โครงการป่าสัญจร  รอนแรมในป่าใหญ่ (กลุ่มเยาวชนก่อการดี  จ.เลย)
โครงการป่าสัญจร รอนแรมในป่าใหญ่ (กลุ่มเยาวชนก่อการดี จ.เลย)
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปผลโครงการ ป่าสัญจร รอมแรมในป่าใหญ่ กลุ่มเยาวชนก่อการดี จ.เลย
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

จุดเริ่มต้นของ กลุ่มเยาวชนก่อการดี มาจากการร่วมกลุ่มกันเพื่อทำสิ่งดีๆ ให้กับชุมชนของตนเอง เช่น การปรับปรุงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของชุมชน และการทำเยาวชนอาสาส่งเสริมการอ่านควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน จนได้รับการยอมรับจากชุมชนทำให้ได้รับความร่วมมือจากผู้นำในชุมชน ผู้ปกครอง ตลอดจนองค์กรต่างๆ ในท้องถิ่น เช่น เทศบาลตำบลเอราวัณ กศน.เอราวัณ

­

รายสมาชิกกลุ่มเยาวชน

1.นางสาวพัชรี อินทนาม ประชาสัมพันธ์

2.นางสาวเบญจมาภรณ์ วงษา คณะทำงาน

3.นางสาวรุ่งธิวา หวังประสพกลาง คณะทำงาน

4.นางสาวปริมประภา คนเพียร

5.นางสาวมลธิกา วัฒนธร

6.นางสาวนิศาชล ศรีบุรินทร์

7.เด็กชายนิพัทธ์ รัตนยา

8.เด็กชายธเนศ มานพ

­

ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม

ชุมชนตำบลเอราวัณของเรามีลักษณะเป็นชุมชนชนบท ประกอบด้วยหมู่บ้าน 16 หมู่บ้าน ซึ่งตั้งอยู่ใน ตำบลเอราวัณ อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย มีจำนวนหลังคาเรือน 2,490 หลังคาเรือน มีประชากรทั้งหมด 12,407 คน ประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก ในตำบลเอราวัณมีป่าไม้และภูเขา คือ ป่าชุมชนภูกระแต และภูดงนกกก ซึ่งคนในชุมชนตำบลเอราวัณและตำบลใกล้เคียงไปใช้ประโยชน์ในการหาอยู่หากิน เช่น การหาของป่า หาฟืน หาอาหารตามธรรมชาติ และหาสมุนไพร

­

โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ

สภาพปัญหาชุมชนที่เกิดขึ้น คือ ชาวบ้านเข้าไปใช้ประโยชน์จากป่าจำนวนมาก ได้แก่ การหาของป่า หาอาหาร หาฟืน และสมุนไพร ที่ผ่านมามีการเข้าไปใช้ประโยชน์อย่างไม่เห็นคุณค่า มีการเผาป่าหาล่าสัตว์ หาเก็บอาหารป่า เช่น ผักหวานป่า มีการตัดต้น บางรายก็ขุดต้นผักหวานออกจากป่า ทำให้แหล่งอาหารลดน้อยลง พืชที่เป็นอาหารป่า เช่น ผักหวาน หน่อไม้ เห็ดลดน้อยลง สัตว์ป่าบางชนิดหายไป เช่น กระแต หนู ลิง ไก่ป่า ชาวบ้านเริ่มมีกระแสบ่นว่าสัตว์ป่า อาหารป่าลดน้อยลง เพิ่มรายจ่ายด้านอาหารของครอบครัว เพราะต้องไปซื้ออาหารที่ตลาดนัด ซึ่งทำให้ให้เสี่ยงกับอาหารไม่ปลอดภัยที่ปนสารเคมีและยาฆ่าแมลง

กลุ่มเยาวชนก่อการดี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกในชุมชน ได้มองเห็นปัญหานี้ ก่อนที่ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรจะถูกทำลายมากกว่านี้ จึงอยากให้เยาวชน ผู้นำชุมชน และชาวบ้าน เห็นความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้ในชุมชนเรา และการใช้ประโยชน์จากป่าอย่างไม่ทำลายจนเกินไป จึงได้ทำ โครงการป่าสัญจร รอนแรมในป่าใหญ่ เพื่อให้คนในชุมชน ผู้นำชุมชน และเยาวชนคนรุ่นใหม่ ร่วมกันรักษาป่าชุมชนที่มีอยู่และไม่ให้ถูกทำลายไปมากกว่านี้ เพื่อเป็นแหล่งหาอยู่หากินของคนในชุนตลอดไปได้


เป้าหมายของโครงการ

กลุ่มเยาวชนและเด็กในชุมชนรู้คุณค่าประโยชน์และใช้ประโยชน์จากป่าอย่างรู้คุณค่า โดยชาวบ้าน เยาวชนและผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา คนในชุมชนไม่ทำลาย แต่ช่วยกันรักษาสิ่งที่มีอยู่ในป่าไม่ให้ลดลง

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

สรุปผลโครงการ ป่าสัญจร รอมแรมในป่าใหญ่

กลุ่มเยาวชนก่อการดี จ.เลย


จุดเริ่มต้นของ กลุ่มเยาวชนก่อการดี มาจากการร่วมกลุ่มกันเพื่อทำสิ่งดีๆ ให้กับชุมชนของตนเอง เช่น การปรับปรุงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของชุมชน และการทำเยาวชนอาสาส่งเสริมการอ่านควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน จนได้รับการยอมรับจากชุมชนทำให้ได้รับความร่วมมือจากผู้นำในชุมชน ผู้ปกครอง ตลอดจนองค์กรต่างๆ ในท้องถิ่น เช่น เทศบาลตำบลเอราวัณ กศน.เอราวัณ

­

ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม

ชุมชนตำบลเอราวัณของเรามีลักษณะเป็นชุมชนชนบท ประกอบด้วยหมู่บ้าน 16 หมู่บ้าน ซึ่งตั้งอยู่ใน ตำบลเอราวัณ อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย มีจำนวนหลังคาเรือน 2,490 หลังคาเรือน มีประชากรทั้งหมด 12,407 คน ประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก ในตำบลเอราวัณมีป่าไม้และภูเขา คือ ป่าชุมชนภูกระแต และภูดงนกกก ซึ่งคนในชุมชนตำบลเอราวัณและตำบลใกล้เคียงไปใช้ประโยชน์ในการหาอยู่หากิน เช่น การหาของป่า หาฟืน หาอาหารตามธรรมชาติ และหาสมุนไพร

­

โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ

สภาพปัญหาชุมชนที่เกิดขึ้น คือ ชาวบ้านเข้าไปใช้ประโยชน์จากป่าจำนวนมาก ได้แก่ การหาของป่า หาอาหาร หาฟืน และสมุนไพร ที่ผ่านมามีการเข้าไปใช้ประโยชน์อย่างไม่เห็นคุณค่า มีการเผาป่าหาล่าสัตว์ หาเก็บอาหารป่า เช่น ผักหวานป่า มีการตัดต้น บางรายก็ขุดต้นผักหวานออกจากป่า ทำให้แหล่งอาหารลดน้อยลง พืชที่เป็นอาหารป่า เช่น ผักหวาน หน่อไม้ เห็ดลดน้อยลง สัตว์ป่าบางชนิดหายไป เช่น กระแต หนู ลิง ไก่ป่า ชาวบ้านเริ่มมีกระแสบ่นว่าสัตว์ป่า อาหารป่าลดน้อยลง เพิ่มรายจ่ายด้านอาหารของครอบครัว เพราะต้องไปซื้ออาหารที่ตลาดนัด ซึ่งทำให้ให้เสี่ยงกับอาหารไม่ปลอดภัยที่ปนสารเคมีและยาฆ่าแมลง

กลุ่มเยาวชนก่อการดี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกในชุมชน ได้มองเห็นปัญหานี้ ก่อนที่ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรจะถูกทำลายมากกว่านี้ จึงอยากให้เยาวชน ผู้นำชุมชน และชาวบ้าน เห็นความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้ในชุมชนเรา และการใช้ประโยชน์จากป่าอย่างไม่ทำลายจนเกินไป จึงได้ทำ โครงการป่าสัญจร รอนแรมในป่าใหญ่ เพื่อให้คนในชุมชน ผู้นำชุมชน และเยาวชนคนรุ่นใหม่ ร่วมกันรักษาป่าชุมชนที่มีอยู่และไม่ให้ถูกทำลายไปมากกว่านี้ เพื่อเป็นแหล่งหาอยู่หากินของคนในชุนตลอดไปได้

­

เป้าหมายของโครงการ

กลุ่มเยาวชนและเด็กในชุมชนรู้คุณค่าประโยชน์และใช้ประโยชน์จากป่าอย่างรู้คุณค่า โดยชาวบ้าน เยาวชนและผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา คนในชุมชนไม่ทำลาย แต่ช่วยกันรักษาสิ่งที่มีอยู่ในป่าไม่ให้ลดลง

­

กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนในการแก้ไขปัญหาหรือดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน


  • กิจกรรมป่าสัญจร 1 ตอน รอนแรมในป่าชุมชน จัดขึ้นในวันที่ 1 ก.พ. 57 ที่ ป่าภูกระแต (ป่าโคกหินนกยูง) ต.เอราวัณ อ.เอราวัณ จ.เลย โดยมีผู้เข้าร่วม 29 คน ประกอบด้วย ผู้รู้ 6 คน, เจ้าหน้าที่ป่าไม้อำเภอเอราวัณ 4 คน, เยาวชน 19 คน ครั้งนี้ทำให้เยาวชนได้รู้จักแหล่งพืชผักพื้นบ้านต้นไม้ ลักษณะป่า ประวัติความเป็นมา ข้อห้าม ความเชื่อ บ่อขยะที่ส่งกลิ่นเหม็น

­

  • กิจกรรมป่าสัญจร 2 ตอน ค่ายนอนกลางดิน กินกลางป่า จัดขึ้นในวันที่ 14-16 มี.ค. 57 ที่โรงเรียนบ้านโป่งศรีโทน ต.เอราวัณ อ.เอราวัณ จ.เลย โดยมีผู้เข้าร่วม 64 คน ประกอบด้วย ผู้รู้ 6 คน ชาวบ้าน 13 คน แกนนำเยาวชน 15 คน และเด็กและเยาวชน 30 คน กิจกรรมครั้งนี้ทำให้เยาวชนได้รู้ถึงประวัติพื้นที่ป่าภูกระแตเพิ่มจากเดิม เยาวชนใช้เครื่องมือการทำงานเป็นทีมในการสำรวจป่า เช่น มีผู้จดบันทึก ถ่ายรูป ซักประวัติ ทำแผนที่ โดยพี่เลี้ยงกระตุ้นแต่ละกลุ่มให้ทำงาน รวมถึงได้รู้ถึงวิถีชีวิตชาวบ้านในการเข้าไปหาของป่า การสังเกต และแนวคิดการใช้ป่าอย่างเกื้อกูลไม่หากินแบบทำลายป่า เยาวชนแกนนำได้นำข้อมูลไปทำสื่อละคร เพื่อที่จะเผยแพร่ให้ให้กับเยาวชนคนรุ่นหลังในชุมชนได้รู้ถึงการหากินอย่างถูกวิธีและร่วมมือกันช่วยอนุรักษ์ป่าภูกระแต

­

  • กิจกรรมป่าสัญจร 3 ตอน เปิดป่า สู่ ชุมชน จัดขึ้นในวันที่ 18 พ.ค. 57 ที่ โรงเรียนบ้านโป่งศรีโทน ต.เอราวัณ อ.เอราวัณ จ.เลยโดยมีผู้เข้าร่วม 87 คน ประกอบด้วย ผู้รู้ 10 คน, ผู้นำชุมชน 10 คน, ชาวบ้าน 16 หมู่บ้าน 17 คน, เยาวชน 20 คน และชาวบ้านทั่วไป 30 คนผลที่ได้รับคือผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ชาวบ้านและเยาวชนเข้าใจและเห็นความสำคัญของสิ่งที่กลุ่มเยาวชนก่อการดีได้ทำ เกิดแนวทางการรักษาป่าจากความคิดเห็นของทุกคน

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ


ผลต่อกลุ่มเยาวชน

·เยาวชนได้ประสบการณ์และเกิดการพัฒนาการทำงานเป็นทีมทำงาน การบริหารจัดการโครงการ

­

ผลต่อแกนนำเยาวชน

·มีทักษะในการคิดวางแผนกิจกรรม

·เกิดการพัฒนาตัวเองด้านเป็นผู้นำ

·ได้ความรู้เรื่องป่าชุมชน

­

ผลต่อชุมชนเป้าหมาย

·คนในชุมชนรู้ผลกระทบของการหากินในป่าแบบทำลาย

·เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษา

·ได้แนวทางในการร่วมกันศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

­

บทเรียนและข้อค้นพบ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการ

  1. ในการจัดกิจกรรมควรมีการเตรียมงานให้มากกว่านี้
  2. บทบาทของเยาวชนในการเป็นพี่เลี้ยงยังต้องมีการทำความเข้าใจอีกมาก
  3. การทำงานควรแบ่งหน้าที่ต้องชัดเจน
  4. หาข้อมูลทางวิชาการมากขึ้น
  5. การเชื่อต่อกระบวนการความรู้
  6. การจัดการกับตัวเองในเรื่องส่วนตัวที่มีผลกระทบต่อกลุ่ม

..............


การเรียนรู้ของเยาวชน 

นางสาวพัชรี อินทนาม (ฝน) อายุ 18 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเอราวัณวิทยาคม

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)


ก่อนหน้านี้ไม่ค่อยรู้จักชุมชนของตนเองซึ่งมีทั้งคนและทรัพยากรว่าเป็นอย่างไร ทำตามความคิดของคนอื่น ไม่ชอบที่จะคิดเอง ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง และไม่กล้าที่จะยืนพูดหน้าเวทีจับประเด็นจากการฟังได้ไม่ตรงประเด็นแต่จากการผ่านกระบวนการพัฒนาจากปลูกใจรักษ์โลกแล้ว ทำให้เรารู้จักชุมชนของตัวเองมากขึ้นคิดและวางแผนการทำงานแบบมีกระบวนการ ทั้งกิจกรรมสันทนาการและการทำงาน ได้ฝึกการกล้าพูดต่อหน้าที่สาธารณะ จากการประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อชักชวนให้ผู้คนเข้ามาร่วมกิจกรรมและให้ความรู้ ฝึกการจดบันทึกเก็บข้อมูลจากการลงพื้นที่ นอกจากนี้ยังได้ขยายการทำงานกับกลุ่มเยาวชนในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น

­************

­นางสาวเบญจมาภรณ์ วงษา (เบญ) อายุ 17 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเอราวัณวิทยาคม

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)


เดิมมีทักษะการออกแบบกระบวนการการทำงานอยู่แล้ว แต่ยังต้องการคำแนะนำจากผู้อื่น ไม่เคยเขียนขอทุนจากที่ต่างๆ เพื่อมาทำโครงการ เนื่องจากไม่มีทักษะทางด้านนี้หน้าที่ในการทำงานต่างๆ ไม่ค่อยชัดเจนเป็นคนที่พูดจาฟังแล้วสับสน ไม่เคยรู้จักป่าภูกระแต หลังจากนั้นมีทักษะออกแบบการทำกระบวนการการทำงานมากขึ้น จากที่เมื่อก่อนมีผู้อื่นหรือพี่เลี้ยงคอยแนะนำ ตอนนี้สามารถทำได้ด้วยตัวเองมีความรู้เรื่องกระบวนการการทำฐานความรู้ต่างๆได้เรียนรู้วิธีการเขียนโครงการจนสามารถเขียนโครงการได้เอง มีบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบที่ชัดเจนมากขึ้น มีทักษะการเขียนจดใจความสำคัญเพิ่มขึ้น มีทักษะการสื่อสารกับผู้ใหญ่ (กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน) และมีทักษะการพูดให้ผู้อื่นเข้าใจ ที่พูดสั้นๆ แต่ได้ใจความ ได้ลงมือทำอาหารจากที่ทำไม่เป็นเลยจนสามารถทำอาหารเป็น ได้รู้จักภูกระแต สัตว์ พืชและต้นไม้มีความรู้เรื่องสมุนไพรมากขึ้น


************

­

นางสาวรุ่งทิวา หวังประสพกลาง (ก้อย) อายุ 18 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเอราวัณวิทยาคม

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)


ไม่มีความรับผิดชอบอะไร เพราะไม่กล้าแสดงออกรวมถึงความคิดเห็นต่อผู้อื่น ไม่เคยจดบันทึกมาก่อนเพราะไม่มีความละเอียดในการทำงาน ไม่กล้าพูดกับผู้ใหญ่ในชุมชนไม่ตรงต่อเวลา แต่โครงการนี้ทำให้เราได้ฝึกทักษะในการทำงานอย่างมีระบบและมีความรอบคอบในการทำงานมากขึ้นฝึกการจับประเด็นและได้ร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่มมากขึ้นกล้าที่จะพูดคุยกับผู้ใหญ่ในชุมชนมากขึ้นมีความรับผิดชอบและตรงต่อเวลา


************

­

พี่เลี้ยง/ที่ปรึกษา


นายกิตติพงษ์ ภาษี (พี่เปเล่) อายุ 38 ปี

ผู้อำนวยการสถาบันไทเลยเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน สถาบันไทเลยเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน

­

“7 เดือน กับการเป็นบทบาทพี่เลี้ยง ซึ่งเป็นเวลาที่เหนื่อย และมีความสุขไปในคราวเดียวกัน เหนื่อยที่ต้องเคี่ยวเข็ญ จู้จี้ ขี้บ่น สารพัด เพื่อให้น้องๆ ได้กระตือรือร้น ตั้งใจทำงาน และเห็นบทบาทของตนเองให้มากกว่านี้ แต่น้องๆ ก็ทำได้ดี และมีความตั้งใจ ขยัน และมีจิตอาสามากขึ้น สามารถพัฒนาตนเองได้ดีขึ้น และที่เหนื่อยมากกว่านั้น คือ การทำงานกับชุมชน กับคนที่ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เราทำ มันเหนื่อยยิ่งนัก แต่ก็คุ้มที่เราได้ทำเพื่อบ้านเรา ชุมชนเรา สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา การได้เห็นมันเปลี่ยนแปลงในทางดีขึ้น มันซึ่งมีความสุขยิ่งนัก"

­************

โครงการป่าสัญจร รอนแรมในป่าใหญ่

กลุ่มเยาวชนก่อการดี จ.เลย

ผู้ประสานงาน พัชรี อินทนาม (ฝน) โทรศัพท์ 08-4359-4180 อีเมล์kkdloei@gmail.com

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ