจึงนำข้อคิดเห็นและสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นไปปรึกษากับท่านเจ้าอาวาสวัดศานติไมตรี เพราะถือได้ว่าท่านเจ้าอาวาสเป็นผู้ที่คนในชุมชนให้ความเคารพนับถือ และท่านเป็นผู้ที่ให้ความสำคัญกับธรรมชาติมาก ซึ่งท่านได้ให้แนวคิดกับกลุ่มแกนนำในเรื่องธรรมที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและเน้นย้ำว่า “ธรรมะคือธรรมชาติ” เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันเราจึงควรช่วยกันดูแลรักษาป่าไว้

­

เมื่อได้แนวความคิดจากท่านเจ้าอาวาสและคนในชุมชนซึ่งส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการทำลายป่าผืนนี้ ดังนั้นทางกลุ่มแกนนำอนุรักษ์จึงได้ดำเนินการเพื่อยุติโครงการดังกล่าว โดยได้เข้าร่วมลงรายชื่อ และต่อรองขอเจรจากับนิคมสร้างตนเองขุนทะเลซึ่งรับผิดชอบดูแลผืนป่าอยู่ในขณะนั้น รวมถึงยื่นหนังสือไปยังหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อขออนุรักษ์พื้นที่ป่าแห่งนี้ และขอให้มีการยุติโครงการ แต่หน่วยงานที่รับผิดชอบก็ยังยืนยันว่าไม่สามารถยุติโครงการดังกล่าวได้ ดังนั้นประธานกลุ่มอนุรักษ์และแกนนำชุมชนจึงได้ดำเนินการเรียกร้องผ่านสื่อมวลชนและยื่นหนังสือถึงคณะรัฐมนตรี เพื่อยืนยันเจตนารมณ์ของคนในชุมชนที่จะช่วยกันดูแลอนุรักษ์ป่าผืนสุดท้ายของชุมชนให้อยู่คู่ชุมชนและเรียกร้องให้หยุดการทำลายผืนป่าโดยขอให้ยุติโครงการดังกล่าว

­

จากกระบวนการต่อสู้เพื่อดูแลผืนป่าของกลุ่มแกนนำอนุรักษ์และคนในชุมชน ทำให้โครงการทำลายป่าผืนนี้ถูกระงับไป ปัจจุบันป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติบ้านควนยูง ได้อยู่ในความรับผิดชอบดูแลของศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ 66 นิคมสร้างตนเองขุนทะเล ตลอดการดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์ป่าบ้านควนยูง กลุ่มแกนนำอนุรักษ์ได้มีโอกาสพาเยาวชน ซึ่งเป็นลูกหลานในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยบ่อยครั้ง ทำให้เยาวชนได้เห็นบทบาทการทำงานของกลุ่มแกนนำ และได้มีส่วนช่วยในการดำเนินงานของกลุ่มอนุรักษ์อยู่เสมอ จึงทำให้มีความสนใจอยากจะร่วมดูแลรักษาป่าของชุมชนไว้ให้อยู่คู่ชุมชนต่อไป

­

เป้าหมายของโครงการ

คนในชุมชนเห็นคุณค่าและมีองค์ความรู้ในการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืน

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

เยาวชนสำรวจพันธุ์ไม้ในป่าชุมชน สร้างองค์ความรู้แก่คนในชุมชน

กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ป่ายูงทอง จ.สุราษฎร์ธานี

­

จากกระบวนการต่อสู้เพื่อดูแลป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติบ้านควนยูงของกลุ่มแกนนำอนุรักษ์และคนในชุมชนที่ผ่านมา กลุ่มแกนนำอนุรักษ์ได้มีโอกาสพาเยาวชนซึ่งเป็นลูกหลานในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยบ่อยครั้ง ทำให้เยาวชนได้เห็นบทบาทการทำงานและได้มีส่วนช่วยในการดำเนินงานของผู้ใหญ่อยู่เสมอ จึงทำให้มีความสนใจอยากจะร่วมดูแลรักษาป่าของชุมชนไว้ ปี 2554 เด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี จึงได้รวมตัวกันตั้งเป็น “กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ป่ายูงทอง” ขึ้น เพื่อดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ป่าร่วมกับแกนนำอนุรักษ์ในชุมชน เช่น กิจกรรมศึกษาต้นไม้ในป่าชุมชน กิจกรรมปลูกป่า กิจกรรมบวชป่า กิจกรรมจัดทำเส้นทางเรียนรู้ในป่า กิจกรรมสำรวจพันธุ์พืชสมุนไพร กิจกรรมค่ายอนุรักษ์ป่า กิจกรรมค่ายเรียนรู้ป่าชุมชนกับโลกร้อน

­

รายสมาชิกกลุ่มเยาวชน

1.นางสาวเพชรน้ำหนึ่ง ปุ่นเต็ก ผู้ประสานงาน

2.นางสาวมณฑิรา เวชกุล ฝ่ายประชาสัมพันธ์

3.นางสาวชมพูนุช สุทธิราช ฝ่ายวิชาการและการจัดการความรู้

4.นางสาวจิรารัตน์ ทวดสงค์

5.นางสาวสุธิดา วาสินธุ์

6.นายจิราวัฒน์ ปานซัง

7.นายพรรษา ปุ่นเต็ก

8.เด็กชายศุภนัฐ ขวัญเทพ

­

ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม

ป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติบ้านควนยูง หมู่ที่ 4 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ 52 ไร่ ภายในป่ามีระบบนิเวศน์หลากหลายทั้งพันธุ์ไม้ พันธุ์สัตว์ และ พืชสมุนไพร ซึ่งพันธุ์ไม้ที่พบมีทั้งไม้หายากและไม้เศรษฐกิจ เช่น ไม้หลุมพอ ไม้ยางนา ไม้ตะเคียน ไม้พะยูง บางต้นมีขนาดใหญ่ประมาณ 3-4 คนโอบ มีเส้นรอบวงตั้งแต่ 1.2 เมตร ถึง 5 เมตร สัตว์ที่พบในผืนป่ามีทั้งลิงกัง งู ผึ้ง กระรอก และนกอีกหลายสายพันธ์ พืชสมุนไพรหายากที่พบอีกกว่า 50 ชนิด ผืนป่าแห่งนี้ถือเป็นแหล่งผลิตและกักเก็บน้ำที่สำคัญของชุมชน เพราะน้ำจากป่าได้ไหลลงสู่สระน้ำขนาดใหญ่ของหมู่บ้าน

­

จากความสมบูรณ์ของผืนป่า ทำให้คนในชุมชนกว่า 4,000 ครัวเรือน ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยการอุปโภค บริโภค บางคนอาศัยหาของป่าขาย เช่น หน่อไม้ พืชผัก จับผึ้ง(น้ำผึ้ง) บางคนใช้ประโยชน์โดยการหาพืชสมุนไพรเพื่อนำไปรักษาโรค นอกจากนี้ป่าชุมชนบ้านควนยูงยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญให้เยาวชน และผู้สนใจทั้งในและนอกชุมชนได้มาศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

­

มีกลุ่มของผู้ใหญ่ในชุมชนที่เริ่มทำงานดูแลรักษาป่าลุงสาร(ประสาร มณีน้อย) ลุงหลุยส์ (ธนเทพ วาสินธุ์) และลุงเก(นิรุต ศรีมงคล) มาไม่ต่ำกว่า 30 ปี โดยการป้องกันการตัดไม้และอนุญาตให้หาของป่าได้ และคนในชุมชนเริ่มเข้ามามีบทบาทในกิจกรรมปลูกป่า เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้วจนเมื่อปี พ.ศ. 2553 ชาวบ้านในชุมชนตื่นตัวและมีส่วนร่วมมากเนื่องจากมีโครงการปลูกพืชพลังงานทดแทน โดยจะนำป่าออกแล้วปลูกปาล์มน้ำมันแทนหลังจากนั้นก็มีกิจกรรมด้านอนุรักษ์ในพื้นที่ต่อเนื่องมา

­

โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ

ด้วยเป็นพื้นที่ป่าใกล้เมือง ทำให้คนกลุ่มต่างๆ และหน่วยงานมีความสนใจจะใช้พื้นที่ป่าเพื่อสร้างประโยชน์ทั้งส่วนรวมและส่วนตน ซึ่งในปี 2553 มีบริษัทใหญ่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้นำเครื่องจักรพร้อมคนงานลงมายังพื้นที่ป่าเพื่อเตรียมไถกวาดผืนป่า สำหรับปลูกปาล์มน้ำมันตามโครงการปลูกพืชพลังงานทดแทน

­

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ก่อเกิดแกนนำกลุ่มอนุรักษ์รวมตัวกันเพื่อศึกษาติดตามสถานการณ์ปัญหาร่วมระดมความคิดเห็นของคนในชุมชน หลังจากนั้นจึงนำข้อคิดเห็นและสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นไปปรึกษากับท่านเจ้าอาวาสวัดศานติไมตรี เพราะถือได้ว่าท่านเจ้าอาวาสเป็นผู้ที่คนในชุมชนให้ความเคารพนับถือ และท่านเป็นผู้ที่ให้ความสำคัญกับธรรมชาติมาก ซึ่งท่านได้ให้แนวคิดกับกลุ่มแกนนำในเรื่องธรรมที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและเน้นย้ำว่า “ธรรมะคือธรรมชาติ” เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันเราจึงควรช่วยกันดูแลรักษาป่าไว้

­

เมื่อได้แนวความคิดจากท่านเจ้าอาวาสและคนในชุมชนซึ่งส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการทำลายป่าผืนนี้ ดังนั้นทางกลุ่มแกนนำอนุรักษ์จึงได้ดำเนินการเพื่อยุติโครงการดังกล่าว โดยได้เข้าร่วมลงรายชื่อ และต่อรองขอเจรจากับนิคมสร้างตนเองขุนทะเลซึ่งรับผิดชอบดูแลผืนป่าอยู่ในขณะนั้น รวมถึงยื่นหนังสือไปยังหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อขออนุรักษ์พื้นที่ป่าแห่งนี้ และขอให้มีการยุติโครงการ แต่หน่วยงานที่รับผิดชอบก็ยังยืนยันว่าไม่สามารถยุติโครงการดังกล่าวได้ ดังนั้นประธานกลุ่มอนุรักษ์และแกนนำชุมชนจึงได้ดำเนินการเรียกร้องผ่านสื่อมวลชนและยื่นหนังสือถึงคณะรัฐมนตรี เพื่อยืนยันเจตนารมณ์ของคนในชุมชนที่จะช่วยกันดูแลอนุรักษ์ป่าผืนสุดท้ายของชุมชนให้อยู่คู่ชุมชนและเรียกร้องให้หยุดการทำลายผืนป่าโดยขอให้ยุติโครงการดังกล่าว

­

จากกระบวนการต่อสู้เพื่อดูแลผืนป่าของกลุ่มแกนนำอนุรักษ์และคนในชุมชน ทำให้โครงการทำลายป่าผืนนี้ถูกระงับไป ปัจจุบันป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติบ้านควนยูง ได้อยู่ในความรับผิดชอบดูแลของศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ 66 นิคมสร้างตนเองขุนทะเล ตลอดการดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์ป่าบ้านควนยูง กลุ่มแกนนำอนุรักษ์ได้มีโอกาสพาเยาวชน ซึ่งเป็นลูกหลานในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยบ่อยครั้ง ทำให้เยาวชนได้เห็นบทบาทการทำงานของกลุ่มแกนนำ และได้มีส่วนช่วยในการดำเนินงานของกลุ่มอนุรักษ์อยู่เสมอ จึงทำให้มีความสนใจอยากจะร่วมดูแลรักษาป่าของชุมชนไว้ให้อยู่คู่ชุมชนต่อไป

­

เป้าหมายของโครงการ

คนในชุมชนเห็นคุณค่าและมีองค์ความรู้ในการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืน


กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนในการแก้ไขปัญหาหรือดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

  • สำรวจพันธุ์ไม้ สมุนไพร ความสมบูรณ์ของป่าชุมชน เพื่อเก็บข้อมูลในป่าชุมชน จะได้นำข้อมูลพันธุ์ไม้ และชนิดพันธุ์อื่นๆ ไปประเมินมูลค่าให้ชุมชนได้เห็นคุณค่าของทรัพยากรในป่า
  • ค้นหาข้อมูลประเมินมูลค่าของทรัพยากร และสรรพคุณเพื่อการใช้ประโยชน์ และการจัดการร่วมกัน โดยการลงพื้นที่สำรวจชุมชนก็จะเป็นลงไปเพื่อการเก็บข้อมูลกับคนเก่าคนแก่ และได้มีการเชิญให้ผู้ใหญ่ในชุมชนได้เข้ามาเป็นวิทยากรนำเข้าไปสำรวจป่าชุมชน ทำให้เราได้รู้ถึงพันธุ์ไม้แปลกๆ ที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อนและได้รับคำปรึกษาจากพี่เลิฟและพี่ๆ จากกองทุนไทยในการทำกิจกรรม จากเป้าหมายที่วางไว้ที่อยากให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าในการรักษาป่าชุมชนก็เห็นว่ามีคนในชุมชนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น จากการประชาสัมพันธ์โดยการบอกปากต่อปากเล่าต่อกันไป
  • เปิดเวทีชาวบ้าน นำเสนอข้อมูล เพื่อหาแนวทางการจัดการดูแลป่าชุมชนร่วมกัน

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

  • เนื่องจากในเบื้องต้นกลุ่มของผู้ใหญ่ในพื้นที่เข้มแข็งเวลาดำเนินกิจกรรมของเด็กๆ เยาวชนจะมีกลุ่มผู้ใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุให้การร่วมมือมาก
  • ระหว่างดำเนินกิจกรรมมีผู้ใหญ่ในชุมชนพื้นที่มีความเข้าใจการทำงานของเยาวชนมากขึ้น จากที่สงสัยว่าเยาวชนมาทำอะไรกัน พอรับรู้ก็มีบางคนก็เป็นห่วงเยาวชน มีการกล่าวเตือนด้วยความเป็นห่วงว่า “ระวังงูนะ ในป่าช่วงนี้งูชุกชุมนะ เดินๆ ก็ระวังด้วย” บางคนก็มาช่วย มาให้ข้อมูล “เมื่อก่อนลุงเคยมาเก็บหาของป่า ต้นนี้เรียกว่าอะไร ใช้ทำอะไร”
  • มีการนำเสนอข้อมูลในที่ประชุมกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน ทำให้การตอบรับ การยอมรับ ความร่วมมือจากผู้สูงอายุในชุมชน โดยผู้สูงอายุที่พอเดินได้ก็มาร่วมสำรวจเก็บข้อมูลกับเยาวชน ผู้สูงอายุที่เดินไม่ไหว ก็ให้ข้อมูลของป่าชุมชน
  • จากการสอบถามข้อมูลกับเยาวชนว่ามีความสำเร็จ 70 เปอร์เซ็นต์ เพราะมีคนในชุมชนเริ่มมาสนใจและมาร่วมกิจกรรมมากกว่าแต่ก่อน

­

ปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดความสำเร็จ / ล้มเหลว

  • เกิดจากแรงสนับสนุนของกลุ่มผู้ใหญ่ในชุมชน ตั้งแต่ผู้ใหญ่ที่เป็นแกนนำเริ่มต้นในการทำกิจกรรมด้านอนุรักษ์
  • ความตั้งใจของแกนนำซึ่งปกติได้ช่วยงานด้านอนุรักษ์และเพื่อสังคมอยู่แล้วและได้มีบทบาทในการนำทีมอย่างตั้งใจ
  • ความร่วมมือของเยาวชนในพื้นที่เนื่องจากเห็นแบบอย่างที่ดีของผู้ใหญ่และแกนนำทำงานอย่างจริงจังและตั้งใจ
  • ความร่วมมือของผู้ใหญ่และผู้ที่มีความรู้ในชุมชน(ปราชญ์ชาวบ้าน)

­

อุปสรรคในการทำงาน

น้องมิว “สภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวย ในปีนี้มีฝนตกมาก การวางแผนที่จะเข้าเก็บข้อมูลในพื้นที่ และในแปลงไม่สามารถดำเนินได้ตามแผนที่ตั้งไว้ และเยาวชนในกลุ่มมีเวลาว่างไม่ตรงกันเนื่องจากตัวเยาวชนในกลุ่มเองที่แต่ละคนมีการเรียนที่แตกต่างบางคนเรียนในระบบจะมีเวลาว่างในวันหยุดและเสาร์อาทิตย์ บางคนที่เรียนนอกระบบต้องเรียนในวันเสาร์อาทิตย์ และบางคนติดภารกิจในการเรียนและรายงาน แต่ก็พยายามดำเนินกิจกรรมในวันหรือคนที่ว่างพร้อมกันได้”


อนาคตที่อยากทำต่อ

เยาวชนในพื้นที่ต้องการสำรวจทรัพยากรในป่า และขยายพื้นที่สำรวจมากขึ้นกว่าเดิม

­

การเรียนรู้ของแกนนำเยาวชน



นางสาวเพชรน้ำหนึ่ง ปุ่นเต็ก (มิว) อายุ 22 ปี

กำลังศึกษา ปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ วิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน (มหาวิทยาลัยชีวิต)

หน้าที่รับผิดชอบ เยาวชนผู้ประสานงาน

“บางครั้ง คิดอะไรออกก็พูดเลยบางครั้งคิดหลายอย่างก็พูดหลายอย่าง เลยไม่ชัดเจน บางครั้งไม่มั่นใจในความคิด ทำให้อธิบายความออกมาได้ไม่เก่ง แต่หลังจากผ่านกระบวนการอบรมทั้งสามค่ายโดยเฉพาะค่ายที่ 3 เริ่มพูดช้า และชัดเจนขึ้น อธิบายความได้มากขึ้น บอกเล่ากิจกรรมที่ทำในชุมชนให้แก่เพื่อนเยาวชนได้เข้าใจอย่างดีและครบถ้วน ได้รู้ปัญหาของป่าชุมชนและวิธีการแก้ปัญหามากขึ้น (พอได้ลงมือเองก็มีโอกาสรับรู้เผชิญปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาด้วยตัวเยาวชนเอง)”

­

­

นางสาวมณฑิรา เวชกุล (แตง) อายุ 17 ปี

หน้าที่รับผิดชอบ ฝ่ายประชาสัมพันธ์

“รู้สึกภูมิใจที่ได้ทำงานเพื่อชุมชนของตนเองและได้สานต่องานที่ลุงๆป้าๆได้ดำเนินการมาก่อน ได้ลงพื้นที่รับความรู้ใหม่ๆในป่าไม่ว่าจะเป็นชนิดพันธุ์ประโยชน์สรรพคุณ ในตอนที่ฝึกอบรมได้เรียนรู้ จากความรู้ที่อบรม ได้เดินทางไปในที่ต่างๆ ได้รับรู้งานในโครงการอื่นๆที่เพื่อนๆเยาวชนในพื้นที่อื่นๆมาแลกเปลี่ยนให้ฟัง”

­

­

นาย พรรษา ปุ่นเต็ก (ไข่) อายุ 21 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

ในค่ายแรกการเขียนโครงการไม่ได้มาร่วม แต่ได้พบในการลงพื้นที่ การปลูกป่าปล่อยปลา 5 ธันวาคม และลงพื้นที่ติดตามโครงการในเดือนกุมภาพันธ์ พบว่าเป็นคนร่าเริงชอบคุย พูดเล่นพูดแซว แต่เวลาถามหรือบอกให้แสดงความเห็นจะไม่มั่นใจในการพูดหรือแสดงความคิดเห็น แต้พอผ่านการอบรมในค่ายสอง (แลกเปลี่ยนเรียนรู้เสริมสร้างศักยภาพ) หลังจากนั้นลงพื้นที่ติดตามพบว่า กล้าพูดแสดงความคิดเห็นมากยิ่งขึ้น จนในค่ายสาม (สรุปบทเรียนการทำโครงการ) พบว่ามีส่วนร่วมกับกลุ่มเยาวชนอื่นๆ มากขึ้น อย่างเห็นได้ชัด

­

­

พี่เลี้ยง/ที่ปรึกษา



นางวิภาดา วาสินธุ์ (ป้าติ๋ม) 

ผู้ประสานงานโครงการ การจัดการป่าชุมชนบ้านควนยูงแบบมีส่วนร่วม ชุมชนบ้านควนยูง

­

­

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ