โครงการพลิกฟื้นพืชน้ำพลับพลึงธาร คืนคลองบางปรุ (กลุ่มเยาวชนรักษคลองบางปรุ  จ.ระนอง)
โครงการพลิกฟื้นพืชน้ำพลับพลึงธาร คืนคลองบางปรุ (กลุ่มเยาวชนรักษคลองบางปรุ จ.ระนอง)
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปผลโครงการ สานพลังพลิกฟื้นพืชน้ำพลับพลึงธาร คืนคลองบางปรุ กลุ่มเยาวชนรักษ์คลองบางปรุ จ.ระนอง
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

ในปี 2552 เยาวชนที่คอยเฝ้ามอง “พลับพลึงธาร” ในคลองบางปรุ พืชน้ำที่ชาวบ้าน คนในชุมชนไม่เห็นคุณค่าที่จะรักษา ค่อยๆ ลดน้อยลงจากการขุดหัวไปขาย การขุดลอกคลอง จึงตัดสินใจรวมเป็นกลุ่มเยาวชนรักษ์คลองบางปรุ เพื่อลุกขึ้นมาดูแล ฟื้นฟู โดยเริ่มพาเพื่อนๆ น้องๆ เยาวชนในชุมชน เรียนรู้สำรวจพลับพลึงธารที่เหลืออยู่ หาวิธีการเพาะขยายพันธุ์ และทดลองนำไปปลูกในพื้นที่ และทำกิจกรรมร่วมกับบ้านวันโตตี้ โดยมี จักรพงษ์ ชูศรี และพี่ๆ จากศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (รีคอฟ) เป็นผู้ชักชวนเด็กๆให้มารวมตัวกันทำกิจกรรมด้านอนุรักษ์ทรัพยากรในชุมชน และพี่จักรคอยทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับกลุ่มเยาวชน


เมื่อพี่ๆ แกนนำรุ่นแรกเริ่มออกไปมีครอบครัว ออกไปทำงานต่างจังหวัด และประกอบกับมีการเปิดรับกลุ่มเยาวชนเข้าร่วมโครงการปลูกใจรักษ์โลก ของมูลนิธิกองทุนไทยเป็นโอกาสดีที่จะพัฒนาแกนนำรุ่นใหม่ พี่ๆ จึงผลักดันให้น้องๆ แถว 2 อย่าง เต๋า อิง ออม สตางค์ ลุกขึ้นมาเป็นแกนนำหลักสานต่องาน ผ่านโครงการสานพลังพลิกฟื้นพืชน้ำพลับพลึงธารคืนคลองบางปรุ


รายชื่อสมาชิกกลุ่มเยาวชน


  • 1.นายปฎิวัติ เพียกแก้ว (เต๋า) หัวหน้าโครงการ
  • 2.นายจตุพร ศรีสมบัติ (ออม) ประสานงาน
  • 3.นางสาวกมรัตน์ กตัญญู ประสานงาน
  • 4.นางสาววณิชชา ส่งเสริม (อิง)
  • 5.นายปฏิภาณ เพียกแก้ว
  • 6.นายธันวา ทองรักษ์
  • 7.นายนันทวุฒิ คงความสุข
  • 8.นางสาวภัทรพร มณีนวล (สตางค์)


ข้อมูลพื้นที่ หรือ ชุมชนที่ทำโครงการ


สภาพพื้นที่ คลองบางปรุ เป็นสายน้ำที่ไหลลงมาจากต้นน้ำเขาพ่อตาโชงโดง ไหลผ่านชุมชนบ้านกงษีที่แกนนำเยาวชนอาศัยอยู่ ไปสิ้นสุดที่ชุมชนเกาะยายรัง คลองสายนี้นอกจากจะเป็นแหล่งน้ำอุปโภค และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรของชุมชนแล้ว ยังเป็นแหล่งเติบโตของต้นพลับพลึงธาร ซึ่งเป็นพืชประจำถิ่นที่หายากและควรค่าแก่การอนุรักษ์ พลับพลึงธารสามารถเจริญเติบโตในน้ำกร่อย มีน้ำขึ้นน้ำลง ในคลองบางปรุพลับพลึงมีความยาว 5 เมตรครึ่ง ปัจจุบันมีจำนวนน้อยลงเหลือเพียง 1 % เนื่องจากโครงการการแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ หน่วยงานจึงทำการขุดลอกคลอง ทำให้พลับพลึงธารหลุดลอยไปกับสายน้ำและการลักลอบเก็บหัวพลับพลึงธารไปขายเป็นจำนวนมาก ด้วยหน่วยงานภาครัฐระดับจังหวัดและท้องถิ่น คนในชุมชน ยังไม่เห็นถึงความสำคัญของพืชน้ำชนิดนี้ที่ให้คุณค่ามากกว่าความสวยงาม มันยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำในลำคลอง เป็นแหล่งหลบภัยและแหล่งอาหาร อีกทั้งรากของพลับพลึงยังช่วยยึดเกาะหิน กรวด ไม่ให้หลุดลอยไปกับกระแสน้ำ แม้ว่ากลุ่มเยาวชนรักษ์คลองบางปรุจะลุกขึ้นมาเริ่มทำกิจกรรมดูแลลำคลอง ศึกษาเรียนรู้วงจรชีวิตและการเติบโตของพลับพลึงธาร และช่วยกันปลูกพลับพลึงธารในคลองบางปรุมาตั้งแต่ปี 2552เพื่อจะรักษาและช่วยเพิ่มปริมาณต้นพลับพลึงธารในคลองให้มากขึ้นก็ตาม แต่ด้วยไม่มีเทคนิคการปลูกที่ดีพลับพลึงธารจึงรอดตายน้อยมาก


กลุ่มเป้าหมาย


เด็กและเยาวชนสมาชิกในกลุ่ม 30 คน, ผู้สนใจที่เกี่ยวข้อง เช่น อบต., กลุ่ม/องค์กรที่ทำเรื่องอนุรักษ์พลับพลึงธาร, โรงเรียน และอื่นๆ


โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ


กลุ่มเยาวชนรักษ์คลองบางปรุ รวมตัวกันในช่วงที่พลับพลึงธารในชุมชนถูกบุกรุก ทำลายจากโครงการขุดลอกคลองในพื้นที่ มีลดปริมาณลง ใกล้สูญพันธุ์ คนในชุมชนไม่เห็นความสำคัญ

ตามเอกสารเสนอโครงการ กล่าวไว้ว่า กลุ่มเยาวชนรักษ์คลองบางปรุใช้เวลาช่วงวันหยุดและช่วงเวลาเปิดเทอมชักชวนเพื่อนมาทำกิจกรรม เช่น การเก็บเมล็ดพันธุ์ เพาะขยายต้นพลับพลึงธาร เพื่อการขยายพันธุ์ในคลองบางปรุ และส่งเสริมให้เยาวชนเป็นแกนนำและเป็นแบบอย่างในการทำงานให้ผู้นำเห็นวิธีการที่ถูกต้องและแนวทางในการฟื้นฟู


เป้าหมายของโครงการ


- ส่งเสริมให้เยาวชนสนใจและหาแนวทางในการฟื้นฟูพลับพลึงธาร

- ส่งเสริมให้คนในชุมชนสนใจ เห็นความสำคัญของพลับพลึงธาร

(ตามเอกสารโครงการ) คาดหวังว่าหน่วยงานภาครัฐเห็นศักยภาพในการทำงานของเด็ก และสนับสนุนเรื่องใกล้ตัว ทำให้หน่วยงานเข้าใจกระบวนการฟื้นฟู อนุรักษ์พลับพลังธารที่ถูกต้อง และเป็นเครือข่ายการทำงานร่วมกัน เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งและมีแนวทางการทำงานที่ดีขึ้น

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

สรุปผลโครงการ สานพลังพลิกฟื้นพืชน้ำพลับพลึงธาร คืนคลองบางปรุ 

กลุ่มเยาวชนรักษ์คลองบางปรุ จ.ระนอง


ในปี 2552 เยาวชนที่คอยเฝ้ามอง “พลับพลึงธาร” ในคลองบางปรุ พืชน้ำที่ชาวบ้าน คนในชุมชนไม่เห็นคุณค่าที่จะรักษา ค่อยๆ ลดน้อยลงจากการขุดหัวไปขาย การขุดลอกคลอง จึงตัดสินใจรวมเป็นกลุ่มเยาวชนรักษ์คลองบางปรุ เพื่อลุกขึ้นมาดูแล ฟื้นฟู โดยเริ่มพาเพื่อนๆ น้องๆ เยาวชนในชุมชน เรียนรู้สำรวจพลับพลึงธารที่เหลืออยู่ หาวิธีการเพาะขยายพันธุ์ และทดลองนำไปปลูกในพื้นที่ และทำกิจกรรมร่วมกับบ้านวันโตตี้ โดยมี จักรพงษ์ ชูศรี และพี่ๆ จากศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (รีคอฟ) เป็นผู้ชักชวนเด็กๆให้มารวมตัวกันทำกิจกรรมด้านอนุรักษ์ทรัพยากรในชุมชน และพี่จักรคอยทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับกลุ่มเยาวชน

เมื่อพี่ๆ แกนนำรุ่นแรกเริ่มออกไปมีครอบครัว ออกไปทำงานต่างจังหวัด และประกอบกับมีการเปิดรับกลุ่มเยาวชนเข้าร่วมโครงการปลูกใจรักษ์โลก ของมูลนิธิกองทุนไทยเป็นโอกาสดีที่จะพัฒนาแกนนำรุ่นใหม่ พี่ๆ จึงผลักดันให้น้องๆ แถว 2 อย่าง เต๋า อิง ออม สตางค์ ลุกขึ้นมาเป็นแกนนำหลักสานต่องาน ผ่านโครงการสานพลังพลิกฟื้นพืชน้ำพลับพลึงธารคืนคลองบางปรุ


รายชื่อสมาชิกกลุ่มเยาวชน


  • 1.นายปฎิวัติ เพียกแก้ว (เต๋า) หัวหน้าโครงการ
  • 2.นายจตุพร ศรีสมบัติ (ออม) ประสานงาน
  • 3.นางสาวกมรัตน์ กตัญญู ประสานงาน
  • 4.นางสาววณิชชา ส่งเสริม (อิง)
  • 5.นายปฏิภาณ เพียกแก้ว
  • 6.นายธันวา ทองรักษ์
  • 7.นายนันทวุฒิ คงความสุข
  • 8.นางสาวภัทรพร มณีนวล (สตางค์)


ข้อมูลพื้นที่ หรือ ชุมชนที่ทำโครงการ


สภาพพื้นที่ คลองบางปรุ เป็นสายน้ำที่ไหลลงมาจากต้นน้ำเขาพ่อตาโชงโดง ไหลผ่านชุมชนบ้านกงษีที่แกนนำเยาวชนอาศัยอยู่ ไปสิ้นสุดที่ชุมชนเกาะยายรัง คลองสายนี้นอกจากจะเป็นแหล่งน้ำอุปโภค และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรของชุมชนแล้ว ยังเป็นแหล่งเติบโตของต้นพลับพลึงธาร ซึ่งเป็นพืชประจำถิ่นที่หายากและควรค่าแก่การอนุรักษ์ พลับพลึงธารสามารถเจริญเติบโตในน้ำกร่อย มีน้ำขึ้นน้ำลง ในคลองบางปรุพลับพลึงมีความยาว 5 เมตรครึ่ง ปัจจุบันมีจำนวนน้อยลงเหลือเพียง 1 % เนื่องจากโครงการการแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ หน่วยงานจึงทำการขุดลอกคลอง ทำให้พลับพลึงธารหลุดลอยไปกับสายน้ำและการลักลอบเก็บหัวพลับพลึงธารไปขายเป็นจำนวนมาก ด้วยหน่วยงานภาครัฐระดับจังหวัดและท้องถิ่น คนในชุมชน ยังไม่เห็นถึงความสำคัญของพืชน้ำชนิดนี้ที่ให้คุณค่ามากกว่าความสวยงาม มันยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำในลำคลอง เป็นแหล่งหลบภัยและแหล่งอาหาร อีกทั้งรากของพลับพลึงยังช่วยยึดเกาะหิน กรวด ไม่ให้หลุดลอยไปกับกระแสน้ำ แม้ว่ากลุ่มเยาวชนรักษ์คลองบางปรุจะลุกขึ้นมาเริ่มทำกิจกรรมดูแลลำคลอง ศึกษาเรียนรู้วงจรชีวิตและการเติบโตของพลับพลึงธาร และช่วยกันปลูกพลับพลึงธารในคลองบางปรุมาตั้งแต่ปี 2552เพื่อจะรักษาและช่วยเพิ่มปริมาณต้นพลับพลึงธารในคลองให้มากขึ้นก็ตาม แต่ด้วยไม่มีเทคนิคการปลูกที่ดีพลับพลึงธารจึงรอดตายน้อยมาก


กลุ่มเป้าหมาย


เด็กและเยาวชนสมาชิกในกลุ่ม 30 คน, ผู้สนใจที่เกี่ยวข้อง เช่น อบต., กลุ่ม/องค์กรที่ทำเรื่องอนุรักษ์พลับพลึงธาร, โรงเรียน และอื่นๆ


โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ


กลุ่มเยาวชนรักษ์คลองบางปรุ รวมตัวกันในช่วงที่พลับพลึงธารในชุมชนถูกบุกรุก ทำลายจากโครงการขุดลอกคลองในพื้นที่ มีลดปริมาณลง ใกล้สูญพันธุ์ คนในชุมชนไม่เห็นความสำคัญ

ตามเอกสารเสนอโครงการ กล่าวไว้ว่า กลุ่มเยาวชนรักษ์คลองบางปรุใช้เวลาช่วงวันหยุดและช่วงเวลาเปิดเทอมชักชวนเพื่อนมาทำกิจกรรม เช่น การเก็บเมล็ดพันธุ์ เพาะขยายต้นพลับพลึงธาร เพื่อการขยายพันธุ์ในคลองบางปรุ และส่งเสริมให้เยาวชนเป็นแกนนำและเป็นแบบอย่างในการทำงานให้ผู้นำเห็นวิธีการที่ถูกต้องและแนวทางในการฟื้นฟู


เป้าหมายของโครงการ


- ส่งเสริมให้เยาวชนสนใจและหาแนวทางในการฟื้นฟูพลับพลึงธาร

- ส่งเสริมให้คนในชุมชนสนใจ เห็นความสำคัญของพลับพลึงธาร

(ตามเอกสารโครงการ) คาดหวังว่าหน่วยงานภาครัฐเห็นศักยภาพในการทำงานของเด็ก และสนับสนุนเรื่องใกล้ตัว ทำให้หน่วยงานเข้าใจกระบวนการฟื้นฟู อนุรักษ์พลับพลังธารที่ถูกต้อง และเป็นเครือข่ายการทำงานร่วมกัน เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งและมีแนวทางการทำงานที่ดีขึ้น



กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนในการแก้ไขปัญหาหรือดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน


ไม่เห็นกระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนพี่เลี้ยงกลายเป็นตัวหลักคิดและพาทำ แต่พาเยาวชนทำกิจกรรมตามที่ตัวเองอยากทำ เยาวชนเป็นเพียงผู้เข้าร่วมปฏิบัติการ ไม่ใช่ตัวหลักในการออกแบบกิจกรรม หรือประสานงาน สังเกตว่า ในกลุ่มเยาวชนมีความขัดแย้ง เช่น เพื่อนมาสาย ไม่ช่วยทำงาน พี่เลี้ยงไม่ได้ทำกระบวนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง


ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ


จากการติดตามโครงการ ยังประเมินผลสำเร็จของโครงการไม่ได้ เนื่องจากมีปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างทำโครงการ คือ แกนนำเยาวชน ยังไม่ได้ดำเนินกิจกรรมเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างแกนนำหลักกับพี่เลี้ยงโครงการ จึงทำให้การดำเนินงานล่าช้า เยาวชนบางคนทำกิจกรรมต่อ มาประชุม วางแผนกิจกรรมที่บ้านวันโตตี้

การติดตามลงพื้นที่ พบว่า การประชุมงานของกลุ่ม คือ พี่เลี้ยง (จักร) ชวนคุย นำเสนอกิจกรรมที่ทำ และแบ่งหน้าที่เยาวชน ตามที่พี่จักรคิด โดยมีเต๋า เยาวชนที่บ้านวันโตตี้เป็นคนช่วยงานหลักของโครงการ กิจกรรมของโครงการสานพลังฯ กับ กิจกรรมบ้านวันโตตี้ จึงเป็นกิจกรรมเดียวกัน กิจกรรมที่ทำแล้ว คือ กิจกรรมการเพาะพันธุ์พลับพลึงธาร เก็บข้อมูลในพื้นที่ทดลองปลูกบริเวณต้นน้ำคลองบางปรุ สัมภาษณ์ผู้นำชุมชน โดยมีเต๋าเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมหลัก และมีอิงเป็นคนช่วยทำกิจกรรม


ปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดความล้มเหลว

  • 1.แกนนำเยาวชน
  • - ความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของโครงการยังมีน้อย มีความเกรงใจต่อพี่เลี้ยงโครงการสูง
  • - แกนนำเยาวชนมีความคิด แต่ไม่กล้าคิด ไม่กล้าที่จะตัดสินใจ จะรอคำสั่ง การตัดสินใจจากพี่เลี้ยง และจะลงมือทำเมื่อพี่เลี้ยงพาทำ

2. พี่เลี้ยงโครงการ

- บุคลิกเป็นคนเชื่อมั่นในตนเองสูง รับฟังความคิดเห็นผู้อื่นน้อย ขาดความน่าเชื่อถือ พี่เลี้ยงโครงการมีปัญหาการทำงานกับชุมชน และเยาวชนแกนนำชุมชน เกิดการแบ่งกลุ่มเยาวชนกันในชุมชน คือ เด็กสภาฯ และเด็กบ้านวันโตตี้

- ไม่เข้าใจกระบวนการพัฒนาศักยภาพเยาวชนให้ลุกขึ้นมาเป็นผู้นำ ไม่มีกระบวนการพัฒนาศักยภาพเด็ก และการดึงเข้ามามีส่วนร่วมในชุมชนและโครงการ

- การดึงแกนนำเยาวชนในโครงการมาช่วยทำงานโครงการของพี่เลี้ยงเป็นหลัก 


แกนนำเยาวชน

นายปฏิวัติ เพียกแก้ว (เต๋า) อายุ 16 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกะเปอร์วิทยา



นางสาววนิชชา สงเสริม (อิงค์)อายุ15 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกะเปอร์วิทยา



ที่ปรึกษาโครงการ

นายจักรกระพงษ์ ชูศรี (น้าจักร) อายุ 42 ปี

ประธานกลุ่มวันโตตี้


โครงการสานพลังพลิกฟื้นพืชน้ำพลับพลึงธาร คืนคลองบางปรุ

กลุ่มเยาวชนรักษ์คลองบางปรุ จ.ระนอง

ผู้ประสานงาน ปฏิวัติ เพียกแก้ว (เต๋า) โทรศัพท์ 08-668-42380 อีเมล์ wuntuetee@windowslive.com

­

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ